โคโลสี 1–2
“จงหยั่งรากและก่อร่างสร้างขึ้นในพระองค์”
มีพลังธรรมชาติที่สามารถถอนรากหรือทำลายต้นไม้ได้ฉันใด ก็มีพลังที่จะพยายามถอนรากถอนโคนเราจากรากฐานทางวิญญาณในพระเยซูคริสต์ฉันนั้น (ดู ฮีลามัน 5:12) เปาโลเขียนสาส์นของเขาแก่ชาวโคโลสีเพราะศรัทธาของพวกเขาถูกคุกคามโดยคำสอนและการปฏิบัติที่เป็นเท็จ บทเรียนนี้สามารถช่วยให้ท่านตระหนักถึงพลังที่คุกคามศรัทธาของท่านและวิธีที่ท่านจะยืนหยัดมั่นคงยิ่งขึ้นในพระเยซูคริสต์
กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้
ท่านเป็นเหมือนต้นไม้อย่างไร?
วาดรูปต้นไม้ที่มีผลไม้ซึ่งท่านโปรดปราน ท่านจะเพิ่มสิ่งต่างๆ ลงในต้นไม้ตลอดทั้งบทเรียน
ลองคิดดูว่าท่านเป็นเหมือนต้นไม้ต้นนี้อย่างไร ตัวอย่างเช่น ให้นึกถึงพลังที่พยายามถอนรากถอนโคนหรือทำลายศรัทธาของท่านในพระคริสต์ ลองคิดดูว่าเหตุใดท่านจึงต้องการความช่วยเหลือในการยืนหยัดอย่างแข็งแกร่งต่อพลังเหล่านั้น เพื่อรับผลแห่งพระกิตติคุณ
เปาโลใช้สัญลักษณ์ของต้นไม้เพื่อช่วยให้วิสุทธิชนในโคโลสีมองเห็นความสำคัญในความสัมพันธ์ของตนกับพระเยซูคริสต์ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น เขายังใช้มันเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการต่อต้านคำสอนและการปฏิบัติที่เป็นเท็จ ซึ่งคุกคามศรัทธาของพวกเขาต่อพระเยซูคริสต์ แสวงหาการดลใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อทำความเข้าใจถ้อยคำของเปาโลได้ดียิ่งขึ้นและมุ่งมั่นที่จะนำไปประยุกต์ใช้
ผลของต้นไม้
ลองนึกถึงผลไม้ที่มาจากต้นไม้ที่ท่านวาดและเหตุผลที่ท่านชอบมัน
อ่าน โคโลสี 1:10–22 หา “ผล”(หรือพร) ที่เปาโลบรรยายไว้ และคิดว่าทำไมท่านจึงปรารถนาผลไม้เหล่านี้ วาดผลไม้บนต้นไม้ของท่านแล้วทำป้ายกำกับด้วยคำสอนของเปาโล
-
เปาโลระบุผลหรือพรอะไรบ้าง?
-
ท่านได้รับผลใดในปัจจุบัน?
-
ท่านต้องการรับผลใด? เพราะเหตุใด?
เขียนข้อความต่อไปนี้ลงในบันทึกการศึกษาของท่านและใส่คำตอบของท่านสำหรับคำถามก่อนหน้านี้ในช่องว่างช่องแรก:ถ้าฉันต้องการ _________________ ฉันจะต้อง _________________
อ่าน โคโลสี 1:23 แล้วมองหาสิ่งที่เปาโลกล่าวไว้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเราในการรับผลเหล่านี้ เติมสิ่งที่ท่านพบลงในช่องว่างช่องที่สอง
-
การ “ดำรงอยู่ในความเชื่ออย่างแน่วแน่ มั่นคงและไม่โยกย้าย” มีลักษณะอย่างไร? ( โคโลสี 1:23)
-
ท่านทราบอะไรเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ที่กระตุ้นให้ท่านยังคงแน่วแน่และมั่นคงต่อไปในพระองค์?
-
ท่านพบความจริงข้อใดเพิ่มเติมเกี่ยวกับพระองค์ในข้อเหล่านี้ที่เพิ่มความมั่นใจหรือความปรารถนาของท่านที่จะแน่วแน่และมั่นคงกับพระองค์?
อ่าน โคโลสี 2:6–7 มองหาสิ่งที่เปาโลสอนเกี่ยวกับรากต้นไม้ของเรา เขียนกำกับรอบต้นไม้ของท่านตามสิ่งที่เปาโลกล่าว
-
เปาโลสอนว่าเราจะต้องปลูกรากของเราที่ใด?
