พันธสัญญาเดิม 2022
14 สิงหาคม ฉันจะพบปีติในการทำตามพระผู้ช่วยให้รอดได้อย่างไร? สดุดี 1–2; 8; 19–33; 40; 46


“สิงหาคม 14 ฉันจะพบปีติในการทำตามพระผู้ช่วยให้รอดได้อย่างไร? สดุดี 1–2; 8; 19–33; 40; 46,” จงตามเรามา—สำหรับโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนและชั้นเรียนเยาวชนหญิง: หัวข้อหลักคำสอนปี 2022 (2021)

“14 สิงหาคม ฉันจะพบปีติในการทำตามพระผู้ช่วยให้รอดได้อย่างไร?” จงตามเรามา—สำหรับโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนและชั้นเรียนเยาวชนหญิง: หัวข้อหลักคำสอนปี 2022

ภาพ
เยาวชนเล่นอยู่ข้างนอก

14 สิงหาคม

ฉันจะพบปีติในการทำตามพระผู้ช่วยให้รอดได้อย่างไร?

สดุดี 1–2; 8; 19–33; 4046

ภาพ
ไอคอนหารือกัน

หารือกัน

นำโดยสมาชิกคนหนึ่งในฝ่ายประธานโควรัมหรือฝ่ายประธานชั้นเรียน ประมาณ 10–20 นาที

ในช่วงต้นของการประชุม ให้ท่อง สาระสำคัญโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรน หรือ สาระสำคัญเยาวชนหญิง พร้อมกัน จากนั้นนำการสนทนาเกี่ยวกับงานแห่งความรอดและความสูงส่งโดยใช้คำถามด้านล่างหนึ่งข้อหรือมากกว่าหรือคำถามของตนเอง (ดู คู่มือทั่วไป, 10.2, 11.2, ChurchofJesusChrist.org) วางแผนหาวิธีปฏิบัติตามสิ่งที่สนทนา

  • ดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ ฉันจะพบปีติในการทำตามพระผู้ช่วยให้รอดได้อย่างไร?

  • ดูแลคนขัดสน ใครในวอร์ดหรือชุมชนของเราจำเป็นต้องให้เราช่วย? เราจะช่วยคนเหล่านั้นได้อย่างไร?

  • เชื้อเชิญให้ทุกคนรับพระกิตติคุณ เราจะช่วยกันเตรียมตัวรับใช้งานเผยแผ่ศาสนาได้อย่างไร?

  • ทำให้ครอบครัวเป็นหนึ่งเดียวกันชั่วนิรันดร์ เราจะอุทิศตนให้งานของวอร์ดในการทำงานประวัติครอบครัวและพระวิหารได้อย่างไร?

ตอนจบบทเรียนให้ทำดังต่อไปนี้เมื่อเห็นเหมาะสม:

  • เป็นพยานถึงหลักธรรมที่สอน

  • เตือนความจำสมาชิกโควรัมหรือสมาชิกชั้นเรียนเกี่ยวกับแผนและคำเชื้อเชิญที่ทำไว้ระหว่างการประชุม

สอนหลักคำสอน

นำโดยผู้นำที่เป็นผู้ใหญ่หรือเยาวชน 25–35 นาที

เตรียมตัวท่านทางวิญญาณ

อะไรนำปีติมาสู่ท่าน? ผู้คนอาจพูดว่าพวกเขาพบปีติเวลาที่อยู่กับเพื่อนและครอบครัว งานอดิเรก หรือแม้แต่วันที่ไม่มีการทดลอง ประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสันสอนว่า “ปีติที่เรารู้สึกแทบไม่เกี่ยวกับสภาพการณ์ในชีวิตและทุกอย่างที่เราทำกับศูนย์กลางชีวิตเรา เมื่อศูนย์กลางของชีวิตเราอยู่ที่แผนแห่งความรอดของพระผู้เป็นเจ้า … และพระเยซูคริสต์กับพระกิตติคุณของพระองค์ เราจะรู้สึกมีปีติได้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น—หรือไม่เกิดขึ้น—ในชีวิตเรา ปีติมาจากพระองค์และมาเพราะพระองค์” (“ปีติและการอยู่รอดทางวิญญาณ,”เลียโฮนา, พ.ย. 2016, 82) เพลงสดุดีหลายบทกล่าวซ้ำข่าวสารเดียวกันนี้: “พระองค์ทรงสำแดงวิถีแห่งชีวิตแก่ข้าพระองค์: ต่อพระพักตร์พระองค์มีความยินดีเปี่ยมล้น” (สดุดี 16:11)

นึกถึงเรื่องท้าทายบางอย่างที่สมาชิกโควรัมหรือสมาชิกชั้นเรียนของท่านอาจกำลังเผชิญอยู่ ท่านจะช่วยพวกเขาอย่างไรให้เข้าใจว่าปีติแท้มาจากการใช้ศรัทธาในพระผู้ช่วยให้รอด—แม้ในช่วงเวลายากลำบาก? ไตร่ตรองคำถามนี้ขณะที่ท่านเตรียมสอน หาข้อความที่เกี่ยวข้องที่ท่านสามารถแบ่งปันกับชั้นเรียนหรือโควรัมของท่านในหนังสือสดุดีหรือในข่าวสารของประธานเนลสัน “ปีติและการอยู่รอดทางวิญญาณ

