พันธสัญญาใหม่ 2023
12 มีนาคม พระผู้ช่วยให้รอดจะทรงช่วยฉันเอาชนะความกลัวได้อย่างไร? มัทธิว 9–10; มาระโก 5; ลูกา 9


“12 มีนาคม พระผู้ช่วยให้รอดจะทรงช่วยฉันเอาชนะความกลัวได้อย่างไร? มัทธิว 9–10; มาระโก 5; ลูกา 9” จงตามเรามา—สำหรับโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนและชั้นเรียนเยาวชนหญิง: หัวข้อหลักคำสอนปี 2023 (2022)

“12 มีนาคม พระผู้ช่วยให้รอดจะทรงช่วยฉันเอาชนะความกลัวได้อย่างไร? จงตามเรามา—สำหรับโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนและชั้นเรียนเยาวชนหญิง: หัวข้อหลักคำสอนปี 2023

พระคริสต์ทรงทำให้บุตรสาวของไยรัสคืนชีพ

เด็กหญิงเอ๋ย จงลุกขึ้นเถิด โดย ไซมอน ดิวอีย์

12 มีนาคม

พระผู้ช่วยให้รอดจะทรงช่วยฉันเอาชนะความกลัวได้อย่างไร?

มัทธิว 9-10; มาระโก 5; ลูกา 9

ไอคอนหารือกัน

หารือกัน

นำโดยสมาชิกคนหนึ่งในฝ่ายประธานโควรัมหรือฝ่ายประธานชั้นเรียน ประมาณ 10–20 นาที

เมื่อเริ่มการประชุมให้ท่อง หรือ สาระสำคัญโควรัมฐานะปุโรหิตแห่งอาโรน พร้อมกัน จากนั้นนำการสนทนาเกี่ยวกับงานแห่งความรอดและความสูงส่งโดยใช้คำถามด้านล่างหนึ่งข้อหรือมากกว่านั้นหรือคำถามของท่านเอง (ดู คู่มือทั่วไป, 10.2, 11.2) วางแผนวิธีปฏิบัติตามที่ท่านสนทนา

  • ดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ เราเคยเห็นพระหัตถ์ของพระเจ้าในชีวิตเราอย่างไร?

  • ดูแลคนขัดสน เราจะสนับสนุนกันในสิ่งที่เราประสบอยู่ได้อย่างไร?

  • เชื้อเชิญให้ทุกคนรับพระกิตติคุณ เราจะใช้เทคโนโลยีให้เป็นเครื่องมือแบ่งปันพระกิตติคุณได้ดีขึ้นอย่างไร?

  • ทำให้ครอบครัวเป็นหนึ่งเดียวกันชั่วนิรันดร์ เรากำลังทำอะไรเพื่อช่วยให้ครอบครัวเรามาหาพระคริสต์?

ตอนจบบทเรียนให้ทำดังต่อไปนี้เมื่อเห็นเหมาะสม:

  • เป็นพยานถึงหลักธรรมที่สอน

  • เตือนความจำสมาชิกโควรัมหรือสมาชิกชั้นเรียนเกี่ยวกับแผนและคำเชื้อเชิญที่ทำไว้ระหว่างการประชุม

