จงตามเรามา
16–22 มิถุนายน: “พระเจ้าทรงเรียกร้องใจและความคิดที่เต็มใจ”: หลักคำสอนและพันธสัญญา 64–66


“16–22 มิถุนายน: ‘พระเจ้าทรงเรียกร้องใจและความคิดที่เต็มใจ’: หลักคำสอนและพันธสัญญา 64–66,” จงตามเรามา—สำหรับบ้านและศาสนจักร: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2025 (2025)

“หลักคําสอนและพันธสัญญา 64–66” จงตามเรามา—สําหรับบ้านและศาสนจักร: 2025

เทศมณฑลเดวีส์ มิสซูรี

เทศมณฑลเดวีส์ มิสซูรี

16–22 มิถุนายน: “พระเจ้าทรงเรียกร้องใจและความคิดที่เต็มใจ”

หลักคำสอนและพันธสัญญา 64–66

ในความร้อนระอุของเดือนสิงหาคม ปี 1831 เอ็ลเดอร์หลายคนเดินทางกลับมายังเคิร์ทแลนด์จากแผ่นดินไซอันในมิสซูรี เหล่านักเดินทางต่างก็ร้อนและเหน็ดเหนื่อย ไม่นานก็เกิดความตึงเครียดจนทะเลาะกัน อาจดูเหมือนว่าการสร้างไซอันนครแห่งความรัก ความเป็นหนึ่งเดียวกัน และสันติสุขจะใช้เวลานาน

โชคดีที่การสร้างไซอัน—ในมิสซูรีเมื่อปี 1831 หรือในใจ ในครอบครัว และในวอร์ดของเราทุกวันนี้—ไม่ได้เรียกร้องให้เราดีพร้อม แต่ “เรียกร้องจากเจ้าที่จะให้อภัย” พระเจ้าตรัส (หลักคำสอนและพันธสัญญา 64:10) พระองค์ทรงเรียกร้อง “ใจและความคิดที่เต็มใจ” (ข้อ 34) และทรงเรียกร้องความอดทนและความขยันหมั่นเพียร เพราะไซอันต้องสร้างบนรากฐานของ “สิ่งเล็กน้อย” และสำเร็จได้โดยคนที่ไม่ “เบื่อหน่ายในการทำดี” (ข้อ 33)

ดู วิสุทธิชน,1:133–134, 136–137 ด้วย

ไอคอนศึกษา

แนวคิดสำหรับการเรียนรู้ที่บ้านและที่โบสถ์

หลักคำสอนและพันธสัญญา 64:1–11

ไอคอนเซมินารี
“ให้อภัยกัน”

พิจารณาสิ่งต่อไปนี้ขณะที่ท่านศึกษา หลักคําสอนและพันธสัญญา 64:1–11:

  • นึกถึงเวลาที่พระเจ้าทรงให้อภัยท่าน ตอนนั้นรู้สึกอย่างไร?

  • มีคนที่ท่านต้องให้อภัยหรือไม่? เหตุใดการให้อภัยผู้อื่นจึงเป็นเรื่องยาก? มีสิ่งใดบ้างที่ช่วยให้ท่านเอาชนะความยากลําบากเหล่านี้?

  • ความจริงอะไรเกี่ยวกับการให้อภัยใน หลักคําสอนและพันธสัญญา 64:1–11 ดูเหมือนจะสําคัญต่อท่าน? ท่านคิดว่าเหตุใดพระเจ้าทรงบัญชาให้เรา “ให้อภัยมนุษย์ทั้งปวง”? (ข้อ 10)

หากท่านพยายามให้อภัย ท่านอาจศึกษาข่าวสารของเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์เรื่อง “พันธกิจในเรื่องการคืนดี” (เลียโฮนา, พ.ย. 2018, 77–79) หรือข่าวสารของคริสติน เอ็ม. ยีเรื่อง “​มงกุฎ​แทน​ขี้‍เถ้า​: เส้นทางเยียวยาแห่งการให้อภัย” (เลียโฮนา, พ.ย. 2022, 36–38) ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับวิธีที่พระคริสต์ทรงสามารถช่วยให้ท่านให้อภัย?

ความสัมพันธ์ในครอบครัวสามารถให้โอกาสมากมายในการให้อภัย นึกถึงสมาชิกครอบครัวของท่าน ท่านต้องให้อภัยใคร? เรา “ทุกข์ทรมาน” อย่างไร (ข้อ 8) เมื่อเราไม่ให้อภัยกัน? การให้อภัยจะส่งผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวท่านอย่างไร?

