“24–30 พฤษภาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 58–59: ‘ทำงานอย่างทุ่มเทในอุดมการณ์ดี’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021 (2020)
“24–30 พฤษภาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 58–59” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2021
อินดิเพนเดนซ์ มิสซูรี โดย อัล ราวด์ส
24–30 พฤษภาคม
หลักคำสอนและพันธสัญญา 58–59
“ทำงานอย่างทุ่มเทในอุดมการณ์ดี”
ประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์สอนว่า “พระคัมภีร์จะช่วยเราไขข้อข้องใจส่วนตัวทั้งหมดเพราะโดยอ่านพระคัมภีร์เราเชื้อเชิญและทำให้ตัวเรามีคุณสมบัติคู่ควรรับการดลใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ซึ่งจะนำเราไปสู่ความจริงทั้งมวล” (ใน เดวิด เอ. เดอเวิร์ดส์ “Are My Answers in There?” New Era, May 2016, 42)
บันทึกความประทับใจของท่าน
เมื่อเหล่าเอ็ลเดอร์ของศาสนจักรเห็นที่ตั้งของนครไซอัน—อินดิเพนเดนซ์ มิสซูรี—ครั้งแรก ที่แห่งนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่พวกเขาคาดหวัง บางคนคิดว่าตนจะพบชุมชนที่เจริญรุ่งเรืองและขยันขันแข็งกับกลุ่มวิสุทธิชนที่เข้มแข็ง แต่พวกเขากลับพบหมู่บ้านชายแดนร้างผู้คน ขาดความเจริญที่พวกเขาคุ้นเคย และมีคนหยาบกระด้างตั้งรกรากอยู่ที่นั่นแทนที่จะเป็นวิสุทธิชน กลายเป็นว่าพระเจ้าไม่ทรงขอให้พวกเขา มา ไซอันเท่านั้น—แต่ทรงต้องการให้พวกเขา สร้าง ไซอันด้วย
เมื่อความคาดหวังของเราไม่ตรงกับความเป็นจริง เราพึงจดจำสิ่งที่พระเจ้ารับสั่งกับวิสุทธิชนในปี 1831 “เจ้าจะมองเห็นแผนของพระผู้เป็นเจ้าของเจ้าด้วยดวงตาฝ่ายธรรมชาติของเจ้าไม่ได้ … และรัศมีภาพซึ่งจะตามมาหลังจากความยากลำบากยิ่ง” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 58:3) ใช่ ชีวิตเต็มไปด้วยความยากลำบาก แม้กระทั่งความชั่วร้าย แต่เราสามารถ “ทำให้เกิดความชอบธรรมยิ่ง; เพราะพลังอยู่ใน [เรา]” (ข้อ 27–28)
ดู Saints 1:127–133 ด้วย
แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว
หลักคำสอนและพันธสัญญา 58:1–5, 26–33, 44; 59:23
พรเกิดขึ้นตามเวลาของพระผู้เป็นเจ้าและความขยันหมั่นเพียรของเรา
วิสุทธิชนวางรากฐานของไซอันในเทศมณฑลแจ็คสัน มิสซูรีที่ซึ่งพวกเขาอดทนต่อการทดลองมากมาย พวกเขาหวังแน่นอนว่าในช่วงชีวิตของพวกเขาเขตนี้จะเจริญรุ่งเรืองจนเป็นสถานที่ให้วิสุทธิชนทุกคนอยู่รวมกันได้ แต่วิสุทธิชนถูกขับไล่ออกจากเทศมณฑลแจ็คสันภายในไม่กี่ปี และพระเจ้าทรงเปิดเผยว่าผู้คนของพระองค์จะต้อง “รอชั่วระยะเวลาไม่นานเพื่อการไถ่ไซอัน” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 105:9)
ขณะที่ท่านศึกษาข้อต่อไปนี้ ให้มองหาเหตุผลที่พระองค์อาจจะทรงยั้งพรไว้ชั่วเวลาหนึ่ง คำถามด้านล่างจะช่วยให้ท่านได้ไตร่ตรอง
หลักคำสอนและพันธสัญญา 58:1–5; 59:23 ข่าวสารใดในข้อเหล่านี้เพิ่มพลังความสามารถให้ท่านทนความยากลำบากได้มากขึ้น? ท่านได้รับพรอะไรบ้างหลังจากความยากลำบาก? ท่านคิดว่าเหตุใดพรบางอย่างจึงเกิดขึ้นหลังความยากลำบากเท่านั้น?