ไอคอนสอนหลักคำสอน

สอนหลักคำสอน

นำโดยผู้นำที่เป็นผู้ใหญ่หรือเยาวชน ประมาณ 25–35 นาที

เตรียมตัวท่านทางวิญญาณ

บทที่ 5 ในหนังสือมาระโกบันทึกว่าคนสามคนหามาพระเยซู ทั้งสามคนมีเหตุผลให้กลัว ชายคนที่มี “ผีโสโครกสิง” ประสบชีวิตโดดเดี่ยว อาศัยอยู่ “ตามอุโมงค์ฝัง‍ศพและบนภูเขา [และเอาหินเชือดเนื้อของตัว]” (มาระโก 5:2, 5) ไยรัสนายธรรมศาลากลัวสูญเสียลูกสาวที่ “ป่วยหนัก” (มาระโก 5:23) และผู้‍หญิงที่เป็น “โรคโลหิตตกมาสิบสองปี” ไม่หายป่วยหลังจาก “สูญสิ้นทรัพย์ที่เธอมี” ให้กับ “หมอหลายคน” (มาระโก 5:25–26) แต่ละคนที่ท่านสอนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและเผชิญความกลัวของตน แต่เฉกเช่นพระผู้ช่วยให้รอดทรงสามารถขับผีโสโครก ทำให้คนตายฟื้น และรักษาโรคน่ากลัว พระองค์ทรงสามารถช่วยเราเมื่อเรากลัวได้เช่นกัน พระดำรัสที่ทรงแนะนำไยรัสมีพลังอย่างยิ่งในชีวิตเราปัจจุบัน “อย่าวิตกเลย จงเชื่อเท่านั้น” (มาระโก 5:36)

เพื่อเตรียมสอน ท่านอาจจะศึกษาข่าวสารของเอ็ลเดอร์โรนัลด์ เอ. ราสแบนด์เรื่อง “อย่ากังวลใจเลย” (เลียโฮนา, พ.ย. 2018, 18–21) และข่าวสารของซิสเตอร์ลิซา แอล. ฮาร์คเนสส์เรื่อง “จงสงบเงียบ” (เลียโฮนา, พ.ย. 2020, 80–82)

เรียนรู้ด้วยกัน

ท่านอาจจะเชิญสมาชิกชั้นเรียนหรือสมาชิกโควรัมสรุปเรื่องราวใน มาระโก 5 (ดู ข้อ 22–24, 35–43) เมื่อพระเยซูทรงเชิญชวนไยรัสว่า “อย่าวิตกเลย” หรือท่านอาจจะทบทวนเรื่องนี้เป็นกลุ่ม และทำแบบเดียวกันกับอีกสองเรื่องในบทนี้—ชายที่มีผีสีโครกสิงอยู่ และหญิงที่เป็นโรคโลหิตตก สถานการณ์น่ากลัวเหล่านี้คล้ายกับสถานการณ์ที่เราอาจจะพบเจอในชีวิตเราอย่างไร? เราสามารถเรียนรู้อะไรจากเรื่องเหล่านี้เกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดและวิธีแสวงหาความช่วยเหลือจากพระองค์? กิจกรรมต่อไปนี้สามารถช่วยเยาวชนเพิ่มพูนศรัทธาในพระเยซูคริสต์และฝึกทำตามคำแนะนำของพระองค์: “อย่าวิตกเลย จงเชื่อเท่านั้น” (มาระโก 5:36)

  • พระดำรัสเชิญของพระเจ้าไม่ให้กลัว ซึ่งกล่าวย้ำทั่วพระคัมภีร์ จะเป็นพรแก่เยาวชนเมื่อพวกเขากลัว เชื้อเชิญให้พวกเขาอ่านข้อพระคัมภีร์ใน “แหล่งข้อมูลสนับสนุน” และทำโปสเตอร์ติดไว้ที่บ้าน—หรือโปสเตอร์ดิจิทัลไว้แบ่งปันทางออนไลน์—โดยยึดตามข้อพระคัมภีร์ที่พวกเขาอ่าน ขณะพวกเขาแบ่งปันโปสเตอร์ที่ทำไว้ให้กัน ให้เชิญแบ่งปันด้วยว่าพวกเขาเรียนรู้อะไรที่สามารถช่วยพวกเขาได้เมื่อรู้สึกกลัว พระผู้ช่วยให้รอดทรงช่วยเราอย่างไรในช่วงเวลาที่เรากลัว?

