โจเซฟ สมิธ—มัทธิว 1:21–37; ลูกา 21:25–36
อย่ากังวลใจเลย
พระเยซูคริสต์ทรงบัญชาสานุศิษย์ของพระองค์ว่า “อย่ากังวลใจเลย” (โจเซฟ สมิธ—มัทธิว 1:23) แม้ว่าจะมีภัยพิบัติ ความทุกข์ยาก และความพินาศที่จะเกิดขึ้นก่อนการเสด็จมาครั้งที่สอง บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านหลีกเลี่ยงการหลอกลวงและเอาชนะความกลัวเกี่ยวกับเหตุการณ์ในวันเวลาสุดท้าย
เอาชนะการหลอกลวง
-
แนวคิดที่เป็นเท็จสองหรือสามอย่างที่พบได้ทั่วไปในโลกปัจจุบันคืออะไร?
ขณะตรัสกับสานุศิษย์ของพระองค์ พระผู้ช่วยให้รอดทรงพยากรณ์ว่าจะมีผู้แพร่แนวคิดที่เป็นเท็จก่อนการเสด็จมาครั้งที่สองของพระองค์ อ่าน โจเซฟ สมิธ— มัทธิว 1:22 เพื่อมองหาสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงพยากรณ์ไว้
-
เหตุใดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะรู้ว่าแม้แต่ผู้ที่ทรงเลือกไว้” ยังถูกหลอกลวงได้?
ประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสัน (1899–1994) สอนว่าพระคริสต์ปลอมและศาสดาพยากรณ์ปลอมทั้งหลายไม่ได้จำกัดอยู่เพียงผู้คนเท่านั้น แต่ยังสามารถมาในรูปแบบของแนวคิดและคำสอนที่เป็นเท็จ (ดู คำสอนของประธานศาสนจักร: เอสรา แทฟท์ เบ็นสัน [2014], 132) ขณะท่านศึกษาบทเรียนนี้ ให้แสวงหาการนำทางจากพระวิญญาณขณะท่านมองหาวิธีที่ท่านจะสามารถวางใจในพระเจ้าและเอาชนะแนวคิดที่เป็นเท็จหรือการหลอกลวง
หลังจากสอนเกี่ยวกับการหลอกลวงอื่นๆ และเกี่ยวกับเครื่องหมายการเสด็จมาของพระองค์ (ดู โจเซฟ สมิธ—มัทธิว 1:23–36) พระผู้ช่วยให้รอดทรงสอนวิธีเอาชนะการหลอกลวง อ่าน โจเซฟ สมิธ—มัทธิว 1:37
.
ประธานเอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ด รักษาการประธานโควรัมอัครสาวกสิบสองเล่าเรื่องราวการประชุมกับอดีตผู้สอนศาสนาที่อ่านข้อมูลวิพากษ์วิจารณ์ศาสนจักร ชายหนุ่มมีคำถามมากมายที่หาคำตอบไม่ได้และรู้สึกสูญเสียประจักษ์พยานของตน ประธานบัลลาร์ดตกลงที่จะเตรียมคำตอบให้แก่คำถามของชายหนุ่มแต่เชิญชายหนุ่มให้มุ่งมั่นอ่านพระคัมภีร์มอรมอนเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมงทุกวันเป็นเวลา 10 วันด้วย ประธานบัลลาร์ดเล่าว่า
สิบวันต่อมาเขากลับมาที่ห้องทำงานของข้าพเจ้า และข้าพเจ้าพร้อมแล้ว ข้าพเจ้าดึงกระดาษออกมาเพื่อเริ่มตอบคำถามของเขา แต่เขายั้งข้าพเจ้าไว้
“ประธานครับ” เขาพูด “นั่นไม่จำเป็นครับ” จากนั้นเขาอธิบายว่า “ผมรู้ว่าพระคัมภีร์มอรมอนเป็นความจริง ผมรู้ว่าโจเซฟ สมิธเป็นศาสดาพยากรณ์ของพระผู้เป็นเจ้า”
(M. Russell Ballard, “When Shall These Things Be?,” Ensign, Dec. 1996, 60)
-
ทำไมท่านจึงคิดว่าการศึกษาพระคัมภีร์มอรมอนทุกวันช่วยแก้ไขข้อกังวลที่มากมายของชายหนุ่มคนนี้ได้?
