หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021
26 กรกฎาคม–1 สิงหาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 84: “พลังอำนาจของความเป็นเหมือนพระผู้เป็นเจ้า”


“26 กรกฎาคม–1 สิงหาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 84: ‘พลังอำนาจของความเป็นเหมือนพระผู้เป็นเจ้า’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021 (2020)

“26 กรกฎาคม–1 สิงหาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 84” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2021

โจเซฟ สมิธได้รับฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดค

การฟื้นฟู โดย ลิซ เลมอน สวินเดิล

26 กรกฎาคม–1 สิงหาคม

หลักคำสอนและพันธสัญญา 84

“พลังอำนาจของความเป็นเหมือนพระผู้เป็นเจ้า”

ขณะที่ท่านอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 84 ท่านรู้สึกได้รับการกระตุ้นเตือนให้เน้นความจริงอะไรบ้างกับเด็กที่ท่านสอน? บันทึกข้อคิดที่มาถึงท่านจากพระวิญญาณบริสุทธิ์

บันทึกความประทับใจของท่าน

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่พวกเขารู้เกี่ยวกับฐานะปุโรหิต ท่านจะให้ดูภาพคนที่ได้รับพรจากอำนาจฐานะปุโรหิต เช่น หนังสือภาพพระกิตติคุณ ภาพที่ 103–110 และถามเด็กว่าฐานะปุโรหิตเป็นพรแก่ครอบครัวอย่างไร

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กเล็ก

หลักคำสอนและพันธสัญญา 84:19–22, 26–27

ฐานะปุโรหิตคืออำนาจของพระผู้เป็นเจ้า

เด็กที่ท่านสอนรู้จุดประสงค์ของฐานะปุโรหิตหรือไม่? ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 84 พระเจ้าทรงเปิดเผยจุดประสงค์หนึ่ง นั่นคือ ช่วยให้เรากลับไปหาพระบิดาบนสวรรค์ (เรียนรู้เพิ่มเติมได้จากหัวข้อ “ฐานะปุโรหิต” ในคู่มือพระคัมภีร์ scriptures.ChurchofJesusChrist.org)

กิจกรรมที่ทำได้

  • อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 84:20 และขอให้เด็กยืนขึ้นเมื่อได้ยินคำว่า “ศาสนพิธี” เพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าใจว่าศาสนพิธีคืออะไร ให้ดูภาพศาสนพิธีฐานะปุโรหิตหลายๆ ภาพ เช่น หนังสือภาพพระกิตติคุณ ภาพที่ 103–108 และขอให้เด็กอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นในแต่ละภาพ (ดู คู่มือพระคัมภีร์ “ศาสนพิธีscriptures.ChurchofJesusChrist.org ด้วย) อธิบายว่าพระบิดาบนสวรรค์ประทานศาสนพิธีเหล่านี้เพื่อช่วยให้เรากลับไปอยู่กับพระองค์

  • ให้เด็กระบายสีหน้ากิจกรรม ขณะระบายสี ท่านจะอธิบายศาสนพิธีฐานะปุโรหิตต่างๆ ที่อยู่ในหน้านั้น และสาเหตุที่ท่านสำนึกคุณต่อศาสนพิธีเหล่านั้น

หลักคำสอนและพันธสัญญา 84:77

ฉันเป็นเพื่อนของพระเยซูเมื่อฉันติดตามพระองค์

ท่านจะช่วยให้เด็กรู้ได้อย่างไรว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงรักพวกเขามากกว่าเพื่อนรักที่รักพวกเขา?

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้ดูภาพพระผู้ช่วยให้รอดขณะที่ท่านอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 84:77 เชื้อเชิญให้เด็กชี้ภาพพระผู้ช่วยให้รอดทุกครั้งที่พวกเขาได้ยินคำว่า “เพื่อน” อธิบายว่าเมื่อเราพยายามรักษาพระบัญญัติ เราแสดงให้พระเยซูเห็นว่าเรารักพระองค์ แบ่งปันว่าการมีพระเยซูเป็นเพื่อนมีความหมายต่อท่านอย่างไร

  • ช่วยเด็กเขียนบางอย่างที่พวกเขาทำได้เพื่อแสดงให้เพื่อนๆ เห็นว่าพวกเขารักเพื่อน พระเยซูทรงทำอะไรเพื่อแสดงให้เราเห็นว่าพระองค์ทรงเป็นเพื่อนของเรา? เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อแสดงให้พระผู้ช่วยให้รอดเห็นว่าเราเป็นเพื่อนของพระองค์? ร้องเพลงด้วยกันเกี่ยวกับพระเยซู เช่นเพลง “พระเยซูเป็นเพื่อนรักเรา” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, หน้า 37).

