เซมินารี
2 นีไฟ 32:1–7: “ดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์”


“2 นีไฟ 32:1–7: ‘ท่านต้องมุ่งหน้า,’” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู (2024)

“2 นีไฟ 32:1–7,” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู

2 นีไฟ 32:1–7

“ดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์”

ภาพ
ครอบครัวรับประทานอาหารค่ำ

นึกภาพงานเลี้ยงฉลองที่มีอาหารอร่อยๆ มากมาย ท่านคิดว่าตนจะสนุกกับงานเลี้ยงฉลองแบบนี้มากน้อยเพียงใด? หลังจากนีไฟสอนผู้คนเกี่ยวกับการติดตามพระเยซูคริสต์บนเส้นทางพันธสัญญาแล้ว ท่านรู้สึกว่าผู้คนของท่านยังไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไรหลังจากรับบัพติศมา พระองค์ตรัสตอบโดยการกระตุ้นผู้คนของท่านให้ “ดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์” และทรงให้ความมั่นใจว่าพระวจนะของพระผู้ช่วยให้รอดจะนำทางพวกเขาไปข้างหน้า (2 นีไฟ 32:3) บทเรียนนี้มีเจตนาจะช่วยให้ท่านดื่มด่ำพระวจนะของพระเยซูคริสต์

ประสบการณ์ผู้เรียนเมื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของเซมินารีและสถาบัน เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้นักเรียนแต่ละคนมีประสบการณ์ในการเปลี่ยนใจเลื่อมใส ความเกี่ยวข้อง และการเป็นส่วนหนึ่ง มองหาวิธีที่จะช่วยให้ผู้เรียนเปลี่ยนใจเลื่อมใสในพระเยซูคริสต์ เชื่อมโยงสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้กับสภาวการณ์ส่วนตัว อีกทั้งรู้สึกปลอดภัยและได้รับความช่วยเหลือในการเรียนรู้ของพวกเขา

การเตรียมของนักเรียน: เชื้อเชิญให้นักเรียนเปรียบเทียบการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัวกับการรับประทานอาหาร และกระตุ้นเตือนให้พวกเขาเตรียมพร้อมที่จะแบ่งปันความคิดในชั้นเรียน

กิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นไปได้

ได้เวลารับประทานแล้ว!

ในการเริ่มต้นชั้นเรียน แทนที่จะแสดงภาพด้านล่าง ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนสองคนให้ทำสิ่งต่อไปนี้ โดยให้คนที่เหลือในชั้นเรียนเดาว่ากำลังจะทำอะไร เช่น รับประทานของว่าง รับประทานทานอาหาร และรับประทานอาหารในงานเลี้ยงหรืองานเฉลิมฉลอง

ดูภาพต่อไปนี้แล้วนึกถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างการรับประทานของว่าง รับประทานอาหาร หรือรับประทานอาหารในงานเลี้ยงเนื่องในโอกาสพิเศษ

ภาพ
กล้วย
ภาพ
ข้าวหนึ่งถ้วย
ภาพ
งานเลี้ยง
  • อะไรบ้างที่ท่านคิดว่ามีความคล้ายคลึงและแตกต่างกัน?

  • ถ้าเราเปรียบเทียบการศึกษาพระวจนะของพระคริสต์กับการรับประทานอาหารทั้งสามแบบนี้ แต่ละแบบอาจหมายถึงอะไร?

พระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทรงปรารถนาจะประทานพรแก่ท่านด้วยคำแนะนำ การนำทาง ความช่วยเหลือ และการปลอบโยน ลองนึกถึงครั้งล่าสุดที่ท่านศึกษาพระวจนะของพระผู้ช่วยให้รอด ท่านจะบรรยายประสบการณ์ดังกล่าวว่าเป็นการรับประทานของว่าง รับประทานอาหาร หรือรับประทานอาหารในงานเลี้ยง? แล้วในช่วงสัปดาห์หรือเดือนที่ผ่านมาเป็นอย่างไร? ขณะที่ท่านศึกษาต่อ แสวงหาความช่วยเหลือจากพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อจะรู้ว่าการศึกษาพระวจนะของพระคริสต์เป็นพรในชีวิตท่านอย่างไร และแสวงหาการดลใจที่ช่วยให้ท่านรู้วิธีปรับปรุงความพยายามในการดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์