  • ท่านอาจจะให้ดูภาพพระผู้ช่วยให้รอดทรงห้ามพายุ เช่น ภาพในเวอร์ชั่นดิจิทัลจากข่าวสารของซิสเตอร์ลิซา แอล. ฮาร์คเนสส์เรื่อง “จงสงบเงียบ” (ดู หนังสือภาพพระกิตติคุณ [2009], ภาพที่ 40 ด้วย) จากนั้นท่านหรือคนที่ท่านมอบหมายจะเล่าเรื่องพระเยซูทรงห้ามพายุจาก มาระโก 4:35–41 หรือจากข่าวสารของซิสเตอร์ฮาร์คเนสส์ บางครั้งเราเหมือนคนในเรืออย่างไร? เราเรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้เกี่ยวกับวิธีที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสามารถช่วยเราได้เมื่อเรากลัว? เชิญเยาวชนทบทวนข่าวสารของซิสเตอร์ฮาร์คเนสส์ โดยมองหาวลีหรือประโยคที่ช่วยให้พวกเขามีศรัทธามากขึ้นในพระเยซูคริสต์ พวกเขาอาจจะเขียนไว้บนกระดาน ศรัทธาของเราในพระผู้ช่วยให้รอดจะช่วยเราได้อย่างไรในเวลาที่พระองค์ไม่ทรงประสงค์จะห้ามพายุในชีวิตเรา?

  • เพลงสวดหลายเพลงสรรเสริญพระผู้ช่วยให้รอดสำหรับการปลอบโยนและพลังของพระองค์ในเวลาของความท้าทายและความไม่แน่นอน เช่น “ขอพึ่งพระทุกโมงยาม” หรือ “โปรดทรงสถิตกับข้า!” (เพลงสวด, บทเพลงที่ 44, 77) บางทีท่านอาจจะอ่านหรือร้องเพลงเหล่านี้ด้วยกันเพื่อมองหาวิธีที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงสามารถช่วยเราได้

  • ความกลัวและความวิตกกังวลเป็นเรื่องปกติขณะที่เรารับมือกับความท้าทายของชีวิต ความรู้สึกเหล่านี้อาจทำให้บางคนประกอบการงานตามปกติไม่ได้เลย ชั้นเรียนหรือโควรัมของท่านอาจจะได้รับประโยชน์จากการสนทนาว่าพระผู้ช่วยให้รอดจะทรงช่วยคนที่มีปัญหากับความวิตกกังวลระดับต่างๆ ได้อย่างไร สมาชิกชั้นเรียนหรือสมาชิกโควรัมอาจจะทบทวนข่าวสารของเอ็ลเดอร์โรนัลด์ เอ. ราสแบนด์ด้วยกันเรื่อง “อย่ากังวลใจเลย” หรือข่าวสารของเอ็ลเดอร์เอริค ดับเบิลยู. โคพิชกาเรื่อง “สนทนาปัญหาสุขภาพจิต” (เลียโฮนา, พ.ย. 2021, 36–38) โดยมองหาความจริงที่มีความหมายต่อพวกเขาและแบ่งปันสิ่งที่พบ กระตุ้นให้เยาวชนพูดคุยกับบิดามารดาหรือผู้นำที่ไว้ใจได้หรือเข้าไปที่ MentalHealth.ChurchofJesusChrist.org ถ้าพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ

เยาวชนชายกำลังศึกษา

พระผู้ช่วยให้รอดทรงสัญญาจะช่วยเหลือเราเมื่อเราหันไปพึ่งพระองค์ในช่วงเวลาของความกลัวและความไม่แน่นอน

กระทำด้วยศรัทธา

กระตุ้นสมาชิกโควรัมหรือสมาชิกชั้นเรียนให้ไตร่ตรองและบันทึกสิ่งที่พวกเขาจะทำเพื่อกระทำตามการกระตุ้นเตือนที่ได้รับวันนี้ พวกเขาอาจแบ่งปันแนวคิดของตนถ้าต้องการ เชื้อเชิญให้พวกเขาตรึกตรองว่าการกระทำตามการกระตุ้นเตือนจะกระชับความสัมพันธ์ของพวกเขากับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์อย่างไร

แหล่งข้อมูลสนับสนุน

การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด

ขณะที่ท่านสอน แทนที่จะบอกข้อมูลอยู่ฝ่ายเดียว จงช่วยให้เยาวชนค้นพบความจริงพระกิตติคุณด้วยตนเองในพระคัมภีร์และถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์