“24–30 มกราคม โมเสส 7: ‘พระเจ้าทรงเรียกผู้คนของพระองค์ว่าไซอัน,’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)
“24–30 มกราคม โมเสส 7,” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2022
จงรักกันและกัน โดย เอ็มม่า โดนัลด์สัน เทย์เลอร์
24–30 มกราคม
โมเสส 7
“พระเจ้าทรงเรียกผู้คนของพระองค์ว่าไซอัน”
ขณะที่ท่านอ่านและไตร่ตรอง โมเสส 7 บันทึกความประทับใจทางวิญญาณของท่าน ในการทำเช่นนี้ ท่านได้แสดงให้เห็นว่าท่านเห็นคุณค่าของการนำทางจากพระเจ้าและต้องการได้รับการนำทางเพิ่มเติมจากพระองค์
บันทึกความประทับใจของท่าน
ตลอดประวัติศาสตร์ ผู้คนพยายามบรรลุสิ่งที่เอโนคและผู้คนของเขาทำได้สำเร็จ: การสร้างสังคมอุดมคติที่ไม่มีความยากจนหรือความรุนแรง ในฐานะที่เป็นผู้คนของพระผู้เป็นเจ้า เรามีความปรารถนาเดียวกันนี้ เราเรียกว่าการสร้างไซอัน ซึ่งรวมถึง—นอกเหนือจากการดูแลผู้ยากไร้และส่งเสริมสันติภาพ—การทำพันธสัญญา การอยู่ร่วมกันในความชอบธรรม และเป็นหนึ่งเดียวกันและกับพระเยซูคริสต์ “จอมราชันแห่งไซอัน” (โมเสส 7:53) เพราะงานสร้างไซอันดำเนินต่อเนื่องในสมัยของเรา เป็นประโยชน์ที่จะถามว่า เอโนคและผู้คนของเขาทำได้อย่างไร? พวกเขาสามารถ “มีจิตใจเดียวและความคิดเดียว” (โมเสส 7:18) ได้อย่างไรแม้จะมีความชั่วร้ายอยู่รอบตัวพวกเขา? ท่ามกลางรายละเอียดมากมายที่ โมเสส 7 บอกเราเกี่ยวกับไซอัน สิ่งที่มีค่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับวิสุทธิชนยุคสุดท้ายอาจเป็นดังนี้: ไซอันไม่ได้เป็นเพียงเมือง—แต่เป็นสภาพของหัวใจและวิญญาณ ดังที่พระเจ้าได้สอนไว้ว่า ไซอันคือ “ผู้มีใจบริสุทธิ์” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 97:21) หรือบางทีวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างไซอันคือการเริ่มต้นในใจและในบ้านของเราเอง
แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว
ความพยายามของเอโนคคือรูปแบบการสร้างไซอันในชีวิตของเราเอง
เนื่องจาก โมเสส 7 เป็นบันทึกเกี่ยวกับผู้ติดตามของพระผู้เป็นเจ้าผู้สร้างไซอันได้สำเร็จ ซึ่งสามารถสอนและสร้างแรงบันดาลใจให้เราได้ในวันนี้เมื่อเราพยายามทำเช่นเดียวกัน พิจารณาการใช้ตารางแบบเดียวกันนี้เพื่อบันทึกสิ่งที่ท่านเรียนรู้เกี่ยวกับไซอันจาก โมเสส 7:16–21, 27, 53, 62–69
ข้อ |
ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับไซอัน? |
สิ่งนี้บอกอะไรเกี่ยวกับความพยายามของท่านในการสร้างไซอัน? |
---|---|---|
ข้อ | ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับไซอัน? ผู้คนในไซอันมี “จิตใจเดียวและความคิดเดียว” | สิ่งนี้บอกอะไรเกี่ยวกับความพยายามของท่านในการสร้างไซอัน? เราต้องรวมกันเป็นครอบครัวและในฐานะศาสนจักร |
