จงตามเรามา
4–10 พฤศจิกายน ฮีบรู 1–6: ‘พระเยซูคริสต์ ‘​แหล่ง​กำ‌เนิด​แห่ง​ความ​รอด​นิ‌รันดร์​’


“4–10 พฤศจิกายน ฮีบรู 1–6: ‘พระเยซูคริสต์ ‘​แหล่ง​กำ‌เนิด​แห่ง​ความ​รอด​นิ‌รันดร์​’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: พันธสัญญาใหม่ 2019 (2019)

“4–10 พฤศจิกายน ฮีบรู 1–6,” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2019

พระคริสต์ทรงยืนอยู่กับเด็กหญิงและชายคนหนึ่ง

พิมเสนแห่งกิเลอาด, โดย แอนน์ เฮนรี

4–10 พฤศจิกายน

ฮีบรู 1–6

พระเยซูคริสต์ “​แหล่ง​กำ‌เนิด​แห่ง​ความ​รอด​นิ‌รันดร์​”

ท่านพบความจริงใดใน ฮีบรู 1–6 ที่ท่านรู้สึกได้รับแรงนันดาลใจให้สอนเด็ก ตั้งใจฟังการกระตุ้นเตือนจากพระวิญญาณขณะที่ท่านเตรียม และให้จดบันทึกไว้ด้วย

บันทึกความประทับใจของท่าน

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เด็กยอมรับคำเชื้อเชิญเมื่อสิ้นสุดบทเรียนของสัปดาห์ที่แล้วหรือไม่ที่ให้หาข้อพระคัมภีร์ที่พวกเขาจะแบ่งปันได้ หากใช่ ให้เวลาพวกเขาแบ่งปัน หากไม่ ช่วยพวกเขานึกถึงบางสิ่งที่เรียนรู้จากพระคัมภีร์เมื่อไม่นานมานี้ที่พวกเขาจะแบ่งปันได้

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

เด็กเล็ก

ฮีบรู 1:2–10; 2:8–10, 17–18

ฉันเชื่อในพระเยซูคริสต์

ข้อเหล่านี้สามารถช่วยเด็กเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และเสริมสร้างความสัมพันธ์ของพวกเขากับพระองค์

กิจกรรมที่ทำได้

  • โดยใช้คำของท่านเอง เขียนความจริงที่ท่านพบเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ใน ฮีบรู 1:2–10; 2:8–10, 17–18 ในแถบกระดาษและซ่อนไว้ทั่วห้อง เชื้อเชิญให้เด็กหาแถบกระดาษเหล่านั้น ช่วยพวกเขาอ่านความจริงที่เขียนในกระดาษ และพูดเกี่ยวกับความหมายของความจริงเหล่านี้ หากจำเป็น อธิบายให้เด็กทราบว่าเราเรียกพระเยซูว่าพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้าเพราะพระบิดาบนสวรรค์ทรงเป็นพระบิดาทั้งทางวิญญาณและร่างกายของพระองค์

  • ส่งต่อภาพพระผู้ช่วยให้รอดไปทั่วห้อง ให้เด็กแต่ละคนแบ่งปันว่าเหตุใดเขาจึงขอบพระทัยสำหรับพระเยซูคริสต์ขณะกำลังถือภาพ

ฮีบรู 3:8

พระบิดาบนสวรรค์ทรงขอ “อย่าให้จิตใจ [ของเรา] ดื้อรั้น”

ฮีบรู 3 ยกตัวอย่างชาวอิสราเอลที่มีจิตใจดื้อรั้นและปฏิเสธพรของพระเจ้า ตัวอย่างดังกล่าวเป็นข้อเตือนใจเราทุกคนว่าเราต้องไม่มีจิตใจดื้อรั้น

กิจกรรมที่ทำได้

  • นำฟองน้ำ (หรือผ้าเช็ดตัว) และก้อนหินมาที่ชั้นเรียน เชื้อเชิญให้เด็กสัมผัสวัตถุดังกล่าวและบรรยายว่าวัตถุเหล่านั้นรู้สึกอย่างไร เทน้ำสองสามหยดลงบนวัตถุแต่ละชิ้น และชี้ให้เห็นว่าน้ำซึมเข้าไปในฟองน้ำมากกว่าก้อนหิน อธิบายว่าใจของเราต้องอ่อนและไม่แข็งกระด้างเพื่อที่เราจะยอมรับความจริงของพระบิดาบนสวรรค์เข้ามาในใจเราได้

