“31 พฤษภาคม–6 มิถุนายน หลักคำสอนและพันธสัญญา 60–62: ‘เนื้อหนังทั้งปวงอยู่ในมือเรา’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021 (2020)
“31 พฤษภาคม–6 มิถุนายน หลักคำสอนและพันธสัญญา 60–62” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2021
31 พฤษภาคม–6 มิถุนายน
หลักคำสอนและพันธสัญญา 60–62
“เนื้อหนังทั้งปวงอยู่ในมือเรา”
ประธานเอสรา แทฟท์ เบ็นสันสอนว่าเมื่อเราศึกษาพระคัมภีร์ “ประจักษ์พยานจะเพิ่มขึ้น คำมั่นสัญญาจะหนักแน่นขึ้น ครอบครัวจะแข็งแกร่งขึ้น การเปิดเผยส่วนตัวจะหลั่งไหลมา” (“The Power of the Word,” Ensign, May 1986, 81)
บันทึกความประทับใจของท่าน
ในเดือนมิถุนายน ปี 1831 โจเซฟ สมิธจัดการประชุมใหญ่กับเหล่าเอ็ลเดอร์ของศาสนจักรในเคิร์ทแลนด์ ที่นั่นพระเจ้าทรงจัดเอ็ลเดอร์บางคนเป็นคู่ๆ และส่งพวกเขาไปเทศมณฑลแจ็คสัน รัฐมิสซูรีพร้อมความรับผิดชอบนี้ “สั่งสอนไประหว่างทาง” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 52:10) เอ็ลเดอร์หลายคนสั่งสอนอย่างขยันหมั่นเพียร แต่บางคนไม่ทำเช่นนั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อถึงเวลาเดินทางกลับเคิร์ทแลนด์ พระเจ้าจึงตรัสว่า “กับ [เอ็ลเดอร์] บางคนเราไม่สู้จะพอใจ, เพราะพวกเขาไม่ยอมอ้าปาก, แต่พวกเขาซ่อนพรสวรรค์ซึ่งเราให้แก่พวกเขา, เพราะความกลัวมนุษย์” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 60:2) พวกเราหลายคนรู้สึกเห็นใจเอ็ลเดอร์เหล่านี้—เราอาจรู้สึกลังเลไม่กล้าอ้าปากแบ่งปันพระกิตติคุณเช่นกัน เราเองอาจถูก “ความกลัวมนุษย์” ขัดขวาง เราอาจสงสัยความมีค่าควรหรือความสามารถของเรา ไม่ว่าเหตุผลใด พระเจ้าทรง “รู้ความอ่อนแอของมนุษย์และรู้ว่าจะช่วย [เรา]” อย่างไร (หลักคำสอนและพันธสัญญา 62:1) คำรับรองต่อผู้สอนศาสนายุคแรกที่กระจายอยู่ทั่วการเปิดเผยเหล่านี้และสามารถช่วยเราเอาชนะความกลัวเรื่องการแบ่งปันพระกิตติคุณ—หรือความกลัวอื่นที่เราอาจจะกำลังประสบคือ “เรา, พระเจ้า, ปกครองอยู่ในฟ้าสวรรค์เบื้องบน” “เราสามารถทำให้เจ้าบริสุทธิ์” “เนื้อหนังทั้งปวงอยู่ในมือเรา” และ “จงรื่นเริงเถิด, เด็กน้อยเอ๋ย; เพราะเราอยู่ท่ามกลางเจ้า” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 60:4, 7; 61:6, 36)
แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว
พระเจ้าพอพระทัยเมื่อฉันอ้าปากแบ่งปันพระกิตติคุณ
เราทุกคนเคยมีประสบการณ์ตอนที่เราจะได้แบ่งปันพระกิตติคุณกับบางคน แต่ด้วยเหตุผลบางอย่าง เราไม่ได้แบ่งปัน ขณะอ่านพระดำรัสของพระเจ้าต่อผู้สอนศาสนายุคแรกผู้ไม่ยอม “อ้าปาก” ให้ลองนึกถึงโอกาสของท่านเองในการแบ่งปันพระกิตติคุณ ประจักษ์พยานของท่านในพระกิตติคุณเปรียบเสมือน “พรสวรรค์” หรือของมีค่าจากพระผู้เป็นเจ้าอย่างไร? บางครั้งเรา “ซ่อนพรสวรรค์ [ของเรา]” ด้วยวิธีใดบ้าง? (หลักคำสอนและพันธสัญญา 60:2; ดู มัทธิว 25:14–30 ด้วย)
พระเจ้าทรงตำหนิผู้สอนศาสนายุคแรกเหล่านี้ แต่ทรงพยายามสร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขาเช่นกัน ท่านพบข่าวสารให้กำลังใจอะไรจากพระเจ้าใน ภาค 60 และ 62? ข่าวสารเหล่านี้สร้างความมั่นใจให้ท่านในการแบ่งปันพระกิตติคุณอย่างไร? ในวันต่อๆ ไปให้มองหาโอกาสอ้าปากแบ่งปันสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงมอบให้ท่าน
ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 33:8–10; 103:9–10; ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “งานเผยแผ่ศาสนา: แบ่งปันสิ่งที่อยู่ในใจท่าน,” เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 15–18 ด้วย
หลักคำสอนและพันธสัญญา 61:5–6, 14–18
พระเจ้าทรงสาปแช่งผืนน้ำทั้งหมดหรือ?
