พันธสัญญาใหม่ 2023
15–21 พฤษภาคม มัทธิว 21–23; มาระโก 11; ลูกา 19–20; ยอห์น 12: “นี่แน่ะ กษัตริย์ของท่านกำลังเสด็จมา”


“15–21 พฤษภาคม มัทธิว 21–23; มาระโก 11; ลูกา 19–20; ยอห์น 12: ‘นี่แน่ะ กษัตริย์ของท่านกำลังเสด็จมา,’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2022)

“15–21 พฤษภาคม มัทธิว 21–23; มาระโก 11; ลูกา 19–20; ยอห์น 12,” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2023

ชายบนต้นไม้ขณะพระเยซูเสด็จเข้ามาใกล้

ศักเคียสบนต้นมะเดื่อ โดย เจมส์ ทิสสอท

15–21 พฤษภาคม

มัทธิว 21–23; มาระโก 11; ลูกา 19–20; ยอห์น 12

“นี่แน่ะ กษัตริย์ของท่านกำลังเสด็จมา”

ขณะที่ท่านอ่าน มัทธิว 21–23; มาระโก 11; ลูกา 19–20; และ ยอห์น 12 จงเอาใจใส่ความประทับใจที่ท่านได้รับจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ ดู “การตอบรับความต้องการของเด็กเล็ก” ที่อยู่ต้นคู่มือเล่มนี้สำหรับสิ่งที่ต้องนึกถึงขณะสอนหลักธรรมเหล่านี้

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ให้ดูภาพจาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว และให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่พวกเขารู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภาพ

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กเล็ก

ลูกา 19:1–10

พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูทรงรู้จักชื่อของฉัน

ขณะท่านอ่านเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ของพระผู้ช่วยให้รอดกับศักเคียส ท่านพบข่าวสารอะไรบ้างที่อาจเป็นพรแก่เด็กที่ท่านสอน?

กิจกรรมที่ทำได้

  • แสดงภาพ ศักเคียสบนต้นมะเดื่อ (ในโครงร่างนี้หรือที่ ChurchofJesusChrist.org) ช่วยเด็กมองหาศักเคียสและพูดชื่อเขา คิดท่าทางให้เด็กทำขณะท่านเล่าเรื่องของศักเคียสและพระเยซู—ตัวอย่างเช่น ท่าเขย่งเท้ามองข้ามฝูงชนหรือทำท่าปีนต้นไม้ อธิบายว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงเห็นศักเคียสและทรงเรียกชื่อเขา เป็นพยานว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงรู้จักเด็กแต่ละคนและชื่อของพวกเขาเช่นกัน

  • นำกรอบรูปเปล่ามาที่ชั้นเรียน หรือทำกรอบรูปจากกระดาษ เชื้อเชิญให้เด็กแต่ละคนผลัดกันถือกรอบรูปไว้ในวงหน้าของเขาขณะคนที่เหลือพูดว่า “พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูทรงรู้จัก [ชื่อเด็ก]”

  • ร้องเพลงด้วยกันเกี่ยวกับความรักของพระบิดาบนสวรรค์ เช่น “ฉันลูกพระผู้เป็นเจ้า” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 2–3) ช่วยให้เด็กฟังสิ่งที่ช่วยให้พวกเขารู้ว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงรักพวกเขา

มัทธิว 21:12–14

พระวิหารเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์

ความคารวะที่พระเยซูทรงมีให้พระวิหาร ตามที่อธิบายไว้ในข้อเหล่านี้ จะช่วยให้เด็กที่ท่านสอนเข้าใจว่าพระวิหารคือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้ดูภาพ พระเยซูทรงชำระพระวิหาร (หนังสือภาพพระกิตติคุณ, ภาพที่ 51) และเล่าเรื่องที่บันทึกไว้ใน มัทธิว 21:12–14 ช่วยเด็กค้นหาเงินและสัตว์ในภาพ จากนั้นให้สนทนาว่าเหตุใดพระผู้ช่วยให้รอดทรงต้องการให้คนรับแลกเงินและคนขายสัตว์ออกจากพระวิหาร

  • ให้ดูภาพพระวิหาร (ดูตัวอย่างใน หนังสือภาพพระกิตติคุณ, ภาพที่ 117–119) และขอให้เด็กแบ่งปันว่ารู้สึกอย่างไรเมื่อเห็นพระวิหาร ท่านอาจอธิบายว่าพระวิหารคือสถานที่ซึ่งเราจะไปให้สัญญากับพระผู้เป็นเจ้า แสวงหาคำตอบสำหรับคำสวดอ้อนวอน และรู้สึกใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้า ช่วยเด็กระบุความรู้สึกจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่บอกพวกเขาว่าพระวิหารเป็นสถานที่พิเศษ ขอให้เด็กประพฤติตนดังที่พวกเขาจะทำถ้าพวกเขาอยู่ในพระวิหาร เช่น พวกเขาจะพูดด้วยเสียงกระซิบและนั่งเงียบๆ

  • ร้องเพลงด้วยกันเกี่ยวกับพระวิหาร เช่น “ฉันชอบมองดูพระวิหาร” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 99) และเชื้อเชิญให้เด็กตั้งเป้าหมายเข้าพระวิหารในวันข้างหน้า

พระวิหารฟอร์ตคอลลินส์  โคโลราโด

พระวิหารเป็นพระนิเวศน์ของพระเจ้า

มัทธิว 21:28–32

ฉันสามารถเชื่อฟัง

พระบิดาบนสวรรค์ทรงต้องการให้เราเชื่อฟัง อุปมาเรื่องบุตรชายสองคนเป็นโอกาสสอนเกี่ยวกับความสำคัญของการเชื่อฟัง

กิจกรรมที่ทำได้

  • วาดภาพบุตรชายสองคนบนกระดาน และใช้ภาพวาดขณะท่านเล่าอุปมาใน มัทธิว 21:28–32 บุตรคนใดทำถูกต้องในท้ายที่สุด? ขอให้เด็กบอกชื่อสิ่งที่พวกเขาทำได้เพื่อเชื่อฟังที่บ้าน ให้พวกเขาวาดภาพตนเองกำลังทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเหล่านั้น

  • เชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันประสบการณ์ที่พวกเขาเคยเชื่อฟังพ่อแม่ พวกเขาได้รับพรสำหรับการเชื่อฟังอย่างไร?

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กโต

ลูกา 19:1–10

เมื่อฉันแสวงหาพระผู้ช่วยให้รอด ฉันจะพบพระองค์

ท่านอาจจะใช้เรื่องของศักเคียสช่วยให้เด็กนึกถึงสิ่งที่พวกเขาทำได้เพื่อเข้าใกล้พระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้น

กิจกรรมที่ทำได้

  • อ่าน ลูกา 19:1–10 โดยหยุดทุกสองสามข้อเพื่อสนทนาว่าข้อเหล่านั้นบอกอะไรเกี่ยวกับศักเคียส ศักเคียสทำอะไรเพื่อเขาจะได้เห็นพระเยซู? เขาตอบรับอย่างไรเมื่อพระเยซูทรงขอให้เขาลงมาจากต้นไม้? ขอให้เด็กแต่ละคนบอกหนึ่งเหตุผลว่าทำไมพวกเขาจึงต้องการเห็นพระเยซู ถ้าพระผู้ช่วยให้รอดเสด็จมาที่เมืองของเรา เราจะทำอะไรเพื่อเตรียมรับเสด็จ?

  • เชื้อเชิญให้เด็กนึกถึงคนที่พวกเขารู้จักผู้อาจจะกำลังแสวงหาพระผู้ช่วยให้รอดเหมือนศักเคียส ถามเด็กว่าพวกเขาจะทำอะไรเพื่อช่วยให้คนนั้นเรียนรู้เกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอด

  • เชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันประสบการณ์เมื่อพวกเขารู้สึกว่าพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงรู้จักและรักพวกเขา

มัทธิว 21:12–14

พระวิหารเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ที่ฉันควรเคารพ

เรื่องพระผู้ช่วยให้รอดทรงชำระพระวิหารจะช่วยท่านสอนเด็กเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของพระวิหารได้อย่างไร?

