พันธสัญญาใหม่ 2023
26 มิถุนายน–2 กรกฎาคม มัทธิว 28; มาระโก 16; ลูกา 24; ยอห์น 20–21: “พระองค์ทรงเป็นขึ้นมาแล้ว”


“26 มิถุนายน–2 กรกฎาคม มัทธิว 28; มาระโก 16; ลูกา 24; ยอห์น 20–21: ‘พระองค์ทรงเป็นขึ้นมาแล้ว,’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2022)

“26 มิถุนายน–2 กรกฎาคม มัทธิว 28; มาระโก 16; ลูกา 24; ยอห์น 20–21,” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2023

พระเยซูตรัสกับเปโตรที่ชายฝั่งทะเล

จงดูแลแกะของเราเถิด โดย คามิลลา คอร์รีย์

26 มิถุนายน–2 กรกฎาคม

มัทธิว 28; มาระโก 16; ลูกา 24; ยอห์น 20–21

“พระองค์ทรงเป็นขึ้นมาแล้ว”

อ่าน มัทธิว 28; มาระโก 16; ลูกา 24; และ ยอห์น 20–21 ร่วมกับการสวดอ้อนวอนโดยใคร่ครวญปีติที่ท่านมีเพราะการฟื้นคืนพระชนม์ของพระคริสต์ ใครจะได้รับพรเมื่อได้ยินประจักษ์พยานของท่านเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้?

บันทึกความประทับใจของท่าน

สำหรับผู้เห็นเหตุการณ์จำนวนมาก การสิ้นพระชนม์ของพระเยซูชาวนาซาเร็ธอาจดูเหมือนเป็นจุดจบที่น่าขบขันของพระชนม์ชีพที่โดดเด่น คนนี้ทำให้ลาซารัสฟื้นคืนชีพมิใช่หรือ? พระองค์ไม่ได้ทนต่อคำขู่ฆ่าจากพวกฟาริสีครั้งแล้วครั้งเล่าหรือ? พระองค์ทรงแสดงเดชานุภาพในการรักษาคนตาบอด คนโรคเรื้อน และคนเป็นอัมพาต ลมและทะเลเชื่อฟังพระองค์ แต่ที่นี่พระองค์ผู้ถูกตรึงกางเขนกำลังประกาศว่า “สำเร็จแล้ว” (ยอห์น 19:30) อาจจะมีความประหลาดใจจริงๆ ในคำเย้ยหยันที่ว่า “เขาช่วยคนอื่นให้รอดได้ แต่เขาช่วยตัวเองไม่ได้” (มัทธิว 27:42) แต่เรารู้ว่าการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูไม่ใช่จุดจบของเรื่องราว เรารู้ว่าความเงียบของอุโมงค์เกิดขึ้นชั่วคราวและงานช่วยให้รอดของพระคริสต์เพิ่งเริ่มต้น เวลานี้พระองค์ไม่ได้อยู่ “ในพวกคนตาย” แต่อยู่ในพวกคนเป็น (ลูกา 24:5) คำสอนของพระองค์จะไม่เงียบงัน เพราะสานุศิษย์ที่ภักดีต่อพระองค์จะสั่งสอนพระกิตติคุณใน “ชนทุกชาติ” โดยวางใจในสัญญาของพระองค์ที่ว่าพระองค์จะทรง “อยู่กับ [พวกเขา] เสมอไปจนกว่าจะสิ้นยุค” (มัทธิว 28:19–20)

ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

มัทธิว 28; มาระโก 16; ลูกา 24; ยอห์น 20

พระเยซูคริสต์ฟื้นคืนพระชนม์

ในข้อเหล่านี้ ท่านจะอ่านเหตุการณ์สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ นั่นคือ การฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ ขณะที่ท่านอ่าน จงนำเอาตัวท่านเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่ผู้คนเห็นเหตุการณ์แวดล้อมการฟื้นคืนพระชนม์ด้วยตาตนเอง ท่านเรียนรู้อะไรจากประสบการณ์ของพวกเขา?

ท่าน รู้สึกอย่างไรขณะอ่านเกี่ยวกับการฟื้นคืนพระชนม์ของพระผู้ช่วยให้รอด พิจารณาว่าเหตุการณ์ดังกล่าวมีผลต่อท่านอย่างไร—ทัศนะของท่านต่อชีวิต ความสัมพันธ์ของท่าน ศรัทธาของท่านในพระคริสต์ และศรัทธาของท่านในความจริงอื่นๆ ของพระกิตติคุณ

ดู คู่มือพระคัมภีร์ “การฟื้นคืนพระชนม์

ลูกา 24:13–35

ฉันสามารถทูลเชิญพระผู้ช่วยให้รอด “มาพักกับ [ฉัน]” ได้

ขณะที่ท่านอ่านประสบการณ์ของสานุศิษย์ที่กำลังเดินทางสองคนที่ได้พบกับพระผู้ช่วยให้รอดผู้ฟื้นคืนพระชนม์ ให้มองหาสิ่งที่คล้ายคลึงกันกับประสบการณ์ของท่านในฐานะผู้ติดตามของพระคริสต์ ท่านจะเดินกับพระองค์วันนี้และทูลเชิญให้พระองค์ “พักอยู่” อีกหน่อยได้อย่างไร? (ลูกา 24:29) ท่านจะรับรู้พระสิริของพระองค์ในชีวิตท่านได้อย่างไร? พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นพยานต่อท่านในวิธีใดถึงความเป็นพระเจ้าของพระเยซูคริสต์?

ดู “สถิตกับข้าสายัณห์วันนี้,” “โปรดทรงสถิตกับข้า!,” เพลงสวด บทเพลงที่ 75–77 ด้วย

ลูกา 24:36–43; ยอห์น 20

การฟื้นคืนชีวิตเป็นการรวมกันอย่างถาวรของวิญญาณกับร่างกาย

เรื่องราวการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์สามารถช่วยให้ท่านเข้าใจว่าการฟื้นคืนชีวิตหมายความว่าอย่างไร ตัวอย่างเช่น ท่านพบความจริงอะไรบ้างใน ลูกา 24:36–43 และ ยอห์น 20 เกี่ยวกับร่างกายที่ฟื้นคืนชีวิต ท่านสามารถสำรวจข้อพระคัมภีร์อื่นๆ เกี่ยวกับการฟื้นคืนชีวิต เช่น 1 โครินธ์ 15:35–44; ฟีลิปปี 3:20–21; 3 นีไฟ 11:13–15; หลักคำสอนและพันธสัญญา 88:27–31; 110:2–3; 130:1, 22

ยอห์น 20:19–29

“คนที่ไม่เห็นเราแต่เชื่อก็เป็นสุข”

บางคนอาจจะรู้สึกเหมือนโธมัสผู้กล่าวว่า “ถ้าข้าไม่เห็น … ข้าจะไม่เชื่อเลย” (ยอห์น 20:25) ในความเห็นของท่าน เหตุใดการเชื่อโดยไม่เห็นจึงเป็นพร? (ดู ยอห์น 20:29) ไตร่ตรองว่าท่านได้รับพรอย่างไรเพราะเชื่อในเรื่องที่ท่านมองไม่เห็น อะไรช่วยให้ท่านมีศรัทธาในพระผู้ช่วยให้รอดแม้เมื่อท่านมองไม่เห็นพระองค์? ท่านจะเสริมสร้างศรัทธาของท่านต่อไปใน “สิ่งที่ไม่เห็น, ซึ่งจริง” ได้อย่างไร? (ดู แอลมา 32:16–21; อีเธอร์ 12:6) ท่านอาจจะบันทึกประสบการณ์ที่เคยช่วยให้ท่านเชื่อในพระเยซูคริสต์ไว้ในสมุดบันทึก หรือแบ่งปันกับคนรู้จัก

ยอห์น 21:1–17

พระผู้ช่วยให้รอดทรงเชื้อเชิญให้ฉันดูแลแกะของพระองค์

อาจจะน่าสนใจถ้าได้เปรียบเทียบปฏิสัมพันธ์ของพระผู้ช่วยให้รอดกับเหล่าอัครสาวกใน ยอห์น 21 กับครั้งแรกที่พระองค์ทรงบัญชาให้พวกเขาหย่อนอวนจับปลาดังบันทึกไว้ใน ลูกา 5:1–11 ท่านพบความคล้ายคลึงและความแตกต่างอะไรบ้าง? ท่านพบข้อคิดอะไรบ้างเกี่ยวกับการเป็นสานุศิษย์?

