พันธสัญญาใหม่ 2023
7–13 สิงหาคม โรม 1–6: “ฤทธา‌นุ‌ภาพ​ของ​พระ‍เจ้า … เพื่อ​ได้​รับ​ความ​รอด”


“7–13 สิงหาคม โรม 1–6: ‘ฤทธานุภาพของพระเจ้า … เพื่อได้รับความรอด,’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2022)

“7–13 สิงหาคม โรม 1–6,” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2023

เปาโลกำลังเขียนสาส์น

7–13 สิงหาคม

โรม 1–6

“ฤทธานุภาพของพระเจ้า … เพื่อได้รับความรอด”

การบันทึกการกระตุ้นเตือนจะช่วยให้ท่านจดจำสิ่งที่พระวิญญาณกำลังสอนท่าน ท่านอาจจะบันทึกเช่นกันว่าท่านรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการกระตุ้นเตือนเหล่านี้

บันทึกความประทับใจของท่าน

ตอนที่เปาโลเขียนสาส์นถึงสมาชิกศาสนจักรชาวโรมันผู้เป็นกลุ่มชาวยิวปะปนกับคนต่างชาติ ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์เติบโตเกินกลุ่มเล็กๆ ของผู้เชื่อจากกาลิลีแล้ว ประมาณ 20 ปีหลังการฟื้นคืนพระชนม์ของพระผู้ช่วยให้รอด มีกลุ่มชุมนุมของชาวคริสต์เกือบทุกแห่งที่อัครสาวกเดินทางไปได้—รวมทั้งกรุงโรม เมืองหลวงของจักรวรรดิอันทรงอำนาจนั้น เมื่อเทียบกับความกว้างใหญ่ของอาณาจักรโรมัน ศาสนจักรมีขนาดเล็กและมักตกเป็นเป้าของการกดขี่ข่มเหง ในสภาพเช่นนี้ บางคนอาจรู้สึก “ละอายในเรื่องข่าวประเสริฐ”—แต่แน่นอนว่าไม่ใช่เปาโล เขารู้และเป็นพยานว่าพลังที่แท้จริง “ฤทธานุภาพของพระเจ้า … เพื่อได้รับความรอด” มีอยู่ในพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ (โรม 1:16)

ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

สาส์นคืออะไรและจัดเรียงอย่างไร?

สาส์นคือจดหมายที่ผู้นำศาสนจักรเขียนถึงวิสุทธิชนในภูมิภาคต่างๆ ของโลก อัครสาวกเปาโลเขียนสาส์นส่วนใหญ่ในพันธสัญญาใหม่—เริ่มจากโรมและจบที่ฮีบรู สาส์นของเขาจัดเรียงตามความยาว ยกเว้นฮีบรู (ดู คู่มือพระคัมภีร์, “สาส์นของเปาโล”) ถึงแม้โรมเป็นสาส์นฉบับแรกในพันธสัญญาใหม่ แต่เขียนขณะที่เปาโลใกล้จะสิ้นสุดการเดินทางเผยแผ่ศาสนาของเขา

โรม 1–6

“คนชอบธรรมจะมีชีวิตดำรงอยู่โดยความเชื่อ”

นิยามต่อไปนี้อาจช่วยให้ท่านเข้าใจสาส์นถึงชาวโรมันมากขึ้น

ธรรมบัญญัติเมื่อเปาโลเขียนเกี่ยวกับ “ธรรมบัญญัติ” เขาหมายถึงกฎของโมเสส คำว่า “การ​ประ‌พฤติ” ในงานเขียนของเปาโลหมายถึงความประพฤติภายนอกที่เกี่ยวข้องกับกฎของโมเสส พิจารณาว่ากฎของโมเสสและงานที่เรียกร้องภายใต้กฎนั้นแตกต่างจาก “หลัก‍เกณฑ์​ของ​ความ​เชื่อ” ที่อธิบายไว้ใน โรม 3:23–31 อย่างไร

