เซมินารี
ฮีบรู 2–4


ฮีบรู 2–4

พระผู้ช่วยให้รอดทรงสามารถช่วยเหลือเราในเวลาที่เราต้องการ

ท่านเคยสงสัยหรือไม่ว่ามีใครเข้าใจสิ่งที่ท่านกำลังประสบในชีวิตบ้าง? หนังสือฮีบรูสอนว่าพระเยซูคริสต์เสด็จจากบัลลังก์สวรรค์ของพระองค์มาดำเนินพระชนม์ชีพเป็นมนุษย์บนแผ่นดินโลกและทรงทำการชดใช้อันไม่มีขอบเขตเพื่อเรา ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงทรงรู้จักเราอย่างสมบูรณ์และรู้วิธีช่วยเหลือเราอย่างสมบูรณ์ บทเรียนนี้สามารถเพิ่มความมั่นใจให้ท่านได้ว่าพระเยซูคริสต์ทรงสามารถช่วยเหลือท่านได้ในเวลาที่ท่านต้องการ

พระผู้ช่วยให้รอดเข้าพระทัย

อ่าน ร้อง หรือฟังเพลงสวด “หาสันติได้ที่ใด?” (เพลงสวด, บทที่ 54)

ท่านจะดูวีดิทัศน์เรื่อง “หาสันติได้ที่ใด” (4:03) ที่ ChurchofJesusChrist.orgด้วย

4:3

"Where Can I Turn for Peace?"

Special musical number: “Where Can I Turn for Peace?”

  • ท่านจะอธิบายข่าวสารของเพลงบทนี้ด้วยคำพูดของท่านเองว่าอย่างไร?

ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน ให้เขียนเกี่ยวกับสิ่งที่ท่านต้องการความช่วยเหลือจริงๆ ในชีวิตท่าน

ในสาส์นถึงฮีบรู เปาโลสอนวิสุทธิชนเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และวิธีที่พระองค์จะประทานความเข้มแข็งแก่พวกเขาในสภาวการณ์ที่พบเจอ (ดู ฮีบรู 4:16) ขณะที่ท่านศึกษา ให้ดูว่าพระเยซูคริสต์ทรงช่วยเหลือท่านได้อย่างไร

ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน ให้สร้างแผนภูมิทำนองนี้:

เหตุใดพระเยซูคริสต์จึงทรงสามารถเข้าใจฉัน?

พระเยซูคริสต์ประทานพรอะไรแก่ฉันเพราะทรงเข้าใจฉัน?

เหตุใดพระเยซูคริสต์จึงทรงสามารถเข้าใจฉัน?

พระเยซูคริสต์ประทานพรอะไรแก่ฉันเพราะทรงเข้าใจฉัน?

อ่าน ฮีบรู 2:9–10, 13–18, และ 4:12–16 เพื่อมองหาคำตอบของคำถามในแผนภูมิ เขียนคำตอบไว้ใต้หัวข้อที่เหมาะสม สังเกตว่า ฮีบรู 2:9 และ 16 หมายถึงพระเยซูคริสต์ทรงจากบัลลังก์สวรรค์มาดำเนินพระชนม์ชีพเป็นมนุษย์บนแผ่นดินโลก

เขียนบนกระดาษด้วยปากกาหรือดินสอ 1. ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน:

  • ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ที่รู้สึกว่าสามารถช่วยท่านหรือผู้อื่นได้?

  • เหตุใดจึงอบอุ่นใจใจเมื่อทราบว่าพระเยซูคริสต์ทรงสามารถเล็งเห็น “ความคิดและความมุ่งหมายในใจ”? (ฮีบรู 4:12)

  • ท่านเข้าใจอะไรจากวลี “พระองค์จึงทรงสามารถช่วยผู้ที่ถูกทดลองได้”? (ฮีบรู 2:18) สังเกตว่าคำที่แปลว่า “ถูกทดลอง” สามารถแปลว่า “ถูกทดสอบ” หรือ “อยู่ภายใต้การทดลอง” ได้ด้วย คำว่า ช่วย หมายถึงวิ่งไปช่วยเหลือจากใครบางคน

ความจริงข้อหนึ่งที่ท่านอาจค้นพบคือ เพราะพระเยซูคริสต์ทรงทนทุกข์และทรงถูกล่อลวงในทุกสิ่ง พระองค์จึงเข้าพระทัยเราและทรงสามารถช่วยเหลือเราในเวลาที่เราต้องการ ศาสดาพยากรณ์แอลมาในพระคัมภีร์มอร์มอนสอนความจริงนี้เช่นกัน ท่านอาจอ้างโยงข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน แอลมา 7:11–13 กับ ฮีบรู 2:18

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายวิธีเข้าใจดีขึ้นเรื่องพระปรีชาสามารถของพระผู้ช่วยให้รอดในการเข้าใจและช่วยเหลือท่าน ท่านอาจต้องการดูวีดิทัศน์เรื่อง “ทนแบกสัมภาระได้โดยง่าย” (16:23) ที่ ChurchofJesusChrist.org ตั้งแต่รหัสเวลา 12:15 จนถึง 13:21 หรืออ่านคำกล่าวด้านล่าง

16:23

ทนแบกสัมภาระได้โดยง่าย

เดวิด เอ. เบดนาร์สอนว่าการท้าทายช่วยเราเรียนรู้ที่จะพึ่งพาการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอด

ภาพครึ่งตัวอย่างเป็นทางการของเอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง ปี 2020

ไม่มีความเจ็บปวดทางกาย บาดแผลทางวิญญาณ ความรวดร้าวของจิตวิญญาณหรือความปวดใจ ทุพพลภาพหรือความอ่อนแอที่ท่านหรือข้าพเจ้าเคยเผชิญในความเป็นมรรตัยที่พระผู้ช่วยให้รอดไม่ทรงประสบมาก่อน ในชั่วขณะของความอ่อนแอเราอาจร้องว่า “ไม่มีใครรู้ว่าเป็นอย่างไร ไม่มีใครเข้าใจ” แต่พระบุตรของพระผู้เป็นเจ้าทรงทราบและเข้าพระทัยดี เพราะทรงรู้สึกและทรงแบกภาระของเราแต่ละคน และเพราะการพลีพระชนม์อันไม่มีขอบเขตและเป็นนิรันดร์ของพระองค์ (ดู แอลมา 34:14) พระองค์จึงเข้าพระทัยความรู้สึกได้อย่างถ่องแท้และทรงยื่นพระพาหุแห่งความเมตตามาให้เราได้ พระองค์ทรงเอื้อมมาสัมผัส ช่วยเหลือ เยียวยา และเพิ่มพละกำลังให้เราได้มากกว่าที่เราจะทำได้ ทรงช่วยให้เราทำสิ่งที่เราไม่อาจทำได้โดยอาศัยเพียงพลังของเราเอง

(เดวิด เอ. เบดนาร์, “ทนแบกสัมภาระได้โดยง่าย,” เลียโฮนา, พ.ค. 2014, 90)

  • แอลมา 7:11–13 หรือคำกล่าวของเอ็ลเดอร์เบดนาร์ช่วยให้ท่านเข้าใจพระปรีชาสามารถของพระผู้ช่วยให้รอดในการช่วยเหลือท่านได้ดีขึ้นอย่างไร?

ให้นึกถึงตัวอย่างจากชีวิตของท่าน ชีวิตของผู้อื่น หรือพระคัมภีร์ ที่แสดงให้เห็นความเข้าใจโดยสมบูรณ์ของพระผู้ช่วยให้รอดต่อประสบการณ์และความต้องการของเรา ถ้าท่านต้องการให้ช่วยคิดตัวอย่าง ลองศึกษา ยอห์น 11:21–27, 32–36; โมไซยาห์ 24:11–15; หรือ หลักคำสอนและพันธสัญญา 122:5–9

  • ตัวอย่างนี้จะช่วยให้ท่านพึ่งพาพระเยซูคริสต์ได้อย่างไร?

เข้ามาถึงพระที่นั่งแห่งพระคุณด้วยความกล้า

อ่าน ฮีบรู 4:16 เพื่อดูว่าเปาโลเชื้อเชิญให้เราทำอะไรเพื่อรับความช่วยเหลือที่เราต้องการ ท่านอาจทำเครื่องหมายสิ่งที่ท่านพบ

ดูตัวอย่างวิธีที่เราจะเข้าถึงพระที่นั่งแห่งพระคุณได้จากวีดิทัศน์เรื่อง “Reach Up to Him in Faith” (3:54) ที่ ChurchofJesusChrist.org

3:54

Reach Up to Him in Faith

President Russell M. Nelson teaches that just as the woman who was healed by touching the robe of Jesus, we can receive strength and direction by reaching out to Him as well.

เขียนบนกระดาษด้วยปากกาหรือดินสอ 2. ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน:

  • ท่านคิดว่าการ “เข้ามาถึงพระที่นั่งแห่งพระคุณด้วยความกล้า” หมายความว่าอย่างไร?

  • เราควรมั่นใจในเรื่องใดเมื่อเข้ามาหาพระผู้เป็นเจ้า?

  • การ “เข้ามาถึงพระที่นั่งแห่งพระคุณด้วยความกล้า” น่าจะเป็นอย่างไรและรู้สึกอย่างไร?

เลือกได้: ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมหรือไม่?

พระจริยวัตรอันอ่อนน้อมของพระเยซูคริสต์คืออะไร?

