จงตามเรามา
25–31 พฤษภาคม โมไซยาห์ 29–แอลมา 4: “พวกเขายังแน่วแน่และไม่หวั่นไหว”


“25–31 พฤษภาคม โมไซยาห์ 29–แอลมา 4: ‘พวกเขายังแน่วแน่และไม่หวั่นไหว’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พระคัมภีร์มอรมอน 2020 (2020)

“25–31 พฤษภาคม โมไซยาห์ 29–แอลมา 4” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2020

ภาพ
แอลมาผู้บุตรสั่งสอน

แอลมาผู้บุตรสั่งสอน โดย แกรีย์ แอล. แคพพ์

25–31 พฤษภาคม

โมไซยาห์ 29–แอลมา 4

“พวกเขายังแน่วแน่และไม่หวั่นไหว”

การอ่านพระคัมภีร์อัญเชิญการเปิดเผย จงเปิดรับข่าวสารที่พระเจ้าทรงประสงค์ประทานแก่ท่าน

บันทึกความประทับใจของท่าน

บางคนอาจมองว่าข้อเสนอของโมไซยาห์ให้เลือกผู้พิพากษาแทนกษัตริย์เป็นเพียงการปฏิรูปการเมืองที่ชาญฉลาด แต่สำหรับชาวนีไฟ โดยเฉพาะคนที่เคยอยู่ใต้กษัตริย์โนอาห์ที่ชั่วร้าย การเปลี่ยนแปลงนี้มีความสำคัญทางวิญญาณด้วย พวกเขาเคยเห็นกษัตริย์ที่ไม่ชอบธรรมทำให้เกิด “ความชั่วช้าสามานย์” และ “ความพินาศใหญ่หลวง” ในบรรดาผู้คนของเขา (โมไซยาห์ 29:17) และพวกเขา “กระตือรือร้นอย่างยิ่ง” ที่จะเป็นอิสระจากอิทธิพลเช่นนั้น การเปลี่ยนแปลงนี้จะให้พวกเขารับผิดชอบความชอบธรรมของตนและ “รับผิดชอบต่อบาปของตน” (โมไซยาห์ 29:38; ดู คพ. 101:78 ด้วย)

แน่นอนว่าจุดจบของการปกครองระบอบกษัตริย์ไม่ได้หมายถึงจุดจบของปัญหาในสังคมชาวนีไฟ คนเจ้าเล่ห์เช่นนีฮอร์กับแอมลิไซส่งเสริมความคิดผิดๆ ผู้ไม่เชื่อข่มเหงวิสุทธิชน และสมาชิกจำนวนมากของศาสนจักรกลายเป็นคนจองหองและตกไป ทว่า “ผู้ติดตามซึ่งถ่อมตนของพระผู้เป็นเจ้า” ยังคง “แน่วแน่และไม่หวั่นไหว” แม้รอบตัวจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม (แอลมา 1:25) และเพราะโมไซยาห์ทำการเปลี่ยนแปลงนี้ พวกเขาจึงสามารถ “เสนอเสียง” เพื่อให้เกิดผลดีต่อสังคม (แอลมา 2:6)

ภาพ
ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

โมไซยาห์ 29:11–27; แอลมา 2:1–7

ฉันสามารถเป็นอิทธิพลดีในชุมชน

ผู้พิพากษาปกครองได้เพียงห้าปีก็เกิดวิกฤติซึ่งทดสอบคำประกาศของโมไซยาห์ที่ว่าโดยปกติเสียงของผู้คนจะเลือกสิ่งถูกต้อง (ดู โมไซยาห์ 29:26) ปัญหาเกี่ยวข้องกับเสรีภาพทางศาสนา คือ ชายคนหนึ่งชื่อแอมลิไซหมายมั่น “ทำให้ [ผู้คน] หมดสิทธิ์และอภิสิทธิ์ในศาสนจักร” (แอลมา 2:4) ท่านเคยสังเกตเห็นสิทธิทางศาสนาถูกคุกคามในชาติหรือชุมชนของท่านหรือไม่ ท่านเรียนรู้อะไรจากวิธีที่ชาวนีไฟตอบสนองการคุกคามครั้งนี้ (ดู แอลมา 2:1–7)

