เซมินารี
1 เปโตร 1–5


1 เปโตร 1–5

“ล้ำค่ายิ่งกว่าทองคำ”

หลังจากถูกเฆี่ยนตี เปโตรและยอห์นยังคงสั่งสอนผู้คนในพระนามของพระคริสต์

ท่านอาจจำได้ว่าเคยเรียนเรื่องศรัทธาและความขยันหมั่นเพียรของอัครสาวกเปโตรเมื่อท่านศึกษาครึ่งแรกของพันธสัญญาใหม่ เปโตรเขียนสาส์นฉบับแรกในช่วงบั้นปลายชีวิต หลังจากเขาเดินและพูดคุยกับพระเยซูคริสต์หลายปีในระหว่างการปฏิบัติศาสนกิจขณะทรงเป็นมรรตัยของพระผู้ช่วยให้รอด ในสาส์นฉบับแรก เปโตรซึ่งเป็นหัวหน้าอัครสาวกมุ่งเน้นวิธีเสริมสร้างความเข้มแข็งให้วิสุทธิชนผ่านการทดลองแสนสาหัสที่พวกเขาประสบจากน้ำมือของชาวโรมัน บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจจุดประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าดีขึ้นในการทรงยอมให้ท่านประสบการทดลองและจะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ท่านอดทนต่อการทดลองได้อย่างซื่อสัตย์

ทำไมเราประสบความยากลำบากในชีวิต?

เอ็ลเดอร์เดล จี. เรนลันด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายว่าเราทุกคนจะมีประสบการณ์ที่ดูเหมือนไม่ยุติธรรม ดูวีดิทัศน์เรื่อง “ความอยุติธรรมอันน่าเดือดดาล” ที่ ChurchofJesusChrist.org ตั้งแต่รหัสเวลา 3:19 ถึง 4:12 หรืออ่านข้อความต่อไปนี้:

14:51

ความอยุติธรรมอันน่าเดือดดาล

เอ็ลเดอร์เรนลันด์สอนว่าเราไม่ควรปล่อยให้ความอยุติธรรมทำให้เราขมขื่นหรือกัดกร่อนศรัทธาของเราแต่ควรทูลขอความช่วยเหลือจากพระผู้เป็นเจ้าและเพิ่มความวางใจในพระผู้ช่วยให้รอด

ภาพครึ่งตัวอย่างเป็นทางการของเอ็ลเดอร์เดล จี. เรนลันด์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง ถ่ายเมื่อเดือนมกราคม ปี 2016

ความอยุติธรรมบางอย่างไม่อาจอธิบายได้ ความอยุติธรรมที่อธิบายไม่ได้สร้างความเดือดดาล ความอยุติธรรมมาจากการมีชีวิตที่ร่างกายไม่สมบูรณ์ บาดเจ็บ หรือเป็นโรค ชีวิตมรรตัยอยุติธรรมโดยธรรมชาติอยู่แล้ว บางคนเกิดมาร่ำรวย บางคนไม่ใช่ บางคนมีพ่อแม่ให้ความรัก บางคนไม่มี บางคนมีชีวิตนานหลายปี บางคนไม่กี่ปี และอีกหลายๆ ตัวอย่าง บางคนพลาดพลั้งสร้างความเสียหายทั้งที่กำลังพยายามทำความดี บางคนเลือกไม่บรรเทาความอยุติธรรมทั้งๆ ที่ทำได้ น่าเวทนาที่บางคนใช้สิทธิ์เสรีที่พระผู้เป็นเจ้าประทานให้มาทำร้ายผู้อื่นทั้งที่ไม่ควรทำ

(เดล จี. เรนลันด์, “ความอยุติธรรมอันน่าเดือดดาล,” เลียโฮนา, พ.ค. 2021, 42)

  • ท่านคิดว่าทำไมเอ็ลเดอร์เรนลันด์ใช้คำว่า “น่าเดือดดาล” เพื่อพูดถึงบางอย่างที่ไม่เป็นยุติธรรมที่เราประสบในชีวิต?

