พันธสัญญาใหม่ 2023
12 กุมภาพันธ์ ฉันจะปรับปรุงการนมัสการพระผู้เป็นเจ้าของฉันได้อย่างไร? ยอห์น 2–4


“12 กุมภาพันธ์ ฉันจะปรับปรุงการนมัสการพระผู้เป็นเจ้าของฉันได้อย่างไร? ยอห์น 2–4” จงตามเรามา—สำหรับโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนและชั้นเรียนเยาวชนหญิง: หัวข้อหลักคำสอนปี 2023 (2022)

“12 กุมภาพันธ์ ฉันจะปรับปรุงการนมัสการพระผู้เป็นเจ้าของฉันได้อย่างไร? จงตามเรามา—สำหรับโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนและชั้นเรียนเยาวชนหญิง: หัวข้อหลักคำสอนปี 2023

ที่บ่อน้ำ โดย คริสตอล ซูซานนา

ที่บ่อน้ำ โดย คริสตอล ซูซานนา

12 กุมภาพันธ์

ฉันจะปรับปรุงการนมัสการพระผู้เป็นเจ้าของฉันได้อย่างไร?

ยอห์น 2–4

ไอคอนหารือกัน

หารือกัน

นำโดยสมาชิกคนหนึ่งในฝ่ายประธานโควรัมหรือฝ่ายประธานชั้นเรียน ประมาณ 10–20 นาที

เมื่อเริ่มการประชุมให้ท่อง สาระสำคัญเยาวชนหญิง หรือ สาระสำคัญโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรน พร้อมกัน จากนั้นนำการสนทนาเกี่ยวกับงานแห่งความรอดและความสูงส่งโดยใช้คำถามด้านล่างหนึ่งข้อหรือมากกว่านั้นหรือคำถามของท่านเอง (ดู คู่มือทั่วไป, 10.2, 11.2) วางแผนวิธีปฏิบัติตามที่ท่านสนทนา

  • ดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ เราเข้าใกล้พระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้นอย่างไร? เรากำลังพยายามเป็นเหมือนพระองค์มากขึ้นอย่างไร?

  • ดูแลคนขัดสน ช่วงนี้เรานึกถึงใครบ้าง? เราจะช่วยคนเหล่านี้ได้อย่างไร?

  • เชื้อเชิญให้ทุกคนรับพระกิตติคุณ เราจะตอบคำถามของเพื่อนๆ เกี่ยวกับศาสนจักรในลักษณะที่เสริมสร้างศรัทธาของพวกเขาในพระผู้ช่วยให้รอดได้อย่างไร?

  • ทำให้ครอบครัวเป็นหนึ่งเดียวกันชั่วนิรันดร์ มีวิธีใดบ้างที่เราสามารถเชื่อมสัมพันธ์กับเครือญาติ เช่น ปู่ย่าตายายและลูกพี่ลูกน้องได้ดีขึ้น?

ตอนจบบทเรียนให้ทำดังต่อไปนี้เมื่อเห็นเหมาะสม:

  • เป็นพยานถึงหลักธรรมที่สอน

  • เตือนความจำสมาชิกโควรัมหรือสมาชิกชั้นเรียนเกี่ยวกับแผนและคำเชื้อเชิญที่ทำไว้ระหว่างการประชุม