หลักคำสอนและพันธสัญญา 84:88

พระบิดาบนสวรรค์ทรงช่วยเหลือผู้สอนศาสนาของพระองค์

การเป็นผู้สอนศาสนาในอนาคตอาจเป็นความคิดที่น่าตื่นเต้นแต่ทำให้เด็กบางคนกลัวด้วย หลักคำสอนและพันธสัญญา 84:88 จะสอนพวกเขาว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงช่วยคนที่พระองค์ทรงส่งออกไปสั่งสอนพระกิตติคุณอย่างไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • ช่วยให้เด็กนึกถึงผู้สอนศาสนาที่พวกเขารู้จัก บอกพวกเขาว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงทำสัญญาพิเศษกับผู้สอนศาสนา อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 84:88 และช่วยให้เด็กคิดท่าประกอบสัญญาในข้อนี้ เล่าตอนที่ท่านรับใช้พระเจ้าและรู้สึกว่าพระองค์ทรงอยู่กับท่านดังอธิบายไว้ใน ข้อ 88

  • เล่าเรื่องเด็กชายวัยสี่ขวบในข่าวสารของเอ็ลเดอร์ทากาชิ วาดะเรื่อง “ดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์” ( เลียโฮนา, พ.ย. 2019, 38–40) ช่วยให้เด็กแต่ละคนนึกถึงสิ่งที่พวกเขาจะพูดเพื่อแบ่งปันประจักษ์พยานให้บางคน—เช่นแบ่งปันหลักแห่งความเชื่อ ขอให้เด็กแต่ละคนทำท่าแบ่งปันพระกิตติคุณให้เพื่อน เป็นพยานว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงช่วยให้เรารู้ว่าต้องพูดอะไรเมื่อเราพูดคุยกับผู้อื่นเกี่ยวกับพระกิตติคุณ

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กโต

หลักคำสอนและพันธสัญญา 84:4–5, 18–28, 30

ศาสนพิธีฐานะปุโรหิตช่วยฉันเตรียมอยู่กับพระบิดาบนสวรรค์อีกครั้ง

เมื่อโตขึ้น เด็กที่ท่านสอนจะสามารถมีส่วนร่วมในศาสนพิธีฐานะปุโรหิตมากขึ้น รวมทั้งบัพติศมาและการยืนยันแทนคนตายในพระวิหาร ท่านจะช่วยให้พวกเขาเข้าใจจุดประสงค์และพลังอำนาจของศาสนพิธีฐานะปุโรหิตได้อย่างไร?

กิจกรรมที่ทำได้

  • เขียน ฐานะปุโรหิตแห่งอาโรน และ ฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดค ไว้บนกระดาน อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 84:18, 26–28, 30 ด้วยกันและช่วยเด็กเขียนความจริงที่พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนจากข้อเหล่านี้ จากนั้นให้อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 8:18–25 ด้วยกันและเขียนความจริงเกี่ยวกับฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดค

  • เชื้อเชิญให้เด็กเขียนรายชื่อศาสนพิธีฐานะปุโรหิตที่พวกเขาเคยเข้าร่วมหรือเป็นพยาน เช่นบัพติศมา การยืนยัน การให้พรฐานะปุโรหิต หรือศีลระลึก ขอให้พวกเขาแบ่งปันประสบการณ์ที่มีกับศาสนพิธีเหล่านี้ อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 84:20 ด้วยกัน (ช่วยให้พวกเขาเข้าใจคำที่ไม่คุ้นหู) เหตุใดพระเจ้าทรงเชื้อเชิญให้เรามีส่วนร่วมในศาสนพิธี? ฐานะปุโรหิตช่วยให้เรากลับไปหาพระบิดาบนสวรรค์อย่างไร?

    เด็กรับศีลระลึก

    ศาสนพิธีช่วยให้เราระลึกถึงสัญญาของเรากับพระผู้เป็นเจ้า

  • ทำภาพตัวต่อจากภาพพระวิหาร อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 84:5 กับเด็กและขอให้พวกเขาฟังสิ่งที่พระเจ้าทรงบัญชาให้วิสุทธิชนสร้าง แจกภาพตัวต่อให้เด็กคนละชิ้นและขอให้พวกเขาแบ่งปันบางอย่างที่ทำได้เพื่อเตรียมเข้าพระวิหาร

หลักคำสอนและพันธสัญญา 84:64–72, 81–88

พระเจ้าทรงคุ้มครองและให้อำนาจผู้สอนศาสนา

ข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ประกอบด้วยสัญญาที่พระเจ้าทรงทำกับคนที่พระองค์ทรงเรียกให้สั่งสอนพระกิตติคุณ สัญญาเหล่านี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กเช่นกันขณะพวกเขาแบ่งปันพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ให้แก่ผู้อื่น

กิจกรรมที่ทำได้

  • จัดกลุ่มเด็กเป็นคู่ๆ และให้อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 84:64–72, 81–882 คู่ละสองสามข้อ เชื้อเชิญให้พวกเขาค้นหาสัญญาที่พระเจ้าประทานแก่ผู้แบ่งปันพระกิตติคุณ ขอให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้กับชั้นเรียน ช่วยให้เด็กนึกถึงคนรู้จักหรือคนในพระคัมภีร์ที่ได้รับความช่วยเหลือจากพระเจ้าเมื่อสั่งสอนพระกิตติคุณ (เช่น แซมิวเอลชาวเลมัน [ดู ฮีลามัน 13:2–4; 16:6–7] หรือแอมัน [ดู แอลมา 17:32–38]) เล่าประสบการณ์เวลาที่ท่านรู้สึกถึงการสนับสนุนของพระเจ้าขณะท่านรับใช้พระองค์

  • นำถ้วยหรือภาชนะคล้ายกันมาชั้นเรียน เขียนวิธีที่เด็กสามารถเป็นผู้สอนศาสนาในเวลานี้ลงในกระดาษแผ่นเล็กยาว แล้วใส่ไว้ในถ้วย หงายถ้วยแล้ววางรวมไว้ใกล้ๆ กันบนพื้น เชื้อเชิญให้เด็กผลัดกันโยนวัตถุชิ้นเล็ก ๆ ลงในถ้วยใบใดใบหนึ่งแล้วทำท่าตามที่เขียนไว้บนกระดาษในถ้วยใบนั้น พระบิดาบนสวรรค์จะทรงช่วยเหลือเราได้อย่างไรเมื่อเราแบ่งปันพระกิตติคุณกับผู้อื่นแม้ทำได้ยากหรือเรารู้สึกประหม่า?

  • ช่วยให้เด็กเห็นว่าเราทุกคนเป็นสมาชิกศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายเพราะงานเผยแผ่ศาสนา—ผู้สอนศาสนาสอนพระกิตติคุณให้แก่เรา บิดามารดาของเรา หรือบรรพชนของเรา เล่าให้เด็กฟังว่าผู้สอนศาสนาช่วยให้ท่านหรือบรรพชนรับพระกิตติคุณอย่างไร ให้เด็กๆ เล่าประสบการณ์คล้ายๆ กัน กระตุ้นพวกเขาให้ถามบิดามารดาว่าสมาชิกศาสนจักรคนแรกในครอบครัวของพวกเขาเรียนพระกิตติคุณอย่างไร

ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เชื้อเชิญให้เด็กทำบางอย่างสัปดาห์นี้เพื่อแบ่งปันพระกิตติคุณกับคนในบ้านหรือกับเพื่อนคนหนึ่ง กระตุ้นพวกเขาให้ทูลขอความช่วยเหลือจากพระบิดาบนสวรรค์และคอยดูว่าพระองค์ทรงทำอะไรเพื่อช่วยพวกเขา

ปรับปรุงการสอนของเรา

ให้ใช้ประสาทสัมผัส “เด็กๆ ส่วนใหญ่ (และผู้ใหญ่ด้วย) เรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อมีการใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่าง ค้นหาวิธีที่จะช่วยเด็กให้ใช้ประสาทสัมผัสแห่งการมองเห็น ได้ยิน และจับต้องเมื่อพวกเขาเรียนรู้” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 25)