ดู “การให้อภัย: ทำให้ภาระของข้าพเจ้าเบาลง” (วิดีโอ), คลังค้นคว้าพระกิตติคุณด้วย

8:24

การให้อภัย: ทำให้ภาระของข้าพเจ้าเบาลง

หลังจากชายคนหนึ่งสูญเสียภรรยาและลูกๆ หลายคนในอุบัติเหตุรถยนต์ เขาพบการเยียวยาและสามารถให้อภัยคนที่ขับรถชนได้โดยผ่านพลังอำนาจของพระเยซูคริสต์

พ่อกับลูกชายกอดกัน

“เจ้าควรให้อภัยกัน” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 64:9)

หลักคำสอนและพันธสัญญา 64:31–34

พระเจ้าทรงขอ “ใจและความคิดที่เต็มใจ” ของฉัน

ท่านเคยรู้สึก “เบื่อหน่าย” กับ “การทำดี” ทุกอย่างที่ท่านพยายามทำให้สำเร็จหรือไม่? จงมองหาข่าวสารที่พระเจ้าประทานแก่ท่านใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 64:31–34 พระเจ้าทรงต้องการให้ท่านทำอะไรเพื่อทำให้เกิด “งานอันสำคัญยิ่ง” ของพระองค์?

ให้นึกถึงบทเรียนที่ใช้อุปกรณ์จริงซึ่งอธิบาย ข้อ 33—ของชิ้นใหญ่ที่ประกอบด้วยของสิ่งเล็กๆ เช่น โมเสกหรืออาคารอิฐ ท่านจะทํา “สิ่งเล็กน้อย” อะไรได้บ้างในทุกๆ วันเพื่อ “[วาง] รากฐาน” ในงานอันสําคัญยิ่งของพระผู้เป็นเจ้า? มีตัวอย่างอะไรบ้างของ “งานอันสำคัญยิ่ง” ที่พระเจ้าประทานแก่ท่าน?

หลักคำสอนและพันธสัญญา 64:31–34

“ใจและความคิดที่เต็มใจ”

เอ็ลเดอร์โดนัลด์ แอล. ฮอลล์สตรอมเสนอความหมายที่เป็นไปได้นี้สำหรับวลี “ใจและความคิดที่เต็มใจ”

“ใจเป็นสัญลักษณ์ของความรักและความมุ่งมั่น เราเสียสละและแบกภาระเพื่อคนที่เรารักซึ่งเราจะไม่ทนทำเพื่อเหตุผลอื่น ถ้าไม่มีความรัก ความมุ่งมั่นของเราจะค่อยๆ ลดลง …

“การมี ‘ความคิดที่เต็มใจ’ หมายถึงการที่เราพยายามสุดความสามารถ คิดให้ดีที่สุด และแสวงหาปัญญาจากพระผู้เป็นเจ้า นั่นบ่งบอกว่าสิ่งที่เราควรทุ่มเทศึกษาชั่วชีวิตควรเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์ หมายความว่าจะต้องมีความสัมพันธ์ที่แยกจากกันไม่ได้ระหว่างการฟังพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้ากับการเชื่อฟัง” (“The Heart and a Willing Mind,” Ensign, June 2011, 31–32)

หลักคำสอนและพันธสัญญา 64:41–43

ไซอันจะเป็น “ธงสัญญาณแก่ผู้คน”

ธงสัญญาณคือ “ธงหรือมาตรฐานซึ่งที่นั่นผู้คนมาห้อมล้อมรวมกันเพื่อความสามัคคีในจุดประสงค์หรืออัตลักษณ์” (คู่มือพระคัมภีร์, “ธงสัญญาณ,” คลังค้นคว้าพระกิตติคุณ) ไซอัน—หรือศาสนจักรของพระเจ้า—เป็นเหมือนธงสัญญาณแก่ท่านอย่างไร? พิจารณาตัวอย่างเหล่านี้ของสิ่งที่ต้องชูขึ้นเหมือนธงสัญญาณเพื่อเป็นพรแก่ผู้คน: กันดารวิถี 21:6–9; มัทธิว 5:14–16; แอลมา 46:11–20 มองหาด้านอื่นที่พระเจ้าตรัสถึงไซอันใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 64:41–43

.