พระวจนะของพระเยซูคริสต์

ให้นึกย้อนช่วงที่นีไฟสอนผู้คนของท่านเกี่ยวกับ “ทางคับแคบและแคบซึ่งนำไปสู่ชีวิตนิรันดร์” และคุณสมบัติที่ใช้ในการเริ่มต้นการเดินทางนั้น (ดู 2 นีไฟ 31:17–18) นีไฟทราบว่าผู้คนของท่านสงสัยว่าจะทำอย่างไรหลังจากรับศาสนพิธีบัพติศมาและจะเดินบนเส้นทางพันธสัญญาต่อไปอย่างไร

อ่าน 2 นีไฟ 32:1–3 โดยมองหาคำแนะนำของนีไฟเกี่ยวกับการศึกษาพระวจนะของพระคริสต์ ขณะมองหาคำแนะนำ ให้นึกถึงข้อกังวล คำถาม และความต้องการของท่านเอง แล้วดูว่าคำสอนของนีไฟมีประโยชน์ต่อท่านอย่างไร อาจเป็นประโยชน์ที่จะรู้ว่าวลี “พูดได้ด้วยลิ้นของเทพ” (2 นีไฟ 32:2) “มีความหมายง่ายๆ ว่า … พูดด้วยอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์” (บอยด์ เค. แพคเกอร์, “ของประทานแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์: สิ่งที่สมาชิกทุกคนควรทราบ,” เลียโฮนา, ส.ค. 2006, 21)

2 นีไฟ 32:3 คือข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน  ท่านอาจทำเครื่องหมายในข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนด้วยวิธีที่ชัดเจน เพื่อจะค้นหาได้ง่าย ในบทเรียนถัดไป ท่านจะมีโอกาสฝึกฝนการนำหลักคำสอนที่สอนในข้อนี้ไปปรับใช้กับคำถามหรือสถานการณ์

  • ท่านค้นพบอะไรบ้าง?

ขณะที่นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาพบ ให้ตั้งใจฟังและเขียนหลักธรรมที่แท้จริงบนกระดาน

ความจริงอย่างหนึ่งที่ท่านอาจค้นพบจาก 2 นีไฟ 32:3 คือ เมื่อเราดื่มด่ำพระวจนะของพระเยซูคริสต์ เราจะรู้ทุกสิ่งที่เราควรทำ ท่านอาจทำเครื่องหมายความจริงข้อนี้ในพระคัมภีร์ของท่าน

  • เราจะหาพระวจนะของพระคริสต์ได้จากที่ใด?

  • เหตุใดท่านจึงคิดว่านีไฟใช้คำว่า “ดื่มด่ำ” เมื่ออธิบายว่าเราควรศึกษาพระวจนะของพระผู้ช่วยให้รอดอย่างไร (2 นีไฟ 32:3)?

อ่านข้อความต่อไปนี้ของเอ็ลเดอร์ทากาชิ วาดะ แห่งสาวกเจ็ดสิบ หากมี ท่านอาจให้ดู ข่าวสารจากเอ็ลเดอร์วาดะ ที่ ChurchofJesusChrist.org ตั้งแต่รหัสเวลา 0:53 ถึง 1:42

เมื่อยังเด็ก ข้าพเจ้าคิดว่าดื่มด่ำคือการได้กินอาหารมื้อใหญ่ที่มีข้าว ซูชิ กับซอสถั่วเหลือง ตอนนี้ข้าพเจ้ารู้ว่าการดื่มด่ำจริงๆ เป็นมากกว่าการได้กินอาหารอร่อย ดื่มด่ำคือการประสบปีติ การบำรุงเลี้ยง การเฉลิมฉลอง การแบ่งปัน การแสดงความรักต่อครอบครัวและคนที่เรารัก การบอกกล่าวว่าเราน้อมขอบพระทัยพระผู้เป็นเจ้า และการสร้างความสัมพันธ์ขณะรับประทานอาหารมากมายที่มีรสเลิศ ข้าพเจ้าเชื่อว่าเมื่อเราดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์ เราจะนึกถึงประสบการณ์คล้ายกัน การดื่มด่ำพระคัมภีร์ไม่ใช่แค่อ่าน แต่ควรทำให้เราเกิดปีติอย่างแท้จริงและสร้างความสัมพันธ์กับพระผู้ช่วยให้รอด (ทากาชิ วาดะ, “ดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 38–39)

  • อะไรที่ดูสำคัญต่อท่านจากคำกล่าวของเอ็ลเดอร์วาดะ?