ชุมชนของท่านอาจจะประสบปัญหาสำคัญๆ มากมาย ท่านจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเสียงของท่านรวมอยู่ใน “เสียงของผู้คน” เช่นเดียวกับชาวนีไฟ ท่านอาจจะอยู่ในที่ซึ่งเสียงของผู้คนมีอิทธิพลจำกัดในเรื่องการปกครอง หากเป็นเช่นนั้น มีวิธีใดหรือไม่ที่ท่านจะเป็นอิทธิพลดีในชุมชนของท่าน

แอลมา 1

ฉันสามารถยอมรับและปฏิเสธหลักคำสอนผิด

ถึงแม้นีฮอร์สารภาพในท้ายที่สุดว่าสิ่งที่เขาสอนไปนั้นผิด แต่คำสอนของเขายังคงมีอิทธิพลต่อชาวนีไฟหลายปี (ดู แอลมา 1:15–16; 2:1–2; 14:14–18; 15:15; 21:4; 24:28) เหตุใดผู้คนจึงพบว่าคำสอนของนีฮอร์ดึงดูดใจ ขณะที่ท่านอ่าน แอลมา 1:2–4 ให้ดูว่าท่านระบุความเท็จในคำสอนของนีฮอร์ได้หรือไม่ ท่านอาจจะสังเกตเห็นว่าคำสอนเหล่านั้นสอนคู่กับความจริงบางส่วน

กิเดียนทัดทานนีฮอร์ “ด้วยพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า” (แอลมา 1:7, 9) ท่านนึกข้อพระคัมภีร์ที่หักล้างความเท็จของนีฮอร์ออกหรือไม่ ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างบางข้อ แต่มีอีกหลายข้อ: มัทธิว 7:21–23; 2 นีไฟ 26:29–31; โมไซยาห์ 18:24–26; และ ฮีลามัน 12:25–26 ข้อพระคัมภีร์เหล่านี้จะช่วยท่านหักล้างความเท็จที่สอนกันในทุกวันนี้ได้อย่างไร

อีกวิธีหนึ่งในการศึกษา แอลมา 1 ของท่านคือเปรียบเทียบนีฮอร์และผู้ติดตามเขา (ข้อ 3–9, 16–20) กับ “ผู้คนของพระผู้เป็นเจ้า” (ข้อ 25–30; ดู 2 นีไฟ 26:29–31 ด้วย) ท่านจะเป็นเหมือนผู้คนของพระผู้เป็นเจ้ามากขึ้นได้อย่างไร ท่านสังเกตเห็น “การฉ้อฉลในอำนาจปุโรหิต” ในการรับใช้ของท่านเองหรือไม่

แอลมา 1:27–31; 4:6–15

สานุศิษย์ที่แท้จริงของพระเยซูคริสต์ไม่ให้ใจหมกมุ่นกับความมั่งคั่ง

แอลมาบทที่ 1 และ 4 อธิบายช่วงเวลาที่ศาสนจักรรุ่งเรือง แต่สมาชิกศาสนจักรตอบรับความรุ่งเรืองนั้นต่างกันในแต่ละกรณี ท่านสังเกตเห็นความแตกต่างอะไรบ้าง จากที่ท่านพบ ท่านจะอธิบายเจตคติที่ “ผู้ติดตามซึ่งถ่อมตนของพระผู้เป็นเจ้า” (แอลมา 4:15) มีต่อความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองว่าอย่างไร ท่านรู้สึกได้รับแรงบันดาลใจให้เปลี่ยนแปลงอะไรเกี่ยวกับเจตคติของท่าน

แอลมา 4

“พระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า” และ “ประจักษ์พยานอันบริสุทธิ์” สามารถเปลี่ยนแปลงใจได้

อะไรทำให้แอลมา “สลดใจมาก” (แอลมา 4:15) ใน แอลมา 4 บางคนอาจพูดว่าตำแหน่งหัวหน้าผู้พิพากษาจะทำให้แอลมาอยู่ในจุดที่สามารถแก้ปัญหาที่เขาเห็นในหมู่ผู้คนของเขาได้ดีที่สุด แต่แอลมารู้สึกว่ามีวิธีที่ดีกว่านั้น ท่านประทับใจอะไรเกี่ยวกับวิธีช่วยผู้คนของแอลมา การศึกษาของท่านอาจสร้างแรงบันดาลใจให้ท่านคิดว่าท่านจะสามารถมีอิทธิพลอย่างชอบธรรมต่อคนรอบข้างได้อย่างไร และทำตามความคิดเหล่านั้น