หลักคำสอนและพันธสัญญา 65

อาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าบนแผ่นดินโลกเตรียมโลกให้พร้อมรับการเสด็จกลับมาของพระผู้ช่วยให้รอด

หลักคำสอนและพันธสัญญา 65 ให้คำอธิบายที่สร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับพันธกิจของศาสนจักรของพระเจ้าในยุคสุดท้าย ท่านอาจค้นคว้าภาคนี้ โดยมองหาคําตอบของคําถามทำนองนี้: พระเจ้าทรงต้องการให้อาณาจักรของพระองค์บรรลุผลสำเร็จอะไรบนแผ่นดินโลก? พระองค์ทรงต้องการให้ฉันช่วยทำอะไร?

2:3

Prepare Today for the Second Coming

(Joseph Smith—Matthew 1:46–54; Matthew 24:42–51) An excerpt from “Preparation for the Second Coming,” Ensign or Liahona, May 2004, 8–9.

หลักคำสอนและพันธสัญญา 66

พระเจ้าทรงทราบความนึกคิดของใจฉัน

หลังจากเข้าร่วมศาสนจักรได้ไม่นาน วิลเลียม อี. แม็คเลลลินขอให้โจเซฟ สมิธเปิดเผยพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าสำหรับเขา โจเซฟไม่รู้ แต่วิลเลียมมีคำถามส่วนตัวห้าข้อที่เขาหวังให้พระเจ้าตอบผ่านศาสดาพยากรณ์ของพระองค์ เราไม่ทราบว่าคำถามของวิลเลียมคืออะไร แต่การเปิดเผยซึ่งปัจจุบันคือ หลักคำสอนและพันธสัญญา 66 กล่าวถึงเขาและตอบคำถามแต่ละข้อจนวิลเลียม “พอใจเป็นอย่างยิ่ง” (“William McLellin’s Five Questions,” Revelations in Context, 138)

ขณะที่ท่านอ่าน ภาค 66 ลองคิดดูว่าพระเจ้าทรงทราบอะไรเกี่ยวกับวิลเลียม แม็คเลลลิน ข้อกังวล และเจตนาของใจเขา พระเจ้าทรงเปิดเผยอย่างไรว่าพระองค์ทรงรู้จักท่าน? ถ้าท่านมีปิตุพร ลองศึกษาดู ขณะศึกษา พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงช่วยให้ท่านเข้าใจเกี่ยวกับพระประสงค์ที่พระผู้เป็นเจ้าทรงมีต่อท่านอย่างไร?

ดูแนวคิดเพิ่มเติมได้จากนิตยสาร เลียโฮนา และ เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน ฉบับเดือนนี้

ไอคอนหมวดเด็ก 03

แนวคิดสำหรับการสอนเด็ก

หลักคำสอนและพันธสัญญา 64:7–10

พระเยซูคริสต์ทรงต้องการให้ฉันให้อภัยทุกคน

หมายเหตุ: เมื่อท่านสอนเด็กเกี่ยวกับพระบัญชาของพระเจ้าในการ “ให้อภัยทุกคน” ท่านอาจต้องการชี้แจงว่าการให้อภัยไม่ได้หมายถึงการยอมให้ผู้อื่นทําร้ายเรา สนับสนุนให้พวกเขาบอกผู้ใหญ่ที่ไว้ใจ หากมีคนทําร้ายพวกเขาหรือสัมผัสพวกเขาอย่างไม่เหมาะสม

  • หลังจากอ่าน หลักคําสอนและพันธสัญญา 64:10 กับเด็กแล้ว ให้พูดคุยกับพวกเขาว่าการให้อภัยใครสักคนหมายความว่าอย่างไร ท่านอาจจะยกตัวอย่างที่เข้าใจง่ายสักสองสามตัวอย่าง พวกเขาอาจแสดงบทบาทสมมติของตัวอย่างเหล่านี้เพื่อฝึกการให้อภัย

  • ท่านอาจให้เด็กวางแผนว่าจะสอนใครบางคนอย่างไร—เช่น น้อง—เกี่ยวกับการให้อภัยผู้อื่น ช่วยพวกเขาหาวลีใน หลักคําสอนและพันธสัญญา 64:7–10 ที่พวกเขาจะใช้ขณะสอน

  • ร้องเพลงเกี่ยวกับการให้อภัย เช่น “พระบิดาโปรดช่วยฉัน” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 52) เพลงนี้สอนอะไรเราเกี่ยวกับการให้อภัยผู้อื่น?

