เซมินารี
ยอห์น 18:33–40; ลูกา 23:8–11


ยอห์น 18:33–40; ลูกา 23:8–11

พระเยซูทรงถูกสอบสวนและทรงถูกโบย

Ecce Homo (คนนี้ไงล่ะ) โดย อันโตนิโอ ซิเซรี

หลังจากพระเยซูทรงถูกจับกุมและถูกสอบสวนอย่างไม่ถูกต้องต่อหน้าพวกผู้นำชาวยิวแล้ว พระองค์ทรงถูกส่งไปรับการสอบสวนต่อหน้าปีลาตผู้มีอำนาจตามกฎหมายโรมัน พระผู้ช่วยให้รอดทรงอ่อนน้อมยอมจำนนต่อชาวโรมัน ทรงถูกโบยอย่างเจ็บปวด และถูกตัดสินประหารชีวิต บทเรียนนี้ตั้งใจจะช่วยให้ท่านเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับความรักของพระผู้ช่วยให้รอดสำหรับทุกคนและพระอุปนิสัยที่ดีพร้อมของพระองค์ และท่านจะสามารถทำตามแบบอย่างของพระองค์ได้ดียิ่งขึ้นอย่างไร

การรู้สึกว่าถูกปฏิบัติไม่ดี

  • มีสถานการณ์ทั่วไปอะไรบ้างที่วัยรุ่นคนหนึ่งอาจถูกเยาะเย้ย ถูกกล่าวหาผิดๆ หรือถูกปฏิบัติไม่ดี?

  • วัยรุ่นทั่วไปอาจจะตอบสนองการปฏิบัติเช่นนั้นด้วยวิธีใดบ้าง?

พระเจ้าจะทรงอยู่กับเราและช่วยให้เราเติบโตจากประสบการณ์ยากๆ พระองค์จะทรงช่วยเราตอบสนองความยากลำบากและการต่อต้านในวิธีเหมือนพระคริสต์ได้ ลองนึกถึงประสบการณ์ส่วนตัวของท่านตอนถูกเยาะเย้ย ถูกกล่าวหาผิดๆ หรือถูกปฏิบัติไม่ดี รวมถึงวิธีที่ท่านตอบสนองและเหตุผล

ขณะพระเยซูคริสต์ทรงเข้าใกล้เหตุการณ์สุดท้ายของพระชนม์ชีพ พระองค์ทรงถูกเยาะเย้ย ถูกกล่าวหาผิดๆ และถูกปฏิบัติไม่ดี ขณะท่านศึกษาเหตุการณ์สุดท้ายเหล่านี้จากพระชนม์ชีพของพระผู้ช่วยให้รอด ให้มองหาพระอุปนิสัยที่ช่วยให้พระองค์ทรงอดทนและทำพระพันธกิจของพระองค์สำเร็จอย่างซื่อสัตย์ นอกจากนี้ให้พิจารณาร่วมกับการสวดอ้อนวอนด้วยว่าท่านจะทำตามแบบอย่างของพระองค์ได้อย่างไร

พระเยซูทรงถูกสอบสวนอย่างไม่เป็นธรรมและถูกตัดสินประหารชีวิต

หลังจากพระเยซูทรงทนทุกข์ทรมานในสวนเกทเสมนีแล้ว พระองค์ทรงถูกจับกุม และผู้นำชาวยิว (สภาซานเฮดริน) สอบสวนพระองค์อย่างไม่เป็นธรรมและตัดสินประหารชีวิตพระองค์ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอิสราเอลอยู่ภายใต้การปกครองของโรมัน การประหารชีวิตต้องได้รับอนุมัติจากชาวโรมันเท่านั้น ด้วยเหตุผลนี้ ชาวยิวจึงส่งพระเยซูไปให้ปีลาตผู้นำชาวโรมันเหนือยูเดีย โดยกล่าวหาว่าพระองค์ทรงกบฏต่อรัฐบาลโรมันเพราะทรงอ้างว่าเป็น “กษัตริย์ของพวกยิว” (ดู มาระโก 15:2) ปีลาตส่งพระเยซูไปให้เฮโรด อันทีพาสผู้ร่วมเทศกาลปัสกาอยู่ในเยรูซาเล็มโดยหวังว่าเฮโรดจะสอบสวนพระองค์ในกาลิลี แต่เฮโรดส่งพระเยซูกลับไปหาปีลาต

