จงตามเรามา
17–23 กุมภาพันธ์ 2 นีไฟ 11–25: “เราชื่นชมยินดีในพระคริสต์”


“17–23 กุมภาพันธ์ 2 นีไฟ 11–25: ‘เราชื่นชมยินดีในพระคริสต์’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: พระคัมภีร์มอรมอน 2020 (2020)

“17–23 กุมภาพันธ์ 2 นีไฟ 11–25” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2020

อิสยาห์เขียนในหนังสือม้วน

17–23 กุมภาพันธ์

2 นีไฟ 11–25

“เราชื่นชมยินดีในพระคริสต์”

การเตรียมสอนของท่านเริ่มต้นเมื่อท่านอ่าน 2 นีไฟ 11–25 จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว สามารถช่วยให้ท่านเข้าใจบทเหล่านี้ และโครงร่างนี้จะให้แนวคิดการสอนแก่ท่าน

บันทึกความประทับใจของท่าน

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ทบทวนกับเด็กพอสังเขปว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาพวกเขาเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดและการชดใช้ของพระองค์ ถ้าพวกเขาได้แบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้ให้กับครอบครัว จงกระตุ้นให้พวกเขาพูดเรื่องนั้น

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กเล็ก

2 นีไฟ 12:2–3

พระวิหารเป็นบ้านของพระเจ้า

คำพยากรณ์ของอิสยาห์เกี่ยวกับ “ศิขรินแห่งพระนิเวศน์ของพระเจ้า” จะเป็นโอกาสให้สอนเด็กเกี่ยวกับพระวิหารและช่วยให้พวกเขาตั้งตารอไปพระวิหารในวันหน้า

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้เด็กคนหนึ่งถือภาพพระวิหาร (โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว มีหนึ่งภาพ) และขอให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่พวกเขารู้เกี่ยวกับพระวิหาร อ่าน 2 นีไฟ 12:3 และอธิบายว่าในข้อนี้ศาสดาพยากรณ์ชื่ออิสยาห์พยากรณ์ว่าจะมีพระวิหารในวันเวลาสุดท้าย อ่านข้อนี้อีกครั้ง และเน้นว่าเมื่อเราไปพระวิหาร พระเจ้า “จะทรงสอนเราถึงทางของพระองค์” และทรงช่วยให้เรา “เดินไปในวิถีของพระองค์”

  • ทำทางเดินบนพื้น ตรงปลายทางเดินให้วางภาพพระวิหารและปิดภาพไว้ ให้เด็กเดินไปบนทาง ขณะทำเช่นนั้น จงช่วยพวกเขาพูดทวนวลี “เดินไปในวิถีของพระองค์” เมื่อเด็กเดินไปสุดทาง ให้พวกเขาเปิดภาพ เดินไปในวิถีของพระผู้เป็นเจ้าหมายความว่าอย่างไร

  • ร้องเพลงๆ หนึ่งกับเด็กเกี่ยวกับพระวิหาร เช่น “ฉันชอบมองดูพระวิหาร” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 99) ช่วยเด็กหาคำและวลีในเพลงที่สอนว่าพระวิหารคืออะไรและเราทำอะไรที่นั่น

2 นีไฟ 19:6; 25:26

“เราชื่นชมยินดีในพระคริสต์”

นีไฟและอิสยาห์มีประจักษ์พยานถึงพระผู้ช่วยให้รอด และประจักษ์พยานของพวกเขาทำให้พวกเขาปีติยินดี ช่วยให้เด็กเห็นว่าท่าน “ชื่นชมยินดีในพระคริสต์”

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชิญเด็กคนหนึ่งถือภาพการประสูติของพระเยซูคริสต์ (เช่น หนังสือภาพพระกิตติคุณ ภาพที่ 30) และช่วยเด็กหาพระกุมารเยซูในภาพ อ่าน 2 นีไฟ 19:6 หรือฉายวีดิทัศน์เรื่อง “A Savior Is Born—Christmas Video” (ChurchofJesusChrist.org) ขอให้เด็กชี้ไปที่พระเยซูเมื่อพวกเขาได้ยินคำว่า เด็ก และ บุตร อธิบายว่าศาสดาพยากรณ์อิสยาห์ผู้เขียนถ้อยคำใน 2 นีไฟ 19:6 รู้เรื่องการประสูติของพระเยซูก่อนเกิดเหตุการณ์นั้นหลายร้อยปี