หลักคำสอนและพันธสัญญา 58:26–33 การ “ทำงานอย่างทุ่มเทในอุดมการณ์ดี” มีบทบาทอะไรในการทำให้สัญญาต่างๆ ของพระผู้เป็นเจ้าเกิดสัมฤทธิผล? การเชื่อฟังของท่านมีบทบาทอะไร?
หลักคำสอนและพันธสัญญา 58:44 อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่าง “คำสวดอ้อนวอนจากศรัทธา” กับพระประสงค์ของพระเจ้าสำหรับเรา?
หัวบทของหลักคำสอนและพันธสัญญาภาค 59
พอลลี ไนท์เป็นใคร?
พอลลี ไนท์กับโจเซฟ ไนท์ ซีเนียร์สามีเธอเป็นผู้เชื่อคนแรกๆ ในการเรียกโจเซฟ สมิธเป็นศาสดาพยากรณ์ พอลลีกับโจเซฟให้ความช่วยเหลือที่สำคัญแก่ท่านศาสดาพยากรณ์ในงานแปลพระคัมภีร์มอรมอน ครอบครัวไนท์ออกจากโคลสวิลล์ นิวยอร์กมารวมกับวิสุทธิชนในโอไฮโอและต่อมาได้รับบัญชาให้ย้ายไปเทศมณฑลแจ็คสัน มิสซูรี ขณะพวกเขาเดินทาง สุขภาพของพอลลีเริ่มมีปัญหา แต่เธอตั้งใจจะเห็นไซอันก่อนสิ้นชีวิต เธออยู่ในมิสซูรีได้เพียงไม่กี่วันก่อนเธอสิ้นใจ (ดู Saints, 1:127–128, 132–133) หลักคำสอนและพันธสัญญา 59 ได้รับในวันที่เธอสิ้นชีวิต และ ข้อ 1 กับ 2 ดูเหมือนจะกล่าวเจาะจงถึงเธอ
การรักษาวันสะบาโตให้ศักดิ์สิทธิ์นำมาซึ่งพรทางโลกและทางวิญญาณ
หลังจากสัญญาจะประทานพรแก่วิสุทธิชนในไซอัน “ด้วยพระบัญญัติไม่น้อย” พระเจ้าทรงเน้นพระบัญญัติข้อหนึ่งเป็นพิเศษ นั่นคือ พระบัญชาเรื่องการให้เกียรติ “วันศักดิ์สิทธิ์” ของพระองค์ (หลักคำสอนและพันธสัญญา 59:4, 9) ขณะที่ท่านศึกษา หลักคำสอนและพันธสัญญา 59:9–19 พึงไตร่ตรองว่าเหตุใดการให้เกียรติวันสะโบาโตจึงสำคัญต่อวิสุทธิชนเหล่านี้ขณะพวกเขาพยายามสร้างไซอัน
ท่านจะไตร่ตรองคำถามทำนองนี้เช่นกัน: ฉันกำลังใช้วันสะบาโตตามแบบที่พระเจ้าตั้งพระทัยไว้หรือไม่? การรักษาวันสะบาโตให้ศักดิ์สิทธิ์ช่วยฉันรักษาตนให้ “หมดจดจากโลก” อย่างไร? (ข้อ 9) ฉันจะทำอะไรได้บ้างเพื่อแสดง “ความจงรัก [ของฉัน] แด่พระผู้สูงสุด” (ข้อ 10)
หลังจากอ่านข้อต่อไปนี้แล้ว ท่านได้รับแรงบันดาลใจให้ทำอะไรเพื่อรักษาวันสะบาโตให้ศักดิ์สิทธิ์อย่างเต็มที่มากขึ้น ปฐมกาล 2:2–3; อพยพ 20:8–11; 31:13, 16; เฉลยธรรมบัญญัติ 5:12–15; อิสยาห์ 58:13–14; มาระโก 2:27; ยอห์น 20:1–19; กิจการของอัครทูต 20:7
ท่านอาจจะได้ประโยชน์จากวีดิทัศน์เรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือแหล่งข้อมูลอื่นเกี่ยวกับสะบาโตที่ sabbath.ChurchofJesusChrist.org
