จงตามเรามา
19–25 ตุลาคม 3 นีไฟ 27–4 นีไฟ: “ไม่มีผู้คนใดมีความสุขยิ่งกว่านี้ได้”


“19–25 ตุลาคม 3 นีไฟ 27–4 นีไฟ: ‘ไม่มีผู้คนใดมีความสุขยิ่งกว่านี้ได้’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พระคัมภีร์มอรมอน 2020 (2020)

“19–25 ตุลาคม 3 นีไฟ 27–4 นีไฟ” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2020

พระเยซูทรงสวดอ้อนวอนกับชาวนีไฟ

การสวดอ้อนวอนของพระคริสต์ โดย ดีเรค เฮกสเตด

19–25 ตุลาคม

3 นีไฟ 274 นีไฟ

“ไม่มีผู้คนใดมีความสุขยิ่งกว่านี้ได้”

การศึกษา 3 นีไฟ 274 นีไฟ เป็นส่วนตัวเป็นวิธีเตรียมสอนที่ดีที่สุด หลักคำสอนและแนวคิดในโครงร่างนี้จะช่วยให้ท่านตอบรับการกระตุ้นเตือนทางวิญญาณที่ท่านได้รับขณะศึกษา

บันทึกความประทับใจของท่าน

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

วิธีหนึ่งที่จะกระตุ้นสมาชิกชั้นเรียนให้แบ่งปันข้อคิดจากการศึกษาส่วนตัวคือเชื้อเชิญให้พวกเขาหาเพลงสวดเพลงหนึ่งเกี่ยวกับความจริงที่พวกเขาเรียนรู้ใน 3 นีไฟ 274 นีไฟ จากนั้นพวกเขาจะแบ่งปันเพลงสวดที่พบและเพลงสวดเหล่านี้เกี่ยวข้องกับความจริงในพระคัมภีร์อย่างไร

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

3 นีไฟ 27:1–22

ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์มีชื่อเรียกตามพระนามของพระองค์และสร้างบนพระกิตติคุณของพระองค์

  • การสนทนาเรื่องชื่อของศาสนจักรจะทำให้สมาชิกชั้นเรียนเห็นคุณค่าของการเป็นสมาชิกศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายมากขึ้น ท่านอาจเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนบอกชื่อองค์กรต่างๆ และอธิบายว่าชื่อบอกอะไรเราเกี่ยวกับองค์กรเหล่านั้น จากนั้นสมาชิกชั้นเรียนจะอ่าน 3 นีไฟ 27:1–12 โดยมองหาสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนเกี่ยวกับชื่อศาสนจักรของพระองค์ พวกเขาจะแบ่งปันด้วยว่าการเป็นสมาชิกศาสนจักรของพระคริสต์มีความหมายต่อพวกเขาอย่างไร การรับพระนามของพระองค์หมายความว่าอย่างไร

  • ต่อไปนี้เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะสนทนาความสำคัญของชื่อศาสนจักรของพระผู้ช่วยให้รอด หลังจากสนทนาความจริงที่พบใน 3 นีไฟ 27:1–22 แล้ว ท่านจะเขียนชื่อเต็มของศาสนจักรบนกระดาน จากนั้นสมาชิกชั้นเรียนจะเลือกคำในชื่อและบอกว่าแต่ละคำช่วยให้เรารู้อย่างไรว่าเราเป็นใครหรือเราเชื่ออะไร คำกล่าวของประธานเอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ดใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” จะช่วยได้ เหตุใดการใช้ชื่อศาสนจักรเมื่อเราแบ่งปันความเชื่อกับผู้อื่นจึงเป็นเรื่องสำคัญ

  • หลังจากอธิบายว่าศาสนจักรของพระองค์ต้อง “สร้างบนกิตติคุณ [ของพระองค์]” (3 นีไฟ 27:10) พระผู้ช่วยให้รอดทรงบรรยายว่าพระกิตติคุณของพระองค์คืออะไร ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันว่าพวกเขาจะอธิบายกับเพื่อนอย่างไรว่าพระกิตติคุณคืออะไร จากนั้นท่านจะเชื้อเชิญให้พวกเขาค้นคว้า 3 นีไฟ 27:13–22 โดยมองหาว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงนิยามพระกิตติคุณของพระองค์ว่าอย่างไร เราจะสรุปสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดตรัสว่าอย่างไร ขณะที่เราศึกษานิยามพระกิตติคุณของพระผู้ช่วยให้รอด เราได้ข้อคิดอะไรบ้างเกี่ยวกับวิธีดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณในชีวิตประจำวันของเรา

3 นีไฟ 29–30

พระคัมภีร์มอรมอนเป็นเครื่องหมายบ่งบอกว่างานยุคสุดท้ายของพระผู้เป็นเจ้ากำลังเกิดสัมฤทธิผล

  • ท่านอาจจะเริ่มการสนทนาเกี่ยวกับ 3 นีไฟ 29–30 โดยพูดเกี่ยวกับเครื่องหมาย ตัวอย่างเช่น สมาชิกชั้นเรียนจะบอกชื่อเครื่องหมายที่ให้เรารู้ว่าพายุกำลังมาหรือฤดูกำลังเปลี่ยน จากนั้นพวกเขาจะอ่าน 3 นีไฟ 29:1–3 เพื่อเรียนรู้ว่าการออกมาของพระคัมภีร์มอรมอนซึ่งมอรมอนเรียกว่า “สิ่งเหล่านี้” (ดู 3 นีไฟ 21:1–7) มีความหมายว่าอย่างไร พระเจ้าประทานข่าวสารอะไรใน 3 นีไฟ 29:4–9 แก่คนที่จะ “ลบหลู่” หรือ “ปฏิเสธ” งานของพระผู้เป็นเจ้าในยุคสุดท้าย การอ่านพระคัมภีร์มอรมอนทุกวันเสริมสร้างศรัทธาของเราในสิ่งเหล่านั้นที่ผู้อื่น “ลบหลู่” หรือ “ปฏิเสธ” ในสมัยของเราอย่างไร ท่านอาจต้องการเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนอ่านพระดำรัสเชื้อเชิญของพระเจ้าใน 3 นีไฟ 30 และแบ่งปันว่าพระคัมภีร์มอรมอนได้ช่วยให้พวกเขายอมรับพระดำรัสเชื้อเชิญนี้อย่างไร

4 นีไฟ

การเปลี่ยนใจเลื่อมใสพระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณของพระองค์นำไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกันและความสุข

  • เรื่องราวใน 4 นีไฟ แสดงให้เห็นปีติที่สามารถเข้ามาในชีวิตเรา—เป็นรายตัว เป็นครอบครัว และเป็นวอร์ดหรือสเตค—เมื่อเราพยายามเปลี่ยนใจเลื่อมใสพระเยซูคริสต์อย่างเต็มที่มากขึ้น ท่านอาจจะขอให้สมาชิกชั้นเรียนค้นคว้า 4 นีไฟ 1:1–18 และเขียนพรที่มาสู่ผู้คนเมื่อพวกเขาเปลี่ยนใจเลื่อมใสพระเจ้าไว้บนกระดาน การเปลี่ยนใจเลื่อมใสของพวกเขาส่งผลอย่างไรต่อวิธีที่พวกเขาปฏิบัติต่อกัน สมาชิกชั้นเรียนอาจจะแบ่งปันว่าพระกิตติคุณนำพรคล้ายๆ กันมาสู่ครอบครัวหรือวอร์ดของพวกเขาอย่างไร เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจว่าเราแต่ละคนจะดำเนินชีวิตให้เหมือนผู้คนใน 4 นีไฟ มากขึ้นได้อย่างไร เราจะส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวกันและความสุขมากขึ้นในหมู่คนรอบตัวเราได้อย่างไร ท่านจะอ่านคำกล่าวของเอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” สมาชิกชั้นเรียนจะประเมินความพยายามส่วนตัวในสามด้านที่เอ็ลเดอร์คริสทอฟเฟอร์สันพูดถึง

  • ผู้คนในพระคัมภีร์มอรมอนแบ่งแยกตนเองเป็นชาวนีไฟกับชาวเลมัน—และอีกหลาย “ชาว”—ไปอีกหลายศตวรรษ แต่หลังจากการปฏิบัติศาสนกิจของพระผู้ช่วยให้รอดในบรรดาพวกเขา การแบ่งแยกเหล่านี้หายไป หลังจากอ่าน 4 นีไฟ 1:17 ด้วยกัน สมาชิกชั้นเรียนอาจจะแบ่งปันความคิดของพวกเขาว่ามี “ชาว” หรือกลุ่มอะไรบ้างอยู่ในสังคมของเราทุกวันนี้ เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเอาชนะการแบ่งแยกเช่นนั้นและเป็น “หนึ่งเดียวกัน, เป็นลูกของพระคริสต์” จริงๆ (ข้อ 17)

  • สมาชิกชั้นเรียนสามารถเรียนรู้อะไรจากความเสื่อมของสังคมไซอันตามที่บรรยายไว้ใน 4 นีไฟ ท่านจะเชื้อเชิญให้พวกเขาค้นคว้า 4 นีไฟ 1:19–34 โดยมองหาว่าอะไรทำให้ความสุขและความเป็นหนึ่งเดียวกันที่ผู้คนประสบราว 200 ปีหลังจากการเสด็จเยือนของพระผู้ช่วยให้รอดสิ้นสุดลง ความจริงอะไรในข้อเหล่านี้สามารถช่วยให้เราทราบเจตคติและพฤติกรรมที่ต้องเปลี่ยนในชีวิตเราและในสังคมของเรา

ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

มอรมอน 1–6 บรรยายเหตุการณ์อันน่าโศกสลดที่นำไปสู่ความพินาศของผู้คนชาวนีไฟ เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนอ่านบทเหล่านี้ เชื้อเชิญให้พวกเขามองหาสิ่งที่พวกเขาสังเกตเห็นเกี่ยวกับชาวนีไฟที่เราเห็นกำลังเกิดขึ้นในสมัยของเรา

ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อศาสนจักรของพระคริสต์

ประธานเอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ดกล่าวว่า

“ข้าพเจ้าขบคิดว่าเหตุใดพระผู้ช่วยให้รอดจึงประทานชื่อยาวหลายพยางค์ให้ศาสนจักรที่ได้รับการฟื้นฟูของพระองค์ แต่ถ้าเราคิดว่านั่นคือภาพรวมของสิ่งที่ศาสนจักรเป็นอยู่ ชื่อนั้นจะกลายเป็นชื่อที่สั้น กระชับ และตรงไปตรงมาอย่างยิ่ง คำอธิบายใดจะชัดเจนตรงไปตรงมาได้มากกว่านั้นและครอบคลุมความหมายด้วยคำเพียงไม่กี่คำ

“ทุกคำให้ความกระจ่างและสำคัญมากจนขาดไม่ได้ “คำแรก The (ในภาษาอังกฤษ) บ่งบอกว่าศาสนจักรที่ได้รับการฟื้นฟูไม่เหมือนศาสนาใดในโลก

“คำว่า ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์ ประกาศว่านี่คือศาสนจักรของพระองค์ [ดู 3 นีไฟ 27:8] …

ยุคสุดท้าย อธิบายว่านี่คือศาสนจักรเดียวกันกับศาสนจักรที่พระเยซูคริสต์ทรงสถาปนาในช่วงที่พระองค์ทรงปฏิบัติศาสนกิจบนแผ่นดินโลก แต่ฟื้นฟูใหม่ในยุคสุดท้ายนี้ เรารู้ว่ามีการทรยศหรือการละทิ้งความเชื่อ จึงจำเป็นต้องฟื้นฟูศาสนจักรที่แท้จริงและสมบูรณ์ของพระองค์ในสมัยของเรา

วิสุทธิชน หมายความว่าสมาชิกติดตามพระองค์และพยายามทำตามพระประสงค์ของพระองค์ รักษาพระบัญญัติ เตรียมอยู่ในที่ประทับของพระองค์และพระบิดาบนสวรรค์ของเราอีกครั้ง “วิสุทธิชน หมายถึงคนที่พยายามทำชีวิตให้บริสุทธิ์โดยทำพันธสัญญาว่าจะติดตามพระคริสต์” (“ความสำคัญของชื่อ” เลียโฮนา, พ.ย. 2011, 102)

การสร้างไซอันจะต้องอาศัยอะไร

เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันสอนว่า “ไซอันเป็นไซอันเพราะอุปนิสัย คุณลักษณะ และความซื่อสัตย์ของพลเมือง [ดู โมเสส 7:18] … ถ้าเราจะสถาปนาไซอันในบ้าน สาขา วอร์ด และสเตคของเรา เราต้องลุกขึ้นมารับมาตรฐานนี้ ซึ่งจำเป็นต่อการ (1) เป็นเอกภาพในใจเดียวและความคิดเดียว (2) เป็นคนบริสุทธิ์ ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม และ (3) ดูแลคนจนและคนขัดสนอย่างมีประสิทธิผลจนขจัดความยากไร้ออกไปจากพวกเรา เราจะรอจนกว่าไซอันมาแล้วค่อยทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นไม่ได้—ไซอันจะมาก็ต่อเมื่อทั้งหมดนี้เกิดขึ้น” (“มาสู่ไซอัน,” เลียโฮนา, พ.ย. 2008, 47)

ปรับปรุงการสอนของเรา

ใช้วิธีที่หลากหลาย ท่านอาจสบายใจได้ง่ายกับการสอนรูปแบบเดียว แต่วิธีสอนต่างกันเข้าถึงสมาชิกชั้นเรียนต่างกัน ลองนึกถึงวิธีที่ท่านใช้เมื่อเร็วๆ นี้—ท่านเคยใช้เรื่องเล่า บทเรียนที่ใช้อุปกรณ์จริง รูปภาพ และอื่นๆ หรือไม่ (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 7)