พันธสัญญาใหม่ 2023
16–22 ตุลาคม 1 และ 2 เธสะโลนิกา: “เพิ่มพูนความเชื่อของท่านในส่วนที่ยังขาดอยู่ให้บริบูรณ์”


“16–22 ตุลาคม 1 และ 2 เธสะโลนิกา: “เพิ่มพูนความเชื่อของท่านในส่วนที่ยังขาดอยู่ให้บริบูรณ์,’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2021)

“16–22 ตุลาคม 1 และ 2 เธสะโลนิกา,” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2023

ซิสเตอร์ผู้สอนศาสนากำลังพูดคุยกับชายหนุ่ม

16–22 ตุลาคม

1 และ 2 เธสะโลนิกา

“เพิ่มพูนความเชื่อของท่านในส่วนที่ยังขาดอยู่ให้บริบูรณ์”

แอลมาสอนว่า “ไม่ให้ไว้ใจคนใดเป็นผู้สอนของท่านหรือเป็นผู้ปฏิบัติศาสนกิจของท่านด้วย, เว้นแต่เขาจะเป็นคนของพระผู้เป็นเจ้า, เดินในทางของพระองค์และรักษาพระบัญญัติของพระองค์” (โมไซยาห์ 23:14) พระคัมภีร์ข้อนี้เสนอแนะอะไรเกี่ยวกับวิธีที่ท่านควรเตรียมตนเองเพื่อสอน?

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ให้เวลาสมาชิกชั้นเรียนสองสามนาทีอ่าน 1 และ 2 เธสะโลนิกา อย่างรวดเร็วและหาหนึ่งข้อที่พวกเขาประทับใจ เชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันข้อนี้กับบางคนในชั้นเรียน จากนั้นขอให้สองสามคู่แบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จากกัน

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

1 เธสะโลนิกา 1:5–8; 2:1–13

ผู้รับใช้ของพระเจ้าควรเทศนาด้วยความจริงใจและความรัก

  • เปาโลเริ่ม สาส์นของท่านถึงชาวเธสะโลนิกา โดยการเตือนวิสุทธิชนถึงพฤติกรรมที่เขาและคนอื่นแบ่งปันพระกิตติคุณกับพวกเขา อาจเป็นโอกาสที่ดีสำหรับสมาชิกชั้นเรียนของท่านที่จะประเมินว่าพวกเขาสอนและเรียนรู้จากกันได้ดีเพียงใด ท่านอาจเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนอ่าน 1 เธสะโลนิกา 1:5–8; 2:1–13 และระบุหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งปันพระกิตติคุณอย่างมีประสิทธิภาพ จากนั้นพวกเขาอาจเขียนคำถามโดยใช้ข้อเหล่านี้เพื่อช่วยพวกเขาประเมินความพยายามของตนเองในการสอนพระกิตติคุณให้ผู้อื่น ตัวอย่างเช่น คำถามหนึ่งอาจเป็น “ข้าพเจ้าเป็นแบบอย่างของสิ่งที่ข้าพเจ้ารู้หรือไม่?” (ดู 1 เธสะโลนิกา 1:7) การทำตามหลักธรรมในข้อนี้จะช่วยเราปฏิบัติศาสนกิจกับคนที่เราสอนได้ดีขึ้นอย่างไร?

1 เธสะโลนิกา 3:9–13; 4:1–12

เมื่อเราติดตามพระเยซูคริสต์ พระองค์ทรงทำให้เราบริสุทธิ์ได้

  • เปาโลสอนวิสุทธิชนชาวเธสะโลนิกาว่า “พระ‍เจ้า​ไม่‍ได้​ทรง​เรียก​เรา​ให้​เป็น​คน‍ลา‌มก แต่​ทรง​เรียก​ให้​เป็น​คน​บริ‌สุทธิ์” (1 เธสะโลนิกา 4:7) เพื่อเริ่มการสนทนาเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ ชั้นเรียนของท่านหรือคนใดคนหนึ่งอาจร้อง “เพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ให้ฉัน” (เพลงสวด บทเพลงที่ 56) ขอให้สมาชิกชั้นเรียนสนทนาถึงคุณลักษณะของความบริสุทธิ์ที่กล่าวถึงในเพลงสวดที่โดดเด่นสำหรับพวกเขา เขียนบนกระดานว่า เพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ให้ฉัน เพิ่ม … และเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนมองหาคำหรือวลีจาก 1 เธสะโลนิกา 3:9–13; 4:1–12 เพื่อเติมประโยคให้ครบถ้วน เราจะพัฒนาคุณลักษณะเหล่านี้ได้อย่างไร?

