“18–24 ธันวาคม คริสต์มาส: ‘ข่าวดี … เป็นความยินดีอย่างยิ่ง,’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2022)
“18–24 ธันวาคม คริสต์มาส,” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2023
18–24 ธันวาคม
คริสต์มาส
“ข่าวดี … เป็นความยินดีอย่างยิ่ง”
พิจารณาว่าการไตร่ตรองการประสูติและพระพันธกิจของพระผู้ช่วยให้รอดสามารถช่วยนำวิญญาณแห่งสันติสุขและความศักดิ์สิทธิ์มาสู่เทศกาลคริสต์มาสได้อย่างไร
บันทึกความประทับใจของท่าน
เหตุใดการเกิดของเด็กทารกจึงทำให้เกิดความยินดีอย่างยิ่ง? บางทีอาจจะเป็นเพราะทารกแรกเกิดเป็นสัญลักษณ์ของความหวัง มีบางอย่างเกี่ยวกับชีวิตใหม่ซึ่งเต็มไปด้วยความเป็นไปได้ที่เชื้อเชิญให้เราไตร่ตรองว่าชีวิตจะมีอะไรให้เด็กคนนั้นและเขาจะทำเรื่องดีๆ อะไรให้สำเร็จได้บ้าง เรื่องนี้ไม่เคยเป็นจริงเท่าเหตุการณ์เมื่อครั้งพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้าพระเยซูคริสต์ประสูติ ไม่เคยมีความหวังใดในเด็กมากกว่าเวลานั้น และไม่เคยมีคนใดเกิดมาพร้อมสัญญาเช่นนั้น
เมื่อเทพเชื้อเชิญคนเลี้ยงแกะให้ไปหาทารกแรกเกิดในรางหญ้า เทพให้ข่าวสารแก่พวกเขาเกี่ยวกับเด็กคนนั้นด้วย นั่นเป็นข่าวสารแห่งความหวัง—ว่าพระกุมารองค์นี้เสด็จมาแผ่นดินโลกเพื่อทำพระพันธกิจอันศักดิ์สิทธิ์ให้เกิดสัมฤทธิผล คนเลี้ยงแกะ “เล่าเรื่องที่เขาได้ยิน … คนทั้งหลายที่ได้ยินก็ประหลาดใจเกี่ยวกับเรื่องที่คนเลี้ยงแกะบอกกับเขา ส่วนนางมารีย์ก็เก็บสิ่งเหล่านั้นไว้ และรำพึงอยู่ในใจ” (ลูกา 2:17–19) บางทีคริสต์มาสปีนี้น่าจะทำตามแบบอย่างของมารีย์คือ รำพึง (ไตร่ตรอง) อยู่ในใจถึงสิ่งที่ท่านได้เรียนรู้เกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดปีนี้ พระองค์ทรงทำพระพันธกิจแห่งการไถ่ให้เกิดสัมฤทธิผลอย่างไรในเรื่องราวที่ท่านอ่าน? และสำคัญกว่านั้นคือ พระพันธกิจของพระองค์เปลี่ยนชีวิตท่านอย่างไร? จากนั้นท่านอาจรู้สึกได้รับการดลใจให้ทำตามแบบอย่างของคนเลี้ยงแกะ ท่านจะ “เล่าเรื่องที่ได้ยิน” ได้อย่างไรว่าพระเยซูคริสต์ทรงทำอะไรเพื่อท่าน?
แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว
มัทธิว 1:18–25; 2:1–12; ลูกา 1:26–38; 2:1–20
พระเยซูคริสต์ทรงลดองค์ลงมาเกิดท่ามกลางพวกเราบนแผ่นดินโลก
ถึงแม้ท่านเคยอ่านหรือได้ยินเรื่องราวการประสูติของพระเยซูคริสต์หลายครั้งแล้ว แต่ครั้งนี้จงศึกษาโดยมีความคิดนี้ในใจ: “คริสต์มาสไม่เพียงเป็นการเฉลิมฉลอง วิธี ที่พระเยซูเสด็จมาในโลกเท่านั้นแต่เฉลิมฉลองการรู้ว่าพระองค์ทรงเป็น ใคร —พระเจ้าและพระผู้ช่วยให้รอดของเรา พระเยซูคริสต์—และเฉลิมฉลอง สาเหตุ ที่พระองค์เสด็จมาด้วย” (Craig C. Christensen, “The Fulness of the Story of Christmas” [First Presidency Christmas devotional, Dec. 4, 2016], broadcasts.ChurchofJesusChrist.org)
ท่านรู้อะไรเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ก่อนพระองค์ประสูติ (ดูตัวอย่างเช่น ยอห์น 17:5; โมไซยาห์ 3:5; หลักคำสอนและพันธสัญญา 76:13–14, 20–24; โมเสส 4:2) ความรู้นี้ควรส่งผลต่อความรู้สึกของท่านเมื่ออ่านเรื่องการประสูติของพระองค์อย่างไร
ท่านรู้อะไรเกี่ยวกับสาเหตุที่พระเยซูคริสต์เสด็จมาแผ่นดินโลก (ดูตัวอย่างเช่น ลูกา 4:16–21; ยอห์น 3:16–17; 3 นีไฟ 27:13–16; หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:20–28) ความรู้นี้ส่งผลต่อความรู้สึกของท่านเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดอย่างไร? และส่งผลต่อวิธีที่ท่านดำเนินชีวิตอย่างไร?