พระดำรัสเตือนของพระเจ้าใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 61 ส่วนหนึ่งเตือนเรื่องอันตรายที่ผู้คนของพระองค์จะประสบขณะเดินทางไปไซอันตามแม่น้ำมิสซูรีซึ่งรู้กันในสมัยนั้นว่าอันตราย เราไม่ควรแปลความหมายของพระดำรัสเตือนนี้ว่าเราควรหลีกเลี่ยงการสัญจรทางน้ำ พระเจ้าทรงมี “เดชานุภาพทั้งมวล” รวมทั้งเดชานุภาพเหนือผืนน้ำ (ข้อ 1)
พระเจ้าทรงมีเดชานุภาพทั้งมวลและทรงสามารถปกปักรักษาฉัน
ระหว่างทางกลับมาเคิร์ทแลนด์ โจเซฟ สมิธและผู้นำศาสนจักรท่านอื่นมีประสบการณ์ที่เป็นอันตรายถึงชีวิตในแม่น้ำมิสซูรี (ดู Saints, 1:133–134) พระเจ้าทรงใช้โอกาสนี้เตือนและสอนผู้รับใช้ของพระองค์ ท่านพบอะไรใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 61 ที่กระตุ้นให้ท่านวางใจพระเจ้าขณะท่านประสบความท้าทายของท่านเอง? ตัวอย่างเช่น เหตุใดจึงสำคัญที่ต้องรู้ว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงดำรงอยู่ “จากความเป็นนิจถึงความเป็นนิจ”? (ข้อ 1)
มีข้อคิดคล้ายกันใน ภาค 62 พระเจ้าทรงสอนอะไรท่านเกี่ยวกับพระองค์เองและเดชานุภาพของพระองค์ในการเปิดเผยนี้?
ไตร่ตรองประสบการณ์เสริมสร้างศรัทธาที่ท่านเคยมีเมื่อพระเจ้าทรงช่วยท่านเอาชนะความลำบากทางวิญญาณหรือทางกาย
พระเจ้าทรงต้องการให้ฉันตัดสินใจ “ดังที่ [ฉัน] เห็นว่าดี”
บางครั้งพระเจ้าประทานคำแนะนำเฉพาะเจาะจง และหลายเรื่องพระองค์ทรงปล่อยให้เราตัดสินใจเอง ท่านเห็นหลักธรรมนี้อธิบายไว้ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 62 อย่างไร? (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 60:5; 61:22 ด้วย) ท่านเคยเห็นหลักธรรมนี้ในชีวิตท่านอย่างไร? เหตุใดจึงเป็นเรื่องดีที่เราทำการตัดสินใจบางเรื่องโดยไม่ต้องมีคำสั่งจำเพาะจากพระผู้เป็นเจ้า?
แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและการสังสรรค์ในครอบครัว
-
หลักคำสอนและพันธสัญญา 60:2–3เหตุใดผู้สอนศาสนายุคแรกบางคนจึงลังเลไม่กล้าแบ่งปันพระกิตติคุณ? เหตุใดบางครั้งเราลังเล? ท่านอาจแสดงบทบาทสมมติถึงวิธีที่สมาชิกครอบครัวจะแบ่งปันพระกิตติคุณในสภาพแวดล้อมต่างๆ
-
หลักคำสอนและพันธสัญญา 61:36–39ในข้อเหล่านี้เราเห็นเหตุผลอะไรให้ “รื่นเริงใจ”? (ดู ยอห์น 16:33 ด้วย) ครอบครัวท่านอาจจะเขียนหรือวาดภาพสิ่งที่ทำให้พวกเขาเกิดปีติและรวมไว้ในขวดโหล “รื่นเริง” (ต้องมีภาพพระผู้ช่วยให้รอดและสิ่งเตือนใจให้นึกถึงความรักที่ทรงมีต่อเราอยู่ในนั้นด้วย) ตลอดสัปดาห์เมื่อสมาชิกครอบครัวต้องการสิ่งเตือนใจให้นึกถึงเหตุผลที่จะมีความสุข พวกเขาจะเลือกบางอย่างจากขวดโหล
-
หลักคำสอนและพันธสัญญา 61:36ท่านจะช่วยให้ครอบครัวท่านจำได้อย่างไรว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงอยู่ “ท่ามกลาง [เรา]”? ท่านจะตัดสินใจด้วยกันว่าจะติดภาพของพระองค์ไว้ถาวรในบ้านท่านที่ใด เราจะอัญเชิญพระผู้ช่วยให้รอดเข้ามาในชีวิตเราได้อย่างไร?
-
หลักคำสอนและพันธสัญญา 62:3ท่านอาจจะจัดการประชุมแสดงประจักษ์พยานในครอบครัวหลังจากอ่านข้อนี้ เพื่ออธิบายว่าประจักษ์พยานคืออะไร ท่านจะแบ่งปันข่าวสารบางตอนของประธานเอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ดเรื่อง “ประจักษ์พยานอันบริสุทธิ์” ( เลียโฮนา, พ.ย. 2004, 50–53) เหตุใดจึงเป็นเรื่องดีที่จะบันทึกประจักษ์พยานของเรา?
-
หลักคำสอนและพันธสัญญา 62:5, 8เหตุใดพระเจ้าไม่ประทานพระบัญญัติเกี่ยวกับชีวิตทุกด้านของเรา? ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 8 เราต้องตัดสินใจอย่างไร?
ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย
เพลงที่แนะนำ: “ประจักษ์พยาน” เพลงสวด บทเพลงที่ 60