อ่านเรื่องราวต่อไปนี้อย่างน้อยสองเรื่องซึ่งเล่าว่าพระเยซูทรงถูกกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรมและถูกตัดสินโทษในที่สุดอย่างไร ขณะอ่านให้มองหาว่าพระเยซูทรงตอบสนองอย่างไรในแต่ละสถานการณ์เหล่านี้ จำไว้ว่าพระองค์ทรงมีเดชานุภาพที่จะปลดปล่อยพระองค์เองจากสภาวการณ์เหล่านี้ (ดู มัทธิว 26:52–54)

  1. พระเยซูทรงถูกสภาซานเฮดรินซักถาม อ่าน มัทธิว 26:57–68 หรือ ดูวีดิทัศน์เรื่อง “Jesus Is Tried by Caiaphas, Peter Denies Knowing Him” ตั้งแต่ช่วงเวลา 0:00 ถึง 1:39 วีดิทัศน์เรื่องนี้อยู่ที่ ChurchofJesusChrist.org

    4:25

    Jesus Is Tried by Caiaphas, Peter Denies Knowing Him

    Jesus is tried before Caiaphas and the chief priests. Peter denies knowing Him and weeps bitterly.

  2. พระเยซูทรงถูกปีลาตซักถาม อ่าน ยอห์น 18:33–40 หรือดู “Jesus Is Condemned Before Pilate” (3:19) ยู่ที่ChurchofJesusChrist.org

    3:19

    Jesus Is Condemned before Pilate

    Jesus is arraigned and questioned before Pilate, who finds no fault in Him. Yielding to the multitude, Pilate allows Barabbas to be released and Jesus to be crucified. Matthew 27:1–2, 11–25

  3. พระเยซูทรงอยู่ต่อหน้าเฮโรด อ่าน ลูกา 23:8–11

  4. พระเยซูทรงถูกทหารโรมันโบย และถูกปีลาตซักถามครั้งที่สอง อ่าน ยอห์น 19:1–16 หรือดู “Jesus Is Scourged and Crucified” ตั้งแต่ช่วงเวลา 0:00 ถึง 2:03 มีอยู่ที่ ChurchofJesusChrist.org อาจเป็นประโยชน์ถ้ารู้ว่าการโบยคือการหวดด้วยแส้ที่มักมีของแหลมคม (เช่น เศษหิน โลหะ หรือกระดูก) ฟั่นเป็นเกลียวหลายเกลียว หลายคนไม่รอดจากการโบยเพราะร่างกายบาดเจ็บสาหัส

    4:49

    Jesus Is Scourged and Crucified

    A band of soldiers strips Jesus of His clothes, scourges Him, and mocks Him. He then carries His cross to Golgotha and is crucified by Roman soldiers. Matthew 27:26–50

ไอคอนการจดบันทึก 1. ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน:

  • พระผู้ช่วยให้รอดทรงตอบสนองอย่างไรในสถานการณ์เหล่านี้?

  • ท่านคิดว่าทำไมพระผู้ช่วยให้รอดทรงตอบสนองแบบนั้น?

พระอุปนิสัยของพระเยซูคริสต์

อ่าน 1 นีไฟ 19:9 และคำกล่าวต่อไปนี้โดยมองหาข้อคิดเกี่ยวกับพระอุปนิสัยของพระผู้ช่วยให้รอด

เอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์ (1932–2017) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองแบ่งปันดังนี้:

เอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์

การตอบสนองแบบพระคริสต์ไม่สามารถเขียนเป็นสคริปต์หรือใช้สูตรสำเร็จได้ พระผู้ช่วยให้รอดทรงตอบสนองต่างกันไปในแต่ละสถานการณ์ เมื่อทรงประจันหน้ากับกษัตริย์เฮโรดผู้ชั่วร้าย พระองค์ทรงนิ่งเงียบ เมื่อทรงยืนอยู่ต่อหน้าปีลาตพระองค์ทรงแสดงประจักษ์พยานอันเรียบง่ายและทรงพลังถึงความเป็นพระเจ้าและจุดประสงค์ของพระองค์ …