  • การเชื้อเชิญให้เป็นคนบริสุทธิ์อาจฟังดูน่ากลัว อาจเป็นประโยชน์หากสมาชิกชั้นเรียนเข้าใจว่าการพัฒนาความบริสุทธิ์เป็นกระบวนการค่อยเป็นค่อยไปที่เรียกร้องให้เราค่อยๆ “ทำอย่างนี้มากขึ้นอีก” ต่อไป (1 เธสะโลนิกา 4:10) เพื่อแสดงให้เห็นกระบวนการนี้ ท่านอาจเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนพูดเกี่ยวกับพรสวรรค์หรือความสำเร็จที่ค่อยๆ ใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่อง เช่น การทำผ้านวมหรือการเล่นเครื่องดนตรี สิ่งนี้คล้ายกับกระบวนการเป็นคนบริสุทธิ์อย่างไร? เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนทบทวน 1 เธสะโลนิกา 3:9–13; 4:1–12 และแบ่งปันข้อคิดเกี่ยวกับความพยายามเป็นคนบริสุทธิ์ในแบบที่เปาโลบรรยาย อะไรช่วยให้เราก้าวหน้าไปสู่ความบริสุทธิ์?

1 เธสะโลนิกา 4:11–12; 2 เธสะโลนิกา 3:7–13

เราควรทำงานเพื่อจัดหาให้ตนเองและคนขัดสน

  • คำถามต่อไปนี้อาจกระตุ้นการสนทนาเกี่ยวกับคำแนะนำของเปาโลเรื่องงาน: ผลของความเกียจคร้านคืออะไร? พรของงานมีอะไรบ้าง? ท่านคิดว่าคำว่า “สงบ” และ “ใจสงบ” ที่เปาโลใช้หมายความว่าอย่างไร? (1 เธสะโลนิกา 4:11; 2 เธสะโลนิกา 3:12) ท่านอาจต้องการเขียนคำถามเช่นนี้บนกระดานสำหรับให้สมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองและสนทนาเมื่อพวกเขาอ่าน 1 เธสะโลนิกา 4:11–12 และ 2 เธสะโลนิกา 3:7–13 มีพระคัมภีร์ข้อใดอีกที่ช่วยให้เราเข้าใจความสำคัญของการทำงานและอันตรายของความเกียจคร้าน (ดูคำแนะนำใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม”)

2 เธสะโลนิกา 2

การละทิ้งความเชื่อเกิดก่อนการเสด็จมาครั้งที่สองของพระเยซูคริสต์

  • อาจเป็นประโยชน์ที่จะสนทนาอุปลักษณ์บางเรื่องที่ศาสดาพยากรณ์ใช้เพื่อบรรยายถึงการละทิ้งความเชื่อ เช่น การ​กบฏ (ดู 2 เธสะโลนิกา 2:3) ความกันดาร (ดู อาโมส 8:11–12) พวก​สุนัข‍ป่า​ที่​ดุ‍ร้าย​เข้า‍มา​ใน​หมู่​พวก‍ท่าน (ดู กิจการของอัครทูต 20:28–30) หู​ที่​คัน (ดู 2 ทิโมธี 4:3–4) ท่านอาจแบ่งสมาชิกชั้นเรียนเป็นคู่และขอให้พวกเขาอ่านพระคัมภีร์หนึ่งข้อหรือมากกว่านั้นจากพระคัมภีร์เหล่านี้ (หรือพระคัมภีร์อื่นที่ท่านเลือก) และบรรยายสิ่งที่ข้อเหล่านั้นสอนเกี่ยวกับการละทิ้งความเชื่อครั้งใหญ่ ศาสดาพยากรณ์สอนอะไรเกี่ยวกับการละทิ้งความเชื่อและผลที่จะเกิดขึ้น?

  • แม้ว่าศาสนจักรจะไม่ประสบกับ “การ​กบฏ​ (ตก)” แบบอื่น (2 เธสะโลนิกา 2:3) เหมือนอย่างในสมัยโบราณ แต่เราแต่ละคนยังสามารถตกได้ 2 เธสะโลนิกา 2 บอกอะไรเกี่ยวกับวิธีที่การ​กบฏ​ (ตก) นี้เกิดขึ้นได้ (ข้อ ข้อ 9–10) และเราจะหลีกเลี่ยงได้อย่างไร? (ดู ข้อ 15–17)

ไอคอนแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

พระคัมภีร์เกี่ยวกับงานและความเกียจคร้าน

ปรับปรุงการสอนของเรา

ใช้วิธีที่หลากหลาย ท่านอาจสบายใจได้ง่ายกับการสอนรูปแบบเดียว แต่วิธีสอนต่างกันเข้าถึงสมาชิกชั้นเรียนต่างกัน มองหาวิธีทำให้วิธีการสอนของท่านหลากหลาย เช่น การใช้วีดิทัศน์ งานศิลปะ หรือดนตรีหรือให้โอกาสสมาชิกชั้นเรียนสอน (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 22)