ความช่วยเหลือเพิ่มเติมสำหรับการพัฒนาครู
ทักษะ: ช่วยนักเรียนตัดสินใจว่าจะใช้วิธีศึกษาพระคัมภีร์วิธีใดโดยจัดเตรียมวิธีศึกษาพระคัมภีร์หลายๆ วิธีให้พวกเขาพิจารณา


“ทักษะ: ช่วยนักเรียนตัดสินใจว่าจะใช้วิธีศึกษาพระคัมภีร์วิธีใดโดยจัดเตรียมวิธีศึกษาพระคัมภีร์หลายๆ วิธีให้พวกเขาพิจารณา” แหล่งช่วยการสนับสนุนและการอบรมครู (2024)

เป้าหมายการศึกษาพระคัมภีร์

ทักษะ: ช่วยนักเรียนตัดสินใจว่าจะใช้วิธีศึกษาพระคัมภีร์วิธีใดโดยจัดเตรียมวิธีศึกษาพระคัมภีร์หลายๆ วิธีให้พวกเขาพิจารณา

ภาพ
การศึกษาพระคัมภีร์

ความเข้าใจหรือความสามารถเบื้องต้นของฉันคืออะไร? (การประเมินผล):

ท่านเคยพิจารณาหรือไม่ว่าการศึกษาพระคัมภีร์มีกี่วิธี? ท่านคิดว่านักเรียนของท่านคุ้นเคยกี่วิธี?

สิ่งนั้นคืออะไรและเหตุใดจึงสําคัญ? (นิยาม):

ประธานเนลสันกล่าวว่า “ข้าพเจ้าขอแนะนําให้ท่านปรับรูปแบบการศึกษาให้เหมาะกับท่าน” (รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “ให้พระคัมภีร์นําทางชีวิตท่าน,” เลียโฮนา, ม.ค. 2001) เมื่อนักเรียนเลือกวิธีศึกษาพระคัมภีร์ที่ตรงกับความต้องการของแต่ละคน พวกเขามีแนวโน้มจะมีแรงจูงใจและตื่นเต้นมากขึ้นที่จะบรรลุเป้าหมายการศึกษาพระคัมภีร์และรู้สึกถึงพลังของการศึกษาพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าในชีวิต ครูไม่ควรพยายามชี้นํานักเรียนไปยังวิธีศึกษาพระคัมภีร์ที่เฉพาะเจาะจง แต่ขณะกระตุ้นให้นักเรียนตั้งเป้าหมายการศึกษาส่วนตัว พวกเขาควรช่วยนักเรียนประเมินว่าวิธีใดดีที่สุดสําหรับตน วิธีหนึ่งที่ทําได้คือให้นักเรียนมีวิธีศึกษาพระคัมภีร์หลายวิธีให้เลือก การเชื้อเชิญนักเรียนที่ค้นพบวิธีศึกษาพระคัมภีร์ที่มีประสิทธิภาพให้แบ่งปันกับเพื่อนร่วมชั้นอาจมีประสิทธิภาพสูงเช่นกัน

ใครหรืออะไรเป็นตัวอย่างที่ดีของเรื่องนี้? (ตัวอย่าง):

เมื่อบราเดอร์บิลลิงส์เชื้อเชิญให้นักเรียนเริ่มไตร่ตรองว่าเป้าหมายการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขาคืออะไร เขาจัดเตรียมเอกสาร “ข้อความเกี่ยวกับวิธีและทักษะการศึกษาพระคัมภีร์” ให้พวกเขา (ด้านล่าง) เขาให้เวลานักเรียนห้านาทีในการอ่านเอกสารและอ่านส่วนที่พวกเขาประทับใจ โดยมองหาสิ่งที่พวกเขาอาจต้องการทดลองทํา หลังจากผ่านไปห้านาที เขาถามคําถามต่อไปนี้:

  • หลังจากทบทวนรายการนี้ ท่านคิดว่าวิธีใดจะเป็นประโยชน์ที่ท่านจะใช้ตอนนี้?