คนบางคนคิดผิดๆ ว่าการตอบสนอง เช่น ความนิ่งเงียบ ความอ่อนโยน การให้อภัย และการแสดงประจักษ์พยานอย่างนอบน้อมเป็นความไม่ยินดียินร้ายหรืออ่อนแอ แต่การ “รักศัตรู [ของเรา อวยพรคนที่แช่งด่าเรา ทำดีต่อคนที่เกลียดชังเรา] และอธิษฐานเพื่อบรรดาคนที่ [ใช้เราอย่างดูหมิ่นและ] ข่มเหง [เรา]” ( มัทธิว 5:44) ต้องใช้ศรัทธา ความเข้มแข็ง และเหนือสิ่งอื่นใด ความกล้าหาญแบบชาวคริสต์

(ดู โรเบิร์ต ดี. เฮลส์, “ความกล้าหาญแบบชาวคริสต์: คุณค่าแห่งความเป็นสานุศิษย์,” เลียโฮนา, พ.ย. 2008, 89)

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่า:

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์

ลองพิจารณาว่าพระอาจารย์ทรงถูกกล่าวหาต่อหน้าปีลาตและถูกลงโทษให้ตรึงกางเขนอย่างไร [ดู มัทธิว 27:2,11, 11–26]. … ความอ่อนโยนของพระผู้ช่วยให้รอดประจักษ์ชัดในการตอบรับอย่างดีของพระองค์ การยับยั้งชั่งใจได้ดี และการไม่ยอมใช้อำนาจของพระองค์เพื่อประโยชน์ส่วนตน

(เดวิด เอ. เบดนาร์, “อ่อนโยนและใจนอบน้อม,” เลียโฮนา, พ.ค. 2018, 33)

ไอคอนการจดบันทึก 2. ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน:

  • ท่านเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดจากวิธีที่พระองค์ทรงตอบสนองในสภาวการณ์ยากๆ เหล่านี้?

  • การกระทำของพระผู้ช่วยให้รอดแสดงให้เห็น “ความการุณย์รักของพระองค์ … ต่อลูกหลานมนุษย์” อย่างไร? (1 นีไฟ 19:9)

  • การรู้ว่าพระเยซูคริสต์ทรงมีคุณลักษณะเหล่านี้ช่วยให้ท่านรักและวางใจพระองค์มากขึ้นได้อย่างไร?

สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตว่าหลายครั้งหลายคราพระผู้ช่วยให้รอดทรงกล้าให้ผู้อื่นรับผิดชอบการกระทำของตน (ดู มาระโก 11:15–17, ยอห์น 2:13–16, หลักคำสอนและพันธสัญญา 133:48–51) ในฐานะผู้ติดตามพระเยซูคริสต์ เราต้องการตอบสนองการเยาะเย้ย การกล่าวหาผิดๆ หรือการปฏิบัติไม่ดีด้วยความรัก ความกล้าหาญ และความอ่อนโยน แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าเราควรยอมให้ผู้อื่นข่มเหงหรือทำร้ายเรา “พระเจ้าทรงประณามพฤติกรรมทารุณทุกรูปแบบ—รวมถึงการปล่อยปละละเลยและการทารุณกรรมทางกาย ทางเพศ หรือทางวาจาด้วย” (จดหมายจากฝ่ายประธานสูงสุด, “Preventing and Responding to Abuse,” 26 มี.ค. 2018) หากเราถูกกระทำทารุณกรรม สิ่งสำคัญคือเราต้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ที่เราไว้ใจทันที

ไอคอนการจดบันทึก 3. ทำกิจกรรมต่อไปนี้หนึ่งอย่างลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน:

