ลูกา 23:33–46; ยอห์น 19:26–30
ความสงสารของพระผู้ช่วยให้รอดบนกางเขน
สิ่งที่พระเยซูตรัสขณะพระองค์อยู่บนกางเขนแสดงให้เห็นพระอุปนิสัยและพระคุณลักษณะของพระองค์ ขณะที่ท่านศึกษา ให้หาทางเพิ่มความปรารถนาจะเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์ให้มากขึ้นขณะท่านเรียนรู้จากแบบอย่างของพระองค์เมื่อพระองค์ทรงถูกตรึงกางเขน
การดูแลผู้อื่น
ไตร่ตรองคําถามต่อไปนี้: ท่านแสดงความสงสารผู้อื่นบ่อยๆ หรือไม่? เหตุใดจึงแสดงหรือไม่แสดง?
ในบทเรียนนี้ท่านจะมีโอกาสศึกษาแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดในการเอื้อมไปหาผู้อื่นแม้ในช่วงที่พระองค์ประสบความเจ็บปวดบนกางเขน ขณะท่านศึกษาแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอด จงแสวงหาการนำทางจากพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อช่วยให้ท่านปรารถนาจะเป็นเหมือนพระองค์มากขึ้น
ประสบการณ์ก่อนและระหว่างการตรึงกางเขน
นึกถึงประสบการณ์ของพระผู้ช่วยให้รอดก่อนและระหว่างการตรึงกางเขนของพระองค์:
-
พระองค์ทรงทนรับบาปของโลกในเกทเสมนี (ดู ลูกา 22:39–44)
-
พระองค์ทรงถูกยูดาสทรยศและถูกอัครสาวกของพระองค์ทอดทิ้ง (ดู มาระโก 14:43–50)
-
พระองค์ทรงถูกสอบสวน ถูกทุบตี และถูกผู้นำชาวยิวถ่มน้ำลายรด (ดู มัทธิว 26:57–68)
-
พระองค์ทรงถูกทั้งปีลาตและเฮโรดซักถามและถูกเฮโรดกับทหารของเขาเยาะเย้ย (ลูกา 23:1–24)
-
พระองค์ทรงถูกทหารโรมันทุบตีและโบยอย่างป่าเถื่อน (ดู มัทธิว 27:26–31)
-
พระองค์ทรงแบกกางเขนของพระองค์อย่างน้อยระหว่างทางส่วนหนึ่งไปกลโกธา (ดู ยอห์น 19:16–17)
-
พระหัตถ์และพระบาทของพระองค์ทรงถูกตอกด้วยตะปูและทรงถูกตรึงกางเขนระหว่างโจรสองคน (ดู ลูกา 23:33; ดู ยอห์น 20:25 ด้วย)
-
พระองค์ทรงถูกตรึงบนกางเขน (ดู มัทธิว 27:45–50; มาระโก 15:25)
คิดดูว่าเหตุการณ์เหล่านี้ส่งผลอย่างไรต่อความรู้สึกที่ท่านมีต่อพระผู้ช่วยให้รอดและสิ่งที่พระองค์ทรงอดทนเพื่อท่าน อ่านข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้ซึ่งมีพระดำรัสของพระผู้ช่วยให้รอดขณะพระองค์ทรงอยู่บนกางเขน ระบุความจริงเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์จากพระดำรัสของพระองค์ และเขียนลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน
-
ลูกา 23:33–34 พระผู้ช่วยให้รอดตรัสถ้อยคำเหล่านี้เกี่ยวกับทหารที่ตรึงพระองค์บนกางเขน (ดู งานแปลของโจเซฟ สมิธข้อนี้ใน ลูกา 23:34, เชิงอรรถ c)
-
ลูกา 23:39–43 ข้อเหล่านี้บันทึกว่าโจรที่ถูกตรึงกางเขนกับพระผู้ช่วยให้รอดพูดอะไรและพระผู้ช่วยให้รอดตรัสตอบอย่างไร (สังเกตว่าท่านศาสดาพยากรณ์โจเซฟ สมิธสอนว่า เมื่อพระผู้ช่วยให้รอดตรัสว่าโจรคนนี้จะอยู่กับพระองค์ในเมืองบรมสุขเกษม พระองค์ทรงสอนเขาว่า “เราจะอยู่กับเจ้าในโลกแห่งวิญญาณ& และจะสอนเจ้าหรือตอบคำถามของเจ้า” [“Discourse, 11 June 1843–A, ตามที่รายงานโดยวิลฟอร์ด วูดรัฟฟ์,” 44, josephsmithpapers.org])
-
