จงตามเรามา
30 มิถุนายน–6 กรกฎาคม: “ไม่มีอาวุธใดที่ประกอบขึ้นรุกรานเจ้าจะจําเริญได้”: หลักคําสอนและพันธสัญญา 71–75


“30 มิถุนายน–6 กรกฎาคม: ‘ไม่มีอาวุธใดที่ประกอบขึ้นรุกรานเจ้าจะจำเริญได้’: หลักคำสอนและพันธสัญญา 71–75,” จงตามเรามา—สำหรับบ้านและศาสนจักร: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2025 (2025)

“หลักคําสอนและพันธสัญญา 71–75” จงตามเรามา—สําหรับบ้านและศาสนจักร: 2025

ผู้สอนศาสนาเดินผ่านทุ่งนา

ฉันจะระลึกถึงพันธสัญญา โดย เอนริเก มานูเอล การ์เซีย

30 มิถุนายน–6 กรกฎาคม: “ไม่มีอาวุธใดที่ประกอบขึ้นรุกรานเจ้าจะจำเริญได้”

หลักคำสอนและพันธสัญญา 71–75

ตั้งแต่เด็กโจเซฟเผชิญคนวิพากษ์วิจารณ์—แม้กระทั่งศัตรู—ขณะที่ท่านพยายามทำงานของพระผู้เป็นเจ้า แต่สิ่งที่หนักหนาสาหัสกับท่านเป็นพิเศษคือตอนปลายปี 1831 เมื่อเอสรา บูธเริ่มตำหนิศาสนจักรต่อหน้าสาธารณชน เนื่องจากกรณีนี้คนที่วิพากษ์วิจารณ์คืออดีตผู้เชื่อ เอสราเคยเห็นโจเซฟใช้อำนาจของพระผู้เป็นเจ้ารักษาหญิงคนหนึ่ง โจเซฟเคยชวนเขาไปสำรวจแผ่นดินไซอันครั้งแรกในมิสซูรี แต่เขาสูญเสียศรัทธานับแต่นั้นและตีพิมพ์จดหมายออกมาเป็นชุดๆ ในหนังสือพิมพ์โอไฮโอเพื่อพยายามทำให้ศาสดาพยากรณ์เสื่อมเสียชื่อเสียง และดูเหมือนความพยายามของเขาได้ผล เพราะ “ความรู้สึกไม่เป็นมิตร … เกิดขึ้นกับศาสนจักร” ในละแวกนั้น (หัวบทของ หลักคำสอนและพันธสัญญาภาค 71) ผู้เชื่อทั้งหลายควรทำเช่นไรในกรณีแบบนี้? แม้ไม่มีคำตอบที่ถูกต้องสำหรับทุกสถานการณ์ แต่ดูเหมือนว่าบ่อยครั้ง—รวมทั้งกรณีนี้ในปี 1831—ที่คำตอบส่วนหนึ่งของพระเจ้าคือประกาศความจริงและแก้ไขความเท็จโดย “ประกาศพระกิตติคุณ” (ข้อ 1) ใช่ งานของพระเจ้าจะมีคนวิพากษ์วิจารณ์เสมอ แต่สุดท้ายแล้ว “ไม่มีอาวุธใดที่ประกอบขึ้นรุกราน … จะจำเริญได้” (ข้อ 9)

ดู “Ezra Booth and Isaac Morley,” ใน Revelations in Context, 134

ไอคอนการศึกษา

แนวคิดสำหรับการเรียนรู้ที่บ้านและที่โบสถ์

หลักคำสอนและพันธสัญญา 71

ไอคอนเซมินารี
พระวิญญาณจะทรงนําทางฉันเมื่อฉันประกาศพระกิตติคุณของพระผู้ช่วยให้รอด