-
เหตุใดพระวจนะของพระผู้ช่วยให้รอดที่มีต่อเราในพระคัมภีร์จึงมีพลังอำนาจในชีวิตเรา?
ใช้เวลาสักครู่ไตร่ตรองว่าพระวจนะของพระผู้ช่วยให้รอดเป็นพรต่อท่านโดยส่วนตัวอย่างไร พระวจนะของพระองค์มีอิทธิพลในความรู้สึกของท่านที่มีต่อพระองค์อย่างไร? การสั่งสมพระวจนะของพระผู้ช่วยให้รอดช่วยให้ท่านหลีกเลี่ยงการถูกหลอกลวงได้อย่างไร?
ประธานบัลลาร์ดยังให้คำปแนะนำดังนี้ด้วย
กำหนดเวลาและสถานที่เพื่อศึกษาพระคัมภีร์เป็นประจำทุกวัน แม้ว่าจะเป็นเวลาเพียงสองสามนาทีในแต่ละครั้ง … เมื่อเปรียบเทียบกับการทำสิ่งอื่นๆ แล้ว สิ่งเหล่านี้ใช้เวลาน้อยมาก แต่ผลประโยชน์ในระยะยาวต่อเราและครอบครัวเราไม่มีที่สิ้นสุดและเป็นนิรันดร์ อีกทั้งยังช่วยเราได้มากในการเตรียมความพร้อม … สำหรับความท้าทายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต
(M. Russell Ballard, “When Shall These Things Be?,” Ensign, Dec. 1996, 60–61)
ประเมินความพยายามของท่านในการศึกษาและสั่งสมพระวจนะของพระเยซูคริสต์ ท่านรู้สึกว่าท่านทำได้ดีเพียงใด? นอกจากนี้ให้พิจารณาถึงอุปสรรคในชีวิตที่ท่านเผชิญและการสั่งสมพระวจนะของพระคริสต์จะช่วยท่านเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้นได้อย่างไร
ในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน ถัดจากรูปหีบสมบัติ ท่านอาจเขียนเป้าหมายว่าท่านต้องการสั่งสมพระวจนะของพระผู้ช่วยให้รอดอย่างไร
การเอาชนะสิ่งรบกวนและความกลัว
ลูกาบันทึกคำแนะนำและคำเตือนเพิ่มเติมที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงแบ่งปันเกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งที่สองของพระองค์ อ่านข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้และจับคู่ให้ตรงกับข้อสรุปที่ถูกต้อง
ก. บาปและความกังวลของชีวิตนี้สามารถทำให้เราเขวจากความพร้อมรับการเสด็จกลับมาของพระผู้ช่วยให้รอดข. ในวันเวลาสุดท้าย ผู้คนจำนวนมากจะรู้สึกท่วมท้นด้วยความกลัวค. ขณะที่เราเฝ้าสังเกตเครื่องหมายการเสด็จมาครั้งที่สองของพระผู้ช่วยให้รอดอย่างขยันหมั่นเพียร ให้สวดอ้อนวอนและพยายามประพฤติตนให้มีค่าควร เราจะพร้อมรับการเสด็จกลับมาของพระเจ้าได้
(หมายเหตุ: งานแปลของโจเซฟ สมิธสำหรับ ลูกา 21:36 เพิ่มวลี “และรักษาบัญญัติของเรา”)
-
อะไรโดดเด่นสำหรับท่านขณะที่อ่านข้อพระคัมภีร์เหล่านี้เกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งที่สอง?
-
มีเหตุผลอะไรบ้างที่ใจผู้คนจะท้อแท้เนื่องจากความกลัวในวันนี้?
-
บาปและความกังวลของชีวิตนี้อาจทำให้เราเขวจากการเตรียมรับการเสด็จมาของพระเจ้าอย่างไร? เหตุใดการถูกทำให้เขวเช่นนี้จึงเป็นอันตราย?
-
การสวดอ้อนวอนและความพยายามประพฤติตนให้มีค่าควรช่วยเราเตรียมพบพระเจ้าอย่างไร?