ยอห์น 19:26–27 ข้อเหล่านี้บันทึกสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดตรัสกับมารีย์มารดาของพระองค์ และกับอัครสาวกยอห์น
พระผู้ช่วยให้รอดไม่เพียงคิดถึงทหารโรมัน โจร และมารดาของพระองค์เท่านั้นขณะทรงอยู่บนกางเขน ประธาน รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันสอนวิธีเพิ่มเติมที่พระผู้ช่วยให้รอดจับตามองผู้อื่นแม้ในยามที่พระองค์ทรงเจ็บปวดแสนสาหัส
ดังเช่นในทุกสิ่ง พระเยซูคริสต์ทรงเป็นแบบอย่างสูงสุดของเรา ‘พระองค์ทรงสู้ทนต่อกางเขนเพื่อความยินดีที่อยู่ต่อหน้าพระองค์’ [ฮีบรู 12:2] จงนึกดู! เพื่อที่พระองค์จะทรงทนต่อประสบการณ์ที่เจ็บปวดที่สุดที่เคยทนบนแผ่นดินโลก พระผู้ช่วยให้รอดของเราจับตามองไปที่ ปีติ!
ปีติอะไรหรือที่อยู่ต่อหน้าพระองค์? แน่นอนว่ารวมถึงปีติของการชำระให้บริสุทธิ์ การรักษา และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เรา ปีติของการจ่ายค่าบาปของคนทั้งปวงที่จะกลับใจ ปีติของการทำให้เป็นไปได้ที่ท่านและข้าพเจ้าจะกลับบ้าน—สะอาดและมีค่าควร—ในการอยู่กับพระบิดามารดาและครอบครัวบนสวรรค์ของเรา
(รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “ปีติและการอยู่รอดทางวิญญาณ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2016, 81-84)
-
พระผู้ช่วยให้รอดทรงจับตามองอะไรขณะพระองค์ทรงทนทุกข์ทรมานเพื่อเรา?
-
ประธานเนลสันสอนอะไรท่านเกี่ยวกับความปรารถนาของพระผู้ช่วยให้รอดสำหรับท่าน?
ไตร่ตรองความจริงสักครู่ว่าขณะพระผู้ช่วยให้รอดทรงอยู่บนกางเขน พระองค์ทรงจับตามองท่านและปีติของการช่วยท่านกลับไปหาพระบิดาบนสวรรค์
-
การเข้าใจความจริงนี้สามารถทำให้เกิดความแตกต่างอย่างไรในชีวิตท่าน? เหตุใดความรู้นี้จึงสร้างความแตกต่างให้ท่านถึงเพียงนี้?
ถ้าการเห็นตัวอย่างจะเป็นประโยชน์ ให้ดู “จงรักกันและกันดังพระองค์ทรงรักเรา” ที่ ChurchofJesusChrist.org, จากช่วงเวลาที่ 3:22 to 7:54Love One Another as He Has Loved Us
แสวงหาการดลใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์โดยไตร่ตรองแบบอย่างของพระผู้ช่วยให้รอดและสิ่งที่ท่านรู้สึกในวันนี้ ระบุวิธีที่ท่านจะเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์ได้มากขึ้นในการแสดงความรักและความสงสารผู้อื่นแม้ในช่วงที่ท่านมีความท้าทายของท่านเอง จากนั้นให้บันทึกวิธีเหล่านี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน ทบทวนรายการที่ท่านเขียน และสวดอ้อนวอนแล้วเลือกหนึ่งวิธีที่ท่านจะเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์ได้มากขึ้น ระบุวิธีนี้ลงในข้อมูลสมุดบันทึกของท่าน สวดอ้อนวอนและมองหาโอกาสทำวิธีนี้
“สำเร็จแล้ว”
หลังจากทุกข์ทรมานบนกางเขนหลายชั่วโมง พระผู้ช่วยให้รอดทรงเอ่ยพระดำรัสสุดท้ายของพระองค์
อ่าน ยอห์น 19:28–30 และ ลูกา 23:46 ทำเครื่องหมายพระดำรัสสุดท้ายของพระผู้ช่วยให้รอดในความเป็นมรรตัย
-
ข้อความเหล่านี้จะช่วยให้เราเข้าใจเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดและพระพันธกิจของพระองค์ได้อย่างไร?