  1. นึกถึงตอนที่ท่านรู้สึกถูกเยาะเย้ย ถูกกล่าวหาผิดๆ หรือถูกปฏิบัติไม่ดี แสวงหาความช่วยเหลือจากพระบิดาบนสวรรค์ผ่านพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อรู้วิธีที่ท่านจะตอบสนองสถานการณ์นี้อย่างเหมาะสมเหมือนพระคริสต์ เขียนสิ่งที่ท่านทำได้ดีและวิธีที่ท่านอาจต้องการปรับปรุง

  2. เขียนสองตัวอย่างของช่วงเวลาหรือสภาวการณ์ซึ่งการจดจำพระอุปนิสัยของพระคริสต์เคยช่วยท่านหรืออาจจะช่วยท่านได้ ชีวิตท่านอาจจะต่างจากเดิมอย่างไรหากท่านพยายามพัฒนาลักษณะนิสัยเหมือนพระคริสต์อยู่เสมอ?

  3. เลือกลักษณะนิสัยเหมือนพระคริสต์หนึ่งอย่างที่ท่านต้องการพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น คิดถึงช่วงเวลาในวันที่ท่านจะฝึกใช้ลักษณะนิสัยนี้ได้

เลือกได้: ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมหรือไม่?

ยอห์น 18:36 พระเยซูตรัสถึงราชอาณาจักรใด?

เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สันสอนว่า:

เอ็ลเดอร์ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน

เมื่อดาเนียลทำนายพระสุบินของเนบูคัดเนสซาร์กษัตริย์บาบิโลน ท่านทำให้กษัตริย์ทรงทราบ “สิ่งซึ่งจะเกิดขึ้นในยุคสุดท้าย” [ดาเนียล 2:28] ท่านประกาศว่า “พระเจ้าแห่งฟ้าสวรรค์ [จะ] ทรงสถาปนาราชอาณาจักรหนึ่ง ซึ่งไม่มีวันถูกทำลาย หรือถูกมอบให้ชนชาติอื่น ราชอาณาจักรนั้นจะทำให้ราชอาณาจักร [อื่นๆ] เหล่านี้ทั้งหมดแตกเป็นเสี่ยงจนพินาศไป และราชอาณาจักรนั้นจะตั้งมั่นอยู่เป็นนิตย์” [ดาเนียล 2:44] ศาสนจักรคืออาณาจักรยุคสุดท้ายที่พยากรณ์ไว้นั้นซึ่งมิได้สร้างโดยมนุษย์ แต่จัดตั้งขึ้นโดยพระผู้เป็นเจ้าแห่งฟ้าสวรรค์และกลิ้งออกมาดังก้อนหินที่ “ถูกตัดออกจากภูเขา ไม่ใช่ด้วยมือมนุษย์” เพื่อจะเต็มแผ่นดินโลก [ดาเนียล 2:45; ดู ข้อ 35ด้วย]

เป้าหมายของอาณาจักรคือการสถาปนาไซอันเพื่อเตรียมรับการเสด็จกลับมาและการปกครองหนึ่งพันปีของพระเยซูคริสต์ ก่อนวันนั้นไซอันจะไม่เป็นอาณาจักรในสำนึกด้านการเมือง—ดังที่พระผู้ช่วยให้รอดตรัสไว้ “ราชอำนาจของเราไม่ได้เป็นของโลก นี้ ” [ยอห์น 18:36; เน้นตัวเอน] แต่เป็นขุมพลังแห่งสิทธิอำนาจในแผ่นดินโลก เป็นผู้บริหารแห่งพันธสัญญาศักดิ์สิทธิ์ เป็นนักการแห่งพระวิหาร เป็นผู้พิทักษ์และผู้ประกาศความจริงของพระองค์ เป็นสถานที่รวมพลของอิสราเอลที่กระจายไป และเป็น “เพื่อการคุ้มภัยและเพื่อเป็นที่พักพิงจากพายุ และจากพระพิโรธเมื่อจะเทลงมาโดยมิได้เจือจางบนทั้งผืนแผ่นดินโลก” [หลักคำสอนและพันธสัญญา 115:6]

(ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน, “เหตุใดจึงต้องมีศาสนจักร,” เลียโฮนา, พ.ย. 2015, 111)