  • มีวิธีใดที่ท่านไม่อยากลองทําหรือทําต่อหรือไม่?

ขณะนักเรียนเสนอสิ่งที่ไม่ได้ระบุไว้ในเอกสารแจก บราเดอร์บิลลิงส์เขียนสิ่งเหล่านั้นบนกระดาน หลังจากสนทนากันแล้ว เขากระตุ้นให้นักเรียนตัดสินใจว่าวิธีใดจะดีที่สุดสําหรับเป้าหมายการศึกษาพระคัมภีร์ของพวกเขาและสนับสนุนพวกเขาในเป้าหมายที่ตั้งไว้

ฉันจะฝึกใช้ทักษะนี้หรือประยุกต์ใช้หลักธรรมนี้ได้อย่างไร? (ฝึกปฏิบัติ)

ทบทวนหน้าแหล่งช่วย “ข้อความเกี่ยวกับวิธีและทักษะการศึกษาพระคัมภีร์” (ด้านล่าง) และตั้งคําถามอย่างน้อยหนึ่งข้อที่ท่านสามารถถามนักเรียนเพื่อกระตุ้นให้พวกเขาระบุวิธีศึกษาพระคัมภีร์ที่เหมาะกับพวกเขา

ไตร่ตรองหรือสนทนา:

ท่านคิดว่าวิธีศึกษาพระคัมภีร์ของนักเรียนส่งผลต่อวิธีที่พวกเขาเรียนรู้จากพระคัมภีร์อย่างไร?

ฉันจะรวมสิ่งนี้อย่างไรและเมื่อใด?

กําหนดวิธีที่ท่านจะให้ทางเลือกแก่นักเรียนเกี่ยวกับวิธีศึกษาและทักษะที่พวกเขาสามารถใช้ได้ ตัดสินใจเกี่ยวกับคําถามที่ท่านจะใช้เพื่อช่วยพวกเขาระบุวิธีที่จะสนองตอบความต้องการของพวกเขาได้ดีที่สุด (ท่านอาจต้องการพิจารณาใช้สิ่งนี้ร่วมกับทักษะการตั้งเป้าหมายพระคัมภีร์อื่นๆ เช่น ระบุพรของการศึกษาพระคัมภีร์ กระตุ้นให้พวกเขาสวดอ้อนวอนในการตั้งเป้าหมายศึกษาพระคัมภีร์ หรือตัดสินใจว่าจะศึกษาเมื่อใดและที่ใด เป็นต้น)

หมายเหตุ: นักเรียนบางคนจะพร้อมตัดสินใจระหว่างชั้นเรียนว่าต้องการศึกษาพระคัมภีร์ด้วยวิธีใด คนอื่นๆ อาจต้องไตร่ตรองและสวดอ้อนวอนเล็กน้อยก่อนตัดสินใจ การติดตามผลและช่วยเหลือนักเรียนเป็นระยะๆ จะเป็นประโยชน์

ข้อความเกี่ยวกับวิธีและทักษะการศึกษาพระคัมภีร์

มองหาพระผู้ช่วยให้รอดและคําสอนของพระองค์

“สอง ข้าพเจ้าเชิญชวนให้ท่านอ่านพระคัมภีร์มอรมอนตั้งแต่ตอนนี้จนถึงสิ้นปี … เมื่อท่านศึกษาร่วมกับการสวดอ้อนวอน ข้าพเจ้าสัญญาว่าฟ้าสวรรค์จะเปิดให้ท่าน พระเจ้าจะทรงอวยพรท่านด้วยการดลใจและการเปิดเผยเพิ่มขึ้น ขณะที่ท่านอ่าน ข้าพเจ้าขอให้ท่านทําเครื่องหมายแต่ละข้อที่พูดถึงหรืออ้างถึงพระผู้ช่วยให้รอด จากนั้น ให้ตั้งใจพูดถึงพระคริสต์ ชื่นชมยินดีในพระคริสต์ และสั่งสอนเรื่องพระคริสต์กับครอบครัวและมิตรสหายของท่าน ท่านและพวกเขาจะเข้าใกล้พระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้นผ่านกระบวนการนี้ และการเปลี่ยนแปลง แม้ปาฏิหาริย์ จะเริ่มเกิดขึ้น” (รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “การมีส่วนร่วมของพี่น้องสตรีในการรวบรวมอิสราเอล,” เลียโฮนา, พ.ย. 2018, 69–70)

