พันธสัญญาเดิม 2022
12–18 กันยายน อิสยาห์ 13–14; 24–30; 35: “[งาน] ประหลาดและอัศจรรย์”


“12–18 กันยายน อิสยาห์ 13–14; 24–30; 35: ‘[งาน] ประหลาดและอัศจรรย์’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“12–18 กันยายน อิสยาห์ 13–14; 24–30; 35” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2022

โจเซฟ สมิธเห็นพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ในป่าศักดิ์สิทธิ์

ป่าศักดิ์สิทธิ์ โดย เบรนท์ บอรัพ

12–18 กันยายน

อิสยาห์ 13–14; 24–30;35

“[งาน] ประหลาดและอัศจรรย์”

ประธานบอนนี่ เอช. คอร์ดอนสอนว่า “พระคัมภีร์ทำให้ความคิดกระจ่าง บำรุงเลี้ยงวิญญาณ ตอบคำถามที่เรามี เพิ่มความวางใจในพระเจ้า และช่วยให้ชีวิตเรามุ่งไปที่พระองค์” (“จงวางใจในพระเจ้าและอย่าพึ่งพา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2017, 7)

บันทึกความประทับใจของท่าน

หนึ่งในหลายสิ่งที่พระเจ้าทรงขอให้ศาสดาพยากรณ์ทำคือเตือนเรื่องผลของบาป ในกรณีของศาสดาพยากรณ์สมัยพันธสัญญาเดิม นี่มักหมายถึงการบอกผู้ปกครองที่เรืองอำนาจของอาณาจักรอันเกรียงไกรว่าพวกเขาต้องกลับใจหาไม่แล้วจะถูกทำลาย นั่นเป็นภารกิจที่อันตราย แต่อิสยาห์ไม่หวั่นกลัว และเขาเตือนอาณาจักรต่างๆ ในสมัยของเขา—รวมทั้งอิสราเอล ยูดาห์ และประเทศโดยรอบ—อย่างกล้าหาญ (ดู อิสยาห์ 13–23)

อย่างไรก็ดี อิสยาห์มีข่าวสารเรื่องความหวังด้วย ถึงแม้ความพินาศที่พยากรณ์ไว้เกิดขึ้นกับอาณาจักรเหล่านี้ในท้ายที่สุด แต่อิสยาห์มองเห็นล่วงหน้าว่าจะมีการฟื้นฟูและการเริ่มใหม่ พระเจ้าจะทรงเชื้อเชิญให้ผู้คนของพระองค์กลับมาหาพระองค์ พระองค์จะทรงทำให้ “พื้นดินร้อนจัด … กลายเป็นสระน้ำ และพื้นดินแห้งผากจะเป็นน้ำพุ” (อิสยาห์ 35:7) พระองค์จะทรงทำ “[งาน] ประหลาดและอัศจรรย์” (อิสยาห์ 29:14) โดยฟื้นฟูพรที่พระองค์ทรงสัญญาไว้กับอิสราเอล อิสยาห์หรือคนที่มีชีวิตในสมัยนั้นไม่ได้เห็นงานอัศจรรย์นี้ แต่ปัจจุบันเรากำลังเห็นสัมฤทธิผลในที่สุดของงานนี้ ความจริงคือเราเป็นส่วนหนึ่งของงานดังกล่าว!

ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

อิสยาห์ 13:1–11, 19–22; 14:1–20

อาณาจักรที่ชั่วร้ายของโลกและผู้ปกครองอาณาจักรเหล่านั้นจะล่มสลาย

อิสยาห์ 13–14 เรียกกันว่า “ครุวาทเกี่ยวกับ” (ข่าวสารของศาสดาพยากรณ์เกี่ยวกับ) บาบิโลน (อิสยาห์ 13:1) ปัจจุบันบาบิโลนอาณาจักรที่เคยเกรียงไกรกับผู้ปกครองที่เรืองอำนาจถือเป็นประวัติศาสตร์สมัยโบราณ แล้วเหตุใดข่าวสารถึงบาบิโลนจึงสำคัญต่อเราในปัจจุบัน? ในพระคัมภีร์ บาบิโลนเป็นสัญลักษณ์ของความจองหอง ความฝักใฝ่ทางโลก และบาป และปัจจุบันเราแวดล้อมไปด้วยทั้งหมดนี้ นึกถึงสัญลักษณ์นี้ขณะที่ท่านอ่าน อิสยาห์ 13:1–11, 19–22; 14:1–20 ท่านอาจจะพิจารณาคำถามทำนองนี้ด้วย:

