พันธสัญญาเดิม 2022
15–21 สิงหาคม สดุดี 49–51; 61–66; 69–72; 77–78; 85–86: “ข้าพเจ้าจะบอกว่าพระองค์ได้ทรงทำอะไรเพื่อข้าพเจ้าบ้าง”


“15–21 สิงหาคม สดุดี 49–51; 61–66; 69–72; 77–78; 85–86: ‘ข้าพเจ้าจะบอกว่าพระองค์ได้ทรงทำอะไรเพื่อข้าพเจ้าบ้าง’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“15–21 สิงหาคม สดุดี 49–51; 61–66; 69–72; 77–78; 85–86” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2022

ภาพ
พระเยซูทรงถือตะเกียง

ช่วยผู้ที่หลงหายไปนั้นให้รอด โดยไมเคิล ที. มาล์ม

15–21 สิงหาคม

สดุดี 49–51; 61–66; 69–72; 77–78; 85–86

“ข้าพเจ้าจะบอกว่าพระองค์ได้ทรงทำอะไรเพื่อข้าพเจ้าบ้าง”

พิจารณาคำแนะนำของเอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์ขณะที่ท่านเตรียมสอน: “การพูดและบอกอย่างเดียวไม่ใช่การสอน [การสอน] พระกิตติคุณในวิธีของพระเจ้าได้แก่การสังเกต ฟัง และเล็งเห็นอันเป็นสิ่งที่ต้องทำก่อนการพูด” (“Becoming a Preach My Gospel Missionary,” New Era, Oct. 2013, 6)

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

วิธีหนึ่งที่จะเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันบางสิ่งที่พวกเขาอ่านสัปดาห์นี้คือเขียนบนกระดานว่า “ริมฝีปากของข้าพระองค์จะร้องเพลงด้วยความยินดี” หรือ “ลิ้นของข้าพระองค์จะกล่าวถึงความช่วยเหลืออันชอบธรรมของพระองค์” (สดุดี 71:23, 24) สมาชิกชั้นเรียนอาจแบ่งปันสิ่งที่พบซึ่งช่วยให้พวกเขา “ชื่นชมยินดีอย่างยิ่ง” หรือ “กล่าวถึงความชอบธรรม [ของพระเจ้า]”

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

สดุดี 51; 85–86

“ข้าแต่องค์เจ้านาย เพราะพระองค์ประเสริฐและทรงให้อภัย”

  • สดุดี 51 พูดถึงความรู้สึกที่เราส่วนใหญ่มีเมื่อเราพยายามกลับใจและได้รับการให้อภัย เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเข้าใจเรื่องการกลับใจดีขึ้นและรู้สึกได้รับการดลใจให้กลับใจบ่อยๆ ท่านอาจเสนอให้พวกเขาค้นคว้า สดุดี 51 พร้อมกับนึกถึงคำถามนี้: กลับใจหมายความว่าอย่างไร? จากนั้นให้พวกเขาแบ่งปันคำตอบ (“แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” มีข้อคิดที่เป็นประโยชน์) เหตุใดบางครั้งจึงดูเหมือนการกลับใจเป็นสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา? เราพบอะไรในสดุดีบทนี้ที่สามารถทำให้การกลับใจเป็นสิ่งที่เรายินดีทำ?

  • เราจะอธิบายความรู้สึกเมื่อได้รับการอภัยบาปผ่านเดชานุภาพการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ว่าอย่างไร? เชิญสมาชิกชั้นเรียนแบ่งปันความคิดของพวกเขา และกระตุ้นให้พวกเขาหาข้อความใน สดุดี 51; 85–86 ที่พูดถึงผลของการให้อภัยที่ชำระให้สะอาดของพระองค์ในชีวิตเรา (ดูตัวอย่างใน สดุดี 51:1–2, 7–12; 85:2–9) ท่านอาจให้ดูภาพหรือสิ่งของที่จะช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนเห็นภาพวลีเหล่านี้ จากนั้นให้แบ่งปันความรู้สึกของพวกเขาเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดพระเยซูคริสต์และความเต็มพระทัยชดใช้บาปให้เราเพื่อเราจะได้รับการให้อภัย ท่านอาจจะร้องเพลงสวดเพลงหนึ่งด้วยกันเกี่ยวกับการพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอด เช่น “ฉันเฝ้าพิศวง” (เพลงสวด, บทเพลงที่ 89)

