“1–7 มีนาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 20–22: ‘การจัดตั้งศาสนจักรของพระคริสต์’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021 (2020)
“1–7 มีนาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 20–22” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2021
1–7 มีนาคม
หลักคำสอนและพันธสัญญา 20–22
“การจัดตั้งศาสนจักรของพระคริสต์”
ขณะที่ท่านอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 20–22 จงเปิดรับการกระตุ้นเตือนของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ท่านอาจจะบันทึกการกระตุ้นเตือนเหล่านั้นไว้กลับไปอ่าน
บันทึกความประทับใจของท่าน
งานแปลพระคัมภีร์มอรมอนของศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธบัดนี้เสร็จสมบูรณ์แล้ว แต่งานแห่งการฟื้นฟูเพิ่งเริ่มต้น เห็นชัดจากการเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่านอกจากฟื้นฟูหลักคำสอนและสิทธิอำนาจฐานะปุโรหิตแล้ว พระเจ้าทรงต้องการฟื้นฟูองค์กรอย่างเป็นทางการ—ศาสนจักรของพระองค์ด้วย (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 10:53; 18:5) ด้วยเหตุนี้ในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1830 ผู้เชื่อ 40 กว่าคนจึงเบียดกันอยู่ในบ้านไม้ซุงของครอบครัววิตเมอร์ในเมืองเฟเยทท์ นิวยอร์กเพื่อเป็นพยานการจัดตั้งศาสนจักรของพระเยซูคริสต์
แต่มีบางคนสงสัยว่าเหตุใดจึงจำเป็นต้องมีศาสนจักรที่จัดตั้งขึ้น? คำตอบอย่างน้อยส่วนหนึ่งอาจจะพบในการเปิดเผยเกี่ยวกับการประชุมครั้งแรกของศาสนจักรในปี 1830 ภาคนี้พูดถึงพรซึ่งจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าศาสนจักรที่แท้จริงของพระเยซูคริสต์ไม่ได้ “จัดตั้งและสถาปนาขึ้นอย่างถูกต้อง” ในยุคสุดท้าย (หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:1)
ดู วิสุทธิชน, 1:84–86 และ “Build Up My Church,” Revelations in Context, 29–32 ด้วย
แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว
ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายก่อตั้งบนหลักคำสอนที่แท้จริง
ภาค 20 เกริ่นนำว่าภาคนี้เป็น “การเปิดเผยเกี่ยวกับการวางระเบียบและการปกครองของศาสนจักร” (หัวบทของภาค) แต่ก่อนจะสรุปนโยบายศาสนจักร ตำแหน่งฐานะปุโรหิต และระเบียบการประกอบศาสนพิธี การเปิดเผยนี้เริ่มโดยสอนหลักคำสอนพื้นฐาน ขณะที่ท่านอ่าน 36 ข้อแรกของการเปิดเผยนี้ พึงถามตนเองว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ท่านอาจจะเขียนความจริงพระกิตติคุณที่ท่านพบออกมาเป็นข้อๆ ด้วย บางตัวอย่างได้แก่
-
พระคัมภีร์มอรมอนและบทบาทของพระคัมภีร์ดังกล่าวในการฟื้นฟู (ข้อ 8–12)
-
พระลักษณะของพระผู้เป็นเจ้า (ข้อ 17–19)
-
การชดใช้ของพระเยซูคริสต์ (ข้อ 20–27)
เหตุใดจึงสำคัญที่ต้องเน้นความจริงเหล่านี้เมื่อศาสนจักรได้รับการสถาปนา?
หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:37, 75–79
ศาสนพิธีศักดิ์สิทธิ์เป็นส่วนสำคัญยิ่งของศาสนจักรที่ได้รับการฟื้นฟู
เมื่อจัดตั้งศาสนจักร พระเจ้าทรงสอนวิสุทธิชนเกี่ยวกับศาสนพิธีศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงบัพติศมาและศีลระลึก ขณะที่ท่านอ่านคำแนะนำ “เกี่ยวกับวิธีบัพติศมา” ใน ข้อ 37 ให้นึกถึงบัพติศมาของท่านเอง ท่านมีความรู้สึกตามที่บรรยายไว้ในข้อนี้หรือไม่? เวลานี้ท่านมีความรู้สึกแบบนั้นหรือไม่? ไตร่ตรองสิ่งที่ท่านทำได้เพื่อให้ท่าน “มุ่งมั่นรับใช้ [พระเยซูคริสต์] จนกว่าชีวิตจะหาไม่” อยู่เสมอ
ขณะที่ท่านอ่านเกี่ยวกับศีลระลึกใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:75–79 ให้พยายามอ่านคำสวดอ้อนวอนอันศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้จากมุมมองของคนที่ได้ยินเป็นครั้งแรก ท่านได้ข้อคิดอะไรเกี่ยวกับศีลระลึก และเกี่ยวกับตัวท่าน? ข้อคิดเหล่านี้อาจจะส่งผลต่อวิธีที่ท่านเตรียมรับศีลระลึกสัปดาห์นี้อย่างไร?