หลักคำสอนและพันธสัญญา 64:33

“งานอันสําคัญยิ่ง” ของพระผู้เป็นเจ้าสร้างบน “สิ่งเล็กน้อย”

  • ให้เด็กดูสิ่งของบางอย่างที่ทำจากชิ้นส่วนเล็กๆ เช่น ภาพตัวต่อหรือพรม จากนั้นท่านอาจอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 64:33 ด้วยกัน “งานอันสําคัญยิ่ง” ของพระผู้เป็นเจ้าคืออะไร? “สิ่งเล็กน้อย” อะไรที่เราสามารถทำได้เพื่อช่วย?

หลักคำสอนและพันธสัญญา 64:34

ฉันสามารถติดตามพระเยซูด้วยใจและความคิด

  • ขณะที่ท่านอ่าน หลักคําสอนและพันธสัญญา 64:34 ให้เด็กฟัง ท่านอาจชี้ไปที่หัวใจและศีรษะของท่านขณะท่านอ่านคำว่า “ใจ” และ “ความคิด” และชวนให้เด็กทำตาม เราจะถวายใจ (ความปรารถนา) และความคิด (ความนึกคิด) ของเราแด่พระผู้ช่วยให้รอดได้อย่างไร?

เน้นแบบอย่างของพระเยซูคริสต์ พิจารณาว่าท่านจะเน้นแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดได้อย่างไรเมื่อท่านศึกษาหรือสอน ตัวอย่างเช่น เมื่อสอนเกี่ยวกับ หลักคําสอนและพันธสัญญา 64:34 ท่านอาจพูดคุยกับเด็กว่าพระผู้ช่วยให้รอดถวายใจ (ความปรารถนา) และความคิด (ความนึกคิด) ของพระองค์แด่พระบิดาในสวรรค์อย่างไร (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 6)

หลักคำสอนและพันธสัญญา 66

พระเจ้าทรงทราบว่าฉันเป็นใครและทรงรักฉัน

  • ช่วยให้เด็กเข้าใจว่าวิลเลียม อี. แม็คเลลลินมีคําถามห้าข้อสําหรับพระเจ้า โจเซฟ สมิธได้รับคำตอบของคำถามเหล่านั้นทั้งที่ท่านไม่ทราบว่าคำถามของวิลเลียมคืออะไร เล่าให้เด็กฟังถึงตอนที่พระเจ้าทรงแสดงให้ท่านเห็นสิ่งที่พระองค์ทรงต้องการให้ท่านทํา และพูดถึงพรที่มาจากการทําตามการชี้นำของพระองค์ จากนั้นท่านอาจอ่าน หลักคําสอนและพันธสัญญา 66:4 ด้วยกันและเชื้อเชิญให้เด็กหาโอกาสเข้าใจสิ่งที่พระเจ้าทรงต้องการให้พวกเขาทํา

    การเสด็จมาครั้งที่สองของพระผู้ช่วยให้รอด

    ส่วนหนึ่งจากภาพ การเสด็จมาครั้งที่สอง โดย เควิน คีลี

หลักคำสอนและพันธสัญญา 65

ฉันสามารถช่วยเตรียมโลกให้พร้อมรับพระเยซูคริสต์

  • ขณะที่เด็กดูภาพการเสด็จมาครั้งที่สองของพระผู้ช่วยให้รอด ขอให้พวกเขาบรรยายสิ่งที่พวกเขาเห็นหรือสิ่งที่พวกเขารู้เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ ท่านอาจให้คําและวลีเกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งที่สองแก่เด็กเพื่อหาใน หลักคําสอนและพันธสัญญา 65 ด้วย คำและวลีเหล่านี้สอนอะไรเรา? เราจะเตรียมรับการกลับมาของพระผู้ช่วยให้รอดอย่างไร?

ดูแนวคิดเพิ่มเติมจากนิตยสาร เพื่อนเด็ก ฉบับเดือนนี้

พระผู้ช่วยให้รอดทรงให้อภัยหญิงคนหนึ่ง

ได้รับการอภัย โดย เกรก โอลเซ็น

หน้ากิจกรรมสําหรับเด็ก