  • เพื่อกลับใจ เราต้องมีศรัทธาไม่เพียงพระเยซูคริสต์ทรง สามารถ ชำระเราให้สะอาดเท่านั้นแต่มีศรัทธาด้วยว่าพระองค์ จะ ทรงชำระเราให้สะอาดแน่นอน สมาชิกชั้นเรียนอาจพบข้อความใน สดุดี 51; 85–86 สัปดาห์นี้ที่เสริมสร้างศรัทธาของพวกเขาในความเต็มพระทัยให้อภัยของพระเจ้า กระตุ้นให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่พบ ท่านอาจชี้ให้พวกเขาดู สดุดี 86:5, 13, 15 และถามว่าข้อเหล่านี้สอนอะไรเกี่ยวกับพระเจ้า พระองค์ทรง “อุดมด้วย [ความเมตตาและความจริง]” หมายความว่าอย่างไร? (ข้อ 15) เหตุใดจึงสำคัญที่เราต้องรู้เช่นนี้?

สดุดี 66:5–20

ประจักษ์พยานของเราในพระเยซูคริสต์สามารถช่วยให้ผู้อื่นมาหาพระองค์

  • พรประเสริฐประการหนึ่งของการประชุมกันในโรงเรียนวันอาทิตย์คือโอกาสที่จะได้พลังจากศรัทธาและประจักษ์พยานของผู้ติดตามพระเยซูคริสต์คนอื่นๆ เพื่อให้ชั้นเรียนของท่านมีโอกาสนี้ ท่านอาจขอให้สมาชิกชั้นเรียนอ่าน สดุดี 66:16 และไตร่ตรองคำถามนี้: ถ้าท่านต้อง “บอกว่า [พระเจ้า] ได้ทรงทำอะไรเพื่อ [ท่าน] บ้าง” ท่านจะบอกว่าอะไร? ขณะไตร่ตรอง พวกเขาอาจจะอ่าน ข้อ 5–20 เพื่อหาแนวคิด แล้วจดคำตอบของพวกเขา จากนั้นให้พวกเขา “บอก” กันและกัน—ในกลุ่มเล็กหรือต่อทั้งชั้น—ว่าพระเยซูคริสต์ทรงทำอะไรเพื่อพวกเขาบ้าง

    ภาพ
    เยาวชนชายสองคนคุยกัน

    เราสามารถแบ่งปันประจักษ์พยานของเรากับผู้อื่นเกี่ยวกับสิ่งที่พระเจ้าทรงทำเพื่อเรา

ภาพ
ไอคอนแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

การกลับใจหมายถึงการเปลี่ยนแปลง

ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันอธิบายการกลับใจทำนองนี้:

“เมื่อพระเยซูทรงขอให้ท่านกับข้าพเจ้า ‘กลับใจ’ พระองค์ทรงเชื้อเชิญให้เราเปลี่ยนความนึกคิด ความรู้ วิญญาณ—แม้แต่วิธีที่เราหายใจ พระองค์ทรงขอให้เราเปลี่ยนแปลงวิธีที่เรารัก คิด รับใช้ ใช้เวลา ปฏิบัติต่อภรรยา สอนลูกๆ และแม้แต่วิธีที่เราดูแลร่างกายของเรา

“ไม่มีสิ่งใดเป็นอิสระ มีเกียรติ หรือสำคัญต่อความก้าวหน้าของเรามากไปกว่าการมุ่งเน้นที่การกลับใจทุกวันอย่างสม่ำเสมอ การกลับใจไม่ใช่เหตุการณ์ แต่เป็นกระบวนการ เป็นกุญแจสู่ความสุขและจิตใจที่สงบ เมื่อร่วมกับศรัทธา การกลับใจเปิดประตูสู่พลังแห่งการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ …

“เมื่อเราเลือกกลับใจ เราเลือกที่จะเปลี่ยนแปลง! เรายอมให้พระผู้ช่วยให้รอดทรงเปลี่ยนเราเป็นตัวเราเองในแบบที่ดีที่สุด เราเลือกเติบโตทางวิญญาณและรับปีติ—ปีติแห่งการไถ่ในพระองค์ เมื่อเราเลือกกลับใจ เราเลือกที่จะเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์มากขึ้น!” (“เราสามารถทำได้ดีขึ้นและเป็นคนดีขึ้น,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 67)

ปรับปรุงการสอนของเรา

ถามคำถามที่เข้าถึงใจและความคิด “ขอให้ผู้เรียนแบ่งปันความรู้สึกของพวกเขาเกี่ยวกับข้อความพระคัมภีร์ ว่าผู้คนในพระคัมภีร์อาจรู้สึกอย่างไร หรือว่าความจริงในข้อความนั้นเชื่อมโยงกับชีวิตเราอย่างไร” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 31)

พิมพ์