จงตามเรามา
11–17 พฤศจิกายน ฮีบรู 7–13: ‘มหา‍ปุ‌โร‌หิต​แห่ง​บรร‌ดา​สิ่ง​ประ‌เสริฐ​ซึ่ง​มา​ถึง​แล้ว’


“11–17 พฤศจิกายน ฮีบรู 7–13: ‘มหา‍ปุ‌โร‌หิต​แห่ง​บรร‌ดา​สิ่ง​ประ‌เสริฐ​ซึ่ง​มา​ถึง​แล้ว’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: พันธสัญญาใหม่ 2019 (2019)

“11–17 พฤศจิกายน ฮีบรู 7–13,” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2019

เมลคีเซเดคให้พรอับราม

เมลคีเซเดคให้พรอับราม, โดย วอลเทอร์ เรน

11–17 พฤศจิกายน

ฮีบรู 7–13

“มหา‍ปุ‌โร‌หิต​แห่ง​บรร‌ดา​สิ่ง​ประ‌เสริฐ​ซึ่ง​มา​ถึง​แล้ว”

ขณะที่ท่านทบทวนและไตร่ตรองโครงร่างนี้ จงตั้งใจฟังการกระตุ้นเตือนที่ท่านได้รับเกี่ยวกับเด็กที่ท่านสอน พระวิญญาณจะทรงช่วยท่านพบข่าวสารสำหรับพวกเขาใน ฮีบรู 7–13

บันทึกความประทับใจของท่าน

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ขอให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่พวกเขากับครอบครัวทำเพื่อเรียนรู้พระกิตติคุณที่บ้าน เชื้อเชิญให้พวกเขาเล่าประสบการณ์ที่ชื่นชอบเป็นพิเศษเกี่ยวกับการเรียนรู้พระกิตติคุณกับครอบครัว

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

เด็กเล็ก

ฮีบรู 7:1–6

ฐานะปุโรหิตช่วยเราได้หลากหลายทาง

ฮีบรู 7:1–6 สามารถให้โอกาสในการแนะนำเด็กเรื่องพรของฐานะปุโรหิต

กิจกรรมที่ทำได้

  • อธิบายสั้นๆ ว่าอับราฮัมเป็นใคร แล้วใช้ ฮีบรู 7:1–6 และ งานแปลของโจเซฟ สมิธ, ปฐมกาล 14:36–40 (ในคู่มือพระคัมภีร์) เพื่อสอนว่าอับราฮัมจ่ายส่วนสิบแก่เมลคีเซเดค อธิบายว่าเมลคีเซเดคดำรงฐานะปุโรหิตระดับสูงกว่า ซึ่งเป็นสิทธิอำนาจที่พระผู้เป็นเจ้าประทานแก่มนุษย์บนแผ่นดินโลก และเขาใช้ฐานะปุโรหิตเพื่อให้พรอับราฮัม เด็กๆ อาจชอบแสดงท่าทางประกอบเรื่องราวโดยมีอุปกรณ์ช่วยง่ายๆ เช่นมงกุฏและซองส่วนสิบ

  • เชิญผู้ดำรงฐานะปุโรหิตแห่งเมลคีเซเดคและผู้ดำรงฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนอย่างละหนึ่งคนมาชั้นเรียนและให้บอกเด็กว่าพวกเขาใช้ฐานะปุโรหิตเพื่อเป็นพรแก่ผู้อื่นอย่างไร จากนั้นให้เด็กดูภาพศาสนพิธีฐานะปุโรหิตต่างๆ (ตัวอย่างเช่น ดู ภาพที่ 103–108 ใน หนังสือภาพพระกิตติคุณ) ช่วยเด็กระบุว่าศาสนพิธีใดต้องใช้ฐานะปุโรหิตใดและมอบภาพนั้นให้ผู้ดำรงฐานะปุโรหิตที่เหมาะสมถือ

ฮีบรู 11:1–32

ศรัทธาคือการเชื่อในสิ่งที่เรามองไม่เห็น

แม้ว่าพวกเขามองไม่เห็นพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์หรือได้รับประสบการณ์จากพรทุกอย่างของพระกิตติคุณ แต่เด็กที่ท่านสอนสามารถเสริมสร้างศรัทธาโดยการเรียนรู้จากตัวอย่างใน ฮีบรู 11

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้ดูภาพพระเยซู วางสิ่งของสี่ห้าชิ้นไว้ทั่วห้องซึ่งแสดงถึง “ความแน่ใจ” ว่าพระองค์ทรงมีอยู่จริงแม้ว่าเราจะมองไม่เห็นพระองค์ (เช่นพระคัมภีร์ ภาพของนิมิตแรก และภาพของโลก) เชื้อเชิญให้เด็กหาสิ่งของเหล่านั้น แล้วแบ่งปันกับพวกเขาว่าสิ่งของแต่ละอย่างช่วยให้เรามีศรัทธาว่าพระเยซูทรงพระชนม์อยู่อย่างไร

