พันธสัญญาใหม่ 2023
4–10 กันยายน 1 โครินธ์ 14–16: “พระ‍เจ้า​ไม่​ใช่​พระ‍เจ้า​แห่ง​ความ​วุ่น‍วาย แต่​ทรง​เป็น​พระ‍เจ้า​แห่ง​สันติ”


“4–10 กันยายน 1 โครินธ์ 14–16: ‘พระเจ้าไม่ใช่พระเจ้าแห่งความวุ่นวาย แต่ทรงเป็นพระเจ้าแห่งสันติ,’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2022)

“4–10 กันยายน 1 โครินธ์ 14–16,” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2023

ภาพ
อ่างบัพติศมาในพระวิหาร

4–10 กันยายน

1 โครินธ์ 14–16

“พระ‍เจ้า​ไม่​ใช่​พระ‍เจ้า​แห่ง​ความ​วุ่น‍วาย แต่​ทรง​เป็น​พระ‍เจ้า​แห่ง​สันติ”

บันทึกความประทับใจของท่านขณะอ่าน 1 โครินธ์ 14–16 สวดอ้อนวอนเกี่ยวกับสิ่งที่พระวิญญาณทรงสอนท่าน และทูลถามพระบิดาบนสวรรค์ว่ามีอีกหรือไม่ที่พระองค์ทรงประสงค์ให้ท่านเรียนรู้

บันทึกความประทับใจของท่าน

เพราะศาสนจักรและหลักคำสอนค่อนข้างใหม่ในโครินธ์ จึงเข้าใจได้ว่าวิสุทธิชนชาวโครินธ์เกิดความสับสน เปาโลเคยสอนความจริงพื้นฐานของพระกิตติคุณแก่พวกเขาแล้ว นั่นคือ “พระคริสต์วายพระชนม์เพราะบาปของเรา … และทรงถูกฝังไว้ แล้ววันที่สามพระองค์ทรงถูกทำให้เป็นขึ้นมา” (1 โครินธ์ 15:3–4) แต่ไม่นานสมาชิกบางคนก็เริ่มสอนว่า “การเป็นขึ้นจากความตายไม่มี” (1 โครินธ์ 15:12) เปาโลขอร้องให้พวกเขา “ยึดมั่น” ความจริงที่สอนพวกเขาแล้ว (1 โครินธ์ 15:2) เมื่อเราพบเจอความเห็นแย้งเกี่ยวกับความจริงพระกิตติคุณ เป็นการดีที่จะจดจำว่า “พระเจ้าไม่ใช่พระเจ้าแห่งความวุ่นวาย แต่ทรงเป็นพระเจ้าแห่งสันติ” (1 โครินธ์ 14:33) การฟังผู้รับใช้ที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งและการยึดมั่นความจริงอันเรียบง่ายที่สอนซ้ำแล้วซ้ำเล่าจะช่วยให้เราพบสันติและ “มั่นคงในความเชื่อ” (1 โครินธ์ 16:13)

ภาพ
ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

1 โครินธ์ 14

ฉันสามารถแสวงหาของประทานแห่งการพยากรณ์

ของประทานแห่งการพยากรณ์คืออะไร? คือความสามารถในการทำนายอนาคตหรือ? มีไว้สำหรับศาสดาพยากรณ์เพียงอย่างเดียวหรือ? หรือใครๆ ก็มีของประทานนี้ได้อย่างนั้นหรือ?

ไตร่ตรองคำถามเหล่านี้ขณะศึกษา 1 โครินธ์ 14:3, 31, 39–40 ท่านสามารถอ่าน วิวรณ์ 19:10 และ “คำพยากรณ์, พยากรณ์” ในคู่มือพระคัมภีร์ (scriptures.ChurchofJesusChrist.org) จากสิ่งที่ท่านเรียนรู้ ท่านจะนิยามของประทานแห่งการพยากรณ์ว่าอย่างไร? เปาโลน่าจะหมายถึงอะไรเมื่อเขาเชื้อเชิญให้ชาวโครินธ์ “ขวนขวายการเผยพระวจนะ (ปรารถนาจะพยากรณ์)”? (1 โครินธ์ 14:39) ท่านจะยอมรับคำเชื้อเชิญนี้ได้อย่างไร?