  • ท่านรู้จักใครที่กำลังประสบหรือเคยประสบทดลองที่รู้สึกว่าไม่ยุติธรรมอย่างน่าเดือดดาลบ้าง? ท่านคิดว่าทำไมพระเจ้าทรงยอมให้สิ่งนี้เกิดขึ้น?

ใน ค.ศ. 64 กรุงโรมส่วนใหญ่ถูกไฟเผาทำลาย ชาวโรมันผู้สูงศักดิ์กล่าวหาว่าสมาชิกศาสนจักรเป็นคนเผา ซึ่งนำไปสู่การข่มเหงชาวคริสต์ทั่วทั้งจักรวรรดิโรมันอย่างรุนแรง เปโตรน่าจะเขียนสาส์นฉบับแรกของเขาหลังจากเหตุการณ์นี้เพื่อเสริมสร้างศรัทธาของวิสุทธิชนและเพื่อย้ำเตือนวิสุทธิชนให้นึกถึงรางวัลนิรันดร์เมื่ออดทนต่อการทดลองอย่างซื่อสัตย์ ขณะศึกษา ให้เอาใจใส่การกระตุ้นเตือนของพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่สามารถช่วยให้ท่านเข้าใจเหตุผลบางอย่างสำหรับการทดลองของท่านเอง และวิธีที่ท่านสามารถพึ่งพาพระเยซูคริสต์ให้ช่วยท่านอดทนต่อการทดลองได้อย่างซื่อสัตย์

ไฟของคนถลุงแร่

อ่าน 1 เปโตร 1:3–9 เพื่อดูว่าอัครสาวกเปโตรสอนอะไรเกี่ยวกับพรที่รอคอยผู้อดทนต่อการทดลองอย่างซื่อสัตย์ คำว่า การทดลอง ในข้อ 6 หมายรวมถึงการล่อลวงและความทุกข์ต่างๆ (ดู 1 เปโตร 1:6, เชิงอรรถ b)

  • ท่านคิดว่าคำหรือวลีใดจากข้อเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ถ้าจำได้เมื่อท่านหรือผู้อื่นประสบการทดลอง? เพราะเหตุใด?

  • ท่านคิดว่าเหตุใดเปโตรจึงเปรียบเทียบการทดลองศรัทธาของวิสุทธิชนกับทองคำที่ถูกไฟหลอม?

ต่อไปนี้เป็นภาพของเบ้าหลอม เบ้าหลอมเป็นภาชนะที่ใช้หลอมโลหะอย่างเช่นทองคำ เมื่อหลอมโลหะ จะต้องให้ความร้อนและละลายโลหะเพื่อขจัดสิ่งเจือปนและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย

ภาพเบ้าหลอมกับโลหะเหลวที่เทลงในแม่พิมพ์
  • ศรัทธาอาจจะถูกทดลอง หรือถูกทดสอบในวิธีใดบ้างเพื่อให้ “ล้ำค่ายิ่งกว่าทองคำ”? (1 เปโตร 1:7)

ความจริงข้อหนึ่งที่สามารถระบุได้จากข้อที่ท่านเพิ่งศึกษาคือ เมื่อเราอดทนต่อการทดลองอย่างซื่อสัตย์ ศรัทธาของเราในพระเยซูคริสต์จะถูกหลอมและแข็งแกร่งขึ้น ท่านอาจบันทึกความจริงนี้ลงในพระคัมภีร์หรือสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน

  • อะไรเกี่ยวกับการประสบการทดลองยากๆ ที่สามารถเสริมสร้างศรัทธาของเราในพระเยซูคริสต์?

แม้การประสบความยากลำบากจะเป็นการหลอมทางวิญญาณสำหรับคนจำนวนมาก แต่มีบางคนขมขื่นหรือทำใจแข็งกระด้างหลังจากการทดลองที่ยาก (ดู แอลมา 62:41)

  • ท่านคิดว่าอะไรสามารถช่วยเราเปลี่ยนการทดลองของเราเป็นพรไม่ใช่เป็นประสบการณ์ที่บั่นทอนศรัทธาของเรา?

