เซมินารี
2 นีไฟ 32:8–9: “ท่านต้องสวดอ้อนวอนเสมอ”


“2 นีไฟ 32:8–9: ‘ท่านต้องสวดอ้อนวอนเสมอ,’” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู (2024)

“2 นีไฟ 32:8–9,” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู

2 นีไฟ 32:8–9

“ท่านต้องสวดอ้อนวอนเสมอ”

ภาพ
เยาวชนสวดอ้อนวอน

หนึ่งในพระบัญญัติขั้นพื้นฐานที่สุดที่เรามีคือการสวดอ้อนวอนพระบิดาบนสวรรค์ แต่มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ขัดขวางการสวดอ้อนวอน นีไฟเตือนผู้คนถึงความสำคัญของการสวดอ้อนวอนและพรที่มาจากการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอกับพระบิดาบนสวรรค์ของเรา บทเรียนนี้จะช่วยให้ท่านเพิ่มความปรารถนาที่จะสื่อสารกับพระบิดาบนสวรรค์ผ่านการสวดอ้อนวอน

การประเมินความรู้ของนักเรียนนักเรียนแต่ละคนมีความเข้าใจหัวข้อพระกิตติคุณแตกต่างกันไป การเชื้อเชิญให้นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขารู้แล้วจะช่วยให้ท่านเลือกบทเรียนส่วนที่นักเรียนจำเป็นต้องใช้เวลา

การเตรียมของนักเรียน: ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนสังเกตว่าพวกเขาสวดอ้อนวอนบ่อยเพียงใดและเพราะเหตุใด

กิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นไปได้

ท่านสวดอ้อนวอนเมื่อใด?

ท่านอาจเริ่มต้นด้วยกิจกรรมต่อไปนี้เพื่อช่วยให้นักเรียนนึกถึงเหตุผลและเมื่อใดที่ต้องสวดอ้อนวอน

ท่านอาจต้องการเขียนข้อความต่อไปนี้บนกระดาน: ฉันสวดอ้อนวอนเมื่อ …

คิดหลายๆ วิธีที่ท่านอาจเติมข้อความต่อไปนี้ให้ถูกต้องครบถ้วน: ฉันสวดอ้อนวอนเมื่อ …

อาจให้ผลดีที่จะเชื้อเชิญให้นักเรียนเติมข้อความโดยไม่ระบุชื่อลงในกระดาษแผ่นเล็กๆ ที่ท่านจะรวบรวมและอ่านออกเสียง

หากเป็นไปได้ ให้ดูวีดิทัศน์ “ฉันสวดอ้อนวอนเมื่อ …” (1:56) เพื่อดูว่าบางคนตอบคำถามอย่างไร ดูวีดิทัศน์ได้ที่ ChurchofJesusChrist.org.

ใช้เวลาสักครู่เพื่อไตร่ตรองว่าท่านสวดอ้อนวอนพระบิดาบนสวรรค์บ่อยเพียงใดและเหตุใดจึงต้องสวดอ้อนวอน เมื่อท่านศึกษาต่อ ให้ไตร่ตรองว่าพระบิดาบนสวรรค์ประทานพรแก่ท่านเพราะการสวดอ้อนวอนอย่างไร และวิธีที่ท่านรู้สึกว่าพระองค์อาจมีพระประสงค์ให้ท่านปรับปรุงการสื่อสารกับพระองค์

คำสอนของนีไฟเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอน

หลังจากนีไฟสอนผู้คนให้อยู่บนทางคับแคบและแคบที่นำไปสู่ชีวิตนิรันดร์และดื่มด่ำพระวจนะของพระคริสต์ (ดู 2 นีไฟ 31:19–20; 32:1–3) ท่านสอนว่าพวกเขาจะรู้ความจริงในพระวจนะของพระองค์ได้อย่างไร

อ่านถ้อยคำของนีไฟใน 2 นีไฟ 32:4, 7

  • มีอะไรบ้างที่ผู้คนของนีไฟบางคนไม่เต็มใจทำ?

  • เหตุใดท่านจึงคิดว่าเรื่องนี้จะทำให้นีไฟหมดกำลังใจ?

นีไฟยังคงสอนถึงความสำคัญของการสวดอ้อนวอน

อ่าน 2 นีไฟ 32:8–9 แล้วมองหาสิ่งที่นีไฟสอนเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอน

2 นีไฟ 32:8–9 คือข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอน  ท่านอาจทำเครื่องหมายในข้อผู้เชี่ยวชาญหลักคำสอนด้วยวิธีที่ชัดเจน เพื่อจะค้นหาได้ง่าย ในบทเรียนถัดไป ท่านจะมีโอกาสฝึกฝนการนำหลักคำสอนที่สอนในข้อนี้ไปปรับใช้กับคำถามหรือสถานการณ์

  • ท่านพบความจริงอะไรบ้าง?