“เมื่อเราขานรับพระดํารัสเชื้อเชิญที่อ่อนโยนของพระเจ้าให้ ‘เรียนจากเรา’ เรากลายเป็นผู้รับส่วนในเดชานุภาพของพระองค์” (โธมัส เอส. มอนสัน, “เรียนจากเรา,” เลียโฮนา, มี.ค. 2016, 6)

“จงเรียนรู้จากเรา, และฟังถ้อยคําของเรา; จงเดินด้วยความสุภาพอ่อนน้อมแห่งพระวิญญาณเรา, และเจ้าจะมีสันติสุขในเรา” (หลักคําสอนและพันธสัญญา 19:23)

ระบุพรที่สัญญาไว้ซึ่งมาจากการศึกษาพระคัมภีร์

“พี่น้องที่รักทั้งหลาย ข้าพเจ้าสัญญาว่าเมื่อท่านศึกษาพระคัมภีร์มอรมอนร่วมกับการสวดอ้อนวอน ทุกวัน ท่านจะตัดสินใจได้ดีขึ้น—ทุกวัน ข้าพเจ้าสัญญาว่าเมื่อท่านไตร่ตรองสิ่งที่ศึกษา หน้าต่างฟ้าสวรรค์จะเปิด และท่านจะได้รับคําตอบให้คําถามของท่านและการนําทางในชีวิตท่าน ข้าพเจ้าสัญญาว่าเมื่อท่านใฝ่ใจศึกษาพระคัมภีร์มอรมอน ท่านจะมีภูมิคุ้มกันความชั่วของยุคสมัย แม้แต่โรคระบาดของสื่อลามกและการเสพติดอื่นๆ ที่ทําให้ความคิดด้านชา” (รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “พระคัมภีร์มอรมอน: ชีวิตท่านจะเป็นอย่างไรหากปราศจากพระคัมภีร์เล่มนี้เลียโฮนา, พ.ย. 2017, 62–63)

“การไตร่ตรองข้อความในพระคัมภีร์สามารถเป็นกุญแจไขการเปิดเผยและการนำทางและการดลใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระคัมภีร์สามารถปลอบจิตวิญญาณที่ร้อนรุ่ม ให้สันติสุข ความหวัง และฟื้นความเชื่อมั่นว่าตนสามารถเอาชนะความท้าทายในชีวิต พระคัมภีร์มีพลังเยียวยาปัญหาทางอารมณ์เมื่อมีศรัทธาในพระผู้ช่วยให้รอด พระคัมภีร์สามารถเร่งการเยียวยาทางร่างกายเช่นกัน” (ริชาร์ด จี. สก็อตต์, “พลังแห่งพระคัมภีร์,” เลียโฮนา, พ.ย. 2011, 6)

“ข้าพเจ้ากล่าวแก่พวกเขาว่าราวเหล็กนั้นคือพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า; และผู้ใดที่สดับฟังพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า, และยึดมั่นในพระวจนะนั้นแล้ว, พวกเขาจะไม่พินาศเลย; ทั้งสิ่งล่อลวงและลูกศรเพลิงของปฏิปักษ์ก็ไม่อาจครอบงําพวกเขาไปสู่ความมืดบอด, เพื่อชักจูงพวกเขาไปสู่ความพินาศได้” (1 นีไฟ 15:24)

ช่วยนักเรียนตัดสินใจว่าจะใช้วิธีหรือวิธีศึกษาพระคัมภีร์แบบใด

“ต่อไปข้าพเจ้าขอแนะนําให้ท่านปรับรูปแบบการศึกษาให้เหมาะกับท่าน วิธีหนึ่งคืออ่านหนังสือพระคัมภีร์ตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย วิธีนี้ให้มุมมองโดยรวมที่ดี แต่วิธีอื่นก็มีข้อดีเช่นกัน การให้ความสนใจกับหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งหรือหัวข้อเฉพาะเจาะจง เสริมด้วยการใช้เชิงอรรถอ้างโยงและแนวทางศึกษาจะช่วยเปิดแสงสว่างแห่งความเข้าใจในหลักคําสอน” (รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “ให้พระคัมภีร์นําทางชีวิตท่าน,” เลียโฮนา, ม.ค. 2001)

“ท่านควรสนใจเวลาที่ใช้ไปกับพระคัมภีร์นั้นมากกว่าปริมาณที่อ่านได้ในเวลาเดียวกัน บางครั้งข้าพเจ้ามองเห็นภาพว่าท่านกําลังอ่านพระคัมภีร์สองสามข้อ แล้วหยุดไตร่ตรอง อ่านข้อเดิมอีกครั้งอย่างครุ่นคิด และขณะที่ท่านคิดถึงความหมายอยู่นั้น สวดอ้อนวอนเพื่อความเข้าใจด้วย โดยถามข้อสงสัยที่มีอยู่ในใจ รอคอยความประทับใจทางวิญญาณให้เกิดขึ้นจริงๆ และบันทึกความประทับใจและความเข้าใจอันลึกซึ้งนั้นไว้เพื่อจะทบทวนและเรียนรู้ได้มากขึ้นภายหลัง โดยการศึกษาแบบนี้ท่านอาจอ่านพระคัมภีร์ได้ไม่กี่บทไม่กี่ข้อในเวลาครึ่งชั่วโมง แต่ท่านกําลังทําให้พระคําของพระผู้เป็นเจ้ามีที่อยู่ในใจและขณะนั้นพระองค์กําลังตรัสกับท่าน” (ดี. ทอดด์ คริฟทอฟเฟอร์สัน “เมื่อท่านได้หันกลับแล้ว,” เลียโฮนา, พ.ค. 2004, 13)

“และจงดูว่าทําสิ่งทั้งหมดนี้ด้วยปัญญาและระเบียบ; เพราะไม่จําเป็นที่คนจะวิ่งไปเร็วเกินกําลังของตน และอนึ่ง, สมควรที่เขาจะขยันหมั่นเพียร, เพื่อโดยการนั้นเขาจะชนะรางวัล; ฉะนั้น, ทุกสิ่งต้องทําไปตามระเบียบ” (โมไซยาห์ 4:27)

เปรียบพระคัมภีร์กับชีวิตส่วนตัวท่าน

“เราเริ่มด้วยความมุ่งมั่นที่จะ ‘เปรียบพระคัมภีร์ทั้งหมดกับเรา … [เพื่อ] เป็นประโยชน์และเป็นการเรียนรู้ของเรา’ [1 นีไฟ 19:23] หากเรา ‘มุ่งหน้า, ดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์, และอดทนจนกว่าชีวิตจะหาไม่แล้ว … [เรา] จะมีชีวิตนิรันดร์’ [2 นีไฟ 31:20] … เมื่อท่านไตร่ตรองและสวดอ้อนวอนเกี่ยวกับหลักธรรมคําสอน พระวิญญาณบริสุทธิ์จะตรัสกับความคิดและใจท่าน [หลักคําสอนและพันธสัญญา 8:2] จากเหตุการณ์ที่ถ่ายทอดไว้ในพระคัมภีร์ ความเข้าใจใหม่จะเกิดขึ้นและหลักธรรมที่สอดคล้องกับสถานการณ์ของท่านจะกลั่นลงมาในใจท่าน ท่านฝึกฝนประสบการณ์ของการเปิดเผยนั้นโดยการดําเนินชีวิตตามความสว่างที่ท่านได้รับ และโดยการค้นคว้าพระคัมภีร์ด้วยแรงผลักดันที่บริสุทธิ์—ด้วยเจตนาแท้จริงเพื่อ ‘มาสู่พระคริสต์’ [เจคอบ 1:7] เมื่อท่านทําเช่นนั้น ความมั่นใจของท่านจะ ‘แข็งแกร่งขึ้นในการประทับอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า’ และพระวิญญาณบริสุทธิ์จะเป็นเพื่อนที่ยั่งยืนของท่าน [หลักคําสอนและพันธสัญญา 121:45–46]” (รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “ให้พระคัมภีร์นําทางชีวิตท่าน,” เลียโฮนา, ม.ค. 2001)

“จงทำความคุ้นเคยกับบทเรียนที่พระคัมภีร์สอน เรียนรู้ภูมิหลังและเหตุการณ์แวดล้อมในอุปมาของพระอาจารย์และคำตักเตือนของศาสดาพยากรณ์ ศึกษาพระคัมภีร์ประหนึ่งพระคัมภีร์แต่ะข้อกําลังพูดกับท่าน เพราะนั่นคือความจริง” (Thomas S. Monson, “A Time to Choose,” Ensign, May 1995)

จัดเวลาศึกษาพระคัมภีร์เป็นประจําทุกวัน

“เวลาศึกษาพระคัมภีร์ต้องมีตารางเวลาที่เหมาะสม ไม่เช่นนั้นพรที่มีค่าที่สุดจะเป็นเพียงการเสียสละเพื่อบางสิ่งที่มีค่าน้อยที่สุด” (รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “ให้พระคัมภีร์นําทางชีวิตท่าน,” เลียโฮนา, ม.ค. 2001)

“การอ่านรวดเดียวจบไม่มีประสิทธิผลเท่าการอ่านทุกวันและประยุกต์ใช้พระคัมภีร์ในชีวิตเรา” (โธมัส เอส. มอนสัน, “เป็นตัวของตัวเองให้ดีที่สุด,” เลียโฮนา, พ.ค. 2009, 84)

“วิธีเดียวที่คุณจะมั่นใจได้ว่างานที่รัดตัวอยู่จะไม่เบียดการศึกษาพระคัมภีร์ออกไปคือกําหนดเวลาประจําไว้ศึกษาพระคัมภีร์ … เมื่อผมตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่อาจทําตามรูปแบบดังกล่าวได้ ผมจะไม่สบายใจมาก เมื่อคุณเคยชินกับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นประจํา คุณจะคิดถึงมันถ้าคุณไม่ได้ศึกษา เหมือนกับอาหาร—คุณต้องรับประทาน ผมรู้ว่าผมต้องการพระคัมภีร์เช่นเดียวกับต้องการอาหาร ผมไม่พลาดอาหารประจํา และผมไม่พลาดการศึกษาพระคัมภีร์เป็นประจํา” (เฮนรีย์ บี. อายริงก์, “การอภิปรายเกี่ยวกับการศึกษาพระคัมภีร์,” เลียโฮนา, ก.ค. 2005, 10)

“ตามจริงแล้ว, เรากล่าว [แก่ท่าน] ควรทํางานอย่างทุ่มเทในอุดมการณ์ดี, และทําสิ่งสารพันด้วยเจตจํานงอิสระ [ของท่าน]” (หลักคําสอนและพันธสัญญา 58:27)

“เลิกเกียจคร้าน; เลิกไม่สะอาด; เลิกจับผิดกัน; เลิกนอนนานเกินความจําเป็น; จงเข้านอนแต่หัวคํ่า, เพื่อเจ้าจะไม่เหนื่อยอ่อน; ตื่นแต่เช้า, เพื่อร่างกายเจ้าและความคิดเจ้าจะกระปรี้กระเปร่า” (หลักคําสอนและพันธสัญญา 88:124)