อาจเป็นเรื่องน่าหนักใจเมื่อผู้คนวิพากษ์วิจารณ์หรือเยาะเย้ยศรัทธาของท่านในพระผู้ช่วยให้รอด พระกิตติคุณของพระองค์ หรือศาสนจักรของพระองค์ เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ท่านจะทำอย่างไร? เรื่องคล้ายกันนี้เกิดขึ้นในโอไฮโอในปี 1831 (ดูหัวบทของ หลักคําสอนและพันธสัญญาภาค 71) พระเจ้าตรัสสั่งให้โจเซฟ สมิธและซิดนีย์ ริกดันทําสิ่งใดเกี่ยวกับเรื่องนี้ใน หลักคําสอนและพันธสัญญา 71? ท่านอาจเขียนคําแนะนําที่พระเจ้าประทานแก่พวกเขาและพรที่พระองค์ทรงสัญญาไว้

นอกจากศึกษา ภาค 71 ท่านอาจสํารวจวิธีที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงโต้ตอบคําวิพากษ์วิจารณ์ระหว่างการปฏิบัติศาสนกิจขณะทรงเป็นมรรตัย ต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง: มัทธิว 22:15–22; 26:59–64; ยอห์น 10:37–38 ท่านเรียนรู้อะไรจากพระองค์? ท่านได้ข้อคิดเพิ่มเติมอะไรบ้างจาก มัทธิว 18:15; เอเฟซัส 4:31–32; 2 ทิโมธี 3:12; ยากอบ 1:19?

พระดําริของพระองค์จะประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ที่ท่านเผชิญในปัจจุบันได้อย่างไร? ท่านอาจคิดหาวิธีแก้ไขความเท็จอย่างสันติด้วยคําพูดของท่านเอง ตัวอย่างเช่น ท่านอาจเริ่มโดยแสดงความเคารพต่อทัศนะของอีกฝ่าย จากนั้นท่านอาจแบ่งปันสิ่งที่ท่านเชื่อเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และคําสอนของพระองค์ในวิธีที่อ่อนน้อมถ่อมตนและอ่อนโยน เพื่อเตรียมรับโอกาสเหล่านี้ ท่านอาจฝึกวิธีนี้กับเพื่อนหรือสมาชิกครอบครัว

ดูดัลลิน เอช. โอ๊คส์, “รักผู้อื่นและอยู่ร่วมกับผู้ที่แตกต่าง,” เลียโฮนา, พ.ย. 2014, 25–28; ยอร์ก เคลบิงกอต, “การเป็นสานุศิษย์ผู้องอาจในยุคสุดท้าย,” เลียโฮนา, พ.ค. 2022, 107–110 ด้วย

หลักคำสอนและพันธสัญญา 72

พระเจ้าทรงอวยพรฉันผ่านการปฏิบัติศาสนกิจของผู้นําอย่างอธิการ

เมื่อนูเวล เค. วิทนีย์ได้รับเรียกให้รับใช้เป็นอธิการ หน้าที่ของเขาต่างเล็กน้อยจากหน้าที่ของอธิการสมัยนี้ ตัวอย่างเช่น อธิการวิทนีย์ควบคุมดูแลการอุทิศถวายทรัพย์สินและการอนุญาตให้ตั้งรกรากในแผ่นดินไซอันในมิสซูรี แต่เมื่อท่านอ่านเกี่ยวกับการเรียกของเขาใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 72 ท่านอาจสังเกตเห็นความเชื่อมโยงบางอย่างกับสิ่งที่อธิการทำในปัจจุบัน—ถ้าไม่ระบุชัดแต่อย่างน้อยก็ในเจตนารมณ์ของหน้าที่

ตัวอย่างเช่น ท่าน “รายงานเรื่องราว” ต่ออธิการของท่านในด้านใด? (ข้อ 5) ในสมัยของเรา “คลังของพระเจ้า” ประกอบด้วยการบริจาค การรับใช้ และพรสวรรค์ของสมาชิกวอร์ด (ดู ข้อ 10, 12) ท่านจะมีส่วนช่วยคลังของพระองค์ได้อย่างไร?

พระเจ้าทรงอวยพรท่านและครอบครัวผ่านการรับใช้ของอธิการอย่างไร?

