2019
มีเวลาไม่พอในแต่ละวันหรือ นี่เป็นวิธีใช้เวลาของท่านให้เกิดประโยชน์สูงสุด
กุมภาพันธ์ 2019


มีเวลาไม่พอในแต่ละวันหรือ นี่เป็นวิธีใช้เวลาของท่านให้เกิดประโยชน์สูงสุด

มีเวลาไม่พอในแต่ละวันหรือ นี่เป็นวิธีใช้เวลาของท่านให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เมื่อเราวางแผนชีวิตและใช้เวลาของเราอย่างฉลาด พระเจ้าจะทรงอวยพรและเพิ่มความสามารถให้เรารับใช้ในอาณาจักรของพระองค์ได้ดีขึ้น การประยุกต์ใช้หลักธรรมต่อไปนี้* จะช่วยให้เรามีชีวิตที่เป็นประโยชน์และเตรียมเราให้พร้อมรับความสูงส่ง

แบ่งเป้าหมายออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้สามารถจัดการได้ง่ายขึ้น

เมื่อเราตั้งเป้าหมายใหญ่แล้วเราสามารถแบ่งออกเป็นเป้าหมายย่อยสามรูปแบบ จากนั้นเราจะกำหนดได้ว่าเราต้องทำงานอะไรในแต่ละวันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของเรา

  1. เป้าหมายระยะยาว เป็นเป้าหมายใหญ่และเป้าหมายหลัก อย่างเช่น เราอาจตั้งเป้าหมายว่า “มีงานอาชีพที่ฉันสามารถเลี้ยงดูตนเองและคนที่ฉันรับผิดชอบ”

  2. เป้าหมายระยะกลาง เป็นเป้าหมายที่เจาะจงมากขึ้นซึ่งนำท่านให้บรรลุเป้าหมายระยะยาว เช่น “ได้ปริญญามหาวิทยาลัย”

  3. เป้าหมายระยะสั้น ท่านสามารถบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ในเวลาค่อนข้างสั้น การบรรลุเป้าหมายเหล่านี้จะทำให้ท่านใกล้บรรลุเป้าหมายระยะกลางและระยะยาวมากขึ้น ตัวอย่างของเป้าหมายระยะสั้นได้แก่ “อย่าขาดเรียนเทอมนี้”

  4. ภารกิจประจำวัน สิ่งที่เราทำทุกวันควรนำเราให้บรรลุเป้าหมายของเรา ภารกิจประจำวันอาจได้แก่ “ทำการบ้านที่มีกำหนดส่งพรุ่งนี้ให้เสร็จ”

ตั้งเป้าหมายหลายๆ ด้าน

ท่านสามารถใช้ตัวอย่างข้างต้นตั้งเป้าหมายในชีวิตทุกด้านของท่าน เอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์ (1932–2017) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองแนะนำให้เราเน้นสี่ด้านต่อไปนี้

  • การพัฒนาทางวิญญาณ

  • การพัฒนาทางร่างกาย

  • การพัฒนาทางการศึกษา บุคลิกภาพ และงานอาชีพ

  • การพัฒนาทางสังคมและความเป็นพลเมือง1

ขณะที่เราตั้งเป้าหมายในด้านเหล่านี้ เราควรจดจำคำแนะนำจากประธานเอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ด รักษาการประธานโควรัมอัครสาวกสิบสอง “ตั้งเป้าหมายที่สมดุล—ไม่มากไปหรือน้อยไป และไม่สูงไปหรือต่ำไป จดเป้าหมายที่บรรลุได้และทำให้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้นตามความสำคัญ สวดอ้อนวอนขอการนำทางจากสวรรค์ในการตั้งเป้าหมายของท่าน”2

เราจะเป็นเหมือนพระคริสต์มากขึ้น

เมื่อเราตั้งเป้าหมายที่ชอบธรรมและบริหารเวลาให้ดีเพื่อบรรลุเป้าหมาย เราจะเป็นเหมือนพระเยซูคริสต์มากขึ้น เอ็ลเดอร์นีล เอ. แม็กซ์เวลล์ (1926–2004) แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองกล่าวว่า “ข้าพเจ้าขอบพระทัย [พระคริสต์] สำหรับการบริหารเวลาอย่างอัศจรรย์ของพระองค์ เพราะไม่ทรงใช้ชั่วขณะใดอย่างไร้ประโยชน์ รวมถึงชั่วขณะของการตรึกตรอง แม้แต่วินาทีของพระองค์ก็แสดงให้เห็นความเป็นผู้พิทักษ์ของพระองค์”3

อ้างอิง

  1. ดัดแปลงจาก The Gospel and the Productive Life (2017) คู่มือครูและนักเรียน “Chapter 3: Setting Goals and Managing Time”

  2. ดู โรเบิร์ต ดี. เฮลส์, “การบรรลุหน้าที่ของเราต่อพระผู้เป็นเจ้า,” เลียโฮนา, ม.ค. 2002, 52.

  3. เอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ด, “Keeping Life’s Demands in Balance,” Ensign, May 1987, 14.

  4. นีล เอ. แม็กซ์เวลล์, “Jesus of Nazareth, Savior and King,” Ensign, May 1976, 27.

พิมพ์