จงตามเรามา
12–18 สิงหาคม โรม 7–16: ‘ชนะ​ความ​ชั่ว​ด้วย​ความ​ดี’


“12–18 สิงหาคม โรม 7–16: ‘ชนะ​ความ​ชั่ว​ด้วย​ความ​ดี’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาใหม่ 2019 (2019)

“12–18 สิงหาคม โรม 7–16,” จงตามเรามา: สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2019

โรม

12–18 สิงหาคม

โรม 7–16

“ชนะ​ความ​ชั่ว​ด้วย​ความ​ดี”

อ่าน โรม 7–16 และบันทึกความประทับใจที่ท่านได้รับเกี่ยวกับวิธีช่วยสมาชิกชั้นเรียนของท่านเรียนรู้จากพระคัมภีร์ ในตอนแรก ความประทับใจของท่านอาจดูเหมือนความคิดเรียบง่าย แต่เมื่อท่านไตร่ตรอง ความคิดเหล่านั้นจะกลายเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความหมาย

บันทึกความประทับใจของท่าน

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

สมาชิกชั้นเรียนควรรู้สึกสบายใจที่จะแบ่งปันอะไรก็ตามที่เป็นแรงบันดาลใจพวกเขาในการศึกษาส่วนตัวและครอบครัว แต่บางครั้งก็เป็นประโยชน์ที่จะถามความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่เจาะจง ตัวอย่างเช่น ท่านอาจอ่าน โรม 10:17 และ 15:4 และขอให้พวกเขาแบ่งปันพระคัมภีร์ที่เสริมสร้างศรัทธาหรือให้ความหวังแก่พวกเขา

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

โรม 8:14–18

โดยผ่านพระเยซูคริสต์ เราสามารถสืบทอดมรดกทุกสิ่งที่พระบิดาบนสวรรค์ทรงมี

  • ในฐานะวิสุทธิชนยุคสุดท้าย เราเชื่อว่าวลีเช่น “ทา‌ยาท​ของ​พระ‍เจ้า” และ “​ทา‌ยาท​ร่วม​กับ​พระ‍คริสต์” หมายความว่าด้วยความช่วยเหลือของพระเยซูคริสต์ เราสามารถเป็นเหมือนพระบิดาบนสวรรค์และได้รับทุกสิ่งที่พระองค์ทรงมี (โรม 8:17; ดู คพ. 132:19–20 ด้วย) เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเห็นว่ามีการสอนหลักคำสอนนี้อย่างไรตลอดทั้งพระคัมภีร์ ท่านอาจเชื้อเชิญครึ่งหนึ่งของชั้นเรียนศึกษาข้อพระคัมภีร์ไบเบิลบางข้อที่มีใน ​“แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” และอีกครึ่งศึกษาข้อพระคัมภีร์จากพระคัมภีร์ยุคสุดท้าย ซึ่งอยู่ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” ด้วย จากนั้นสมาชิกชั้นเรียนอาจสอนกันเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ ให้เวลาพวกเขาสนทนาว่าเหตุใดหลักคำสอนนี้จึงสำคัญต่อพวกเขามาก ตัวอย่างเช่น ชีวิตเราแตกต่างไปอย่างไรเมื่อรู้ว่าเราสามารถเป็น “​ทา‌ยาท​ของ​พระ‍เจ้า และ​เป็น​ทา‌ยาท​ร่วม​กับ​พระ‍คริสต์” ได้ (โรม 8:17)

  • การจดจำว่าพรนิรันดร์รอคอยคนซื่อสัตย์สามารถช่วยเราเมื่อเราเผชิญกับการล่อลวงและการทดลอง (ดู โรม 8:18) วิธีง่ายๆ ที่จะแสดงตัวอย่างของหลักธรรมนี้คือการวาดตาชั่งบนกระดาน ขอให้สมาชิกชั้นเรียนระบุการทดลองบางอย่างที่ผู้คนอาจเผชิญที่ข้างหนึ่ง จากนั้น พวกเขาอาจค้นหาพระคัมภีร์บางข้อใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” และเขียนคำบรรยายถึงพรนิรันดร์ซึ่งมาสู่คนที่เผชิญการทดลองของพวกเขาอย่างซื่อสัตย์ลงบนอีกข้างหนึ่งของตาชั่ง การทดลองเหล่านี้เปรียบเทียบกับพรที่สัญญาไว้อย่างไร ท่านจะพูดอย่างไรกับคนที่ถามเราว่าคุ้มค่าหรือไม่ที่จะซื่อสัตย์ต่อพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้า