กระตุ้นให้นักเรียนหลายคนแบ่งปัน ขณะที่พวกเขาแบ่งปันความจริง ให้ท่านหรือนักเรียนเขียนความจริงเหล่านั้นบนกระดาน นักเรียนอาจระบุความจริงต่อไปนี้:

ความจริงบางประการที่นีไฟสอน ได้แก่

  • หากเราสวดอ้อนวอนเสมอ พระบิดาบนสวรรค์จะทรงอุทิศความพยายามของเราเพื่อความผาสุกของจิตวิญญาณเรา

  • พระบิดาบนสวรรค์ทรงมีพระประสงค์ให้เราสวดอ้อนวอน

  • ซาตานไม่ต้องการให้เราสวดอ้อนวอน

  • เราต้องสวดอ้อนวอนเสมอ

การสื่อสารกับพระบิดาบนสวรรค์

พิจารณาสิ่งที่นักเรียนแบ่งปันเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอน แล้วกำหนดให้ทำกิจกรรมต่อไปนี้ที่อาจเป็นประโยชน์มากที่สุด หรือท่านอาจแจกเอกสารต่อไปนี้ให้นักเรียน แล้วเชื้อเชิญให้พวกเขาทำกิจกรรมหนึ่งหรือสองอย่างที่รู้สึกว่าน่าจะช่วยพวกเขาได้มากที่สุด

นักเรียนอาจทำงานคนเดียวหรือกับเพื่อนร่วมชั้นก็ได้ หากทำงานร่วมกัน พวกเขาสามารถนำเสนอสิ่งที่ค้นพบร่วมกัน

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอน

พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู—2 นีไฟ 32:8–9: “ท่านต้องสวดอ้อนวอนเสมอ”

กิจกรรม ก มีเหตุผลอะไรบ้างที่พระบิดาบนสวรรค์ทรงมีพระประสงค์ให้เราสวดอ้อนวอน ขณะที่ซาตานล่อลวงไม่ให้เราทำ?

  • ซาตานล่อลวงไม่ให้เราสวดอ้อนวอนด้วยวิธีใดบ้าง?

หนึ่งในวิธีที่ซาตาน “สอน [เรา] ว่า [เรา] ต้องไม่สวดอ้อนวอน” คือพยายามที่จะทำให้เราเชื่อว่าเราไม่คู่ควรที่จะสวดอ้อนวอนอีกต่อไปเพราะเราทำบาป

ไตร่ตรองว่าซาตานพยายามขัดขวางไม่ให้เราได้รับพรใดบ้างเมื่อท่านทำสิ่งต่อไปนี้:

  • ใช้เวลาศึกษาเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอน ท่านอาจมองหาคำว่า สวดอ้อนวอน ใน คู่มือพระคัมภีร์ ค้นคว้า มองหา คำปราศรัยในการประชุมใหญ่สามัญ ที่พูดถึงการสวดอ้อนวอน ขณะที่ท่านศึกษา ให้มองหาพรของการสวดอ้อนวอน หรือท่านอาจต้องการนึกถึงพรที่ได้รับจากการสวดอ้อนวอนในชีวิต จากการศึกษาและประสบการณ์ของท่าน ให้ไตร่ตรองว่าเหตุใดพระบิดาบนสวรรค์ทรงมีพระประสงค์ให้เราสวดอ้อนวอนและเหตุใดซาตานจึงล่อลวงไม่ให้เราสวดอ้อนวอน

หากเป็นไปได้ ให้มองหาเหตุผลเพิ่มเติมขณะดู “God Wants You to Pray (พระผู้เป็นเจ้าทรงประสงค์ให้ท่านสวดอ้อนวอน)” (3:28) ที่ ChurchofJesusChrist.orgซึ่งเป็นวีดิทัศน์เกี่ยวกับประสบการณ์การสวดอ้อนวอนของเคย์ลาขณะรับมือกับความท้าทาย

เขียนความจริงที่ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับการสวดอ้อนวอนอย่างน้อยสองข้อ ระบุเหตุผลที่ท่านคิดว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงมีพระประสงค์ให้เราสวดอ้อนวอนและซาตานล่อลวงไม่ให้เราสวดอ้อนวอน

กิจกรรม ข สวดอ้อนวอนเสมอหมายความว่าอย่างไร?

ท่านอาจทำเครื่องหมายวลีที่ว่า “สวดอ้อนวอนเสมอ, และไม่ท้อถอย” (2 นีไฟ 32:9)

อ่าน แอลมา 34:21, 27 เพื่อมองหาข้อคิดว่าการสวดอ้อนวอนเสมออาจมีความหมายอย่างไร

  • เหตุใดการสวดอ้อนวอน “เช้า, กลางวัน, และเย็น” (แอลมา 34:21) จึงเป็นพร?

  • เราจะหันใจไปหาพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างไรในแม้ว่าเราไม่ได้สวดอ้อนวอน?