เช่นเดียวกับพระผู้ช่วยให้รอด เราสามารถทำได้ครบถ้วนตามที่พระบิดาทรงต้องการให้เราทำในชีวิตของเรา จำสิ่งนี้ไว้ขณะท่านพยายามทำตามที่ท่านตัดสินใจจะนำมาใช้วันนี้
เลือกได้: ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมหรือไม่?
ยอห์น 19:27 เราจะเรียนรู้อะไรได้บ้างจากพระดำรัสของพระผู้ช่วยให้รอดที่ว่า “นี่คือมารดาของท่าน”?
เราสามารถทำตามแบบอย่างของพระเยซูคริสต์ขณะเพียรพยายามรับรู้ รัก และดูแลมารดาของเรา เอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสรรเสริญมารดาที่ชอบธรรมและเปรียบเทียบความรักของพวกเขากับความรักของพระผู้ช่วยให้รอด
ดู “Behold Thy Mother” บน ChurchofJesusChrist.org, ตั้งแต่ช่วงเวลา 0:20 ถึง 2:53
การช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อเรากำลังลำบากจะหล่อหลอมตัวเราได้อย่างไร?
เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า:
อุปนิสัยเผยให้เห็น … ในพลังความสามารถที่จะเล็งเห็นความทุกข์ของผู้อื่นเมื่อเราเองกำลังทุกข์ ในความสามารถที่จะสังเกตเห็นความหิวของผู้อื่นเมื่อเราหิว ในพลังความสามารถที่จะหยิบยื่นและเห็นใจในความทุกข์ทรมานทางวิญญาณของผู้อื่นเมื่อเราอยู่ระหว่างความทุกข์ทางวิญญาณของเราเอง ด้วยเหตุนี้จึงเห็นอุปนิสัยได้จากการมองและยื่นมือออกนอกตัวเมื่อการตอบสนองตามธรรมชาติและตามสัญชาตญาณคือหมกมุ่นกับตนเองและหันเข้าหาตัว หากความสามารถเช่นนั้นเป็นเกณฑ์สูงสุดของอุปนิสัยทางศีลธรรม พระผู้ช่วยให้รอดของโลกย่อมเป็นแบบอย่างที่ดีพร้อมของอุปนิสัยที่เสมอต้นเสมอปลายและมีจิตกุศล
(เดวิด เอ. เบดนาร์, “The Character of Christ” [Brigham Young University–Idaho devotional, Jan. 25, 2003], byui.edu)
พรใดจะเกิดขึ้นเมื่อเรารับใช้ผู้อื่นทั้งที่สถานการณ์ของเราเองก็ยาก?
ประธานเฮนรีย์ บี. อายริงก์ แห่งฝ่ายประธานสูงสุดสอนว่า:
เราต้องสังเกตความยากลำบากของผู้อื่นและพยายามช่วยเหลือ นั่นจะยากเป็นพิเศษเมื่อตัวเราเองกำลังเจอบททดสอบแสนสาหัส แต่เราจะค้นพบว่าเมื่อเรายกภาระของกันและกันแม้เพียงเล็กน้อย หลังของเราจะแข็งแรงขึ้นและเราจะสัมผัสถึงแสงสว่างในความมืด
(เฮนรีย์ บี. อายริงก์, “รับการทดสอบ พิสูจน์ และขัดเกลา,” เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 98)