การรับใช้ของฐานะปุโรหิตเป็นพรแก่สมาชิกศาสนจักรและครอบครัวของพวกเขา
ถ้ามีคนขอให้ท่านบอกหน้าที่ของผู้ดำรงฐานะปุโรหิต ท่านจะบอกว่าอะไร? อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:38–60 ซึ่งระบุหน้าที่ของฐานะปุโรหิตในตำแหน่งต่างๆ มีสิ่งใดในข้อเหล่านี้เปลี่ยนวิธีที่ท่านคิดเกี่ยวกับหน้าที่ฐานะปุโรหิตและวิธีที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงงานของพระองค์หรือไม่? ท่านได้รับพรอย่างไรจากงานที่บรรยายไว้ในข้อเหล่านี้?
เพื่อเรียนรู้ว่าสตรีใช้สิทธิอำนาจฐานะปุโรหิตในงานของศาสนจักรอย่างไร ให้ดู ดัลลิน เอช. โอ๊คส์ “กุญแจและสิทธิอำนาจของฐานะปุโรหิต” เลียโฮนา พ.ค. 2014, 49–52
ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์นำโดยศาสดาพยากรณ์ที่มีชีวิตอยู่
ท่านเรียนรู้อะไรจาก หลักคำสอนและพันธสัญญา 21:4–9 เกี่ยวกับถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์ของพระเจ้า? พิจารณาสัญญาที่บรรยายไว้ใน ข้อ 6 สำหรับคนที่รับพระวจนะของพระเจ้าผ่านศาสดาพยากรณ์ของพระองค์ สัญญาเหล่านี้มีหมายความต่อท่านอย่างไร?
ท่านจะรับถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์ที่มีชีวิตอยู่ “ราวกับมาจากปาก [ของพระผู้เป็นเจ้า] เอง”? (ข้อ 5) ได้อย่างไร ศาสดาพยากรณ์ยุคปัจจุบันให้คำแนะนำอะไรอันจะนำไปสู่พรที่สัญญาไว้ใน ข้อ 6?
แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและการสังสรรค์ในครอบครัว
-
หลักคำสอนและพันธสัญญา 20เราจะตอบอย่างไรถ้ามีคนถามว่าทำไมเราต้องมีศาสนจักร? เราพบคำตอบอะไรบ้างใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 20? ดู ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน “เหตุใดจึงต้องมีศาสนจักร” เลียโฮนา พ.ย. 2015, 108–111 ด้วย
-
หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:69“[เดิน] ในความบริสุทธิ์ต่อพระพักตร์พระเจ้า” หมายความว่าอย่างไร? คงจะสนุกถ้าให้สมาชิกครอบครัววาดหรือเขียนบางอย่างที่จะช่วยให้พวกเขาเดินในความบริสุทธิ์หรือบางอย่างที่จะทำให้พวกเขาเขวจากการทำเช่นนั้นลงในแผ่นกระดาษ จากนั้นพวกเขาจะใช้กระดาษสร้างทางเดินและพยายามเดินบนทาง โดยก้าวไปบนภาพวาดที่จะนำพวกเขาไปหาพระคริสต์เท่านั้น
-
หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:37, 71–74ถ้ามีคนในครอบครัวท่านยังไม่ได้รับบัพติศมา ข้อเหล่านี้จะนำไปสู่การสนทนาเกี่ยวกับวิธีเตรียมรับบัพติศมา (ดู ข้อ 37) และวิธีประกอบพิธีบัพติศมา (ดู ข้อ 71–74) สมาชิกครอบครัวจะให้ดูภาพหรือเล่าความทรงจำจากวันบัพติศมาของพวกเขา
-
หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:75–79ครอบครัวท่านจะใช้ข้อเหล่านี้เตรียมรับประสบการณ์ที่มีความหมายและมีความคารวะกับศีลระลึกได้อย่างไร? ข้อเหล่านี้อาจเสนอสิ่งที่ท่านจะไตร่ตรองระหว่างศีลระลึก และสมาชิกครอบครัวจะหาหรือวาดภาพสิ่งเหล่านั้น เมื่อเห็นสมควรท่านอาจจะนำภาพเหล่านี้มาการประชุมศีลระลึกครั้งหน้าเพื่อเตือนให้ท่านนึกถึงสิ่งที่ท่านต้องตรึกตรองระหว่างศีลระลึก
-
หลักคำสอนและพันธสัญญา 21:4–7ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้สมาชิกครอบครัวมองหาคำและวลีใน ข้อ 4–5 ที่สอนเราเกี่ยวกับการทำตามศาสดาพยากรณ์ของพระเจ้า รับถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์ด้วยความอดทนหมายความว่าอย่างไร? และด้วยศรัทธาหมายความว่าอย่างไร? เราได้รับพรที่สัญญาไว้ใน ข้อ 6 เมื่อใด?
ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย
เพลงที่แนะนำ: “ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์” หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 48