.
-
ในวันเวลาสุดท้าย การหันไปหาพระเจ้าช่วยให้เราเอาชนะความสงสัยและความกลัวของเราได้อย่างไร?
ประยุกต์ใช้สิ่งที่ท่านเรียนรู้
จินตนาการว่าหลังจากบทเรียนเกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งที่สอง เพื่อนสองคนกล่าวว่า:
เพื่อน #1: “ฉันไม่คิดว่าการเสด็จมาครั้งที่สองเป็นเรื่องใหญ่เลยนะ อันที่จริง พ่อของฉันไม่คิดด้วยซ้ำว่าเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้น ฉันไม่อยากกังวลเกี่ยวกับเรื่องแบบนี้”
เพื่อน #2: “ฉันไม่ชอบคิดเกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งที่สอง ฉันกลัวและเครียดกับเรื่องในชีวิตประจำวันเช่น โรงเรียนและปัญหากับเพื่อน แต่การเสด็จมาครั้งที่สองเป็นเรื่องใหญ่กว่ามาก เครื่องหมายทั้งหมดเกี่ยวกับสงครามและแผ่นดินไหวและการหลอกลวง—ฟังดูเลวร้าย”
1. ทำกิจกรรมต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน:
เลือกสถานการณ์สมมุติก่อนหน้านี้หนึ่งเรื่อง โดยใช้สิ่งที่ท่านเรียนรู้ในบทเรียนนี้ แสวงหาการนำทางจากพระวิญญาณขณะท่านเขียนสิ่งที่ท่านอาจจะพูดหรือทำเพื่อช่วยเพื่อนของท่าน มองหาวิธีกระตุ้นให้พวกเขาสั่งสมพระวจนะของพระเจ้าและวางใจพระองค์
ทางเลือก: ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมใช่หรือไม่?
มัทธิว 24:24 ตัวอย่างของความเท็จและการหลอกลวงในวันเวลาสุดท้ายมีอะไรบ้าง?
เอ็ลเดอร์แกรีย์ อี. สตีเวนสันอธิบายถึงวิธีบางอย่างที่ซาตานหมายมั่นจะหลอกลวงโลกในปัจจุบัน
เช่น เขากลบเกลื่อนผลร้ายแรงของยาเสพติดผิดกฎหมายหรือการดื่มสุรา และบอกว่ามันจะทำให้รื่นเริงใจ เขาทำให้เราหมกมุ่นกับสิ่งลบๆ ที่อาจอยู่ในโซเชียลมีเดีย รวมทั้งการเปรียบเทียบที่ทำให้ถดถอยและความจริงสมมติในอุดมคติ นอกจากนี้ เขายังอำพรางเนื้อหาอื่นๆ ทางออนไลน์ที่ชั่วร้ายอันตราย เช่น สื่อลามก การโจมตีผู้อื่นอย่างโจ่งแจ้งผ่านการระรานทางไซเบอร์ และการหว่านเมล็ดข้อมูลผิดๆ เพื่อให้เกิดความสงสัยและความกลัวในใจและความคิดเรา
(แกรีย์ อี. สตีเวนสัน, “อย่าหลอกข้าพเจ้าเลย,” เลียโฮนา, พ.ย. 2019, 95)
ลูกา 21:26 ฉันจะต้านทานความหวาดกลัวและน้อมรับอนาคตด้วยศรัทธาแทนได้อย่างไร?
ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันสอนเกี่ยวกับความสำคัญของการเชื่อมสัมพันธ์กับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ในช่วงเวลาที่มีความไม่แน่นอนดังนี้
แน่นอนว่าความปลอดภัยสูงสุดของเราเกิดขึ้นเมื่อเราเทียมแอกกับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ ชีวิตที่ ไม่มี พระผู้เป็นเจ้าคือชีวิตที่เต็มไปด้วยความกลัว ชีวิตที่ มี พระผู้เป็นเจ้าคือชีวิตที่เต็มไปด้วยสันติสุข
(รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “น้อมรับอนาคตด้วยศรัทธา,” เลียโฮนา พ.ย. 2020, 75)