  • คำเตือนของอิสยาห์ถึงบาบิโลนคล้ายกับคำพยากรณ์เกี่ยวกับโลกก่อนการเสด็จมาครั้งที่สองของพระผู้ช่วยให้รอดอย่างไร? (ดู อิสยาห์ 13:1–11; หลักคำสอนและพันธสัญญา 45:26–42)

  • ท่านเห็นความคล้ายคลึงอะไรบ้างระหว่างความจองหองของกษัตริย์บาบิโลนกับความจองหองของซาตาน? (ดู อิสยาห์ 14:4–20; โมเสส 4:1–4) ท่านพบคำเตือนอะไรบ้างสำหรับตัวท่านเองในข้อเหล่านี้?

  • พระผู้ช่วยให้รอดทรงจัดเตรียมที่ “หยุดพักจากความเจ็บปวดและความวุ่นวาย [ความเศร้าโศกและความกลัว] ของเจ้า” อย่างไร? (อิสยาห์ 14:3)

พระเยซูในฉลองพระองค์สีแดง

พระองค์เสด็จมาครองและปกครองอีกครั้ง โดย แมรีย์ อาร์. ซาวเออร์

อิสยาห์ 24:21–23; 25:6–8; 26:19; 28:16

งานเขียนของอิสยาห์ชี้นำฉันไปหาพระเยซูคริสต์

บ่อยครั้งคำสอนของอิสยาห์อ้างถึงพระพันธกิจของพระผู้ช่วยให้รอด รวมทั้งการพลีพระชนม์ชีพเพื่อการชดใช้ การฟื้นคืนพระชนม์ และการเสด็จมาครั้งที่สองของพระองค์ ท่านนึกถึงพระพันธกิจแง่มุมใดของพระองค์ขณะอ่านข้อต่อไปนี้: อิสยาห์ 24:21–23; 25:6–8; 26:19; 28:16? ท่านพบข้อใดอีกบ้างที่เตือนให้ท่านนึกถึงพระผู้ช่วยให้รอด?

ดู อิสยาห์ 22:22–25 ด้วย

อิสยาห์ 24:1–12; 28:7–8; 29:7–10; 30:8–14

การละทิ้งความเชื่อหมายถึงการหันหลังให้พระเจ้าและศาสดาพยากรณ์ของพระองค์

อิสยาห์ใช้อุปลักษณ์หลายอย่างเพื่อเตือนเรื่องผลของการหันหลังให้พระเจ้าและการปฏิเสธศาสดาพยากรณ์ของพระองค์ อาทิ โลกที่ร้างเปล่า (อิสยาห์ 24:1–12) ความมึนเมา (อิสยาห์ 28:7–8) ความหิวและความกระหาย (อิสยาห์ 29:7–10) และกำแพงหรือภาชนะที่แตก (อิสยาห์ 30:8–14) ตามที่ท่านอ่านในข้อเหล่านี้ เหตุใดการรักษาพันธสัญญาของเราจึงสำคัญ? พิจารณาว่าท่านกำลังทำอะไรเพื่อซื่อตรงต่อพระเจ้าและผู้รับใช้ของพระองค์

ดู เอ็ม. รัสเซลล์ บัลลาร์ด, “อยู่ในเรือและจับให้แน่น!” ด้วย เลียโฮนา, พ.ย. 2014, 89–92; คู่มือพระคัมภีร์, “ละทิ้งความเชื่อ (การ),” topics.ChurchofJesusChrist.org ด้วย

อิสยาห์ 29; 30:18–26;35

พระเจ้าทรงสามารถฟื้นฟูสิ่งที่สูญหายหรือเสียหาย

เมื่อผู้คนหรือสังคมหันหลังให้พระเจ้า ซาตานต้องการให้เราคิดว่าผลที่ตามมาไม่สามารถย้อนกลับไปได้ แต่อิสยาห์พูดถึงสิ่งอัศจรรย์บางอย่างที่พระเจ้าจะทรงทำเมื่อผู้คนกลับใจและหันมาหาพระองค์ ท่านเรียนรู้อะไรจาก อิสยาห์ 29:13–24; 30:18–26;35 เกี่ยวกับพระเจ้า ความรักของพระองค์ และเดชานุภาพของพระองค์?

