พันธสัญญาใหม่ 2023
29 พฤษภาคม–4 มิถุนายน มัทธิว 26; มาระโก 14; ยอห์น 13: “เพื่อเป็นที่ระลึก”


“29 พฤษภาคม–4 มิถุนายน มัทธิว 26; มาระโก 14; ยอห์น 13: ‘เพื่อเป็นที่ระลึก,’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2022)

“29 พฤษภาคม–4 มิถุนายน มัทธิว 26; มาระโก 14; ยอห์น 13,” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2023

พระกระยาหารมื้อสุดท้าย

เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเรา โดย วอลเตอร์ เรน

29 พฤษภาคม–4 มิถุนายน

มัทธิว 26; มาระโก 14; ยอห์น 13

“เพื่อเป็นที่ระลึก”

อ่าน มัทธิว 26; มาระโก 14; และ ยอห์น 13 แล้วไตร่ตรองความคิดและความประทับใจที่เข้ามาในใจท่าน ข่าวสารใดที่จะเป็นพรแก่สมาชิกชั้นเรียนของท่าน?

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันบางสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้สัปดาห์นี้ซึ่งช่วยให้พวกเขาพบความหมายมากขึ้นในศีลระลึก พวกเขาทำอะไรและสิ่งนั้นส่งผลอย่างไรต่อประสบการณ์การรับส่วนศีลระลึกของพวกเขา?

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

มัทธิว 26:20–22

เราต้องสำรวจชีวิตเราเพื่อดูว่าจะประยุกต์ใช้พระดำรัสของพระเจ้ากับเราอย่างไร

  • เราได้ยินบทเรียนพระกิตติคุณมากมายในชีวิต แต่บางครั้งเรามักจะคิดว่าบทเรียนเหล่านั้นส่วนใหญ่ประยุกต์ใช้กับคนอื่น การสนทนาเกี่ยวกับ มัทธิว 26:20–22 จะช่วยเราเอาชนะนิสัยนี้ เราสามารถเรียนรู้บทเรียนอะไรบ้างจากวิธีที่เหล่าสาวกประยุกต์ใช้พระดำรัสของพระผู้ช่วยให้รอดกับตนเอง? หากสมาชิกชั้นเรียนคนใดอ่านอ้างอิงของประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟเกี่ยวกับเรื่องราวนี้ในข่าวสารของท่านชื่อ “องค์พระผู้เป็นเจ้า คือข้าพระองค์หรือ?” พวกเขาอาจแบ่งปันข้อคิดที่ได้รับ (เลียโฮนา, พ.ย. 2014, 56–59)

มัทธิว 26:26–29

ศีลระลึกเป็นโอกาสให้ระลึกถึงพระผู้ช่วยให้รอด

  • สมาชิกชั้นเรียนจะอธิบายศาสนพิธีศักดิ์สิทธิ์ของศีลระลึกกับคนที่ไม่คุ้นเคยกับศีลระลึกว่าอย่างไร? บางทีท่านอาจเขียนคำถามร่วมกันที่บางคนอาจมีเกี่ยวกับศีลระลึก เช่น “เหตุใดพระผู้ช่วยให้รอดประทานศีลระลึกแก่เรา? เหตุใดขนมปังและน้ำจึงเป็นสัญลักษณ์อันทรงพลังของพระเยซูคริสต์? เราสัญญาอะไรเมื่อเรารับส่วนศีลระลึก? เราได้รับคำสัญญาอะไรบ้าง?” สมาชิกชั้นเรียนสามารถหาคำตอบได้ในแหล่งข้อมูลต่อไปนี้: มัทธิว 26:26–29 และ หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:75–79 ท่านอาจแบ่งปันข้อคิดจากเอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

    สตรีรับศีลระลึก

    ศีลระลึกช่วยให้เราระลึกถึงพระเยซูคริสต์

  • สมาชิกชั้นเรียนอาจได้ประโยชน์จากการฟังแนวคิดของกันและกันเกี่ยวกับวิธีระลึกถึงพระผู้ช่วยให้รอดระหว่างศีลระลึกและตลอดสัปดาห์ (ดู ลูกา 22:19–20; หลักคำสอนและพันธสัญญา 6:36–37) บางทีท่านอาจจะเชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันว่าอะไรช่วยให้พวกเขาและครอบครัวระลึกถึงพระผู้ช่วยให้รอดและรักษาพันธสัญญาของพวกเขา นอกจากนี้ พวกเขาอาจแบ่งปันสิ่งที่ตนทำเพื่อทำให้ศีลระลึกเป็นประสบการณ์ศักดิ์สิทธิ์ได้

ยอห์น 13:1–17

พระผู้ช่วยให้รอดทรงเป็นแบบอย่างของการรับใช้ผู้อื่นอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน

  • เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองนัยสำคัญของการที่พระเยซูทรงล้างเท้าสาวกของพระองค์ ท่านอาจจะเชิญสมาชิกชั้นเรียนคนหนึ่งให้สวมบทเป็นเปโตรและให้นักเรียนที่เหลือสัมภาษณ์ สมาชิกชั้นเรียนอาจค้นคว้า ยอห์น 13:1–17 และคิดคำถามที่มีความหมายที่พวกเขาจะถามเปโตรเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ของเขา เราเรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้ที่อาจจะส่งผลต่อวิธีที่เรารับใช้ผู้อื่น?