ภาพ
ชั้นเรียนเยาวชนชาย

ปีติแท้มาจากการใช้ศรัทธาในพระผู้ช่วยให้รอด แม้ในช่วงเวลายากลำบาก

เรียนรู้ด้วยกัน

ท่านอาจเชิญสมาชิกชั้นเรียนหรือสมาชิกโควรัมของท่านทบทวนข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้สองสามข้อ: สดุดี 1; 8; 19; 2327 เราเรียนรู้อะไรจากเพลงสดุดีเหล่านี้เกี่ยวกับสิ่งที่นำปีติมาสู่เรา? จากนั้นท่านอาจใช้กิจกรรมต่อไปนี้หนึ่งอย่างหรือมากกว่านั้นช่วยคนที่ท่านสอนให้เข้าใจดีขึ้นว่าปีติที่แท้จริงมาจากการติดตามพระเยซูคริสต์

  • เราทุกคนต้องการพบปีติ แต่เราต้องเข้าใจสิ่งที่นำปีติแท้มาให้และสิ่งที่จริงๆ แล้วนำไปสู่ความเศร้าเสียใจ ขอให้เยาวชนแบ่งปันบางสิ่งที่นำปีติมาสู่พวกเขาและเหตุผลที่สิ่งเหล่านั้นนำปีติมาให้ เขียนบนกระดานว่า “มนุษย์เป็นอยู่, เพื่อพวกเขาจะมีปีติ” (2 นีไฟ 2:25) จากนั้นเชิญเยาวชนเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มย่อย ให้ทบทวนข้อพระคัมภีร์หนึ่งข้อหรือมากกว่าใน “แหล่งข้อมูลสนับสนุน” แล้วเขียนสิ่งที่พวกเขาพบว่านำไปสู่ปีติเป็นข้อๆ ท่านอาจฉายวิดีทัศน์ “We Can Find HappinessChurchofJesusChrist.org) ผู้คนพยายามใช้วิธีใดบ้างเพื่อหาปีติ แต่แล้ววิธีเหล่านั้นกลับนำไปสู่ความเศร้าเสียใจ? พระผู้ช่วยให้รอดทรงนำปีติมาสู่เราอย่างไร?

  • เราทุกคนรู้จักผู้คนที่เผชิญเรื่องท้าทายแม้พยายามอย่างสุดความสามารถที่จะดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ ท่านจะช่วยอย่างไรให้คนที่ท่านสอนเข้าใจว่าเราสามารถพบปีติแม้ขณะชีวิตกำลังมีเรื่องท้าทาย? ท่านอาจขอให้พวกเขาทบทวนข่าวสารของประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน “ปีติและการอยู่รอดทางวิญญาณ” หรือข่าวสารของประธานสตีเวน เจ. ลันด์ “ค้นพบปีติในพระคริสต์” (เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 35–37) มีแบบอย่างใดที่หาได้จากผู้คนที่พบปีติในพระคริสต์แม้ในยามที่มีความท้าทาย? เราเรียนรู้อะไรจากประสบการณ์เหล่านี้? เราจะแบ่งปันประสบการณ์อะไรได้บ้าง?

  • พวกเราล้วนสงสัยต่อความรู้สึกวิตกกังวลและซึมเศร้าขณะเราจัดการกับเรื่องท้าทายของชีวิต สำหรับบางคน ต้องต่อสู้กับความรู้สึกนี้มาตลอดชีวิต ชั้นเรียนหรือโควรัมของท่านอาจได้รับประโยชน์จากการสนทนาเกี่ยวกับเรื่องท้าทายเหล่านี้และเกี่ยวกับวิธีที่พระผู้ช่วยให้รอดสามารถช่วยผู้ที่ต่อสู้ดิ้นรนกับความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า เพื่อเริ่มการสนทนานี้ ท่านอาจขอให้เยาวชนทบทวนข่าวสารของเอ็ลเดอร์เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์ “เหมือนภาชนะแตก,” โดยเฉพาะอย่างยิ่งสี่ย่อหน้าสุดท้าย (เลียโฮนา, พ.ย. 2013, 40–42), หรือข่าวสารของซิสเตอร์เรย์นา ไอ. อะบูร์โต “ยามทุกข์หรือสุข โปรดทรงสถิตกับข้า!” (เลียโฮนา, พ.ย. 2019, 57–59) เชิญสมาชิกชั้นเรียนหรือโควรัมมองหาความจริงที่มีความหมายต่อพวกเขาแล้วแบ่งปันสิ่งที่ตนพบ กระตุ้นให้เยาวชนคุยกับบิดามารดาหรือผู้นำที่ไว้ใจหรือไปที่ mentalhealth.ChurchofJesusChrist.org ถ้าพวกเขารู้สึกจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ

กระทำด้วยศรัทธา

กระตุ้นให้สมาชิกโควรัมหรือสมาชิกชั้นเรียนไตร่ตรองและบันทึกสิ่งที่พวกเขาจะทำเพื่อลงมือทำตามการกระตุ้นเตือนที่ได้รับวันนี้ พวกเขาอาจแบ่งปันแนวคิดของตน ถ้าต้องการ เชื้อเชิญให้พวกเขานึกถึงวิธีที่การลงมือทำตามการกระตุ้นเตือนจะเสริมสร้างความสัมพันธ์ของพวกเขากับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์

แหล่งข้อมูลสนับสนุน

การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด

พระผู้ช่วยให้รอดทรงรู้จักคนที่พระองค์ทรงสอน—และทรงรู้ว่าพวกเขาจะกลายเป็นใครได้ เมื่อพวกเขาต่อสู้ดิ้นรน พระองค์ทรงรักพวกเขาเหมือนเดิม ท่านจะแสดงความรักและสนับสนุนคนที่ท่านสอนได้อย่างไร?

พิมพ์