พันธสัญญาใหม่ 2023
12–18 มิถุนายน ลูกา 22; ยอห์น 18: “อย่าให้เป็นไปตามใจข้าพระองค์ แต่ให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์”


“12–18 มิถุนายน ลูกา 22; ยอห์น 18: ‘อย่าให้เป็นไปตามใจข้าพระองค์ แต่ให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์,’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2022)

“12–18 มิถุนายน ลูกา 22; ยอห์น 18,” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2023

พระคริสต์และเหล่าสาวกในเกทเสมนี

ป่าเกทเสมนี โดย เดอเรค เฮ็กสเตด

12–18 มิถุนายน

ลูกา 22; ยอห์น 18

“อย่าให้เป็นไปตามใจข้าพระองค์ แต่ให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์”

พิจารณาว่าท่านจะทำอะไรเพื่ออัญเชิญพระวิญญาณเข้ามาในชั้นเรียนขณะสนทนาเกี่ยวกับเหตุการณ์ศักดิ์สิทธิ์ในบทเหล่านี้ สวดอ้อนวอนหาวิธีช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนรักพระผู้ช่วยให้รอดและศรัทธาในพระองค์อย่างลึกซึ้งขึ้น

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เชิญให้สมาชิกชั้นเรียนหลายๆ คนมาแบ่งปันสิ่งที่พวกเขารู้สึกขณะอ่านสัปดาห์นี้และข้อใดที่ช่วยให้พวกเขารู้สึกเช่นนั้น

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

ลูกา 22:39–46

เราเป็นเหมือนพระคริสต์มากขึ้นเมื่อเราเลือกยอมให้ความประสงค์ของเราเป็นไปตามพระประสงค์ของพระบิดา

  • แบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดในการยอมตามพระประสงค์ของพระบิดาสามารถช่วยสมาชิกชั้นเรียนได้เมื่อพวกเขาต้องทำแบบเดียวกัน เพื่อเริ่มการสนทนา ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันประสบการณ์ที่พวกเขายอมทำสิ่งที่พวกเขารู้ว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงต้องการให้พวกเขาทำ ขอให้พวกเขาแบ่งปันว่าพวกเขารู้ได้อย่างไรว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงต้องการให้พวกเขาทำอะไรและพวกเขาได้รับพรอย่างไรจากการยอมทำตามพระประสงค์ของพระองค์ เชื้อเชิญให้ชั้นเรียนอ่าน ลูกา 22:39–46 และพูดคุยกันว่าเหตุใดพระผู้ช่วยให้รอดเต็มพระทัยยอมให้พระประสงค์ของพระองค์เป็นไปตามพระประสงค์ของพระบิดา เราจะทำตามแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดได้อย่างไร?

  • นอกจากพระผู้ช่วยให้รอดทรงยอมทำตามพระผู้เป็นเจ้าใน ลูกา 22:42 แล้ว เราพบตัวอย่างอะไรอีกบ้างของการยอมทำตามของพระองค์ใน ลูกา 22 และ ยอห์น 18? พระผู้ช่วยให้รอดทรงยอมทำตามพระประสงค์ของพระบิดาตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์อย่างไร? เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเป็นเหมือนพระองค์มากขึ้น? คำกล่าวจากเอ็ลเดอร์นีล เอ. แม็กซ์เวลล์ใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” อาจช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้สมาชิกชั้นเรียนพิจารณาว่าพวกเขาจะยอมให้ความประสงค์ของตนเป็นไปตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างไร

ลูกา 22:39–46

พระเยซูคริสต์ทรงทำการชดใช้อันไม่มีขอบเขตเพื่อเรา

  • ลูกา 22:39–46 อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในเกทเสมนี เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจความสำคัญส่วนตัวของงานศักดิ์สิทธิ์นี้ ท่านอาจจะเขียนคำถามทำนองนี้บนกระดาน เกิดอะไรขึ้นในเกทเสมนี? และ เหตุใดจึงสำคัญต่อฉัน? สมาชิกชั้นเรียนสามารถหาคำตอบได้ใน ลูกา 22:39–46; แอลมา 7:11–13; หลักคำสอนและพันธสัญญา 19:16–19 พวกเขาสามารถหาคำตอบได้ในข่าวสารของประธานแทด อาร์. คอลลิสเตอร์ “การชดใช้ของพระเยซูคริสต์” (เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 85–87)