  • ตัดรูปหัวใจออกจากวัสดุที่อ่อนนิ่ม เช่นผ้า และวัสดุที่แข็งกว่า เช่นกระดาษแข็ง บอกเด็กว่าเมื่อเราฟังและเชื่อฟังเรามีใจที่อ่อน เมื่อเราไม่ฟังและไม่เชื่อฟังเรามีใจที่แข็งกระด้าง ด้วยถ้อยคำของท่านเอง แบ่งปันตัวอย่างจากพระคัมภีร์ของผู้คนที่มีใจอ่อนโยนหรือใจแข็งกระด้าง (เช่นนีไฟ เลมัน และเลมิวเอล [1 นีไฟ 2:16–19], เปาโล [กิจการของอัครทูต 9:1–22], หรือโจเซฟ สมิธ [โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:11–20]) ขณะที่ท่านแบ่งปันตัวอย่าง เชื้อเชิญให้เด็กบอกว่าจิตใจแบบใดคือใจอ่อนโยน แบบใดคือใจแข็งกระด้าง

โมเสสแต่งตั้งอาโรน พี่ชายของท่าน

โมเสสเรียกอาโรนสู่การปฏิบัติศาสนกิจ, โดย แฮร์รีย์ แอนเดอร์สัน

ฮีบรู 5:4

ผู้ดำรงฐานะปุโรหิตได้รับเรียกจากพระผู้เป็นเจ้า

ฮีบรู 5:4 เป็นข้อที่สำคัญเพราะข้อนี้ขยายความว่าผู้ดำรงฐานะปุโรหิต—และคนอื่นๆ ที่รับใช้ในศาสนจักร—ต้องได้รับเรียกจากพระผู้เป็นเจ้า

กิจกรรมที่ทำได้

  • อ่าน ฮีบรู 5:4 ให้เด็กฟัง ขอให้ผู้ดำรงฐานะปุโรหิตมาอธิบายว่าฐานะปุโรหิตคืออะไรและแบ่งปันประสบการณ์ของเขาเมื่อรับฐานะปุโรหิต

  • ช่วยให้เด็กท่องจำวลีจากหลักแห่งความเชื่อข้อห้า แสดงประจักษ์พยานว่าคนที่ได้รับเรียกให้ทำงานของพระผู้เป็นเจ้าจะได้รับเรียกโดยพระผู้เป็นเจ้าผ่านการเปิดเผย

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

เด็กโต

ฮีบรู 1:2–10; 2:8–10, 17–18

ฉันเชื่อในพระเยซูคริสต์

สาส์นถึงชาวฮีบรูเขียนเพื่อเสริมสร้างศรัทธาในพระเยซูคริสต์ของวิสุทธิชนชาวฮีบรู สามารถทำแบบเดียวกันได้กับเด็กที่ท่านสอน

กิจกรรมที่ทำได้

  • มอบหมายข้อพระคัมภีร์สองสามข้อใน ฮีบรู 1:2–10; 2:8–10, 17–18 ให้เด็กแต่ละคนและเชื้อเชิญให้พวกเขาค้นหาความจริงเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ในข้อเหล่านั้น ให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่พบหรือเขียนบนกระดาน เรารู้อะไรอีกเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ เด็กอาจหาแนวคิดจากเพลงเช่น “ฉันรู้พระผู้ไถ่ทรงพระชนม์” (เพลงสวด, บทที่ 59) หรือ “พระองค์ทรงส่งพระบุตร” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 20–21)

  • เชื้อเชิญให้เด็กวาดรูปตนเองกับพ่อแม่ของพวกเขา ขอให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่พวกเขามีเหมือนกับพ่อแม่ของพวกเขา อธิบายว่าเมื่อ ฮีบรู 1:3 บอกว่าพระเยซูคริสต์ทรงมี “แก่น‍แท้​เดียว​กับ [​พระ‍ผู้เป็นเจ้า]” นั่นหมายความว่าพระเยซูและพระบิดาบนสวรรค์ทรงมีคุณสมบัติและคุณลักษณะเหมือนกัน เป็นพยานว่าเราเรียนรู้เกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์โดยการเรียนรู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และทำตามพระองค์

  • ช่วยเด็กนึกถึงคนที่พวกเขาสามารถแบ่งปันประจักษ์พยานของพระเยซูคริสต์ด้วยได้ ท่านอาจเชื้อเชิญให้พวกเขาฝึกแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาจะบอกผู้อื่นเกี่ยวกับพระเยซู