ดู โยเอล 2:28–29; แอลมา 17:3; หลักคำสอนและพันธสัญญา 11:23–28 ด้วย

1 โครินธ์ 14:34–35

คำกล่าวเกี่ยวกับสตรีในข้อเหล่านี้ประยุกต์ใช้อย่างไรในปัจจุบัน?

ในสมัยของเปาโล มีความคาดหวังที่ต่างกันว่าสตรีจะมีส่วนร่วมในสังคมอย่างไร รวมทั้งในการประชุมที่โบสถ์ ไม่ว่าคำสอนใน 1 โครินธ์ 14:34–35 จะหมายถึงอะไรในสมัยของเปาโล พวกเขาไม่ควรเข้าใจว่าหมายถึงสตรีไม่สามารถพูดและเป็นผู้นำในศาสนจักรในปัจจุบันได้ (ดู งานแปลของโจเซฟ สมิธ, 1 โครินธ์ 14:34) ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันกล่าวกับสตรีของศาสนจักรในปัจจุบันว่า “เรา … ต้องการความเข้มแข็งของท่าน การเปลี่ยนใจเลื่อมใสของท่าน ความเชื่อมั่นของท่าน ความสามารถของท่านในการนำ ปัญญาของท่าน และเสียงของท่าน อาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าจะไม่สมบูรณ์และไม่สามารถสมบูรณ์ได้โดยปราศจากสตรีผู้ทำพันธสัญญาศักดิ์สิทธิ์ และจากนั้นรักษาพันธสัญญานั้น สตรีที่สามารถพูดด้วยพลังและสิทธิอำนาจของพระผู้เป็นเจ้า!” (“คำวิงวอนต่อพี่น้องสตรีของข้าพเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ย. 2015, 96)

1 โครินธ์ 15:1–34, 53–58

พระเยซูคริสต์ทรงมีชัยชนะเหนือความตาย

การฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์เป็นรากฐานของศาสนาคริสต์ กล่าวได้ว่าหากปราศจากรากฐานนี้ย่อมไม่ มี ศาสนาคริสต์—ถ้าจะใช้คำของเปาโลก็คือ “การประกาศของเรานั้นก็ไร้ประโยชน์ และความเชื่อของท่านทั้งหลายก็ไร้ประโยชน์ด้วย” (1 โครินธ์ 15:14) ทว่าวิสุทธิชนชาวโครินธ์บางคนกำลังสอนว่าจะไม่มี “การเป็นขึ้นจากความตาย” (1 โครินธ์ 15:12) ขณะที่ท่านอ่านคำตอบของเปาโลใน 1โครินธ์ 15 ให้ใช้เวลาไตร่ตรองสักครู่ว่าชีวิตท่านจะต่างจากนี้อย่างไรหากท่านไม่เชื่อเรื่องการฟื้นคืนพระชนม์ (ดู 2 นีไฟ 9:6–19; แอลมา 40:19–23; หลักคำสอนและพันธสัญญา 93:33–34) ประโยคที่ว่า “ถ้าพระคริสต์ไม่ได้ทรงถูกทำให้เป็นขึ้นมา ความเชื่อของพวกท่านก็ไร้ประโยชน์” มีความหมายอะไรต่อท่าน? (ข้อ 17)

เป็นที่น่าสังเกตว่าเปาโลอ้างถึงบัพติศมาแทนคนตายเพื่อเป็นหลักฐานว่าการฟื้นคืนพระชนม์มีอยู่จริง (ดู 1 โครินธ์ 15:29) งานพระวิหารและประวัติครอบครัวเสริมสร้างศรัทธาของท่านในหลักคำสอนเรื่องการฟื้นคืนพระชนม์อย่างไร?

ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 138:11–37 ด้วย

1 โครินธ์ 15:35–54

ร่างกายที่ฟื้นคืนชีวิตต่างจากร่างกายมรรตัย

ท่านเคยสงสัยหรือไม่ว่าร่างกายที่ฟื้นคืนชีวิตเป็นอย่างไร? ตามที่กล่าวไว้ใน 1 โครินธ์ 15:35 ชาวโครินธ์บางคนสงสัยเรื่องนี้เช่นกัน อ่านคำตอบของเปาโลใน ข้อ 36–54 ให้สังเกตคำและวลีที่พูดถึงความแตกต่างระหว่างร่างกายมรรตัยกับร่างกายที่ฟื้นคืนชีวิต ขณะทำเช่นนั้น ท่านอาจเปรียบเทียบ ข้อ 40–42 กับ หลักคำสอนและพันธสัญญา 76:50–112 การเปิดเผยนี้ต่อศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธเพิ่มความเข้าใจของท่านอย่างไร? (ดู งานแปลของโจเซฟ สมิธ, 1 โครินธ์ 15:40 [ใน คู่มือพระคัมภีร์] ด้วย) เหตุใดความจริงเหล่านี้จึงมีค่าต่อเรา?