    2:3
  • ในพระคัมภีร์มอรมอน เจคอบเรียกการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ว่า “การชดใช้อันไม่มีขอบเขต” (2 นีไฟ 9:7) เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจว่าสิ่งนี้หมายถึงอะไร ท่านอาจจะแบ่งปันคำสอนของประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” และขอให้สมาชิกชั้นเรียนเขียนด้านต่างๆ ที่ถือได้ว่าอิทธิพลจากการพลีพระชนม์ชีพของพระผู้ช่วยให้รอดไม่มีขอบเขต พวกเขาอาจจะอ่านข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้และเพิ่มเข้าไปในรายการที่เขียนไว้: ฮีบรู 10:10; แอลมา 34:10–14; หลักคำสอนและพันธสัญญา 76:24; และ โมเสส 1:33 เราจะแสดงความสำนึกคุณต่อสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทำเพื่อเราได้อย่างไร?

เปโตรละสายตาจากพระคริสต์

การปฏิเสธของเปโตร โดย คาร์ล ไฮน์ริค บลอค

ลูกา 22:54–62

เราสามารถซื่อสัตย์ต่อพระเยซูคริสต์ได้แม้เราจะรู้สึกกลัวและอ่อนแอ

  • เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนนึกภาพเหตุการณ์ใน ลูกา 22:54–62 ท่านอาจจะให้ดูภาพ เช่น การปฏิเสธของเปโตร (ChurchofJesusChrist.org) สมาชิกชั้นเรียนอาจแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จากประสบการณ์ของเปโตรที่สร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขาซื่อสัตย์ต่อพระเยซูคริสต์

ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

การยอมให้ความประสงค์ของเราเป็นไปตามพระประสงค์ของพระบิดา

เอ็ลเดอร์นีล เอ. แม็กซ์เวลล์สอนว่า “ขณะที่ท่านยอมมอบเจตนารมณ์ของท่านแด่พระผู้เป็นเจ้า ท่านกำลังมอบแด่พระองค์สิ่ง เดียว ที่ท่าน สามารถ ให้พระองค์ได้ที่เป็นของท่านจริงๆ อย่ารีรออยู่นานเกินไปเพื่อหาแท่นบูชาหรือเพื่อเริ่มวางของขวัญแห่งเจตนารมณ์ของท่านลงบนนั้น!” (“จำไว้ว่าพระเจ้าทรงเมตตาเพียงใด,” เลียโฮนา, พ.ค. 2004, 58)

การชดใช้อันไม่มีขอบเขต

ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน สอนว่า

“การชดใช้ [ของพระเยซูคริสต์] ไม่มีขอบเขต—ไม่มีจุดจบ ไม่มีขอบเขตสำหรับมนุษยชาติทั้งปวงที่จะได้รับความรอดจากความตายอันไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีขอบเขตในความหมายของการทนทุกข์อย่างใหญ่หลวงของพระองค์ ไม่มีจุดสิ้นสุดในกาลเวลา และเป็นการทำให้รูปแบบเดิมของการพลีบูชาด้วยสัตว์จบสิ้นไป ไม่มีที่สิ้นสุดในด้านขอบเขต—ซึ่งได้ทรงกระทำครั้งเดียวเพื่อคนทุกคน และพระเมตตาของการชดใช้ครอบคลุมโดยไม่จำกัดเพียงจำนวนผู้คน แต่ยังไม่จำกัดจำนวนโลกที่พระองค์ได้ทรงสร้างด้วย ไม่มีขอบเขต และอยู่นอกเหนือความสามารถของมนุษย์ที่จะวัดหรือเข้าใจได้

“พระเยซูทรงเป็นพระองค์เดียวเท่านั้นที่จะทรงเสนอการชดใช้อย่างไม่มีขอบเขตเช่นนั้นได้ เพราะพระองค์ทรงถือกำเนิดจากมารดาซึ่งเป็นมนุษย์และมีพระบิดาซึ่งทรงเป็นอมตะ เนื่องจากสิทธิกำเนิดอันไม่เหมือนใครนี้ พระเยซูจึงทรงเป็นพระสัตภาวะที่ไม่มีขอบเขต” (ดู “การชดใช้,” เลียโฮนา, พ.ย. 1996, 39)

ปรับปรุงการสอนของเรา

จงเป็นเครื่องมือที่อ่อนน้อมถ่อมตนของพระวิญญาณ “จุดประสงค์ของท่านในฐานะครูคือไม่ใช่เพื่อทำการนำเสนอที่น่าประทับใจ แต่ช่วยให้ผู้อื่นได้รับอิทธิพลของพระวิญญาณบริสุทธิ์” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด10)