ไอคอนสอนหลักคำสอน

สอนหลักคำสอน

นำโดยผู้นำที่เป็นผู้ใหญ่หรือเยาวชน ประมาณ 25–35 นาที

เตรียมตัวท่านทางวิญญาณ

หญิงชาวสะมาเรียที่บรรยายไว้ใน ยอห์น 4 น่าจะไปตักน้ำที่บ่อบ่อยๆ แต่คราวนี้ต่างกัน เธอพบชายชาวยิวที่ขอน้ำเธอดื่ม ลำพังเรื่องนี้ก็แปลกแล้วเพราะปกติชาวยิวไม่คบหากับชาวสะมาเรีย แต่มีอีกเรื่องที่แปลกเกี่ยวกับชายคนนี้ เมื่อรับรู้ว่าพระองค์ต้องเป็นศาสดาพยากรณ์แน่ เธอจึงซักถามพระองค์เกี่ยวกับการนมัสการพระผู้เป็นเจ้า การนมัสการพระผู้เป็นเจ้าในสะมาเรียเป็นที่ยอมรับหรือไม่? หรือประชาชนต้องนมัสการในเยรูซาเล็ม เหมือนที่ชาวยิวอ้าง? (ดู ยอห์น 4:19–20) ชายดังกล่าวอธิบายว่าเรานมัสการที่ไหนไม่สำคัญเท่าเรานมัสการอย่างไร: “คนที่นมัส‌การอย่างแท้‍จริงจะนมัส‌การพระ‍บิดาด้วยจิต‍วิญ‌ญาณและความจริง เพราะว่าพระ‍บิดาทรงแสวง‍หาคนเช่นนั้นมานมัส‌การพระ‍องค์” (ยอห์น 4:23) ต่อจากนั้นเขาบอกเธอว่าเขา (พระองค์) เป็นใคร—พระองค์ทรงเป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอดของโลก (ดู ยอห์น 4:25–26)

เยาวชนที่ท่านสอนเข้าใจหรือไม่ว่านมัสการพระบิดาบนสวรรค์หมายความว่าอย่างไร? นอกจากนมัสการที่โบสถ์แล้ว (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 59:9–10) พวกเขามีโอกาสอะไรอีกบ้างที่จะนมัสการพระองค์ รวมถึงโอกาสที่พวกเขาอาจไม่รู้ตัวว่าเป็นการนมัสการ? แหล่งข้อมูลต่อไปนี้จะช่วยท่านเตรียมสอนเกี่ยวกับวิธีปรับปรุงการนมัสการพระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา: สดุดี 95:1–7; มัทธิว 4:8–10; แอลมา 32:4–11; หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:17–19; 93:19–20 และข่าวสารของอธิการดีน เอ็ม. เดวีสเรื่อง “พรของการนมัสการ” (เลียโฮนา, พ.ย. 2016, 93–95)

เรียนรู้ด้วยกัน

เพื่อเริ่มสนทนาเรื่องการปรับปรุงการนมัสการ ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนหรือสมาชิกโควรัมทบทวน ยอห์น 4:19–26 เป็นรายบุคคลและเขียนคำตอบของคำถามทำนองนี้: ทำไมฉันนมัสการพระผู้เป็นเจ้า? การนมัสการพระผู้เป็นเจ้ามีความหมายต่อฉันอย่างไร? อาจเป็นประโยชน์เช่นกันถ้าทบทวนนิยามใต้ “นมัสการ ในคู่มือพระคัมภีร์ด้วยกัน (scriptures.ChurchofJesusChrist.org) หลังจากนักเรียนมีเวลาไตร่ตรองคำถามเหล่านี้แล้ว ให้พวกเขาแบ่งปันความคิดของตน กิจกรรมต่อไปนี้จะช่วยให้พวกเขาได้รับการกระตุ้นเตือนจากพระวิญญาณบริสุทธิ์

  • สมาชิกของชั้นเรียนหรือโควรัมจะได้ข้อคิดอันทรงคุณค่าเกี่ยวกับความหมายของการนมัสการพระผู้เป็นเจ้า ท่านอาจจะขอให้พวกเขาแบ่งปันประสบการณ์เมื่อพวกเขารู้สึกว่าตนกำลังนมัสการพระผู้เป็นเจ้า ข้อพระคัมภีร์ดังต่อไปนี้จะเพิ่มความเข้าใจของพวกเขาและให้แนวคิดเกี่ยวกับวิธีทำให้การนมัสการพระผู้เป็นเจ้ามีความหมายมากขึ้น: สดุดี 95:1–7; มัทธิว 4:8–10; แอลมา 32:4–11; หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:17–19; 93:19–20 พวกเขาอาจจะสนทนาคำกล่าวของเอ็ลเดอร์บรูซ อาร์. แมคคองกีใน “แหล่งข้อมูลสนับสนุน

  • เพื่อช่วยเยาวชนปรับปรุงการนมัสการพระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา ท่านอาจจะเขียนหัวข้อเหล่านี้ไว้บนกระดาน: ใคร ทำไม ที่ไหน และ อย่างไร ขอให้พวกเขาทบทวนข้อพระคัมภีร์ที่ระบุไว้ใน “นมัสการ” ในคู่มือพระคัมภีร์ (scriptures.ChurchofJesusChrist.org) โดยมองหาข้อที่ช่วยให้พวกเขาเข้าใจว่าเราควรนมัสการใคร ทำไม ที่ไหน และอย่างไร เมื่อพบข้อที่เกี่ยวข้องแล้ว ให้พวกเขาสนทนากับชั้นเรียนหรือโควรัมและเขียนข้ออ้างอิงไว้ใต้หัวข้อที่เหมาะสม กระตุ้นให้พวกเขาแบ่งปันประสบการณ์ตอนที่รู้สึกใกล้ชิดพระผู้เป็นเจ้ามากขึ้นผ่านการนมัสการ