ดูเควนทิน แอล. คุก, “อธิการ—ผู้เลี้ยงดูฝูงแกะของพระเจ้า,” เลียโฮนา, พ.ค. 2021, 56–60 ด้วย

หลักคำสอนและพันธสัญญา 73

ฉันมีโอกาสมากมายที่จะแบ่งปันพระกิตติคุณของพระผู้ช่วยให้รอด

เมื่อโจเซฟ สมิธและซิดนีย์ ริกดันกลับจากงานมอบหมายผู้สอนศาสนา (ดู หลักคําสอนและพันธสัญญา 71) พระเจ้าตรัสสั่งให้พวกท่านแปลพระคัมภีร์ไบเบิลต่อไป (ดูคู่มือพระคัมภีร์, “งานแปลของโจเซฟ สมิธ (ปจส.),” คลังค้นคว้าพระกิตติคุณ) แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพระองค์ทรงต้องการให้พวกท่านหยุดแบ่งปันพระกิตติคุณ ท้ายที่สุดแล้ว นั่นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตสานุศิษย์

ขณะที่ท่านอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 73 พึงพิจารณาว่าท่านจะทำให้การสั่งสอนพระกิตติคุณเป็นส่วนที่ “ปฏิบัติได้” (ข้อ 4)—หรือเกิดขึ้นจริง—อย่างต่อเนื่องในชีวิตท่านท่ามกลางหน้าที่รับผิดชอบอื่นของท่านได้อย่างไร

เพื่อนๆ พูดคุยกันถึงพระกิตติคุณ

การแบ่งปันพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์สามารถเป็นเรื่องปกติธรรมดา

หลักคำสอนและพันธสัญญา 75:1–16

“ทํางานด้วยสุดกําลังของเจ้า … โดยประกาศความจริง”

การเปิดเผยใน ภาค 75 กล่าวถึงผู้ที่ “ให้ชื่อ [พวกเขา] เพื่อออกไปประกาศพระกิตติคุณ [ของพระผู้ช่วยให้รอด]” (ข้อ 2) วิธีหนึ่งที่จะศึกษาการเปิดเผยนี้คือเขียนสองรายการ: (1) วิธีแบ่งปันพระกิตติคุณอย่างมีประสิทธิภาพ และ (2) วิธีที่พระเจ้าทรงอวยพรและสนับสนุนเราเมื่อเราแบ่งปันพระกิตติคุณ

ท่านคิดว่า “ชักช้า” หรือ “เกียจคร้าน” ในการแบ่งปันพระกิตติคุณหมายความว่าอย่างไร? การ “ทํางานด้วยสุดกําลังของเจ้า” เป็นอย่างไร? (ข้อ 3)

ดู “ข้าจะไปที่พระองค์บัญชา,” เพลงสวด, บทเพลงที่ 136 ด้วย

ดูแนวคิดเพิ่มเติมได้จากนิตยสาร เลียโฮนา และ เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน ฉบับเดือนนี้

ไอคอนหมวดเด็ก 02

แนวคิดสำหรับการสอนเด็ก

หลักคำสอนและพันธสัญญา 71

ฉันสามารถปกป้องความจริงโดยแบ่งปันประจักษ์พยานของฉัน

  • ท่านสามารถใช้หัวบทของ หลักคำสอนและพันธสัญญาภาค 71 หรือ “บทที่ 25: โจเซฟ สมิธและซิดนีย์ ริกดันไปเป็นผู้สอนศาสนา” (ใน เรื่องราวในหลักคำสอนและพันธสัญญา, 96 หรือวีดิทัศน์เกี่ยวกับเรื่องนี้ในคลังค้นคว้าพระกิตติคุณ) เพื่อสอนเด็กเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ทําให้เกิด ภาค 71 จากนั้นช่วยให้เด็กค้นพบใน ข้อ 1 ว่าพระเจ้าทรงต้องการให้โจเซฟและซิดนีย์ทําอะไรเกี่ยวกับ “ความรู้สึกไม่เป็นมิตร” ต่อศาสนจักร พระองค์ตรัสว่าจะทรงช่วยพวกท่านอย่างไร? เราจะเป็นเหมือนโจเซฟกับซิดนีย์ได้อย่างไร?