ข้อ | ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับไซอัน? “ตามวิถีแห่งเวลา, พระองค์ทรงรับ [ไซอัน] ขึ้นสู่สวรรค์” | สิ่งนี้บอกอะไรเกี่ยวกับความพยายามของท่านในการสร้างไซอัน? การสร้างไซอันเป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป |
ข้อ | ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับไซอัน? | สิ่งนี้บอกอะไรเกี่ยวกับความพยายามของท่านในการสร้างไซอัน? |
ข้อ | ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับไซอัน? | สิ่งนี้บอกอะไรเกี่ยวกับความพยายามของท่านในการสร้างไซอัน? |
ผู้คนของพระผู้เป็นเจ้าควรพยายามมี “จิตใจเดียวและความคิดเดียว”
โมเสส 7:18–19 ระบุลักษณะสำคัญของผู้ที่พระเจ้าทรงเรียกว่าไซอัน ท่านคิดว่าเหตุใดลักษณะนิสัยเหล่านี้จำเป็นเพื่อสร้างไซอัน? ไซอันดังที่อธิบายไว้ในบทนี้แตกต่างจากกลุ่มหรือองค์กรอื่นๆ ที่เป็นหนึ่งเดียวในโลกอย่างไร? เมื่อท่านพิจารณาถึงคำถามนี้ ท่านอาจคิดถึงพระดำรัสเหล่านี้ของพระเยซูคริสต์ใน ข้อ 53: “เราคือพระเมสสิยาห์, จอมราชันแห่งไซอัน” การมีพระเยซูคริสต์เป็นจอมราชันของเราหมายความว่าอย่างไร? พระองค์ทรงช่วยเราพัฒนาลักษณะความเป็นไซอันอย่างไร?
ดู ฟีลิปปี 2:1–5; 4 นีไฟ 1:15–18; หลักคำสอนและพันธสัญญา 97:21; 105:5
เราควรพยายามมี “จิตใจเดียวและความคิดเดียว” (โมเสส 7:18)
เกิดอะไรขึ้นกับเมืองของเอโนค?
วลี “รับขึ้น” (โมเสส 7:21, 23) “ยกขึ้น” (โมเสส 7:24) “พาขึ้นไป” (โมเสส 7:27) และ “หลบหนีไป” (โมเสส 7:69) สื่อถึงไซอันและผู้คนของเอโนคที่ถูกแปรสภาพและนำไปสู่สวรรค์ ผู้คนที่ถูกแปรสภาพ “ถูกเปลี่ยนเพื่อพวกเขาจะไม่ต้องประสบความเจ็บปวดหรือความตาย” ดังมนุษย์ (คู่มือพระคัมภีร์, “สัตภาวะที่แปรสภาพ,” “ไซอัน,” scriptures.ChurchofJesusChrist.org; ดู 3 นีไฟ 28:4–9, 15–18, 39–40 ด้วย)
พระผู้เป็นเจ้าทรงกันแสงเพื่อบุตรธิดาของพระองค์
บางคนมองว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงห่างไกล ไม่ได้ทรงรับผลกระทบทางอารมณ์จากสิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา แต่เอโนคเห็นนิมิตที่พระผู้เป็นเจ้าทรงกันแสงเพื่อบุตรธิดาของพระองค์ ขณะที่ท่านอ่าน โมเสส 7:28–40 จงหาเหตุผลที่พระผู้เป็นเจ้าทรงกันแสง ในส่วนที่เหลือของนิมิตของเอโนคที่ได้อธิบายไว้ใน โมเสส 7:41–69 หลักฐานอะไรที่ท่านพบว่าพระผู้เป็นเจ้าทรง “มีพระเมตตาและพระกรุณาตลอดกาลเวลา”? (โมเสส 7:30; ดู ข้อ 43, 47 และ 62 สำหรับตัวอย่าง)
ในวันสุดท้ายพระผู้เป็นเจ้าจะทรงรวบรวมผู้ที่ทรงเลือกไว้
ข้อ 62 บรรยายเหตุการณ์ของวันเวลาสุดท้าย พิจารณาว่าวลีใดที่อาจหมายถึง: “เราจะส่งความชอบธรรมลงมาจากสวรรค์” “เราจะส่งความจริงออกมาจากแผ่นดินโลก” “เราจะทำให้ความชอบธรรมและความจริงถั่งท้นแผ่นดินโลกดังด้วยน้ำท่วม” วลีเหล่านี้สอนอะไรท่านเกี่ยวกับงานของพระผู้เป็นเจ้าในยุคสุดท้าย?
แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและยามค่ำที่บ้าน
-
โมเสส 7:18–19เพื่อช่วยให้สมาชิกในครอบครัวเห็นภาพความหมายของ “จิตใจเดียว” บางทีท่านอาจตัดกระดาษเป็นรูปหัวใจและตัดเป็นชิ้นส่วนจิ๊กซอว์ ตามจำนวนของสมาชิกในครอบครัว หนึ่งคนควรมีหนึ่งชิ้น ให้สมาชิกในครอบครัวเขียนชื่อลงบนชิ้นจิ๊กซอว์ของตน จากนั้นร่วมแรงร่วมใจกันต่อจิ๊กซอว์ให้เป็นหัวใจที่สมบูรณ์ด้วยกัน ขณะต่อจิ๊กซอว์ท่านอาจพูดถึงสิ่งที่ท่านรักเกี่ยวกับสมาชิกครอบครัวแต่ละคน
-
โมเสส 7:28–31, 35เราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าจากข้อเหล่านี้?
-
โมเสส 7:32เหตุใดพระผู้เป็นเจ้าจึงประทานสิทธิ์เสรีแก่เรา? เราจะพูดอะไรกับคนที่รู้สึกว่าพระบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าจำกัดสิทธิ์เสรีของเรา? อ่าน 2 นีไฟ 2:25–27 อาจช่วยเพิ่มการสนทนา
-
โมเสส 7:59–67เมื่อครอบครัวของท่านอ่าน โมเสส 7:59–67 ลองทำเครื่องหมายหรือสังเกตสิ่งต่างๆ ที่พระเจ้าทรงบอกเอโนคเกี่ยวกับยุคสุดท้าย—ตัวอย่างเช่น พระผู้เป็นเจ้าจะทรง “รวบรวมผู้ที่ [พระองค์] ทรงเลือกไว้” (ข้อ 62) และจะมี “ความยากลำบากใหญ่หลวงในบรรดาคนชั่วร้าย” (ข้อ 66) เราจะมีศรัทธาและความหวังได้อย่างไรแม้จะมีความชั่วร้ายในยุคสุดท้าย? ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการสนทนานี้ ให้อ่านคำเหล่านี้จากเอ็ลเดอร์โรนัลด์ เอ. ราสแบนด์: “จงมีใจสู้ พี่น้องทั้งหลาย เราอยู่ในเวลาที่น่ากลัว แต่เมื่อเราอยู่บนเส้นทางพันธสัญญา เราไม่ต้องกลัว ข้าพเจ้าอวยพรท่านว่าเมื่อท่านทำดังนี้ ท่านจะไม่กังวลใจกับยุคสมัยที่เราอยู่หรือความกังวลใจที่เกิดกับท่าน ข้าพเจ้าอวยพรให้ท่านเลือกยืนอยู่ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และไม่หวั่นไหว ข้าพเจ้าอวยพรให้ท่านเชื่อในสัญญาของพระเยซูคริสต์ว่าพระองค์ทรงพระชนม์ ทรงคุ้มครองเรา ดูแลเรา และยืนข้างเรา” (“อย่ากังวลใจเลย,” เลียโฮนา, พ.ย. 2018, 21)
ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย
เพลงที่แนะนำ: “รักที่บ้าน” เพลงสวด บทเพลงที่ 144
ปรับปรุงการสอนของเรา
ช่างสังเกต ขณะที่ท่านเอาใจใส่สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตลูกๆ ของท่าน ท่านจะพบโอกาสการสอนที่ดีเยี่ยม ความเห็นและคำถามของลูกๆ ตลอดวันสามารถส่งสัญญาณช่วงเวลาที่เหมาะกับการสอน (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 16)
นครไซอันได้รับการแปรสภาพ โดย เดล พาร์สัน