  • นำพัดลมมาที่ชั้นเรียน แล้วให้เด็กผลัดกันสัมผัสถึงลมที่พัดใส่หน้าพวกเขา สอนพวกเขาว่าเรามองไม่เห็นลม แต่เราสัมผัสได้ เช่นเดียวกัน เรามองไม่เห็นพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ แต่เราสามารถสัมผัสถึงความรักของพระองค์ได้และมีศรัทธาว่าพระองค์ทรงมีอยู่จริง

  • แบ่งปันเรื่องราวของผู้คนหนึ่งคนหรือมากกว่านั้นที่กล่าวถึงใน ฮีบรู 11:4–32 ท่านอาจใช้ เรื่องราวในพันธสัญญาเดิม (ดูบทที่ 4–6, 8–10, 15–17, 23, และ 28) คนเหล่านี้ทำอะไรเพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขามีศรัทธาในสิ่งที่พวกเขามองไม่เห็น แบ่งปันพรบางอย่างที่ท่านได้รับเพราะศรัทธาของท่าน

ฮีบรู 13:5–6

พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์จะทรงช่วยเราและไม่ทอดทิ้งเราไป

การทดลองอะไรที่เด็กอาจกำลังเผชิญ ข่าวสารของ ฮีบรู 13:5–6 จะช่วยพวกเขาได้อย่างไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • ทบทวนเรื่องราวพันธสัญญาใหม่บางเรื่องที่เด็กเรียนรู้ในปีนี้ซึ่งเป็นเรื่องราวที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงช่วยเหลือผู้อื่น เช่นเมื่อพระองค์ทรงรักษาคนง่อย (ดู ลูกา 5:18–26) หรือทรงเลี้ยงอาหารคน 5,000 คน (ดู มัทธิว 14:15–21) ช่วยเด็กเรียนรู้ประโยคนี้ “องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า​เป็น​พระ​ผู้​ช่วย​ของ​ข้าพ‌เจ้า” (ฮีบรู 13:6)

  • เชื้อเชิญให้เด็กวาดรูปเวลาที่พวกเขารู้สึกกลัว อ่าน ฮีบรู 13:5–6 ให้พวกเขาฟัง และเป็นพยานว่าพระบิดาบนสวรรค์จะทรงช่วยเราและจะไม่ทอดทิ้งเราไป ช่วยเด็กตัดกระดาษเป็นรูปหัวใจขนาดใหญ่พอที่จะปิดภาพวาดของพวกเขา อะไรบ้างที่ช่วยให้เรารู้สึกเข้าใกล้พระบิดาบนสวรรค์มากขึ้น เขียนสิ่งเหล่านี้ลงในหัวใจกระดาษ

  • สอนเด็กร้องเพลงข้อที่สองของ “พระเจ้าที่รักทรงบอกข้าพระองค์” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 75) ตามที่เพลงบอก เราจะได้รับความช่วยเหลืออะไรบ้างเมื่อพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงอยู่ใกล้เรา พูดถึงเวลาที่พระบิดาบนสวรรค์ทรงอยู่ใกล้ท่านและช่วยเหลือท่าน

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

เด็กโต

ฮีบรู 7:1–4

ผู้ดำรงฐานะปุโรหิตที่มีค่าควรทำตามพระผู้ช่วยให้รอด

ท่านจะใช้ข้อเหล่านี้เพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจว่าคนที่ดำรงฐานะปุโรหิตต้องซื่อสัตย์และรับใช้ผู้อื่นดังที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทำได้อย่างไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • ช่วยเด็กระบุสิ่งที่พวกเขารู้เกี่ยวกับผู้ดำรงฐานะปุโรหิตผู้ยิ่งใหญ่สองท่าน อับราฮัมและเมลคีเซเดค พวกเขาพบความช่วยเหลือได้ใน ฮีบรู 7:1–4; อับราฮัม 1:1–2; และ งานแปลของโจเซฟ สมิธ, ปฐมกาล 14:25–40 (ในคู่มือพระคัมภีร์) คุณสมบัติเหมือนพระคริสต์แบบใดบ้างที่ชายเหล่านี้มีซึ่งช่วยให้พวกเขายกย่องฐานะปุโรหิต