Scriptures: Ten Minutes a Day (New Era, September 2017, pp. 26-29)

อาหารประจําวัน: แบบแผน (วีดิทัศน์ 2:51)

สวดอ้อนวอนก่อน ระหว่าง หรือหลังการศึกษาพระคัมภีร์และทูลขอให้พระบิดาบนสวรรค์ทรงสอนท่านผ่านพระวิญญาณบริสุทธิ์
สวดอ้อนวอนให้รู้ว่าท่านควรตั้งเป้าหมายอะไรสําหรับการศึกษาพระคัมภีร์
สวดอ้อนวอนทูลขอการนําทางไปสู่คําตอบที่ท่านแสวงหา

“เนื่องจากความจริงที่ประทานให้โดยการเปิดเผยจะเข้าใจได้ก็โดยการเปิดเผยเท่านั้น การศึกษาของเราจึงต้องเป็นไปโดยการสวดอ้อนวอนอน” (รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “ให้พระคัมภีร์นําทางชีวิตท่าน,” เลียโฮนา, ม.ค. 2001)

เราต้องเตรียมตนเองเพื่อรับการเปิดเผย ข้าพเจ้าพบในการศึกษาพระคัมภีร์ส่วนตัวว่าข้าพเจ้าควรสวดอ้อนวอนก่อนอ่านพระคัมภีร์เสมอ แล้วอดทน พระเจ้าประทานการเปิดเผยแก่เราในจังหวะเวลาของพระองค์ วิธีของพระองค์ และตามพระประสงค์ของพระองค์ ฉะนั้นบางครั้งเราเพียงต้องรอ มีอีกสิ่งหนึ่งเกี่ยวกับการเปิดเผยส่วนตัวที่เราควรจําไว้คือ พระเจ้าไม่ทรงตะโกน พระองค์ทรงกระซิบ (ดู ฮีลามัน 5:30) บางคนคิดว่าพวกเขาไม่เคยได้รับการเปิดเผยเพราะพวกเขาไม่เคยได้ยินเสียงดังหรือไม่เคยเห็นเทพ แต่พระเจ้าทรงกระซิบ ดังนั้นเมื่อท่านแสวงหาการเปิดเผย จงฟังเสียงกระซิบ” (Dallin H. Oaks, “You Can Do This,” New Era Apr. 2020, 13)

“ข้าพเจ้าไม่รู้วิธีใดที่จะระลึกถึงพระองค์ตลอดเวลาได้ดีไปกว่าการศึกษาพระคัมภีร์ทุกวัน” (David A. Bednar, “Understanding the Importance of Scripture Study,” [Brigham Young University–Idaho devotional, Jan. 6, 1998], byui.edu)

“เมื่อเราต้องการพูดกับพระผู้เป็นเจ้า เราสวดอ้อนวอน และเมื่อเราต้องการให้พระองค์ตรัสกับเรา เราค้นคว้าพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ เพราะพระคำของพระองค์ตรัสผ่านศาสดาพยากรณ์ของพระองค์ จากนั้นพระองค์จะทรงสอนเราขณะที่เราฟังการกระตุ้นเตือนของพระวิญญาณศักดิ์สิทธิ์” (โรเบิร์ต ดี. เฮลส์, “พระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์: อํานาจของพระผู้เป็นเจ้าอันไปสู่ความรอดของเรา,” เลียโฮนา, พ.ย. 2006, 32)

ถามคําถามและค้นคว้าพระคัมภีร์เพื่อหาคําตอบให้กับคําถามพระกิตติคุณ

ทําไมวันอาทิตย์จึงเป็นวันพักผ่อน?

ในชีวิตฉันเป็นเหมือนเรื่องนี้อย่างไร?

การให้เกียรติบิดามารดาของฉันสร้างความแตกต่างอย่างไร?

