“โมไซยาห์ 28: การเปลี่ยนใจเลื่อมใสส่วนบุคคลและการแบ่งปันพระกิตติคุณ,” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู (2024)
“โมไซยาห์ 28,” พระคัมภีร์มอรมอน คู่มือครู
โมไซยาห์ 28
การเปลี่ยนใจเลื่อมใสส่วนบุคคลและการแบ่งปันพระกิตติคุณ
ท่านเคยมีประสบการณ์ใดบ้างเกี่ยวกับการแบ่งปันพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์? หลังจากเปลี่ยนใจเลื่อมใส บรรดาบุตรของโมไซยาห์ไปหากษัตริย์เพื่อขออนุญาตสั่งสอนพระกิตติคุณแก่ชาวเลมัน กษัตริย์โมไซยาห์ทูลถามพระเจ้าก่อน จากนั้นจึงอนุญาตให้บุตรชายสั่งสอนพระกิตติคุณเพื่อจะได้นำพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้ามาสู่ชาวเลมัน (ดู โมไซยาห์ 28:1) บทเรียนนี้มีเจตนาจะช่วยให้ท่านมีความปรารถนาที่จะแบ่งปันพระกิตติคุณมากขึ้น
กิจกรรมการเรียนรู้ที่อาจทำได้
การแบ่งปันและการเปลี่ยนใจเลื่อมใส
-
อะไรคือสิ่งที่ท่านรักมากและอยากแบ่งปันกับผู้อื่น?
เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์ แห่งโควรัมอัครสาวกสิบสองสอนว่าไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะแบ่งปันสิ่งที่มีความหมายต่อเรา ดูวีดิทัศน์ “Good Things to Share [สิ่งดีๆ มีไว้แบ่งปัน]” (2:21) ที่ ChurchofJesusChrist.orgหรืออ่านข้อความด้านล่าง
การแบ่งปันสิ่งที่มีความหมายต่อเรามากที่สุดหรือได้ช่วยเรากับผู้อื่นนั้นไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด
แบบแผนเดียวกันนี้เป็นหลักฐานพิเศษในเรื่องความสำคัญและผลทางวิญญาณอันยิ่งใหญ่ …
คำเชื้อเชิญที่เราให้แก่ท่านเพื่อเรียนรู้และทดสอบข่าวสารของเรานั้นเนื่องมาจากผลอันดีงามที่พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์มีต่อชีวิตเรา บางครั้งในความพยายามของเราอาจเคอะเขินหรือโผงผางหรือแม้แต่ไม่ยอมโอนอ่อน ความปรารถนาอันเรียบง่ายของเราคือแบ่งปันความจริงที่มีค่าสูงสุดต่อเราให้แก่ท่าน (เดวิด เอ. เบดนาร์, “มาดูเถิด,” เลียโฮนา, พ.ย. 2014, 109, 110)
ให้คะแนนว่าข้อความต่อไปนี้เป็นจริงสำหรับท่านเพียงใดตั้งแต่ระดับ 1 ถึง 5 (โดยที่ 1 ไม่เป็นความจริงและ 5 เป็นความจริงที่สุด):
-
ความจริงเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดพระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณของพระองค์มีค่ามากสำหรับฉัน
-
ฉันมีความปรารถนาที่จะแบ่งปันพระกิตติคุณกับผู้อื่น
ขณะที่ท่านศึกษาชีวิตและตัวอย่างจากบรรดาบุตรของโมไซยาห์ ให้ไตร่ตรองถึงความปรารถนาของท่านที่จะแบ่งปันพระกิตติคุณของพระผู้ช่วยให้รอด แสวงหาการเปิดเผยที่จะรู้ว่าพระเจ้าทรงมีพระประสงค์ให้ท่านทำอะไรในขั้นตอนต่อไปเพื่อให้พระกิตติคุณมีความหมายต่อท่านยิ่งขึ้นและมีความปรารถนามากขึ้นที่จะแบ่งปันพระกิตติคุณ
บรรดาบุตรของโมไซยาห์
นึกย้อนว่าหลังจากการเปลี่ยนใจเลื่อมใส บรรดาบุตรของกษัตริย์โมไซยาห์สั่งสอนพระกิตติคุณในแผ่นดินของตนเอง โดยแสวงหาการแก้ไขสิ่งผิด (ดู โมไซยาห์ 27:32–37)
อ่าน โมไซยาห์ 28:1–5 โดยมองหาสิ่งที่บรรดาบุตรของโมไซยาห์ปรารถนาและเหตุผล (ท่านอาจต้องการทำเครื่องหมายสิ่งที่ท่านพบในพระคัมภีร์)
-
ถ้อยคำหรือวลีใดในข้อพระคัมภีร์เหล่านี้ที่สะดุดใจท่าน? บรรดาบุตรของโมไซยาห์มีเหตุผลอะไรที่จะแบ่งปันพระกิตติคุณกับชาวเลมัน?
-
เหตุใดสิ่งเหล่านี้จึงเป็นแรงจูงใจในการแบ่งปันพระกิตติคุณ?
-
ท่านเรียนรู้ความจริงอะไรจากข้อเหล่านี้?