ฮีบรู 3:7–19

เพื่อจะรับคำแนะนำและพรของพระบิดาบนสวรรค์ เราต้อง “อย่าให้จิตใจ [ของเรา] ดื้อรั้น”

ใน ฮีบรู 3 เรื่องราวของชาวอิสราเอลในแดนทุรกันดารใช้สอนความสำคัญของการไม่ทำให้ใจของเราดื้อรั้น ท่านจะใช้เรื่องนี้สอนเด็กในชั้นเรียนของท่านถึงหลักธรรมนี้อย่างไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • ขอให้เด็กนึกถึงสิ่งต่างๆ ที่แข็งและนุ่ม (ท่านอาจมีตัวอย่างมาให้พวกเขาดู) อ่าน ฮีบรู 3:8 ด้วยกัน การมีใจดื้อรั้นหมายความว่าอย่างไร ทำไมพระผู้เป็นเจ้าจึงทรงต้องการให้เรามีใจที่อ่อน

  • ในถ้อยคำของท่านเอง เล่าเรื่องราวที่ชาวอิสราเอลมีใจดื้อรั้นต่อพระเจ้าในแดนทุรกันดาร (ดู กันดารวิถี 14:1–12; ฮีบรู 3:7–19) ให้เด็กแสดงท่าทางประกอบเรื่องราว จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราทำใจดื้อรั้นต่อพระเจ้าและพระกิตติคุณของพระองค์

  • เชื้อเชิญให้เด็กอ่าน มัทธิว 13:15; ฮีบรู 3:15; โมไซยาห์ 11:29; และ โมเสส 6:27 ให้พวกเขาวาดรูปส่วนต่างๆ ของร่างกายที่กล่าวถึงในข้อเหล่านี้ การมีหูตึง ตาบอด และใจดื้อรั้นทางวิญญาณมีความหมายว่าอย่างไร เราจะทำให้แน่ใจได้อย่างไรว่าหู ตา และใจของเราพร้อมรับพรของพระผู้เป็นเจ้า

ฮีบรู 5:1–4

ผู้ดำรงฐานะปุโรหิตได้รับเรียกจากพระผู้เป็นเจ้า

ฮีบรู 5 ให้โอกาสในการสนทนาว่าฐานะปุโรหิตคืออะไร—พลังอำนาจและสิทธิอำนาจที่จะกระทำในพระนามของพระผู้เป็นเจ้า—และวิธีได้รับ สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับเด็กชายที่กำลังเตรียมรับการแต่งตั้งสู่ฐานะปุโรหิต

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้ดูภาพ โมเสสมอบฐานะปุโรหิตให้อาโรน (หนังสือภาพพระกิตติคุณ, ภาพที่ 15) ขณะที่เด็กคนหนึ่งอ่าน ฮีบรู 5:4 อาจเป็นประโยชน์ที่จะอธิบายว่าเพราะอาโรนเป็นคนแรกที่ดำรงฐานะปุโรหิตแห่งอาโรน จึงตั้งชื่อตามท่าน ช่วยเด็กนึกถึงหน้าที่ของผู้ดำรงฐานะปุโรหิตแห่งอาโรน (เช่นการให้บัพติศมา การสวดอ้อนวอนให้พรและส่งผ่านศีลระลึก และการเชื้อเชิญผู้อื่นมาสู่พระคริสต์)

  • ช่วยเด็กนึกถึงวิธีต่างๆ ที่ผู้คนได้รับสิทธิอำนาจ ตัวอย่างเช่น ครู หมอ ผู้นำทางการเมืองได้รับสิทธิอำนาจอย่างไร พระผู้เป็นเจ้าประทานสิทธิอำนาจของพระองค์อย่างไร เชื้อเชิญให้เด็กนึกถึงคำถามนี้ขณะที่พวกเขาอ่าน ฮีบรู 5:4 และหลักแห่งความเชื่อข้อห้า

ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันพระคัมภีร์ เพลง หรือกิจกรรมที่พวกเขาเรียนรู้ในชั้นเรียนวันนี้กับครอบครัวของพวกเขาในการสังสรรค์ในครอบครัว

ปรับปรุงการสอนของเรา

เด็กสามารถรับรู้อิทธิพลของพระวิญญาณ สอนเด็กว่าความรู้สึกสงบ ความรัก และความอบอุ่นที่พวกเขามีเมื่อพวกเขาพูดหรือร้องเพลงเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณของพระองค์มาจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ ความรู้สึกเหล่านี้สามารถสร้างประจักษ์พยานของพวกเขา