เอ็ลเดอร์เควนทิน แอล. คุกแห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า:

ภาพครึ่งตัวอย่างเป็นทางการของเอ็ลเดอร์เควนทิน แอล. คุก ได้รับเรียกสู่โควรัมอัครสาวกสิบสองเมื่อ 6 ตุลาคม ปี 2007

แบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดเรื่องความอ่อนน้อมถ่อมตนและการพลีพระชนม์ชีพเพื่อมนุษยชาติเป็นเหตุการณ์สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ พระผู้ช่วยให้รอด พระองค์ผู้ทรงเป็นสมาชิกในพระผู้เป็นเจ้าสามพระองค์ เต็มพระทัยเสด็จมายังแผ่นดินโลกเป็นทารกผู้ต่ำต้อยและทรงเริ่มการดำรงอยู่ของพระองค์โดยทรงสอนและทรงรักษาพี่น้องชายหญิงของพระองค์ และในที่สุดทรงทนทุกข์ทรมานต่อความเจ็บปวดจนสุดพรรณนาในเกทเสมนีและบนกางเขนเพื่อทำให้การชดใช้ของพระองค์สมบูรณ์ การกระทำอันเกิดจากความรักและความอ่อนน้อมถ่อมตนในส่วนของพระคริสต์เป็นที่รู้กันว่าเป็นพระจริยวัตรอันอ่อนน้อมของพระองค์ พระองค์ทรงทำสิ่งนี้เพื่อชายหญิงทุกคนที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างหรือจะทรงสร้างขึ้น

(เควนทิน แอล. คุก, “นิรันดรทุกวัน,” เลียโฮนา, พ.ย. 2017, 52)

ฮีบรู 4:15 พระเยซูทรง “เคยถูกทดลองใจเหมือนเราทุกอย่าง” จริงหรือ?

ประธานฮาเวิร์ด ดับเบิลยู. ฮันเตอร์ (1907–1995) สอนดังนี้:

ฮาเวิร์ด ดับเบิลยู. ฮันเตอร์

สิ่งสำคัญคือต้องจดจำว่าพระเยซูทรงสามารถทำบาปได้ พระองค์จะยอมจำนนก็ได้ พระองค์จะทรงทำให้แผนแห่งชีวิตและความรอดล้มเหลวได้ แต่พระองค์ไม่ทรงทำ หากไม่เปิดโอกาสให้พระองค์ทรงยอมต่อการชักจูงของซาตาน คงจะไม่มีการทดสอบที่แท้จริง และไม่มีชัยชนะแท้จริงเกิดขึ้น ถ้าพระองค์ไม่ทรงมีความสามารถในการทำบาป พระองค์จะไม่ทรงมีสิทธิ์เสรีของพระองค์อย่างแท้จริง พระองค์คือผู้เสด็จมาปกป้องและทำให้มนุษย์มีสิทธิ์เสรี พระองค์ต้องรักษาสมรรถภาพและความสามารถในการทำบาปหากพระองค์ทรงประสงค์จะปกป้องสิทธิ์เสรีของมนุษย์ ดังที่เปาโลเขียนไว้ว่า “ถึงแม้ว่าพระองค์เป็นพระบุตร พระองค์ก็ทรงเรียนรู้ที่จะเชื่อฟังโดยการทนทุกข์ต่างๆ” (ฮีบรู 5:8) และพระองค์ “ทรงเคยถูกทดลองใจเหมือนเราทุกอย่าง ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังปราศจากบาป” (ฮีบรู 4:15) พระองค์ทรงดีพร้อมและปราศจากบาป ไม่ใช่เพราะพระองค์ต้องเป็น แต่เพราะพระองค์ตั้งพระทัยและแสดงให้เห็นชัดเจนว่าทรงต้องการเป็นเช่นนั้น

(ฮาเวิร์ด ดับเบิลยู. ฮันเตอร์, “The Temptations of Christ,” Ensign, Nov. 1976, 19)

ฮีบรู 4:16 อะไรคือนัยสำคัญของ “พระที่นั่งแห่งพระคุณ”?

“ในหลายวัฒนธรรมโบราณ การเข้ามาถึงบัลลังก์ของกษัตริย์โดยไม่ได้รับเชิญคือการเอาชีวิตมาเสี่ยง แต่ถ้ามาตามคำเชิญของกษัตริย์ คนนั้นสามารถเข้าเฝ้าและพูดด้วยความมั่นใจได้ การเข้าเฝ้าพระผู้เป็นเจ้า ‘ด้วยความกล้า’ หมายถึงการมีความมั่นใจว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงประสงค์ให้เราเข้ามาถึงบัลลังก์ของพระองค์ และเราจะได้รับความช่วยเหลือจากพระองค์” (New Testament Student Manual [2018], 477)

ในการอ้างถึงพระเมตตาที่พระผู้เป็นเจ้าทรงมอบให้เรา เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์ ฮอลแลนด์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า:

ภาพครึ่งตัวอย่างเป็นทางการของเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ ถ่ายเมื่อเดือนมกราคมปี 2018

แน่นอนว่าสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าสำราญพระทัยมากที่สุดเกี่ยวกับการเป็นพระผู้เป็นเจ้าคือความยินดีที่ได้แสดงพระเมตตา โดยเฉพาะต่อผู้ที่ไม่คาดหวังจะได้รับหรือมักจะรู้สึกว่าตนไม่คู่ควร

(เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์, “คนงานในสวนองุ่น,” เลียโฮนา, พ.ค. 2012, 33)