“การตั้งคําถามที่เจาะจงจะช่วยให้การนําทางจากพระคัมภีร์บรรลุผลสําเร็จ [1 นีไฟ 10:19] ท่านอาจถามว่า ‘เราเรียนรู้หลักธรรมอะไรบ้างจากคําสอนของพระเจ้าข้อนี้?’” (รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “ให้พระคัมภีร์นําทางชีวิตท่าน,” เลียโฮนา, ม.ค. 2001)

“เพราะเขาผู้ที่แสวงหาอย่างขยันหมั่นเพียรจะพบ; และความลี้ลับของพระผู้เป็นเจ้าจะสําแดงแก่พวกเขา, โดยอํานาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์, เหมือนกันดังนี้ทั้งในสมัยนี้กับในสมัยโบราณ, และเหมือนกันดังนี้ทั้งในสมัยโบราณกับในสมัยที่จะมาถึง; ดังนั้น, วิถีของพระเจ้าจึงเป็นหนึ่งรอบนิรันดร์” (1 นีไฟ 10:19)

สร้างรายการพระคัมภีร์ที่มีความหมายพิเศษต่อท่าน

ท่านอาจเริ่มต้นด้วยข้อผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์หรือรายการโปรดส่วนตัวบางข้อที่สร้างแรงบันดาลใจให้ท่านในอดีต ท่านอาจต้องการท่องจําสองสามข้อ ขณะที่ท่านอ่านข้อพระคัมภีร์พิเศษเหล่านี้ ให้ลองทําตามข้ออ้างโยงที่ให้ไว้ด้านล่างของหน้าและดูว่าข้อพระคัมภีร์เหล่านี้นําท่านไปที่ใดในการศึกษาของท่าน

เริ่มจดสมุดบันทึกพระคัมภีร์

เมื่อท่านอ่านและไตร่ตรองพระคัมภีร์ เตรียมสมุดบันทึกและดินสอหรือปากกาให้พร้อม ท่านอาจคัดลอกข้อพระคัมภีร์ที่ดลใจท่าน จดสิ่งที่ท่านเรียนรู้ หรือบันทึกความประทับใจทางวิญญาณ ท่านอาจเขียนแนวคิดสำหรับการศึกษาในอนาคตได้เช่นกัน

เรียนรู้บริบท

“เรียนรู้ภูมิหลังและสภาวะแวดล้อมในอุปมาของพระอาจารย์และคําตักเตือนของศาสดาพยากรณ์” (โธมัส เอส. มอนสัน, “เป็นตัวของตัวเองให้ดีที่สุด,” เลียโฮนา, พ.ค. 2009, 68)

เริ่มวันนี้!

ไม่ว่าท่านเลือกศึกษาพระคัมภีร์อย่างไร การศึกษาของท่านจะช่วยเสริมสร้างประจักษ์พยานของท่านและเพิ่มความเข้าใจในพระกิตติคุณ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ไม่มีวิธีที่ถูกต้องในการศึกษาพระคัมภีร์ ดังนั้นอย่ากลัวที่จะแตกแขนงออกไปและลองวิธีใหม่ๆ กับวิธีที่ท่านอ่าน

แหล่งช่วยเพิ่มเติม

รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “ให้พระคัมภีร์นําทางชีวิตท่าน,” เลียโฮนา, ม.ค. 2001

เฮนรีย์ บี. อายริงก์, “การอภิปรายเกี่ยวกับการศึกษาพระคัมภีร์,” เลียโฮนา, ก.ค. 2005, 22–26

ดี. ทอดด์ คริสทอฟเฟอร์สัน, “พรจากพระคัมภีร์,” เลียโฮนา, พ.ค. 2010, 32–35

พรจากพระคัมภีร์ (วีดิทัศน์ 3:03)

Ten Scripture Study Tools,” Ensign, Sept. 2010, 31

คําสอนของศาสดาพยากรณ์ในยุคสุดท้ายเกี่ยวกับพรของการศึกษาพระคัมภีร์

ริชาร์ด จี. สก็อตต์, “พลังแห่งพระคัมภีร์,” เลียโฮนา, พ.ย. 2011, 6–9

พิมพ์