  • ท่านเคยมีประสบการณ์อะไรบ้างหรือรู้จักประสบการณ์อะไรบ้างที่การอดทนต่อการทดลองยากๆ อย่างซื่อสัตย์ทำให้ศรัทธาของท่านหรือศรัทธาของผู้อื่นเข้มแข็งขึ้น?

  • ประสบการณ์เหล่านี้สอนอะไรท่านเกี่ยวกับพระเจ้า?

ดูวีดิทัศน์เรื่อง “The Refiner’s Fire” (5:02) ที่ ChurchofJesusChrist.org,เพื่อดูตัวอย่างหนึ่งของคนที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงเสริมสร้างความเข้มแข็งเมื่อเธออดทนต่อการทดลองอย่างซื่อสัตย์

4:58

The Refiner's Fire

The refiner’s fire is not a comfortable place to be. It involves intense heat and repeated hammering. But it is in the refiner’s fire we are purified and prepared to meet God.

เปโตรแนะนำวิสุทธิชน

สาระสำคัญที่พบทั่วสาส์นฉบับแรกของเปโตรคือวิธีที่สานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์สามารถอดทนต่อความทุกข์ทรมานและการข่มเหงได้อย่างซื่อสัตย์ คำแนะนำของเปโตรจะให้ความหวัง กำลังใจ และความเข้มแข็งแก่คนที่กำลังประสบการทดลองของชีวิตมรรตัย

เขียนบนกระดาษด้วยปากกาหรือดินสอ 1. ทำกิจกรรมต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน:

วาดภาพเบ้าหลอมง่ายๆ เหมือนภาพที่ท่านเห็นก่อนหน้านี้ในบทเรียน ข้างในเบ้าหลอม ให้เขียนการทดลองและความทุกข์บางอย่างที่ท่านเคยประสบหรือประสบอยู่ปัจจุบัน

ขณะศึกษาถ้อยคำของเปโตรเพิ่มเติม ให้มองหาคำสอนที่สามารถช่วยท่านรับมือกับการทดลองที่เขียนไว้ในภาพของท่าน บันทึกคำสอนเหล่านี้ไว้นอกรูปเบ้าหลอมของท่าน

เลือกศึกษาชุดข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้อย่างน้อยสองชุดขณะท่านมองหาหลักธรรมที่จะเพิ่มลงในรูปภาพของท่าน ขณะศึกษา ให้ไตร่ตรองคำถามต่อไปนี้: คำสอนเหล่านี้จะช่วยฉันหรือคนที่ประสบการทดลองยากๆ ได้อย่างไร?

  • 1 เปโตร 2:20–25—แบบอย่างการอดทนต่อการทดลองของพระเยซูคริสต์

  • 1 เปโตร 4:12–19—เหตุผลให้ชื่น‍ชม​ยินดี​ในการทดลองของเรา

  • 1 เปโตร 5:6–11—การได้รับความเข้มแข็งจากพระเจ้าเพื่ออดทนต่อการทดลองของเรา

เลือกได้: ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมหรือไม่?

1 เปโตร 2:20 เหตุใดเปโตรจึงสอนว่าเราควรรับการทดลองอย่างอดทน?

เอ็ลเดอร์นีล เอ. แม็กซ์เวลล์ (1926–2004) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนดังนี้:

ภาพครึ่งตัวอย่างเป็นทางการภาพสุดท้ายของเอ็ลเดอร์นีล เอ. แม็กซ์เวลล์ ปี 1992

ความอดทนผูกพันเหนียวแน่นกับศรัทธาในพระบิดาบนสวรรค์ของเรา จริงๆ แล้วเมื่อเราใจร้อนเกินไป เรากำลังบอกเป็นนัยว่าเรารู้ว่าอะไรดีที่สุด—รู้ดีกว่าพระผู้เป็นเจ้า หรืออย่างน้อยเรากำลังยืนกรานว่าจังหวะเวลาของเราดีกว่าของพระองค์ … ดังนั้นตามที่กล่าวไว้แล้ว ความอดทนเป็นคุณธรรมสำคัญยิ่งของมนุษย์อันเกี่ยวเนื่องกับศรัทธาของเรา สิทธิ์เสรีของเรา เจตคติของเราต่อชีวิต ความถ่อมตนของเรา และความทุกข์ทรมานของเรา … นอกจากนี้แล้วไม่มีวิธีอื่นใดทำให้การเติบโตที่แท้จริงเกิดขึ้นได้

(นีล เอ. แม็กซ์เวลล์, “Patience” [Brigham Young University devotional, Nov. 27, 1979], 1, 4, speeches.byu.edu)

ฉันจะเอาชนะการทดลองที่กำลังประสบอยู่ได้อย่างไร?

เอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์เซ็นแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า:

ภาพครึ่งตัวอย่างเป็นทางการของเอ็ลเดอร์นีล แอล. แอนเดอร์เซ็นแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง เดือนสิงหาคม ปี 2010

ในความทรหดของการทดลองทางโลก จงอดทนมุ่งหน้าต่อไป และเดชานุภาพแห่งการเยียวยาของพระผู้ช่วยให้รอดจะนำความสว่าง ความเข้าใจ สันติสุข และความหวังมาสู่ท่าน จงสวดอ้อนวอนด้วยสุดใจท่าน เสริมสร้างศรัทธาของท่านในพระเยซูคริสต์ ในการดำรงอยู่จริงของพระองค์ ในพระคุณของพระองค์ … มองไปข้างหน้า ปัญหาและความโศกเศร้าของท่านมีจริง แต่จะไม่อยู่ตลอดไป คืนอันมืดมิดของท่านจะผ่านไป เพราะพระบุตร … [ทรงลุกขึ้น] ด้วยปีกของพระองค์ที่รักษาหาย

(ดู นีล แอล. แอนเดอร์เซ็น, “บาดเจ็บ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2018, 85)

ฉันจะพบความสุขขณะทนทุกข์กับการทดลองได้อย่างไร?

เอ็ลเดอร์โจเซฟ บี. เวิร์ธลิน (1917–2008) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองพูดถึงเรื่องการค้นหาความสุขในระหว่างความทุกข์ยากและจดจำคำแนะนำของมารดาของท่านให้พูดว่า “ไม่ว่าจะเกิดอะไรก็ตาม ให้รักมัน”

ภาพครึ่งตัวอย่างเป็นทางการภาพสุดท้ายของเอ็ลเดอร์โจเซฟ บี. เวิร์ธลิน แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง ปี 2004 ถึงแก่กรรม 1 ธันวาคม ปี 2008

เราจะรักวันที่เต็มไปด้วยความโศกเศร้าได้อย่างไร? เรารักไม่ได้—อย่างน้อยก็ในขณะนั้น ข้าพเจ้าไม่คิดว่าคุณแม่กำลังบอกให้เราข่มความท้อแท้หรือปฏิเสธความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจริง ข้าพเจ้าไม่คิดว่าท่านกำลังบอกให้เราซุกซ่อนความจริงอันไม่พึงประสงค์ไว้ใต้เสื้อคลุมของความสุขที่เสแสร้ง แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่าวิธีที่เราตอบสนองความยากลำบากจะเป็นปัจจัยสำคัญบ่งบอกว่าเราจะมีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิตเพียงใด ถ้าเราจัดการกับความยากลำบากอย่างชาญฉลาด ช่วงเวลายากสุดจะเป็นช่วงเวลาของการเติบโตสูงสุดซึ่งสามารถนำไปสู่ช่วงเวลาของความสุขสูงสุดได้ …

เมื่อเรามองหาอารมณ์ขัน แสวงหามุมมองนิรันดร์ เข้าใจหลักธรรมเรื่องการชดเชย และเข้าใกล้พระบิดาบนสวรรค์ของเรา เราจะอดทนต่อความยากลำบากและการทดลองได้ เราจะพูดได้เช่นเดียวกับมารดาข้าพเจ้าว่า “ไม่ว่าจะเกิดอะไรก็ตาม ให้รักมัน”

(ดู โจเซฟ บี. เวิร์ธลิน, “ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ขอให้ชื่นชมยินดี,” เลียโฮนา, พ.ย. 2008, 32–35)