การเข้าสุหนัต การไม่เข้าสุหนัตสมัยโบราณ การเข้าสุหนัตเป็นเครื่องแสดงหรือสัญลักษณ์ของพันธสัญญาที่พระผู้เป็นเจ้าทรงทำกับอับราฮัม เปาโลใช้คำว่า “การเข้าสุหนัต” เพื่อหมายถึงชาวยิว (ผู้คนแห่งพันธสัญญา) และ “การไม่เข้าสุหนัต” หมายถึงคนต่างชาติ ไตร่ตรองสิ่งที่ โรม 2:25–29 สอนเกี่ยวกับความหมายของการเป็นผู้คนแห่งพันธสัญญาของพระผู้เป็นเจ้าจริงๆ สังเกตว่าการเข้าสุหนัตไม่ใช่สัญลักษณ์แห่งพันธสัญญาของพระเจ้ากับประชากรของพระองค์อีกต่อไป (ดู กิจการของอัครทูต 15:23–29)

การชำระให้ชอบธรรม ชำระให้ชอบธรรม ถูกชำระให้ชอบธรรมคำเหล่านี้หมายถึงการปลดบาปหรือการทิ้งบาป เมื่อเราถูกชำระให้ชอบธรรม เราได้รับการให้อภัย ประกาศว่าไร้ความผิด และเป็นอิสระจากโทษนิรันดร์ของบาป เมื่อท่านเห็นคำศัพท์เหล่านี้ ให้สังเกตสิ่งที่เปาโลสอนเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้การชำระให้ชอบธรรมเป็นไปได้ (ดู คู่มือพระคัมภีร์, “แก้ต่าง (การ), รับรอง (การ),” scriptures.ChurchofJesusChrist.org ด้วย) ในโรม คำอย่างเช่น “ชอบธรรม” และ “ความชอบธรรม” น่าจะเป็นคำที่มีความหมายเดียวกันกับคำว่า “การชำระให้ชอบธรรม”

พระคุณพระคุณคือ “ความช่วยเหลือหรือพลังจากสวรรค์ ประทานผ่านพระเมตตาและความรักมากมายของพระเยซูคริสต์” โดยผ่านพระคุณ ทุกคนจะฟื้นคืนชีวิตและได้รับความเป็นอมตะ นอกจากนี้ “พระคุณคือพระเดชานุภาพอันกอปรด้วยพระปรีชาสามารถซึ่งยอมให้ชายหญิงได้รับชีวิตนิรันดร์และความสูงส่งหลังจากพวกเขาได้พยายามสุดความสามารถแล้ว” เราไม่ได้รับพระคุณผ่านความพยายามของเรา แต่พระคุณให้ “พลังและความช่วยเหลือเพื่อทำงานดีที่ [เรา] ไม่สามารถทำต่อไปได้หากไม่มีพระคุณ” (Bible Dictionary, “Grace”; ดู 2 นีไฟ 25:23; ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ, “ของประทานแห่งพระคุณ,” เลียโฮนา, พ.ค. 2015, 107–110 ด้วย) ขณะที่ท่านอ่านโรม ให้บันทึกสิ่งที่ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับพระคุณของพระผู้ช่วยให้รอด

โรม 2:17–29

การกระทำของฉันควรสะท้อนและเพิ่มการเปลี่ยนใจเลื่อมใสภายใน

คริสต์ศาสนิกชนชาวยิวบางคนในกรุงโรมยังคงเชื่อว่าการเชื่อฟังพิธีกรรมและพิธีการตามกฎของโมเสสทำให้เกิดความรอด อาจดูเหมือนเป็นปัญหาที่ไม่เกิดขึ้นอีกตั้งแต่เราไม่ดำเนินชีวิตตามกฎของโมเสส แต่ขณะท่านอ่านงานเขียนของเปาโล โดยเฉพาะ โรม 2:17–29 ให้นึกถึงความพยายามของท่านเองในการดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ การปฏิบัติภายนอกของท่าน เช่น การรับศีลระลึกหรือการเข้าพระวิหาร ทำให้การเปลี่ยนใจเลื่อมใสของท่านลึกซึ้งยิ่งขึ้นและเสริมสร้างศรัทธาของท่านในพระคริสต์หรือไม่ (ดู แอลมา 25:15–16) มีอะไรที่ท่านควรเปลี่ยนเพื่อให้การกระทำภายนอกของท่านนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของใจ?