ดู ลูกา 24:39; แอลมา 11:43–45; หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:14–33

ภาพ
ดวงอาทิตย์ขึ้น

“รัศมีของดวงอาทิตย์ก็อย่างหนึ่ง” (1 โครินธ์ 15:41)

ภาพ
ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและยามค่ำที่บ้าน

1 โครินธ์ 15:29เราเรียนรู้จาก ข้อ 29 ว่าคริสต์ศาสนิกชนสมัยโบราณมีส่วนร่วมในบัพติศมาแทนคนตาย เช่นที่เราทำในปัจจุบัน เราจะอธิบายให้คนอื่นฟังว่าเหตุใดเราจึงรับบัพติศมาแทนบรรพชนของเราอย่างไร? เรากำลังทำอะไรในครอบครัวเพื่อจัดเตรียมศาสนพิธีพระวิหารให้บรรพชนผู้ล่วงลับของเราที่ต้องการบัพติศมา

1 โครินธ์ 15:35–54ท่านจะให้ดูสิ่งของหรือรูปอะไรเพื่อช่วยให้ครอบครัวท่านเข้าใจคำบางคำที่เปาโลใช้อธิบายว่าร่างกายมรรตัยต่างจากร่างกายที่ฟื้นคืนชีวิต? ยกตัวอย่างเช่น เพื่อสาธิตความแตกต่างระหว่าง เสื่อมสลาย กับ ไม่เสื่อมสลาย (ดู ข้อ 52–54) ท่านอาจจะให้ดูโลหะที่เป็นสนิมและโลหะที่ไม่เป็นสนิม หรือท่านอาจจะเปรียบเทียบสิ่งที่อ่อนกำลังกับสิ่งที่มีพลัง (ดู ข้อ 43)

1 โครินธ์ 15:55–57การสนทนาเกี่ยวกับข้อเหล่านี้จะมีความหมายเป็นพิเศษถ้าครอบครัวท่านรู้จักคนที่สิ้นชีวิตแล้ว สมาชิกครอบครัวอาจแสดงประจักษ์พยานว่าพระเยซูคริสต์ทรงนำเอา “เหล็กไนของความตาย” ออก (ข้อ 56)

1 โครินธ์ 16:13เพื่อช่วยให้สมาชิกครอบครัวของท่านเชื่อมโยงกับข้อนี้ ท่านอาจจะวาดวงกลมบนพื้นและแนะนำให้สมาชิกครอบครัวคนหนึ่งยืน “มั่นคง” อยู่ข้างในโดยหลับตา จากนั้นคนอื่นอาจพยายามผลักหรือดึงเขาออกจากวงกลม จะมีความแตกต่างอะไรเมื่อคนในวงกลมนั้นลืมตาและสามารถ “ระมัดระวัง” ได้? เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อ “ยืนหยัดอย่างมั่นคง” เมื่อเราถูกล่อลวงให้ทำการเลือกที่ไม่ดี?

ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

เพลงสวดที่แนะนำ: “พระองค์ทรงฟื้นเพลงสวด บทเพลงที่ 93

ปรับปรุงการศึกษาส่วนตัว

มองหารูปแบบ ในพระคัมภีร์เราพบรูปแบบที่แสดงให้เห็นว่าพระเจ้าทรงทำงานของพระองค์อย่างไร ท่านพบรูปแบบอะไรบ้างใน 1 โครินธ์ 14 ที่ช่วยให้เราเข้าใจวิธีจรรโลงใจกัน?

ภาพ
พระคริสต์ทรงปรากฏต่อมารีย์ที่อุโมงค์ในสวน

หญิงเอ๋ย ร้องไห้ทำไม © ไซมอน ดิวอีย์ 2021 ใช้โดยได้รับอนุญาตจาก Altus Fine Art/www.altusfineart.com

พิมพ์