-
ท่านคิดว่าการ “หยั่งราก” ในพระคริสต์หมายถึงอะไร?
-
การหยั่งรากตัวเราเองในพระเยซูคริสต์จะช่วยให้เราแน่วแน่และมั่นคงอย่างไร? จะมีหน้าตาอย่างไร?
นึกถึงใครบางคนที่ท่านรู้จักที่แสดงให้เห็นว่าบุคคลนั้นแน่วแน่ มั่นคง และหยั่งรากในพระเยซูคริสต์
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างสองข้อของผู้คนที่หยั่งรากในพระคริสต์      
     
วาดรากที่ลึกและแข็งแรงสำหรับต้นไม้ของท่าน เขียนกำกับรากด้วยคุณลักษณะที่ผู้คนเหล่านี้มีหรือการกระทำที่พวกเขาทำซึ่งท่านรู้สึกว่าทำให้เชื่อมโยงกับพระเยซูคริสต์อย่างมั่นคง
ทบทวน โคโลสี 1:23 ; 2:6–7 จากนั้นอ่าน โคโลสี 2:8, 12 และข้อความต่อไปนี้ของประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์ ที่ปรึกษาที่หนึ่งในฝ่ายประธานสูงสุด เขียนกำกับที่รากของต้นไม้ของท่านด้วยวิธีเพิ่มเติมที่เราสามารถเชื่อมโยงกับพระผู้ช่วยให้รอดได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น
เราต้องพยายามหยั่งรากอย่างมั่นคงและเปลี่ยนใจเลื่อมใสสู่พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ (ดู โคโลสี 2:6–7) เราทำให้การเปลี่ยนใจเลื่อมใสนี้เกิดสัมฤทธิผลได้โดยการสวดอ้อนวอน โดยการอ่านพระคัมภีร์ โดยการรับใช้ และโดยการรับส่วนศีลระลึกเป็นประจำเพื่อจะมีพระวิญญาณของพระองค์อยู่กับเราตลอดเวลา เราต้องแสวงหาการเปลี่ยนแปลงอันลึกซึ้งในใจด้วย (ดู แอลมา 5: 12–14) เพื่อให้ความรักของพระผู้เป็นเจ้าและความปรารถนาที่จะรับใช้พระองค์และลูกๆ ของพระองค์มาแทนที่ความปรารถนาอันชั่วร้ายและความกังวลอันเห็นแก่ตัว
(ดัลลิน เอช. โอ๊คส์, “อุปมาเรื่องผู้หว่านพืช,” เลียโฮนา, พ.ค. 2015, 35)
-
ชีวิตของท่านจะเปลี่ยนไปอย่างไรหากท่านมีความแน่วแน่และมั่นคงในพระคริสต์มากขึ้น?
คนส่วนใหญ่อาจตัดสินใจเลือกสิ่งที่หยั่งรากลึกของตนในพระคริสต์ได้มากขึ้น แต่วิธีที่พวกเขาทำตามการเลือกเหล่านั้นแท้จริงแล้วไม่ได้ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีความหมายแต่อย่างใด ตัวอย่างเช่น บางคนอาจอ่านพระคัมภีร์ทุกวันแต่ไม่ได้ใช้เวลาในการระบุ ไตร่ตรอง และประยุกต์ใช้ความจริงจากพระคัมภีร์ไตร่ตรองวิธีที่ท่านจะปฏิบัติตามการเลือกของท่านและท่านจำเป็นต้องทำการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
อดทนต่อพลังที่ถอนรากถอนโคน
มีพลังธรรมชาติที่สามารถถอนรากหรือทำลายต้นไม้ได้ฉันใด ก็มีพลังที่จะพยายามถอนรากถอนโคนเราจากรากฐานทางวิญญาณในพระเยซูคริสต์ได้ฉันนั้น
รอบต้นไม้ของท่าน ให้วาดลมหรือพายุที่อาจถอนรากถอนโคนต้นไม้ของท่าน เขียนกำกับลมและพายุเหล่านี้ด้วยพลังที่อาจถอนรากถอนโคนท่านทางวิญญาณจากการแน่วแน่และมั่นคงในพระเยซูคริสต์ ท่านอาจต้องการอ่าน โคโลสี 2:4, 8 เพื่อดูพลังบางอย่างที่วิสุทธิชนในโคโลสีประสบ
-
รากที่ท่านระบุในวันนี้จะช่วยให้ท่านรับพลังจากพระผู้ช่วยให้รอดที่จะยืนหยัดต่อพลังที่ท่านระบุไว้อย่างไร?