ยอห์น 13:34–35

ความรักที่เรามีต่อผู้อื่นเป็นเครื่องหมายว่าเราเป็นสานุศิษย์ที่แท้จริงของพระเยซูคริสต์

  • ท่านจะสร้างแรงบันดาลใจให้สมาชิกชั้นเรียนเป็นผู้เปี่ยมด้วยความรักมากขึ้นได้อย่างไร? บางทีท่านอาจถามพวกเขาว่าพวกเขาสังเกตเห็นลักษณะนิสัยใดเมื่อพวกเขาพบคนที่เป็นสาวกของพระคริสต์ ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้พวกเขาค้นคว้า ยอห์น 13:34–35 เพื่อเรียนรู้ว่าจะบอกได้อย่างไรว่าคนนั้นเป็นสานุศิษย์ที่แท้จริงของพระผู้ช่วยให้รอด เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อทำให้ความรักเป็นคุณสมบัติสำคัญของการเป็นสานุศิษย์ของเรา? บางทีท่านอาจสนทนาว่าการรักผู้อื่นคือวิธีเป็นพยานถึงพระเยซูคริสต์อย่างไร เราจะทำสิ่งนี้ในครอบครัวของเรา บนโซเชียลมีเดีย และในสภาพแวดล้อมอื่นๆ ได้อย่างไร?

  • ชั้นเรียนท่านได้เรียนรู้มามากแล้วเกี่ยวกับพระชนม์ชีพของพระผู้ช่วยให้รอดปีนี้ รวมทั้งตัวอย่างมากมายที่พระองค์ทรงแสดงความรักต่อผู้อื่น วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองพระบัญญัติใน ยอห์น 13:34 อาจเป็นการเขียนว่า เรารักพวกท่านมาแล้วอย่างไร ไว้บนกระดานและขอให้สมาชิกชั้นเรียนเขียนตัวอย่างที่พวกเขาจำได้จากพันธสัญญาใหม่อันแสดงให้เห็นความรักของพระเยซู จากนั้นท่านอาจจะเขียนว่า รักกันและกัน ไว้บนกระดานและขอให้สมาชิกชั้นเรียนเขียนวิธีที่เราสามารถทำตามแบบอย่างความรักของพระองค์

ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

“เปลี่ยนแปลงภายในด้วยคุณสมบัติและพระอุปนิสัยของพระคริสต์”

เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันสอนว่า “ในเชิงภาพพจน์ การรับประทานพระมังสาของพระองค์และการดื่มพระโลหิตของพระองค์ [มีความหมาย] เพื่อเปลี่ยนแปลงภายในด้วยคุณสมบัติและพระอุปนิสัยของพระคริสต์ ทิ้งความเป็นมนุษย์ปุถุชนและกลับเป็นวิสุทธิชน ‘โดยผ่านการชดใช้ของพระคริสต์พระเจ้า’ [โมไซยาห์ 3:19] เมื่อเรารับส่วนขนมปังและน้ำศีลระลึกในแต่ละสัปดาห์ เราจะได้ประโยชน์ในการพิจารณาว่าเราต้องนำพระอุปนิสัยและรูปแบบพระชนม์ชีพที่ไร้บาปของพระองค์มาใช้ในชีวิตของเราและในตัวตนของเราอย่างเต็มที่และครบถ้วนอย่างไร” (“อาหารดำรงชีวิตซึ่งลงมาจากสวรรค์,” เลียโฮนา, พ.ย. 2017, 37)

  • 2:3

ปรับปรุงการสอนของเรา

มองผ่านพระเนตรของพระผู้เป็นเจ้า พยายามมองสมาชิกชั้นเรียนของท่านเหมือนพระผู้เป็นเจ้าทรงมองพวกเขา และพระวิญญาณจะทรงแสดงให้ท่านเห็นคุณค่าและศักยภาพอันสูงส่งของพวกเขา ขณะทำเช่นนี้ ท่านจะได้รับการนำทางในความพยายามช่วยพวกเขา (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 6)