หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021
3–9 พฤษภาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 46–48: “จงแสวงหาของประทานที่ดีที่สุดอย่างตั้งใจจริง”


“3–9 พฤษภาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 46–48: ‘จงแสวงหาของประทานที่ดีที่สุดอย่างตั้งใจจริง’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021 (2020)

“3–9 พฤษภาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 46–48” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2021

คนประชุมกันริมหนองน้ำ

การประชุมค่าย โดย เวิร์ธทิงตัน วิทเทรดจ์

3–9 พฤษภาคม

หลักคำสอนและพันธสัญญา 46–48

“จงแสวงหาของประทานที่ดีที่สุดอย่างตั้งใจจริง”

ขณะที่ท่านอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 46–48 ให้จดความประทับใจที่ท่านได้รับ จากนั้นท่านอาจจะถามตามที่เอ็ลเดอร์ริชาร์ด จี. สก็อตต์เสนอแนะ “มีอะไรที่ฉันควรรู้อีกหรือไม่?” (“เพื่อให้ได้รับการชี้นำทางวิญญาณ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2009, 8)

บันทึกความประทับใจของท่าน

ขณะที่พาร์ลีย์ พี. แพรทท์, ออลิเวอร์ คาวเดอรี, ซีบา พีเตอร์สัน และปีเตอร์ วิตเมอร์ จูเนียร์ออกจากเคิร์ทแลนด์ไปทำงานอย่างอื่น พวกเขาลาจากผู้เปลี่ยนใจเลื่อมใสร้อยกว่าคนผู้มีความกระตือรือร้นมากแต่มีประสบการณ์หรือแนวทางเพียงน้อยนิด ไม่มีคู่มือคำแนะนำ ไม่มีการประชุมอบรมผู้นำ ไม่มีการถ่ายทอดการประชุมใหญ่สามัญ—อันที่จริงไม่มีแม้กระทั่งพระคัมภีร์มอรมอนหลายเล่มพอให้กับทุกคน ผู้เชื่อคนใหม่เหล่านี้หลายคนสนใจพระกิตติคุณที่ได้รับการฟื้นฟูเพราะสัญญาเรื่องการแสดงให้ประจักษ์อันน่าอัศจรรย์ของพระวิญญาณ โดยเฉพาะการแสดงให้ประจักษ์ที่พวกเขารู้จากการศึกษาพันธสัญญาใหม่ (ดูตัวอย่างใน 1 โครินธ์ 12:1–11) ไม่นานการนมัสการแบบแปลกๆ—รวมถึงการล้มลงไปบนพื้นหรือทำตัวเลื้อยเหมือนงู—ก็แพร่เข้ามาในการประชุมของศาสนจักร หลายคนมองไม่ออกว่าการแสดงให้ประจักษ์ใดมาจากพระวิญญาณหรือไม่ได้มาจากพระวิญญาณ เมื่อเห็นความสับสนดังกล่าวโจเซฟจึงสวดอ้อนวอนขอความช่วยเหลือ พระดำรัสตอบของพระเจ้ามีค่าไม่น้อยไปกว่ากันในปัจจุบันเมื่อผู้คนมักไม่ยอมรับหรือไม่สนใจเรื่องของพระวิญญาณ พระเจ้าทรงเปิดเผยว่าการแสดงให้ประจักษ์ทางวิญญาณมีอยู่จริงและทรงให้ความกระจ่างว่าคืออะไร—คือของประทานจากพระบิดาบนสวรรค์ผู้ทรงรักเรา “ให้ไว้เพื่อประโยชน์ของคนเหล่านั้นที่รัก [พระองค์] และรักษาบัญญัติทั้งหมด [ของพระองค์]” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 46:9)

ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

หลักคำสอนและพันธสัญญา 46:1–6

ยินดีต้อนรับผู้แสวงหาอย่างตั้งใจจริงทั้งหมดสู่การนมัสการในศาสนจักรของพระเจ้า

การประชุมของศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายควรเป็นหนึ่งในการชุมนุมที่สร้างแรงบันดาลใจและให้การต้อนรับมากที่สุดในโลก พระเจ้าทรงแนะนำเราใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 46:1–6 ให้รับคนที่เข้าร่วมการประชุมของเราอย่างไร? มิตรสหายและคนในละแวกบ้านของท่านรู้สึกถึงการต้อนรับที่พิธีนมัสการของวอร์ดท่านหรือไม่? ท่านกำลังทำอะไรเพื่อทำให้การประชุมของศาสนจักรเป็นสถานที่ซึ่งคนอยากกลับมา? ไตร่ตรองว่าการพยายามทำตามพระวิญญาณบริสุทธิ์ในการประชุมของศาสนจักรจะส่งผลต่อประสบการณ์ของท่านอย่างไร