ภาพ
ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและการสังสรรค์ในครอบครัว

ขณะที่ท่านอ่านพระคัมภีร์กับครอบครัว พระวิญญาณจะทรงช่วยให้ท่านรู้ว่าจะเน้นและสนทนาหลักธรรมใดจึงจะตรงกับความต้องการของครอบครัวท่าน ต่อไปนี้เป็นแนวคิดบางประการ

แอลมา 1:19–25

ครอบครัวท่านอาจได้ประโยขน์จากการระบุวิธีต่างๆ ที่สมาชิกศาสนจักรตอบสนองการข่มเหงในข้อเหล่านี้ ท่านอาจจะฝึกวิธีตอบสนองอย่างเหมาะสมเมื่อคนอื่นโจมตีความเชื่อของเรา วีดิทัศน์ที่ ChurchofJesusChrist.org/religious-freedom/examples อาจช่วยได้

แอลมา 3:4

ชาวแอมลิไซต้องการสื่อข่าวสารอะไรเมื่อพวกเขา “ทำเครื่องหมายให้ตนเอง” (ดู แอลมา 3:4, 13) เราอาจจะส่งข่าวสารอะไร—อย่างตั้งใจและไม่ตั้งใจ—ด้วยรูปลักษณ์ภายนอกของเรา อาจเป็นเวลาเหมาะจะทบทวน “การแต่งกายและรูปลักษณ์ภายนอก” ใน เพื่อความเข้มแข็งของเยาวชน (2011), 6–8

แอลมา 4:2–3

สิ่งใดหรือประสบการณ์ใด “ปลุก [เรา] ให้นึกถึงหน้าที่ [ของเรา]” ต่อพระผู้เป็นเจ้า (แอลมา 4:3) การแบ่งปันข้อเหล่านี้หลังจากปลุกครอบครัวตอนเช้าอาจจะได้ผล จากนั้นท่านอาจจะสนทนาว่าความท้าทายของการปลุกทางกายช่วยให้เราเข้าใจความท้าทายของการปลุกทางวิญญาณอย่างไร

แอลมา 4:10–11

เราจะหลีกเลี่ยงการเป็น “[สิ่งกีดขวาง] แก่คนที่ไม่ได้เป็นของศาสนจักร” ได้อย่างไร (แอลมา 4:10) อาจจะเป็นประโยชน์เช่นกันถ้าพูดคุยกันว่าเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าการกระทำของผู้อื่น โดยเฉพาะเพื่อนสมาชิกศาสนจักร ไม่กลายเป็นสิ่งกีดขวางความก้าวหน้าทางวิญญาณของเรา

แอลมา 4:19

เพื่อช่วยให้ครอบครัวท่านเข้าใจพลังของประจักษ์พยาน ท่านอาจจะขอให้พวกเขานึกถึงเวลาที่การได้ฟังประจักษ์พยานของคนบางคนมีผลต่อพวกเขาอย่างลึกซึ้ง เหตุใดแอลมาจึงเลือกใช้ประจักษ์พยานและพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าสัมผัสใจผู้คน (ดู แอลมา 31:5ด้วย) เหตุใดผู้คนจึงใช้วิธีนี้ชักชวนคนอื่นๆ ให้เปลี่ยนได้มากกว่าวิธีอื่น มีคนที่เราสามารถเสริมสร้างศรัทธาของพวกเขาโดยแบ่งปันประจักษ์พยานของเราให้กับพวกเขาหรือไม่

ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

ปรับปรุงการศึกษาส่วนตัว

เปรียบพระคัมภีร์กับตัวท่าน พิจารณาว่าเรื่องเล่าและคำสอนในพระคัมภีร์ประยุกต์ใช้กับชีวิตท่านได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น ท่านอาจจะพบความคล้ายคลึงกันระหว่างโลกทุกวันนี้กับปัญหาสังคมที่ชาวนีไฟประสบใน แอลมา 1–4

ภาพ
ชาวนีไฟสู้รบกับชาวแอมลิไซ

แอลมากับแอมลิไซ โดย สก็อตต์ เอ็ม. สโนว์

พิมพ์