    ท่านอาจใช้คำถามต่อไปนี้บางส่วนหรือทั้งหมดเพื่อช่วยให้นักเรียนวิเคราะห์ความจริงที่ชัดเจน

  • ระลึกถึงสิ่งที่ท่านรู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ เหตุใดพระวจนะของพระองค์จึงนำมาซึ่งปีติ การบำรุงเลี้ยง และความรัก?

  • การดื่มด่ำพระวจนะของพระผู้ช่วยให้รอดจะนำทางชีวิตท่านและให้ท่านรู้ถึงสิ่งที่ควรทำได้อย่างไร?

หากเป็นไปได้ ให้ดู “Come Follow Me—Lito [จงตามเรามา—ลิโต]” (0:59) ที่ ChurchofJesusChrist.orgเพื่อเรียนรู้ว่าพระเจ้าทรงเปิดเผยความรู้และความจริงอย่างไรเมื่อท่านดื่มด่ำพระวจนะของพระองค์

การคำนึงถึงประสบการณ์ของท่านเองจะช่วยให้ท่านได้ดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์

  • มีอะไรบ้างที่ช่วยหรืออาจช่วยท่านได้ในการดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์ ไม่ใช่แค่อ่าน?

เชื้อเชิญให้นักเรียนหลายคนตอบและลองเขียนสิ่งที่พวกเขาพูดบนกระดานเป็นข้อๆ หากจำเป็น ให้ย้ำเตือนพวกเขาเกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้:

มีวิธีศึกษามากมายที่ช่วยพัฒนาการดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์ ได้แก่ สวดอ้อนวอนเพื่อขอแรงบันดาลใจก่อนศึกษา ถามคำถามที่ท่านมีทั้งก่อนและระหว่างศึกษา รู้คำศัพท์ ไตร่ตรอง อ้างโยง จดบันทึก มองหาความจริงเกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์และพระผู้ช่วยให้รอด และเปรียบพระคัมภีร์กับชีวิตของเราเอง (ดู 1 นีไฟ 19:23)

  • ท่านมีความประทับใจทั่วไปหรือคำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงอะไรบ้างขณะดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์?

ดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์

ให้เวลานักเรียนเพียงพอในการทำกิจกรรมต่อไปนี้ ให้นักเรียนดูแนวคิดบนกระดานเกี่ยวกับวิธีศึกษาที่พวกเขาสามารถลองทำได้เมื่อพวกเขาทำกิจกรรมงานเลี้ยงให้เสร็จ

ใช้สิ่งที่ท่านเรียนรู้ในวันนี้โดยใช้เวลาสักพักใหญ่กับการฝึกดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์ ซึ่งอาจรวมถึงการศึกษาพระคัมภีร์หรือถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์ พยายามทำสิ่งต่อไปนี้ให้สำเร็จอย่างน้อยหนึ่งอย่างขณะดื่มด่ำ:

  • สร้างความสัมพันธ์ของท่านกับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์

  • รักและวางใจพระองค์มากขึ้น

  • ค้นหาความจริงที่นำมาซึ่งปีติและการบำรุงเลี้ยง

  • รับคำแนะนำสำหรับสิ่งที่ท่านควรทำในชีวิต

บันทึกสิ่งที่ท่านได้เรียนรู้ รู้สึก และเผชิญขณะดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์

ในช่วงสองสามนาทีสุดท้ายก่อนเลิกชั้นเรียน เชื้อเชิญให้นักเรียนหลายคนแบ่งปันประสบการณ์ในการดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์ กระตุ้นให้พวกเขาแบ่งปันความจริงที่พบ ความรู้สึก หรือการนำทางที่ได้รับตามความเหมาะสม การรับฟังเพื่อนร่วมชั้นเป็นประสบการณ์ที่ทรงพลังสำหรับนักเรียน

ท่านอาจแบ่งปันประสบการณ์ของท่านเองและเป็นพยานถึงพรที่เราได้รับขณะดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์

พิมพ์