พิจารณาว่าพระดำรัสของพระผู้ช่วยให้รอดต่อเปโตรใน ยอห์น 21:15–17 จะประยุกต์ใช้กับท่านได้อย่างไร มีสิ่งใดยับยั้งท่านไม่ให้ปฏิบัติศาสนกิจต่อแกะของพระเจ้าหรือไม่? ท่านจะตอบว่าอย่างไรถ้าพระเจ้าตรัสถามท่านว่า “ท่านรักเราหรือ?” ไตร่ตรองว่าท่านจะแสดงความรักต่อพระเจ้าได้อย่างไร

ดู 1 เปโตร 5:2–4, 8; เจฟฟรีย์ อาร์. ฮอลแลนด์, “พระบัญญัติข้อใหญ่ข้อต้น,” เลียโฮนา, พ.ย. 2012, 83–85 ด้วย

ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและยามค่ำที่บ้าน

ลูกา 24:5–6ประธานโธมัส เอส. มอนสันพูดถึง ลูกา 24:5–6 ว่า “ไม่มีถ้อยคำใดในโลกคริสต์ศาสนาจะมีความหมายต่อข้าพเจ้ามากไปกว่านี้” (“พระองค์ทรงฟื้น!,” เลียโฮนา, พ.ค. 2010, 111) คำกล่าวนี้มีความหมายต่อท่านและครอบครัวของท่านอย่างไร?

มัทธิว 28; มาระโก 16; ลูกา 24; ยอห์น 20–21ขณะที่ครอบครัวท่านอ่านบทเหล่านี้ ให้สังเกตคนที่ปฏิสัมพันธ์กับพระเยซูในแต่ละเรื่อง ตัวอย่างเช่น ท่านประทับใจอะไรเกี่ยวกับคนที่ไปเยือนอุโมงค์พระศพของพระผู้ช่วยให้รอด? ท่านเรียนรู้อะไรจากคำพูดหรือการกระทำของอัครสาวกหรือจากสานุศิษย์ระหว่างทางไปเอมมาอูส?

ท่านอาจร้องเพลง “พระเยซูทรงฟื้นคืนจริงไหม?” ด้วยกัน (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 45) พูดถึงคนที่ครอบครัวท่านรู้จักซึ่งสิ้นชีวิตไปแล้ว และสนทนาว่าความจริงในเพลงนี้ช่วยให้สบายใจได้อย่างไร

พระเยซูทรงดำเนินไปกับชายสองคนบนถนน

ถนนไปเอมมาอูส โดย เวนดีย์ เคลเลอร์

มัทธิว 28:16–20; มาระโก 16:14–20; ลูกา 24:44–53ในข้อเหล่านี้ พระเยซูทรงขอให้อัครสาวกทำอะไร? เราจะช่วยทำงานนี้ให้สำเร็จได้อย่างไร? สมาชิกในครอบครัวสามารถแบ่งปันประสบการณ์เมื่อพวกเขารู้สึกว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงร่วมงานกับพวกเขา” เพื่อทำให้จุดประสงค์ของพระองค์สำเร็จ (มาระโก 16:20)

ยอห์น 21:15–17ท่านอาจจะอ่านข้อเหล่านี้ขณะรับประทานอาหารด้วยกัน ทั้งหมดนี้จะเพิ่มความหมายบางอย่างให้กับพระดำรัสของพระผู้ช่วยให้รอดที่ว่า “จงเลี้ยงดูแกะของเราเถิด” จากสิ่งที่พระเยซูทรงสอนเกี่ยวกับแกะในพันธสัญญาใหม่ (ดูตัวอย่างใน มัทธิว 9:35–36; 10:5–6; 25:31–46; ลูกา 15:4–7; ยอห์น 10:1–16) เหตุใดการเลี้ยงแกะจึงเป็นวิธีที่ดีในการอธิบายถึงการรับใช้บุตรธิดาของพระผู้เป็นเจ้า? การเปรียบเทียบนี้สอนอะไรในเรื่องที่ว่าพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูทรงรู้สึกต่อเราอย่างไร?

ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

เพลงที่แนะนำ: “พระเยซูทรงฟื้นขึ้นจริงไหม?หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 45

ปรับปรุงการศึกษาส่วนตัว

ใช้ดนตรีอัญเชิญพระวิญญาณและเรียนหลักคำสอน ฟังหรือร้องเพลงสวด เช่น “พระองค์ทรงฟื้น” (เพลงสวด, บทเพลงที่ 93) สามารถอัญเชิญพระวิญญาณและช่วยให้ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับการฟื้นคืนพระชนม์ของพระผู้ช่วยให้รอดได้

หญิงที่เห็นพระคริสต์ฟื้นคืนพระชนม์ข้างอุโมงค์พระศพ

พระคริสต์ผู้ฟื้นคืนพระชนม์ โดย วอลเตอร์ เรน