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสอง ยกตัวอย่างหนึ่งว่าการสวดอ้อนวอนเสมอหมายความว่าอย่างไร:

ปรึกษากับพระบิดาบนสวรรค์ในการสวดอ้อนวอนตอนเช้า …

ตลอดทั้งวัน เราสวดอ้อนวอนในใจเพื่อขอความช่วยเหลือและการนำทางตลอดเวลา …

ในตอนกลางคืน เราคุกเข่าอีกครั้งและรายงานพระบิดาของเรา เราทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้นและกล่าวขอบพระทัยอย่างจริงใจสำหรับพรและความช่วยเหลือที่เราได้รับ เรากลับใจและด้วยความช่วยเหลือจากพระวิญญาณของพระเจ้าเราหาวิธีที่เราสามารถทำได้ดีกว่าเดิม และเป็นคนที่ดีกว่าเดิมในวันรุ่งขึ้น ดังนั้นการสวดอ้อนวอนในตอนเย็นของเราจึงสร้างอยู่บนและสืบเนื่องมาจากการสวดอ้อนวอนในตอนเช้าของเรา การสวดอ้อนวอนในตอนเย็นของเราเป็นการเตรียมสำหรับการสวดอ้อนวอนในตอนเช้าอย่างมีความหมาย (เดวิด เอ. เบดนาร์, “สวดอ้อนวอนเสมอ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2008, 52)

เขียนความหมายของการสวดอ้อนวอนเสมอตามที่ท่านคิดเป็นคำพูดของท่านเอง

กิจกรรม ค พระบิดาบนสวรรค์จะทรงอุทิศความพยายามของเราเพื่อความผาสุกหรือเป็นประโยชน์ต่อจิตวิญญาณเราอย่างไร?

นีไฟแนะนำว่า “ท่านจะสวดอ้อนวอนต่อพระบิดาในพระนามของพระคริสต์, เพื่อพระองค์จะทรงอุทิศการกระทำของท่านเพื่อท่าน, เพื่อ [การสวดอ้อนวอนนั้น] จะเป็นไปเพื่อความผาสุกของจิตวิญญาณท่าน” (2 นีไฟ 32:9) อุทิศ หมายถึงการทำให้ศักดิ์สิทธิ์หรืออุทิศ

นึกถึงตัวอย่างอย่างน้อยหนึ่งเรื่องที่พระบิดาบนสวรรค์ประทานพรบางคนตามที่สวดอ้อนวอนและมุ่งมั่นที่จะทำในสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ นี่อาจเป็นประสบการณ์ส่วนตัว ตัวอย่างในยุคปัจจุบัน หรือท่านอาจพบเรื่องราวในพระคัมภีร์ (ใช้ คู่มือพระคัมภีร์ เพื่อระบุตำแหน่งตัวอย่าง หากจำเป็น)

เขียนตัวอย่างและสิ่งที่สอนท่านว่าพระบิดาบนสวรรค์ประทานพรสำหรับความพยายามของเราที่จะบรรลุพระประสงค์ของพระองค์เมื่อเราสวดอ้อนวอนอย่างไร

ตัวอย่างบางส่วนที่นักเรียนอาจนึกถึงสำหรับกิจกรรม ค ได้แก่ การสวดอ้อนวอนของนีไฟกับการที่ท่านถูกปลดปล่อยจากการโดนมัด (ดู 1 นีไฟ 7:16–19) และการสวดอ้อนวอนของลีไฮเพื่อขอคำชี้แนะที่ช่วยให้นีไฟได้อาหารมาจุนเจือครอบครัว (ดู 1 นีไฟ 16:21–26, 30–32)

เชื้อเชิญให้นักเรียนหลายคนแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จากกิจกรรมที่พวกเขาทำเสร็จแล้ว การทำเช่นนี้จะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของเพื่อนๆ และนักเรียนสามารถแบ่งปันคำถามที่พวกเขามีเช่นกัน ถ้าพวกเขาทำเช่นนั้น เชื้อเชิญให้นักเรียนคนอื่นนำสิ่งที่พวกเขาศึกษาและประสบการณ์ของตนเองมาใช้เพื่อช่วยตอบคำถาม

สิ่งที่ฉันต้องการจดจำ

ใคร่ครวญสิ่งที่ท่านเรียนรู้วันนี้ ท่านอาจเขียนสิ่งที่ท่านต้องการจดจำหรือทำเพื่อให้ส่งผลตามต้องการ ตัวอย่างเช่น ท่านอาจต้องการสวดอ้อนวอนบ่อยยิ่งขึ้น พยายามตระหนักว่าพระเจ้าจะประทานพรท่านอย่างไรเมื่อสวดอ้อนวอนและลงมือทำ หรือพยายามเอาชนะการล่อลวงที่ทำให้ท่านรู้สึกไม่อยากสวดอ้อนวอน

หากท่านเห็นว่าเหมาะสม ท่านอาจเชื้อเชิญให้นักเรียนหยุดสักครู่และสวดอ้อนวอนในใจโดยนำสิ่งที่พวกเขาคิดเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอนมาปรับใช้

พิมพ์