ดู รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “สะบาโตคือวันปีติยินดี,” เลียโฮนา, พ.ค. 2015, 129–132; คู่มือพระคัมภีร์, “สะบาโต” ด้วย
การรับส่วนศีลระลึกเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาวันสะบาโตให้ศักดิ์สิทธิ์
แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและการสังสรรค์ในครอบครัว
-
หลักคำสอนและพันธสัญญา 58:26–29สมาชิกครอบครัวอาจจะเขียนบางสิ่งบางอย่างที่พวกเขา “ทำงานอย่างทุ่มเท” ออกมาเป็นข้อๆ ทั้งหมดนั้นเป็น “อุดมการณ์ดี” หรือไม่? เหตุใดพระเจ้าทรงต้องการให้เราทำ “สิ่งสารพันด้วยเจตจำนงอิสระ”? ขอให้สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวนึกถึงสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้ในสัปดาห์นี้เพื่อ “ทำให้เกิดความชอบธรรมยิ่ง” จากนั้นให้พวกเขารายงานสิ่งที่ทำ
-
หลักคำสอนและพันธสัญญา 58:42–43สมาชิกครอบครัวรู้สึกอย่างไรเมื่อพวกเขาอ่านข้อเหล่านี้? ข้อเหล่านี้จะช่วยคนที่ต้องกลับใจได้อย่างไร?
-
หลักคำสอนและพันธสัญญา 59:3–19“สวมมงกุฎ … ด้วยพระบัญญัติ” น่าจะหมายความว่าอย่างไร? (ข้อ 4) ขณะที่ท่านอ่านพระบัญญัติใน ข้อ 5–19 ให้สนทนาถึงพรที่ท่านเคยได้รับเพราะเชื่อฟังพระบัญญัติแต่ละข้อเหล่านี้
ท่านจะสังเกตด้วยว่าข้อเหล่านี้ใช้คำอย่างเช่น “ปีติ” “การชื่นชมยินดี” “รื่นเริง” และ “ยินดี” พูดถึงพระบัญญัติเรื่องการให้เกียรติวันสะบาโตอย่างไร ท่านจะทำให้วันสะบาโตของท่านเปี่ยมปีติมากขึ้นได้อย่างไร? ครอบครัวท่านอาจจะทำเกมจับคู่กับการ์ดแสดงสิ่งที่ท่านทำได้เพื่อรักษาวันสะบาโตให้ศักดิ์สิทธิ์
-
หลักคำสอนและพันธสัญญา 59:18–21เราทำอะไรได้บ้างเพื่อ “สารภาพถึง … พระหัตถ์ [ของพระผู้เป็นเจ้า] ในทุกสิ่ง”? (ข้อ 21) ท่านอาจจะไปเดินเล่นหรือดูรูปภาพโดยสังเกตสิ่งต่างๆ ที่ “ทำให้จำเริญตาและจำเริญใจ” (ข้อ 18) ท่านจะถ่ายภาพหรือวาดภาพสิ่งที่ท่านพบแล้วพูดคุยกันว่าท่านจะแสดงความสำนึกคุณต่อสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร เราเคยเห็นพระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้าในชีวิตเราอย่างไร?
ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย
เพลงที่แนะนำ: “เลือกให้ดี” เพลงสวด บทเพลงที่ 122
ปรับปรุงการสอนของเรา
แบ่งปันพระคัมภีร์ ให้เวลาสมาชิกครอบครัวแบ่งปันข้อพระคัมภีร์ที่พบในการศึกษาส่วนตัวว่ามีความหมายต่อพวกเขา
ภาพประกอบโดย มาร์ตี เมเจอร์