    0:45

    Chapter 25: Joseph Smith and Sidney Rigdon Go on a Mission: December 1831–January 1832

  • ท่านอาจร้องเพลงที่สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กแน่วแน่ต่อพระผู้ช่วยให้รอด เช่น “ยืนหยัดความถูกต้อง” (หนังสือเพลงสําหรับเด็ก, 81) ช่วยเด็กฝึกแบ่งปันสิ่งที่พวกเขารู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์

หลักคำสอนและพันธสัญญา 72:2

พระเจ้าทรงเรียกอธิการมาช่วยฉัน

  • การอ่าน หลักคําสอนและพันธสัญญา 72:2 ด้วยกันจะสร้างโอกาสให้พูดคุยกันว่าเหตุใดพระเจ้าจึงประทานอธิการแก่เรา (ดู “บทที่ 17: อธิการคนแรกของศาสนจักร” ใน เรื่องราวในหลักคําสอนและพันธสัญญา, 64–66 หรือวีดิทัศน์เกี่ยวกับเรื่องนี้ในคลังค้นคว้าพระกิตติคุณ) ท่านและเด็กอาจหารูปภาพหรือสิ่งของที่แสดงถึงความรับผิดชอบของอธิการ ภาพและ หน้ากิจกรรม ที่อยู่ท้ายโครงร่างนี้มีแนวคิดบางอย่าง จากนั้นท่านอาจพูดคุยร่วมกันเกี่ยวกับอธิการที่ท่านรู้จักและวิธีที่พระเจ้าทรงอวยพรครอบครัวท่านผ่านการรับใช้ของเขา

    1:45

    Chapter 17: The First Bishops of the Church: February and December 1831

สอนเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์เสมอ “ไม่ว่าท่านกำลังสอนเรื่องใด จงจำไว้ว่าแท้จริงแล้วท่านกำลังสอนเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์และวิธีที่จะเป็นเหมือนพระองค์” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 6) ตัวอย่างเช่น เมื่อท่านสอนเด็กเกี่ยวกับอธิการ ให้เน้นว่าพวกเขาเป็นตัวแทนของพระเยซูคริสต์ พระองค์ทรงเรียกให้เขาทํางานของพระองค์ (ดู 1 เปโตร 2:25)

อาหารและเสบียงในคลังของพระเจ้า

พระเจ้าทรงขอให้อธิการดูแลคนขัดสน

หลักคำสอนและพันธสัญญา 75:3

ฉันจะพยายามสุดความสามารถเพื่อพระเจ้า

  • เพื่อพูดถึงความแตกต่างระหว่าง “เกียจคร้าน” กับ “ทํางานด้วยสุดกําลังของเรา” ท่านอาจเลือกการรับใช้หรืองานบ้านบางอย่างและเชื้อเชิญให้เด็กสาธิตการทําอย่างเกียจคร้านและจากนั้นทําโดยสุดกําลังของพวกเขา ขณะที่ท่านอ่าน “ทั้งไม่เกียจคร้าน” ใน หลักคําสอนและพันธสัญญา 75:3 เด็กอาจแสดงวิธีการทํางานบ้านอย่างเกียจคร้าน เมื่อท่านอ่าน “แต่ทํางานด้วยสุดกําลังของ [ท่าน]” พวกเขาอาจแสดงวิธีการทํางานหนัก เหตุใดจึงสำคัญที่เราจะทำสุดความสามารถเมื่อรับใช้พระเจ้า?

  • ในข่าวสารเรื่อง “หลักธรรมสองข้อสําหรับเศรษฐกิจ” (เลียโฮนา, พ.ย. 2009, 68–72) ประธานดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟเล่าสองเรื่องเกี่ยวกับการทํางาน ท่านอาจแบ่งปันกับเด็กและพูดคุยกันถึงความรู้สึกของเราเมื่อรู้ว่าเราได้ทํางานหนักและทําสุดความสามารถแล้ว

ดูแนวคิดเพิ่มเติมจากนิตยสาร เพื่อนเด็ก ฉบับเดือนนี้

อธิการให้คําแนะนําเยาวชนชาย

การรับรู้พระเมตตาอันอ่อนโยนในชีวิตท่าน โดย คีธ ลาร์สัน

หน้ากิจกรรมสําหรับเด็ก