ดู ดัลลิน เอช.โอคส์, “การท้าทายเพื่อที่จะเป็น,” เลียโฮนา, พ.ย. 2000, 32–34 ด้วย

โรม 3:10–31; 5

โดยผ่านพระเยซูคริสต์ ฉันจะได้รับการอภัยบาป

บางคนอาจรู้สึกท้อกับคำประกาศกร้าวของเปาโลว่า “ไม่มีผู้ใดเป็นคนชอบธรรมสักคนเดียว ไม่มีเลย” (โรม 3:10) แต่มีข่าวสารที่ให้ความหวังในโรมเช่นกัน มองหาข่าวสารเหล่านั้นใน บทที่ 3 และ 5 พิจารณาว่าเหตุใดการจดจำว่า “ทุกคนทำบาป และเสื่อมจากพระสิริของพระเจ้า” (โรม 3:23) จึงเป็นขั้นตอนสำคัญสู่การเรียนรู้ที่จะ “ชื่นชมยินดีในความหวัง” ผ่านพระเยซูคริสต์ (โรม 5:2)

โรม 6

พระเยซูคริสต์เชื้อเชิญให้ฉัน “ดำเนินตามชีวิตใหม่”

เปาโลสอนว่าพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ควรเปลี่ยนวิธีที่เราดำเนินชีวิต ข้อความใดใน โรม 6 ที่อธิบายว่าการติดตามพระผู้ช่วยให้รอดช่วยให้ท่าน “ดำเนินตามชีวิตใหม่” อย่างไร? (ข้อ 4)

ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและยามค่ำที่บ้าน

โรม 1:16–17เราจะแสดงให้เห็นได้อย่างไรว่าเรา “ไม่มีความละอายในเรื่องข่าวประเสริฐ”?

โรม 3:23–28ขณะที่ท่านอ่านข้อเหล่านี้ ท่านอาจสนทนาความแตกต่างระหว่าง “การทำงานเพื่อได้รับ” พระคุณของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเราไม่มีทางทำได้ กับการรับพระคุณของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเราต้องทำ เรารู้สึกถึงพระคุณของพระผู้เป็นเจ้าเมื่อใด? เราจะได้รับพระคุณของพระผู้เป็นเจ้าอย่างสมบูรณ์มากขึ้นได้อย่างไร?

โรม 5:3–5เราประสบความทุกข์ยากอะไรบ้าง? ความทุกข์ยากเหล่านี้ช่วยให้เราพัฒนาความอดทน ประสบการณ์ และความหวังอย่างไร?

โรม 6:3–6เปาโลกล่าวอะไรในข้อเหล่านี้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ของบัพติศมา? บางทีครอบครัวท่านอาจจะวางแผนเข้าร่วมพิธีบัพติศมาที่จะมาถึง หรือบางคนในครอบครัวท่านอาจให้ดูภาพหรือเล่าความทรงจำจากบัพติศมาของเขา การทำและรักษาพันธสัญญาบัพติศมาของเราช่วยให้เรา “ดำเนินตามชีวิตใหม่” อย่างไร?

ชายให้บัพติศมาชายอีกคนหนึ่งในทะเลสาบ

บัพติศมาเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นชีวิตใหม่ในฐานะสานุศิษย์ของพระคริสต์

ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

เพลงที่แนะนำ: “เมื่อฉันรับบัพติศมาหนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 53

ปรับปรุงการศึกษาส่วนตัว

ถามคำถามขณะท่านศึกษา ขณะท่านศึกษาพระคัมภีร์ คำถามอาจเข้ามาในความคิดท่าน ไตร่ตรองคำถามเหล่านี้และมองหาคำตอบ ตัวอย่างเช่น ใน โรม 1–6 ท่านอาจจะมองหาคำตอบของคำถาม “พระคุณคืออะไร?”

พระคริสต์ทรงอุ้มเด็กหญิงขึ้นจากลำธาร

อย่ากลัว โดย เกรก เค. โอลเซ็น