  มองหาว่าการแน่วแน่และมั่นคงในพระคริสต์จะช่วยท่านได้อย่างไร
ขอความช่วยเหลือจากพระบิดาบนสวรรค์ผ่านพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อระบุสิ่งที่ท่านทำได้ดีและสิ่งที่ท่านสามารถทำได้ดีกว่านี้เพื่อให้ท่านแน่วแน่และมั่นคงในพระเยซูคริสต์มากขึ้น เขียนความคิดและความประทับใจของท่านลงในสมุดบันทึกการศึกษาของท่าน และมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามสิ่งเหล่านั้น
บทวิจารณ์และข้อมูลภูมิหลัง
เหตุใดเราจึงต้องหยั่งรากในพระคริสต์?
เอ็ลเดอร์นีล เอ. แม็กซ์เวลล์ (1926–2004) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองอธิบายว่า:
เหตุการณ์และสถานการณ์ในวันเวลาสุดท้าย ทำให้เราในฐานะสมาชิกศาสนจักรมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหยั่งราก แน่วแน่ ยืนหยัด และมั่นคงมากยิ่งขึ้น (ดู โคโลสี 1:23 ; 2:7 ; 2 เปโตร 1:12) พระเยซูตรัสกับบรรดาสานุศิษย์ของพระองค์ “เหตุฉะนั้น จงตั้งใจว่าเจ้าจะทำสิ่งที่เราจะสอน และบัญชาเจ้า” [Joseph Smith Translation, Luke 14:28 ] หากไม่แน่วแน่เท่าไร ลมพายุจะรุนแรงได้ หากแน่วแน่ เราจะไม่ถูก “ซัดไปซัดมา” [ เอเฟซัส 4:14 ] ไม่ว่าจะเป็นข่าวลือ หลักคำสอนที่เป็นเท็จ หรือสมัยนิยมทางพฤติกรรมและปัญญาของโลก …
อย่างไรก็ตาม เราจะไม่สามารถแน่วแน่ในการทำสิ่งที่พระเยซูทรงบัญชาได้ เว้นแต่ เราจะแน่วแน่ในพระองค์ก่อน … ดังนั้นหน้าที่ของเราคือการ “คืนดี [ตัวเราเอง] กับพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า, และมิใช่กับ … เนื้อหนัง” ( 2 นีไฟ 10:24)
(นีล เอ. แม็กซ์เวลล์, “Overcome … Even As I Also Overcame,” Ensign or Liahona, May 1987, 70)
ท่านยังอาจต้องการรับชม “พบที่พักพิงจากมรสุมชีวิต” จากรหัสเวลา 0:00 ถึง 3:49 เพื่อดูเอ็ลเดอร์ริคาร์โด พี. ฮิเมเนซให้ข้อคิดเพิ่มเติม
โคโลสี 2:13–15 เปาโลสอนอะไรวิสุทธิชนในโคโลสีเกี่ยวกับสัญลักษณ์ของการตรึงกางเขนพระผู้ช่วยให้รอด?
เปาโลย้ำเตือนวิสุทธิชนว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงให้อภัยพวกเขา (ดู โคโลสี 1:14, 20, 22) ภาพที่เปาโลใช้ใน โคโลสี 2:14–15 เน้นว่าการชดใช้ของพระคริสต์ทำให้เป็นไปได้ที่บาปของเราจะได้รับการให้อภัย ในยุคสมัยของเปาโลถือเป็นธรรมเนียมที่ชาวโรมันจะเขียนป้ายประกาศโทษที่กระทำโดยบุคคลที่ถูกลงโทษ เมื่อผู้กระทำผิดถูกตรึงกางเขน ป้ายนั้นก็ตอกตะปูติดกับกางเขนเพื่อให้ผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาได้พบเห็น (ดู ยอห์น 19:19–22). เปาโลใช้ภาพนี้ใน ข้อ 13–15 เพื่อสอนชาวโคโลสีว่าพวกเขาได้รับการให้อภัย ราวกับว่ารายการที่ต้องจ่ายทางวิญญาณและคำกล่าวหาทั้งหลายที่มีต่อวิสุทธิชนชาวโคโลสีนั้นเขียนลงบนป้ายและตอกตะปูไว้กับกางเขน รายการเหล่านั้นถูกลบหรือเลือนหายไปผ่านการตรึงกางเขนพระเยซูคริสต์