  • ข่าวสารของอธิการดีน เอ็ม. เดวีสเรื่อง “พรของการนมัสการ” มีตัวอย่างของคนที่นมัสการพระผู้เป็นเจ้า ท่านอาจจะอ่านหัวข้อ “การนมัสการคืออะไร” ด้วยกัน แล้วให้แต่ละคนทบทวนหนึ่งตัวอย่างของคนที่นมัสการ อยู่ในสามหัวข้อถัดไปของข่าวสาร แต่ละตัวอย่างสอนอะไรเราเกี่ยวกับการนมัสการพระผู้เป็นเจ้า? หัวข้อสุดท้ายสอนอะไรเกี่ยวกับพรที่มาจากการนมัสการพระผู้เป็นเจ้าด้วยความภักดี? เราได้รับการดลใจให้ทำอะไรเพื่อปรับปรุงการนมัสการพระผู้เป็นเจ้าของเรา?

เยาวชนชายอ่านหนังสือ

การนมัสการรวมถึงการศึกษาพระคัมภีร์และการปฏิบัติอื่นๆ ที่แสดงความภักดีและความรักต่อพระผู้เป็นเจ้า

กระทำด้วยศรัทธา

กระตุ้นสมาชิกชั้นเรียนหรือสมาชิกโควรัมให้ไตร่ตรองและบันทึกสิ่งที่พวกเขาจะทำเพื่อกระทำตามการกระตุ้นเตือนที่ได้รับวันนี้ พวกเขาอาจแบ่งปันแนวคิดของตนถ้าต้องการ เชื้อเชิญให้พวกเขาตรึกตรองว่าการกระทำตามการกระตุ้นเตือนเหล่านั้นจะกระชับความสัมพันธ์ของพวกเขากับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์อย่างไร

แหล่งข้อมูลสนับสนุน

  • องค์ประกอบของการนมัสการ,” คำสอนของประธานศาสนาจักร: เดวิด โอ. แมคเคย์ (2003), 31–39

  • โดนัลด์ แอล. ฮอลล์สตรอม, “การเปลี่ยนใจเลื่อมใสของบุตรธิดาพระผู้เป็นเจ้า” (การถ่ายทอดของเซมินารีและสถาบันศาสนา, 13 มิ.ย. 2017), broadcasts.ChurchofJesusChrist.org

  • เอ็ลเดอร์บรูซ อาร์. แมคคองกีสอนว่า: “การนมัสการที่แท้จริงและสมบูรณ์แบบประกอบด้วยการเจริญรอยตามพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า ประกอบด้วยการรักษาพระบัญญัติและเชื่อฟังพระประสงค์ของพระบิดาถึงระดับที่เราก้าวหน้าจากพระคุณถึงพระคุณจนกระทั่งเราได้รับรัศมีภาพในพระคริสต์ดังที่พระองค์ทรงได้รับในพระบิดาของพระองค์ การนมัสการดังกล่าวเป็นยิ่งกว่าคำสวดอ้อนวอน โอวาท และบทเพลง เป็นการดำเนินชีวิต การลงมือทำ และการเชื่อฟัง เป็นการเลียนแบบพระชนม์ชีพของพระผู้ทรงเป็นแบบอย่างที่ยิ่งใหญ่” (“How to Worship,” Ensign, Dec. 1971, 130)

การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด

หลักคำสอนที่พบในพระคัมภีร์และในถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์ยุคสุดท้ายมีพลังเปลี่ยนแปลงใจและเพิ่มพูนศรัทธา เมื่อท่านและคนที่ท่านสอน “ลองอานุภาพแห่งพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า” ท่านจะพบว่าพระวจนะนั้น “มีแนวโน้มอย่างยิ่งที่จะนำผู้คนให้ทำสิ่งซึ่งเที่ยงธรรม” (แอลมา 31:5)