  • แนวเทียบที่ให้ไว้โดยเอ็ลเดอร์ ดัลลิน เอช. โอ๊คส์ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” จะช่วยสมาชิกชั้นเรียนสนทนาเกี่ยวกับวิธีที่เราสามารถเตรียมตัวเป็น “ทายาทของพระเจ้า” (โรม 8:17) “กฎและหลักธรรม” บางข้อที่เอ็ลเดอร์โอ๊คส์พูดถึงคืออะไร

โรม 8:18, 28, 31–39

“แล้วใครจะให้เราขาดจากความรักของพระคริสต์ได้”

  • การสนทนา โรม 8 ด้วยกันจะให้โอกาสสมาชิกชั้นเรียนรู้สึกถึงความรักของพระผู้ช่วยให้รอด ท่านอาจให้ดูภาพเต็มหน้าใน โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว หรือภาพพระเยซูคริสต์อีกภาพหนึ่งขณะที่ท่านอ่าน โรม 8:18, 28, 31–39 เป็นชั้นเรียน สมาชิกชั้นเรียนมีความคิดหรือความรู้สึกอะไรหลังจากอ่านข้อเหล่านี้ ท่านอาจเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนสองสามคนแบ่งปันว่าพวกเขาได้รับประจักษ์พยานเกี่ยวกับความจริงที่พวกเขาพบในข้อเหล่านี้อย่างไร ท่านอาจร้องเพลงสวดเป็นชั้นเรียนด้วย (หรือขอให้บางคนเล่นเพลง) เกี่ยวกับความรักของพระผู้เป็นเจ้าและพระเยซูคริสต์ เช่น “พระผู้เป็นเจ้ารักเราจึงส่งพระบุตร” หรือ “ฉันเฝ้าพิศวง” (เพลงสวด บทที่ 84, 89) คำหรือวลีใดจากเพลงสวดนี้ช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนรู้สึกถึงความรักของพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์

โรม 13:8–10

พระบัญญัติของพระเจ้าทุกข้อเกิดสัมฤทธิผลในพระบัญญัติให้รัก

  • เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเห็นว่าพระบัญญัติทุกข้อ “ก็รวมอยู่ใน” พระบัญญัติให้รักเพื่อนบ้านของท่าน (โรม 13:9) เชื้อเชิญให้พวกเขาเขียนพระบัญญัติทุกข้อที่พวกเขานึกได้ อ่าน โรม 13:8–10 และ มัทธิว 22:36–40 ด้วยกันและสนทนาเป็นชั้นเรียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการรักพระผู้เป็นเจ้าและเพื่อนบ้านของเรากับการเชื่อฟังพระบัญญัติแต่ละข้อที่เขียนไว้บนกระดาน ความจริงนี้เปลี่ยนวิธีที่เราคิดเกี่ยวกับพระบัญญัติและการเชื่อฟังอย่างไร

โรม 14

เราควรละจากการตัดสินการเลือกของผู้อื่นและจากการเป็นสิ่งกีดขวางทางวิญญาณ

  • เพื่อให้บริบทบางอย่างแก่ โรม 14 ท่านอาจอธิบายว่าวิสุทธิชนชาวโรมันบางคนทะเลาะกันเกี่ยวกับนิสัยการกิน การรักษาวันสำคัญทางศาสนา และการถือปฏิบัติทางวัฒนธรรมอื่นๆ มีสถานการณ์ที่คล้ายกันอะไรบ้างที่เราเผชิญในปัจจุบัน สมาชิกชั้นเรียนอาจจะอ่าน โรม 14 เพื่อหาสาระสำคัญและสรุปคำแนะนำของเปาโลไว้ในประโยคเดียว เราสามารถแบ่งปันคำแนะนำอะไรให้กันเกี่ยวกับวิธีหลีกเลี่ยงการตัดสินผู้อื่น คำกล่าวของประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” สามารถช่วยได้

ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้สมาชิกชั้นเรียนอ่าน 1 โครินธ์ 1–7 ท่านอาจบอกพวกเขาว่ามีคำแนะนำของเปาโลที่ให้แก่สมาชิกที่อยู่ในเมืองซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเมืองไร้ศีลธรรมและนับถือรูปเคารพมากที่สุดในโลกสมัยโบราณ

ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

โรม 7–16

การได้รับ “ทุกสิ่งที่พระบิดามี” (คพ. 84:38)

จากพระคัมภีร์ไบเบิล

จากพระคัมภีร์ยุคสุดท้าย

เอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์เล่าอุปมาต่อไปนี้

“บิดาผู้มั่งคั่งรู้ว่าถ้าเขามอบทรัพย์สมบัติให้ลูกที่ยังไม่รู้จักคิดและเป็นผู้ใหญ่พอ มรดกอาจจะถูกผลาญจนหมด บิดาจึงพูดกับลูกคนนี้ว่า

“‘พ่อจะยกทุกอย่างที่พ่อมีให้กับลูก ไม่เพียงทรัพย์สมบัติเท่านั้น แต่เกียรติยศชื่อเสียงที่มีอยู่ในบรรดาผู้คนด้วย สิ่งที่พ่อ มี พ่อยกให้ลูกได้ แต่สิ่งที่พ่อ เป็น ลูกต้องทำด้วยตัวของลูกเอง ลูกจะได้มรดกนี้ก็ต่อเมื่อลูกเรียนรู้สิ่งที่พ่อเรียนรู้และดำเนินชีวิตอย่างพ่อ พ่อจะให้กฎและหลักธรรมแก่ลูกซึ่งสิ่งนั้นทำให้พ่อรู้จักคิดและเป็นผู้ใหญ่มาแล้ว จงทำตามตัวอย่างของพ่อ ประพฤติอย่างที่พ่อประพฤติ และลูกจะกลายเป็นอย่างที่พ่อเป็นและทุกสิ่งที่พ่อมีจะเป็นของลูก’” (“การท้าทายเพื่อที่จะเป็น,” เลียโฮนา, ม.ค. 2001, 47)

​ทา‌ยาท​ร่วม​กับ​พระ‍คริสต์

“วิสุทธิชนยุคสุดท้ายมองทุกคนเป็นบุตรธิดาของพระผู้เป็นเจ้าอย่างแท้จริง พวกเขาถือว่าทุกคนมีต้นกำเนิด ลักษณะ และศักยภาพอันสูงส่ง … ดังเช่นบุตรคนหนึ่งจะพัฒนาคุณลักษณะของบิดามารดาในชั่วเวลาหนึ่ง ลักษณะอันสูงส่งที่มนุษย์ได้รับเป็นมรดกสามารถพัฒนาเพื่อเป็นเหมือนพระบิดาบนสวรรค์ของพวกเขา … ชายและหญิงมีศักยภาพที่จะได้รับความสูงส่งไปสู่สภาพของความเป็นผู้เป็นเจ้า” (“Becoming Like God,” Gospel Topics, topics.lds.org)

การตัดสินผู้อื่น

ประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟสอนว่า

“หัวข้อของการตัดสินผู้อื่นนี้อันที่จริงสามารถสอนได้ด้วยโอวาทสองคำ เมื่อมีความเกลียดชัง การนินทาว่าร้าย ความหมางเมิน การเย้ยหยัน ความเคืองแค้น หรือความประสงค์ร้าย โปรดทำดังนี้

“หยุดเถิด

“ง่ายๆ ชัดแจ้ง เราแค่หยุดตัดสินผู้อื่น แทนความคิดความรู้สึกตัดสินด้วยใจที่เปี่ยมด้วยความรักที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้าและบุตรธิดาของพระองค์ พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นพระบิดาของเรา เราคือบุตรธิดาของพระองค์ เราเป็นพี่น้องกัน … สติ๊กเกอร์ติดท้ายรถที่ข้าพเจ้าเพิ่งเห็น … ติดอยู่หลังรถที่คนขับท่าทางไม่ค่อยจะเรียบร้อย แต่ถ้อยคำบนสติ๊กเกอร์สอนบทเรียนที่ลึกซึ้ง อ่านว่า “อย่าตัดสินฉันเพราะฉันทำบาปต่างจากเธอ’” (“ผู้มีใจกรุณาย่อมได้รับพระกรุณา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2012, 75)

ปรับปรุงการสอนของเรา

จงหาแหล่งช่วยที่สนับสนุนหลักธรรม นอกจากสอนแนวคิดในโครงร่างนี้ ท่านอาจดัดแปลงกิจกรรมจาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว เพื่อใช้ในชั้นเรียนของท่าน (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 17–18 ด้วย)