ดู 3 นีไฟ 18:22–23; โมโรไน 6:5–9; “Welcome” วีดิทัศน์ ComeUntoChrist.org; “Religious Enthusiasm among Early Ohio Converts,” Revelations in Context, 105–111 ด้วย

1:17

หลักคำสอนและพันธสัญญา 46:7–33

พระผู้เป็นเจ้าทรงมอบของประทานฝ่ายวิญญาณให้เป็นพรแก่บุตรธิดาของพระองค์

วิสุทธิชนสมัยแรกเชื่อในของประทานฝ่ายวิญญาณแต่จำเป็นต้องได้รับการชี้นำบางอย่างเกี่ยวกับจุดประสงค์ของของประทานเหล่านั้น ขณะท่านศึกษาเกี่ยวกับของประทานแห่งพระวิญญาณโดยใช้ หลักคำสอนและพันธสัญญา 46:7–33 ให้ไตร่ตรองว่าเหตุใดจึงสำคัญที่ท่านต้อง “จำไว้เสมอว่าสิ่งเหล่านี้ให้ไว้เพื่ออะไร” (ข้อ 8) พิจารณาวิธีประยุกต์ใช้ข้อเหล่านี้กับคำกล่าวจากเอ็ลเดอร์โรเบิร์ต ดี. เฮลส์ว่า “ของประทานเหล่านี้ให้กับคนที่ซื่อสัตย์ต่อพระคริสต์ จะช่วยให้เรารู้จักและสอนความจริงของพระกิตติคุณ จะช่วยให้เราเป็นพรแก่ผู้อื่น และจะนำทางเรากลับไปหาพระบิดาบนสวรรค์ของเรา” (“Gifts of the Spirit,” Ensign, Feb. 2002, 16) ท่านเรียนรู้อะไรอีกบ้างจากข้อเหล่านี้เกี่ยวกับการแสดงให้ประจักษ์ทางวิญญาณ? ความจริงเหล่านี้จะช่วยให้เรา “ไม่ถูกหลอก” ได้อย่างไร? (ข้อ 8)

ไตร่ตรองว่าของประทานฝ่ายวิญญาณของท่านคืออะไร—และท่านจะใช้ “เพื่อผลประโยชน์ของลูกๆ ของพระผู้เป็นเจ้า” (ข้อ 26) ได้อย่างไร ถ้าท่านมีปิตุพร ปิตุพรน่าจะระบุของประทานที่ท่านได้รับ

ดู คู่มือพระคัมภีร์ “ของประทานฝ่ายวิญญาณscriptures.ChurchofJesusChrist.org ด้วย

หลักคำสอนและพันธสัญญา 47

พระเจ้าทรงต้องการให้ศาสนจักรของพระองค์เขียนประวัติ

การเรียกจอห์น วิตเมอร์ให้เขียนประวัติของศาสนจักรสานต่อประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานของผู้จดบันทึกในบรรดาผู้คนของพระผู้เป็นเจ้า (ดู 2 นีไฟ 29:11–12; โมเสส 6:5; อับราฮัม 1:28, 31) อันที่จริงตำแหน่งผู้บันทึกและผู้เขียนประวัติศาสนจักรยังมีอยู่ในปัจจุบัน ท่านคิดว่าเหตุใดการเขียนประวัติจึงสำคัญต่อพระเจ้ามาก? ไตร่ตรองเรื่องนี้ขณะท่านอ่านสิ่งที่พระองค์ทรงแนะนำจอห์น วิตเมอร์เกี่ยวกับงานมอบหมายนี้ใน ภาค 47 พิจารณาเช่นกันว่าท่านต้องบันทึกประสบการณ์ส่วนตัวอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น พระเจ้าทรงสอนอะไรท่านที่ท่านต้องการเก็บรักษาไว้?