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กอ่าน มัทธิว 21:12–14 ให้ดูภาพ พระเยซูทรงชำระพระวิหาร (หนังสือภาพพระกิตติคุณ, ภาพที่ 51) และถามว่าข้อใดเป็นเหตุการณ์ในรูป

  • เชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรเมื่อเข้าไปในพระวิหาร อยู่รอบๆ พระวิหาร หรือมองดูภาพพระวิหาร อะไรช่วยให้พวกเขารู้ว่าพระวิหารเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์? ท่านอาจแบ่งปันกับเด็กว่าทำไมท่านจึงรักพระวิหาร เหตุใดพระวิหารจึงศักดิ์สิทธิ์ต่อท่าน?

  • เชื้อเชิญให้เยาวชนคนหนึ่งหรือมากกว่านั้นมาชั้นเรียนและพูดว่าพวกเขาเตรียมเข้าพระวิหารอย่างไร ถ้าพวกเขาเคยไปพระวิหาร ขอให้พวกเขาพูดว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรเมื่ออยู่ที่นั่น

  • ตัดภาพพระวิหารเป็นภาพจิ๊กซอว์ และแจกให้เด็กคนละชิ้น ขอให้เด็กเขียนสิ่งหนึ่งที่พวกเขาทำได้เพื่อเตรียมเข้าพระวิหารไว้ด้านหลังตัวต่อของตน ขณะที่เด็กแต่ละคนแบ่งปันแนวคิด ให้เพิ่มชิ้นของเขาเข้าไปในจิ๊กซอว์

  • เขียนข้อความต่อไปนี้บนกระดาน: ช่วยให้ฉันเตรียมรับใช้ในพระวิหารได้ เชื้อเชิญให้เด็กบอกวิธีต่างๆ เพื่อเติมประโยคนี้ให้ครบถ้วน บางความคิดอาจรวมถึง “การรักษาพันธสัญญาบัพติศมาของฉัน” หรือ “พระวิญญาณบริสุทธิ์”

มัทธิว 23:25–28

พระเยซูทรงต้องการให้ฉันเป็นคนชอบธรรมในการกระทำและความปรารถนาของฉัน

พระเยซูทรงสอนพวกธรรมาจารย์และพวกฟาริสีเกี่ยวกับความสำคัญของการดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณจริงๆ—ไม่ใช่แสร้งเป็นคนชอบธรรม อะไรจะช่วยให้เด็กเข้าใจความจริงนี้?

กิจกรรมที่ทำได้

  • ขณะที่ท่านอ่าน มัทธิว 23:25–28 กับเด็ก ท่านอาจจะแบ่งปันนิยามนี้ของ คนหน้าซื่อใจคด จาก Bible Dictionary (พจนานุกรมพระคัมภีร์ไบเบิล): “คนที่แสร้งเป็นคนเคร่งศาสนาทั้งที่ไม่ใช่” เหตุใดการเป็นคนหน้าซื่อใจคดจึงไม่ดี?

  • ให้เด็กดูแก้วที่ข้างนอกสะอาดแต่ข้างในสกปรกเพื่อช่วยอธิบายอุปลักษณ์ใน มัทธิว 23:25 เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าใจเราสะอาดและบริสุทธิ์

ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

ช่วยให้เด็กคิดสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ในชั้นเรียนที่สามารถแบ่งปันกับครอบครัวที่บ้าน

ปรับปรุงการสอนของเรา

สนับสนุนบิดามารดาของเด็ก “บิดามารดาเป็นครูสอนพระกิตติคุณที่สำคัญที่สุดสำหรับลูกๆ—พวกเขามีหน้าที่รับผิดชอบหลักและพลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการมีอิทธิพลต่อลูกๆ ของพวกเขา (ดู เฉลยธรรมบัญญัติ 6:6–7) ขณะท่านสอนเด็กที่โบสถ์ ให้แสวงหาร่วมกับการสวดอ้อนวอนถึงวิธีสนับสนุนบิดามารดาของพวกเขาในบทบาทสำคัญ” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 25)