วิธีหนึ่งที่พระเจ้าทรงแสดงเดชานุภาพของพระองค์ให้ประจักษ์ในสมัยของเราคือผ่านการฟื้นฟูพระกิตติคุณของพระองค์ อิสยาห์ 29 มีหลายข้อคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ของการฟื้นฟูนั้น ตัวอย่างเช่น:

ท่านมีความคิดหรือความประทับใจอะไรบ้างเกี่ยวกับการฟื้นฟูพระกิตติคุณขณะอ่านข้อเหล่านี้?

ดู “การฟื้นฟูความสมบูรณ์แห่งพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์: ถ้อยแถลงต่อโลกเนื่องในวาระครบรอบสองร้อยปี” ด้วย (ChurchofJesusChrist.org)

ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและยามค่ำที่บ้าน

อิสยาห์ 25:4–9ครอบครัวท่านเคยประสบพรของที่คุ้มภัยในช่วงเกิดพายุหรือที่กำบังในวันที่อากาศร้อนหรือไม่? (ดู ข้อ 4) พูดคุยเรื่องนี้ขณะที่ท่านอ่านข้อเหล่านี้และคำอธิบายอื่นของพระเจ้าที่พบใน อิสยาห์ 25:4–9 พระเจ้าทรงเปรียบเสมือนสิ่งเหล่านี้อย่างไร?

อิสยาห์ 25:8–9; 26:19การดูภาพพระผู้ช่วยให้รอดในเกทเสมนี บนกางเขน และหลังการฟื้นคืนพระชนม์จะช่วยให้ครอบครัวท่านเห็นความเชื่อมโยงระหว่างข้อเหล่านี้กับพระเยซูคริสต์ (ดู หนังสือภาพพระกิตติคุณ, ภาพที่ 56, 57, 58,59) เชิญครอบครัวท่านแบ่งปันว่าเหตุใดพวกเขาจึง “เปรมปรีดิ์ในความรอดจากพระองค์” (อิสยาห์ 25:9)

อิสยาห์ 29:11–18ข้อเหล่านี้จะช่วยครอบครัวท่านสนทนาเรื่อง “[งาน] ประหลาดและอัศจรรย์” (ข้อ 14) ของการฟื้นฟูพระกิตติคุณและการออกมาของพระคัมภีร์มอรมอน เหตุใดสิ่งเหล่านี้จึงประหลาดและอัศจรรย์ต่อเรา? เชิญชวนให้สมาชิกครอบครัวหาของในบ้านที่ใช้แทนพรอันน่าอัศจรรย์ของการฟื้นฟู

อิสยาห์ 35ครอบครัวท่านอาจจะชอบวาดรูปภาพพจน์ต่างๆ ในบทนี้ที่ช่วยให้เราเข้าใจว่าพระเยซูคริสต์ทรงกำลังสร้างไซอันในสมัยของเราอย่างไร เราเรียนรู้อะไรจากภาพพจน์เหล่านี้? เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยสร้างไซอัน?

ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

เพลงที่แนะนำ: “ในฤดูใบไม้ผลิแสนงามหนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 57

ปรับปรุงการสอนของเรา

ให้เด็กแสดงความคิดสร้างสรรค์ของตน เมื่อเด็กสร้างสรรค์บางสิ่งเกี่ยวกับหลักธรรมพระกิตติคุณ นั่นจะช่วยให้พวกเขาเข้าใจหลักธรรมดีขึ้น ปล่อยให้พวกเขาสร้าง วาด ระบายสี เขียน และสร้างสรรค์ (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด,25)

มารีย์กับยอห์นมองดูพระเยซูบนกางเขน

“ดูสิ นี่คือพระเจ้าของเรา เรารอคอยพระองค์ เพื่อพระองค์จะทรงช่วยเราให้รอด” (อิสยาห์ 25:9) เจมส์ ทิสสอท (ฝรั่งเศส, 1836–1902) หญิงเอ๋ย นี่คือบุตรของท่าน (Stabat Mater), 1886–1894 สีน้ำทึบแสงระบายทับเส้นดินสอบนกระดาษเนื้อละเอียดสีเทา: 11 11/16 x 6 นิ้ว (29.7 x 15.2 ซม.) พิพิธภัณฑ์บรูคลีน จัดซื้อโดย public subscription, 00.159.300