    2:3
  • เล่าเรื่องพระเยซูคริสต์นำปีติมาให้ผู้อื่น หรือฉายวีดิทัศน์เช่น “Jesus Heals a Man Born Blind” หรือ “Suffer the Little Children to Come unto Me” (ChurchofJesusChrist.org) ชี้ให้เห็นชั่วขณะอันน่าปีติยินดีในเรื่องหรือวีดิทัศน์ อ่าน 2 นีไฟ 25:26 และพูดถึงสาเหตุที่ท่าน “ชื่นชมยินดีในพระคริสต์” ขอให้เด็กพูดคุยกันว่าพระเยซูทรงทำให้พวกเขาปีติยินดีอย่างไร

2 นีไฟ 21:6–922

มิลเลเนียมจะเป็นเวลาแห่งสันติสุขและปีติยินดี

หลังการเสด็จมาครั้งที่สอง พระเยซูคริสต์จะทรงอยู่กับผู้คนของพระองค์ในช่วงเวลาแห่งสันติสุขที่เรียกว่ามิลเลเนียม

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้เด็กดูภาพสัตว์ต่างๆ ที่กล่าวไว้ใน 2 นีไฟ 21:6–7 และขอให้เด็กบอกชื่อสัตว์ อธิบายว่าสัตว์เหล่านี้โดยปกติเป็นศัตรูกัน แต่อิสยาห์สอนว่าหลังจากพระเยซูคริสต์เสด็จมาอีกครั้ง จะมีเวลาแห่งสันติสุขที่เรียกว่ามิลเลเนียมเมื่อสัตว์ทั้งหลายจะไม่ทำร้ายกัน เราจะทำตามตัวอย่างของสัตว์เหล่านี้ในวิธีที่เราปฏิบัติต่อกันได้อย่างไร เชื้อเชิญให้เด็กวาดภาพสัตว์เหล่านี้อยู่กันอย่างสงบสุข

  • อ่าน 2 นีไฟ 22:5 และขอให้เด็กช่วยท่านหาเพลงๆ หนึ่งที่พูดถึง “สิ่งที่ล้ำเลิศ” ตัวอย่างเพลงบางเพลงได้แก่ “พระบิดาบนสวรรค์ทรงรักฉัน” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 16–17) หรือ “พระองค์ยิ่งใหญ่” (เพลงสวด, บทเพลงที่ 34) ร้องเพลงด้วยกัน อธิบายว่าในมิลเลเนียม ทุกคนจะรู้เกี่ยวกับ “สิ่งที่ล้ำเลิศ” ที่พระเจ้าทรงทำ

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กโต

2 นีไฟ 12:2–3

พระวิหารเป็นบ้านของพระเจ้า

ท่านจะใช้ข้อเหล่านี้ช่วยให้เด็กตั้งตารอวันที่พวกเขาจะได้เข้าพระวิหารได้อย่างไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้ดูภาพพระวิหาร (โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว มีหนึ่งภาพ) ขอให้เด็กคนหนึ่งอ่าน 2 นีไฟ 12:2–3 และเชื้อเชิญให้เด็กคนอื่นฟังเหตุผลที่อิสยาห์กล่าวว่าเราต้องมีพระวิหาร ท่านอาจจะอธิบายว่าอิสยาห์เรียกพระวิหารว่า “ศิขรินแห่งพระนิเวศน์ของพระเจ้า” เหตุใดภูเขาจึงเป็นสัญลักษณ์ที่ดีของพระวิหาร