ดู 2 โครินธ์ 8:9; ฮีบรู 2:7–18; 1 นีไฟ 11:13–33; แอลมา 7:10–13
1 โครินธ์ 15:21–26; โคโลสี 1:12–22; 1 เปโตร 2:21–25
พระเยซูคริสต์ทรงทำพระพันธกิจของพระองค์ให้เกิดสัมฤทธิผลและทรงทำให้เป็นไปได้สำหรับฉันที่จะได้รับชีวิตนิรันดร์
ถึงแม้เรื่องราวการประสูติของพระคริสต์แวดล้อมไปด้วยเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ แต่การประสูติของพระองค์จะเป็นเพียงการเกิดอีกครั้งหนึ่งถ้าไม่ใช่เพราะงานอันสำคัญยิ่งที่พระองค์ทรงทำสำเร็จต่อจากนั้นในพระชนม์ชีพของพระองค์ ดังที่ประธานกอร์ดอน บี. ฮิงค์ลีย์กล่าว “พระกุมารเยซูแห่งเบธเลเฮมคงจะเป็นเพียงทารกอีกคนหนึ่งหากปราศจากพระคริสต์ที่ทรงไถ่ในเกทเสมนีและคัลวารี และชัยชนะของการฟื้นคืนพระชนม์” (“The Wondrous and True Story of Christmas,” Ensign, Dec. 2000, 5)
หลักฐานยืนยันพระพันธกิจของพระผู้ช่วยให้รอดและความรักอันทรงอานุภาพที่พระองค์ทรงมีต่อผู้อื่นมีอยู่ทั่วพันธสัญญาใหม่ ข้อใดหรือเรื่องใดเข้ามาในความคิดท่าน? ท่านอาจจะกลับไปดูหนังสือเล่มนี้หรือสมุดบันทึกการศึกษาส่วนตัวของท่านและทบทวนความประทับใจบางอย่างที่ท่านบันทึกไว้ ท่านอาจจะอ่าน 1 โครินธ์ 15:21–26; โคโลสี 1:12–22; 1 เปโตร 2:21–25 ด้วยและไตร่ตรองว่าพระผู้ช่วยให้รอดและพระกรณียกิจของพระองค์เป็นพรแก่ชีวิตท่านอย่างไร ท่านรู้สึกได้รับการดลใจให้เปลี่ยนแปลงอะไรในชีวิตท่าน? ท่านจะดึงพลังของพระผู้ช่วยให้รอดมาใช้ได้อย่างไร?
แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและยามค่ำที่บ้าน
-
มัทธิว 1:18–25; 2:1–12; ลูกา 1:26–38; 2:1–20ท่านจะเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซูคริสต์กับครอบครัวท่านได้อย่างไร? ต่อไปนี้เป็นแนวคิดบางประการ หรือท่านอาจจะคิดเองได้เช่นกัน
-
อ่านหรือแสดงเรื่องราวการประสูติด้วยกัน
-
ดูการให้ข้อคิดทางวิญญาณจากฝ่ายประธานสูงสุดเนื่องในเทศกาลคริสต์มาส (broadcasts.ChurchofJesusChrist.org)
-
ร้องเพลงสวดคริสต์มาสด้วยกัน หรือเลือกเพื่อนบ้านหรือเพื่อนที่จะไปเยี่ยมและร้องเพลงให้พวกเขาฟัง (ดู เพลงสวด, บทเพลงที่ 94–104, 115)
-
บำเพ็ญประโยชน์
-
ขอให้สมาชิกครอบครัวมองหารายละเอียดในเรื่องราวการประสูติที่ให้แนวคิดสำหรับทำของประดับตกแต่งเพื่อเตือนให้พวกเขาระลึกถึงพระเยซูคริสต์
-
-
1 โครินธ์ 15:21–26; โคโลสี 1:12–22; 1 เปโตร 2:21–25เหตุใดเราจึงสำนึกคุณที่พระเยซูคริสต์ประสูติ? พระองค์ประทานของขวัญอะไรแก่เราบ้าง? เราจะแสดงความสำนึกคุณต่อพระองค์ได้อย่างไร? ครอบครัวของท่านอาจร้องเพลงที่สอนเกี่ยวกับพระพันธกิจของพระองค์ เช่น “พระองค์ทรงส่งพระบุตร” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 34–35)
-
“พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์: ประจักษ์พยานของอัครสาวก”หากท่านต้องการช่วยให้ครอบครัวจดจ่อกับพระผู้ช่วยให้รอดในช่วงเทศกาลคริสต์มาส ท่านอาจจะใช้เวลาอ่านและศึกษา “พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์: ประจักษ์พยานของอัครสาวก” (ChurchofJesusChrist.org) ท่านอาจจะท่องข้อความจาก “พระคริสต์ผู้ทรงพระชนม์” หรือหาคำอธิบายเกี่ยวกับพระชนม์ชีพของพระผู้ช่วยให้รอดในพันธสัญญาใหม่ที่สนับสนุนข้อความในนั้น ท่านอาจจะเชื้อเชิญให้สมาชิกครอบครัวแต่ละคนเขียนประจักษ์พยานเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ และอ่านให้ครอบครัวฟังหากได้รับการกระตุ้นเตือน
ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย
เพลงที่แนะนำ: “ครั้งหนึ่งในคอกสัตว์อันต่ำต้อย” หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 18