ขณะไตร่ตรองคำถามเหล่านี้ พึงพิจารณาข้อคิดนี้จากเอ็ลเดอร์มาร์ลิน เค. เจนเซ็นแห่งสาวกเจ็ดสิบผู้รับใช้เป็นผู้บันทึกและผู้เขียนประวัติศาสนจักรตั้งแต่ปี 2005 ถึงปี 2012:

“เราจดบันทึกเพื่อช่วยให้เราจำ … เราปรารถนาจะช่วยให้สมาชิกศาสนจักรจดจำสิ่งสำคัญต่างๆ ที่พระผู้เป็นเจ้าทรงทำเพื่อลูกๆ ของพระองค์ … บทเรียนจากอดีตจะช่วยเราเผชิญกับปัจจุบันและให้ความหวังสำหรับอนาคตของเรา” (“จะมีการเก็บรักษาบันทึกในบรรดาพวกเจ้า,เลียโฮนา, ธ.ค. 2007, 26, 31)

เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับงานที่ทำในปัจจุบันภายใต้การกำกับดูแลของผู้เขียนประวัติศาสตจักร ให้เข้าไปที่ history.ChurchofJesusChrist.org

จอห์น วิตเมอร์

จอห์น วิตเมอร์ได้รับเรียกให้เขียนประวัติของศาสนจักร

ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและการสังสรรค์ในครอบครัว

หลักคำสอนและพันธสัญญา 46:2–6ครอบครัวเราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อให้แน่ใจว่าคนอื่นรู้สึกถึงการต้อนรับที่การประชุมศาสนจักรของเรา? (ดู 3 นีไฟ 18:22–23 ด้วย) ภาพที่มากับโครงร่างนี้จะเสริมการสนทนาเรื่องนี้

หลักคำสอนและพันธสัญญา 46:7–26เราเห็นของประทานฝ่ายวิญญาณอะไรในกันและกัน? ของประทานเหล่านั้นจะเป็นพรแก่ครอบครัวเราได้อย่างไร?

หลักคำสอนและพันธสัญญา 47ท่านจะกระตุ้นให้ครอบครัวท่านบันทึกประวัติส่วนตัวของพวกเขาตลอดสัปดาห์ได้อย่างไร? ท่านจะแบ่งปันข้อมูลบางอย่างจากบันทึกส่วนตัวของท่านหรือเล่าเรื่องบรรพชนคนหนึ่งของท่าน (ดู FamilySearch.org) บางครอบครัวเจียดเวลาสัปดาห์ละสองสามนาทีไว้ให้ทุกคนได้เขียนบันทึกส่วนตัวของพวกเขา ท่านอาจจะมีคำกระตุ้นเตือนให้เขียนบันทึกส่วนตัว เช่น “เกิดอะไรขึ้นสัปดาห์นี้ที่ท่านอยากให้หลานๆ รู้?” หรือ “สัปดาห์นี้ท่านเห็นพระหัตถ์ของพระเจ้าในชีวิตท่านอย่างไร?” เด็กเล็กจะวาดภาพประสบการณ์ของพวกเขา หรือท่านจะบันทึกขณะพวกเขาเล่าเรื่องก็ได้ พรใดมาจากการบันทึก “ประวัติสม่ำเสมอ”? (ข้อ 1)

หลักคำสอนและพันธสัญญา 48วิสุทธิชนในโอไฮโอได้รับบัญชาให้แบ่งที่ดินให้แก่คนที่จะย้ายจากตะวันออกของสหรัฐมาโอไฮโอ เราจะแบ่งอะไรให้ตามความจำเป็นของผู้อื่นได้บ้าง?

ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

เพลงที่แนะนำ: “ฉันทำความดีบ้างหรือไม่?” (เพลงสวด บทเพลงที่ 109)

ปรับปรุงการสอนของเรา

ใช้เรื่องเล่าและตัวอย่าง พระผู้ช่วยให้รอดทรงใช้เรื่องเล่าและอุปมาสอนหลักธรรมพระกิตติคุณบ่อยครั้ง ลองนึกถึงตัวอย่างและเรื่องราวจากชีวิตท่านเองที่สามารถนำหลักธรรมพระกิตติคุณมาปรับใช้กับครอบครัวท่านได้ (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 22)

คนที่โบสถ์

พระบิดาบนสวรรค์ทรงมอบของประทานฝ่ายวิญญาณให้บุตรธิดาของพระองค์เพื่อเป็นพรแก่ชีวิตผู้อื่น