  • เชื้อเชิญให้เด็กวาดภาพตนเองกำลังไปพระวิหาร หากอยู่ในวิสัยที่ทำได้ ขอให้เยาวชนชายหรือเยาวชนหญิงคนหนึ่งในวอร์ดบอกเด็กว่าการรับบัพติศมาแทนคนตายในพระวิหารเป็นอย่างไร เยาวชนคนนี้หรือคนอื่นในวอร์ดอาจจะสอนเด็กให้รู้วิธีหาชื่อบรรพชนที่ต้องทำศาสนพิธีพระวิหารให้พวกเขา

2 นีไฟ 15:20

ซาตานพยายามทำให้ฉันสับสนเกี่ยวกับความดีและความชั่ว

เราอยู่ในโลกที่ผู้คนเรียกความชั่วว่าความดีและเรียกความดีว่าความชั่วดังที่อิสยาห์พยากรณ์ไว้ ท่านจะช่วยให้เด็กมองการหลอกลวงเช่นนั้นออกได้อย่างไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้เด็กดูอาหารบางอย่างที่ขมหรือเปรี้ยว เช่น ของดองหรือมะนาวที่อยู่ในห่อขนมหวาน อ่าน 2 นีไฟ 15:20 ด้วยกัน และอธิบายว่าซาตานพยายามทำสิ่งชั่วให้ดูดี ช่วยให้เด็กนึกถึงวิธีที่ซาตานทำสิ่งนี้ เราจะตรวจพบการหลอกลวงของเขาได้อย่างไร

  • ฉายวีดิทัศน์หนึ่งนาทีครึ่งเรื่อง “You Will Be Freed” (ChurchofJesusChrist.org) เหตุใดคนตกปลาจึงซุกซ่อนตะขอเบ็ดของเขา เหตุใดซาตานจึงซุกซ่อนบาป

    2:53

2 นีไฟ 17:14; 19:6; 25:23–26

“เราชื่นชมยินดีในพระคริสต์”

เด็กจำเป็นต้องรู้ว่าพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์เปี่ยมด้วยปีติ ท่านจะช่วยให้พวกเขา “ชื่นชมยินดีในพระคริสต์” ได้อย่างไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • ช่วยเด็กหาพระนามของพระเยซูคริสต์ใน 2 นีไฟ 17:14 และ 19:6 ท่านอาจจะต้องอธิบายว่า “อิมมานูเอล” เป็นหนึ่งในพระนามเหล่านี้ และหมายถึง “พระผู้เป็นเจ้าทรงอยู่กับเรา” พระนามเหล่านี้แต่ละพระนามสอนอะไรเราเกี่ยวกับพระองค์

  • ติดภาพพระผู้ช่วยให้รอดบนกระดาน และอ่าน 2 นีไฟ 25:26 เหตุใดนีไฟจึงพูดและเขียนมากมายเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ ให้เด็กแต่ละคนเขียนสิ่งหนึ่งเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดที่ทำให้พวกเขาเกิดปีติไว้บนกระดานใกล้ภาพพระคริสต์

  • ขอให้เด็กนึกถึงคนที่พวกเขาอยากจะ “ชักชวน … ให้เชื่อในพระคริสต์” (2 นีไฟ 25:23) เราจะแสดงให้ผู้อื่นเห็นปีติที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงนำเข้ามาสู่ชีวิตเราได้อย่างไร ให้เด็กเขียนหรือแสดงบทบาทสมมติบางสิ่งบางอย่างที่พวกเขาจะทำเพื่อช่วยให้คนที่พวกเขานึกถึงเชื่อในพระเยซูคริสต์

ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

ให้เด็กนึกถึงสิ่งหนึ่งที่พวกเขาจะทำได้เพื่อแสดงให้ครอบครัวเห็นว่าพวกเขา “ชื่นชมยินดีในพระคริสต์”

ปรับปรุงการสอนของเรา

ให้เด็กสร้างสรรค์ “เมื่อท่านสอนเด็ก ปล่อยให้พวกเขาสร้าง วาด ระบายสี เขียน หรือสร้างสรรค์ สิ่งเหล่านี้เป็นมากกว่าแค่กิจกรรมที่สนุกสนาน—เป็นสิ่งจำเป็นต่อการเรียนรู้” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 25)