  • ขอให้เด็กอ่าน ฮีบรู 7:1–2 และมองหาชื่อที่ใช้บรรยายถึงเมลคีเซเดค ชื่อเหล่านี้เตือนเราถึงพระเยซูคริสต์อย่างไร ช่วยพวกเขานึกถึงวิธีที่พระเยซูทรงเป็น “​กษัตริย์​แห่ง​สันติ‍สุข” พวกเขารู้จักผู้ดำรงฐานะปุโรหิตคนใดอีกหรือไม่ที่เป็นแบบอย่างของการทำตามพระผู้ช่วยให้รอด

  • แบ่งปันประสบการณ์ซึ่งผู้ดำรงฐานะปุโรหิตที่ชอบธรรมช่วยให้ท่านเข้าใกล้พระผู้ช่วยให้รอดมากยิ่งขึ้น ช่วยเด็กคิดวิธีที่การรับใช้ฐานะปุโรหิตเป็นพรแก่พวกเขา

ฮีบรู 11

พระบิดาบนสวรรค์ประทานรางวัลแก่คนที่มีศรัทธา

ฮีบรู 11 มีตัวอย่างมากมายของผู้คนที่ได้รับพรเพราะพวกเขากระทำด้วยศรัทธา เรื่องราวใดสร้างแรงบันดาลใจมากที่สุดหรือเป็นประโยชน์มากที่สุดแก่เด็กที่ท่านสอน

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กเขียนบนกระดานถึงสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับศรัทธาใน ฮีบรู 11:1–3, 6 มอบหมายชื่อของคนที่กล่าวถึงใน ฮีบรู 11 ให้แก่เด็กแต่ละคนและให้พวกเขาอ่านข้อพระคัมภีร์ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น ขอให้พวกเขาบอกใบ้เกี่ยวกับบุคคลนั้นเพื่อเด็กคนอื่นจะเดาได้ว่าเป็นใคร ผู้คนเหล่านี้แสดงศรัทธาอย่างไร พระบิดาบนสวรรค์ประทานรางวัลแก่พวกเขาอย่างไร (สำหรับภาพของคนเหล่านี้, ดู หมวดพันธสัญญาเดิม ของ หนังสือภาพพระกิตติคุณ)

  • หลังจากอ่านเกี่ยวกับตัวอย่างของความซื่อสัตย์ใน ฮีบรู 11 ขอให้เด็กนึกถึงคนรู้จักซึ่งเป็นผู้แสดงศรัทธาและเขียนเกี่ยวกับบุคคลนั้น เชื้อเชิญให้นักเรียนสี่ห้าคนแบ่งปันประสบการณ์ของพวกเขากับชั้นเรียน

ฮีบรู 12:5–11

พระเจ้าทรงตีสอนคนที่พระองค์ทรงรัก

ข้อเหล่านี้สามารถช่วยให้เด็กเข้าใจว่าพระบิดาบนสวรรค์ พ่อแม่ของพวกเขา และคนอื่นๆ ตำหนิพวกเขาเพราะรักและต้องการให้พวกเขาเรียนรู้จากความผิดพลาด

กิจกรรมที่ทำได้

  • อ่าน ฮีบรู 12:5–11 ด้วยกัน และขอให้เด็กหาเหตุผลที่พระบิดาบนสวรรค์ทรงตีสอนเรา (ตำหนิหรือลงโทษเรา) สิ่งนี้สอนอะไรเราเกี่ยวกับเหตุผลที่ว่าทำไมพ่อแม่ทางโลกตำหนิลูกๆ ของพวกเขา เราจะตอบรับการตำหนิด้วยความรักอย่างไร

  • แบ่งปันตัวอย่างของผู้คนในพระคัมภีร์ผู้ที่พระเจ้าทรงตีสอนและกลับใจ (ตัวอย่างเช่น, ดู 1 นีไฟ 16:25–27; อีเธอร์ 2:13–15) พวกเขาเป็นแบบอย่างที่ดีของหลักธรรมใน ฮีบรู 12:5–11 อย่างไร

  • หลังจากอ่าน ฮีบรู 12:5–11 เชื้อเชิญให้เด็กจดสิ่งที่พวกเขาจะพยายามจำสองสามอย่างเมื่อพวกเขาถูกตำหนิเพราะความผิดพลาด

ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เชื้อเชิญให้เด็กวาดรูปสิ่งที่พวกเขารู้สึกว่าสำคัญที่สุดที่พวกเขาเรียนรู้ในชั้นเรียน กระตุ้นให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้กับครอบครัว

ปรับปรุงการสอนของเรา

ใช้หน้ากิจกรรม ขณะที่เด็กทำหน้ากิจกรรมระหว่างชั้นเรียน ให้ใช้เวลาทบทวนหลักธรรมจากบทเรียน