ความจริงประการหนึ่งที่เราเรียนรู้จากข้อเหล่านี้คือ เมื่อการเปลี่ยนใจเลื่อมใสลึกซึ้งยิ่งขึ้น ความปรารถนาที่จะแบ่งปันพระกิตติคุณก็จะเพิ่มพูนเช่นกัน
ประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์ ฝ่ายประธานสูงสุดยืนยันความจริงนี้เมื่อท่านสอนดังนี้:
ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของเราที่จะแบ่งปันพระกิตติคุณเป็นตัวบ่งชี้ถึงระดับการเปลี่ยนใจเลื่อมใสส่วนตัวของเรา (ดัลลิน เอช. โอ๊คส์, “การแบ่งปันพระกิตติคุณ,” เลียโฮนา, ม.ค. 2002, 8)
-
บรรดาบุตรของโมไซยาห์เคยมีประสบการณ์อะไรบ้างที่ช่วยให้พวกเขาเปลี่ยนใจเลื่อมใสในพระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณของพระองค์? (ดู โมไซยาห์ 27:34–36; 28:4)
-
ประสบการณ์ใดที่ช่วยให้ท่านหรือคนที่ท่านรู้จักเปลี่ยนใจเลื่อมใสในพระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณของพระองค์ยิ่งขึ้น?
-
ท่านรักอะไรเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณของพระองค์ที่ต้องการแบ่งปันกับผู้อื่น? (ตัวอย่างเช่น ท่านอาจเคยมีประสบการณ์ที่มีความหมายเกี่ยวกับการให้อภัยของผู้ช่วยให้รอด ความรักของพระผู้เป็นเจ้า การสวดอ้อนวอน ฯลฯ)
แม้เมื่อเราเปลี่ยนใจเลื่อมใสมาสู่พระเจ้า อาจมีเหตุผลว่าเหตุใดการแบ่งปันพระกิตติคุณจึงยังเป็นเรื่องยาก
-
ถ้าท่านเป็นบุตรคนหนึ่งของโมไซยาห์ ท่านอาจมีข้อกังวลอะไรเกี่ยวกับการสั่งสอนพระกิตติคุณแก่ชาวเลมัน?
ในฐานะบิดาและกษัตริย์ โมไซยาห์มีหลายเหตุผลที่ต้องกังวลเกี่ยวกับการส่งบุตรของตนไปสั่งสอนพระกิตติคุณแก่ชาวเลมัน กษัตริย์โมไซยาห์ไม่เพียงกลัวความปลอดภัยของพวกเขาเท่านั้น แต่กลัวว่าหากบรรดาบุตรชายของท่านจากไป ท่านจะขาดผู้สืบทอดในฐานะกษัตริย์คนต่อไปของชาวนีไฟ
อ่าน โมไซยาห์ 28:6–8 โดยมองหาว่าเหตุใดโมไซยาห์จึงปล่อยให้บุตรชายของท่านไปทำพันธกิจอันตรายเช่นนั้น
-
พระเจ้าทรงสัญญาอะไรกับโมไซยาห์?
ขั้นตอนถัดไปของท่าน
ใช้เวลาสักครู่เพื่อเขียนข้อกังวลที่ท่านหรือผู้อื่นอาจมีเกี่ยวกับการแบ่งปันพระกิตติคุณ
เลือกข้อกังวลหนึ่งอย่างและสวดอ้อนวอนทูลขอคำแนะนำขณะที่ท่านค้นคว้าพระคัมภีร์และไตร่ตรองว่าจะเอาชนะข้อกังวลนี้อย่างไร ตัวอย่างเช่น หากท่านมีข้อกังวลอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านอาจไตร่ตรองคำถามและศึกษาข้อพระคัมภีร์ที่อยู่หลังข้อความดังกล่าว
ฉันไม่แน่ใจว่าฉันเปลี่ยนใจเลื่อมใสมากพอที่จะแบ่งปันพระกิตติคุณหรือเปล่าตัวอย่างจากบรรดาบุตรของโมไซยาห์จะช่วยท่านได้อย่างไร? (ดู โมไซยาห์ 28:1–5) ขณะอ่านข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้ ให้มองหาวิธีที่ท่านจะเปลี่ยนใจเลื่อมใสยิ่งขึ้น: กิจการของอัครทูต 3:19; ยากอบ 5:20; อีนัส 1:2–5; โมไซยาห์ 3:19; 5:2; 27:25; แอลมา 5:12–14; 22:15–18; 53:10; ฮีลามัน 15:7; 3 นีไฟ 9:20
ฉันกลัวที่จะถูกปฏิเสธทบทวน โมไซยาห์ 28:2–4 ถึงเหตุผลที่บรรดาบุตรของโมไซยาห์ต้องการแบ่งปันพระกิตติคุณ แม้ว่าชาวเลมันหลายคนไม่น่าจะยอมรับ เหตุผลเหล่านี้อาจช่วยท่านได้อย่างไร? การนึกถึงสิ่งที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทำเพื่อท่าน (และทำเพื่อผู้อื่นได้) อาจช่วยให้ท่านเอาชนะความกลัวได้อย่างไร?
ฉันไม่ได้เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของการดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณก่อนการเปลี่ยนใจเลื่อมใส บรรดาบุตรของโมไซยาห์สั่งสอนสิ่งที่ขัดแย้งกับพระกิตติคุณ (ดู โมไซยาห์ 27:8–10) แต่หลังจากกลับใจ พวกเขากลายเป็นผู้สอนศาสนาที่ประสบความสำเร็จที่สุดในพระคัมภีร์มอรมอน (ดู แอลมา 17:4) ตัวอย่างของพวกเขาเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านทำอะไร? มีตัวอย่างอะไรอีกบ้างในพระคัมภีร์ที่อาจช่วยท่านได้?
“สิ่งสำคัญที่สุดที่ฉันเรียนรู้จากบรรดาบุตรของโมไซยาห์คือ …”
“สิ่งหนึ่งที่ฉันรู้สึกว่าพระเจ้าทรงต้องการให้ฉันทำตามแบบอย่างบรรดาบุตรของโมไซยาห์คือ …”
“ฉันสามารถ … เพื่อที่จะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ”