พันธสัญญาเดิม 2022
5–11 กันยายน อิสยาห์ 1–12: “พระเจ้าเป็นความรอดของข้าพเจ้า”


“5–11 กันยายน อิสยาห์ 1–12: ‘พระเจ้าเป็นความรอดของข้าพเจ้า’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“5–11 กันยายน อิสยาห์ 1–12” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2022

ภาพ
ศาสดาพยากรณ์สมัยโบราณกำลังเขียน

ศาสดาพยากรณ์อิสยาห์ทำนายการประสูติของพระคริสต์ โดย แฮร์รีย์ แอนเดอร์สัน

5–11 กันยายน

อิสยาห์ 1–12

“พระเจ้าเป็นความรอดของข้าพเจ้า”

จงแสวงหาการทรงนำทางวิญญาณขณะที่ท่านศึกษา เราเข้าใจถ้อยคำของอิสยาห์ได้ดีที่สุดเมื่อเรา “เปี่ยมด้วยวิญญาณแห่งการพยากรณ์” ตามที่นีไฟสอน (2 นีไฟ 25:4)

บันทึกความประทับใจของท่าน

ถึงแม้นี่เป็นครั้งแรกที่ท่านอ่านหนังสืออิสยาห์ แต่ท่านอาจจะพบข้อที่ฟังคุ้นหู นั่นเพราะในบรรดาศาสดาพยากรณ์สมัยพันธสัญญาเดิมทั้งหมด อิสยาห์เป็นคนที่มีผู้อ้างถึงบ่อยที่สุดในพระคัมภีร์เล่มอื่น อ้างโดยพระผู้ช่วยให้รอดพระองค์เองด้วย ถ้อยคำของอิสยาห์ปรากฏบ่อยครั้งในเพลงสวดและเพลงศักดิ์สิทธิ์เพลงอื่นเช่นกัน เหตุใดจึงอ้างอิสยาห์บ่อยมาก?

เหตุผลส่วนหนึ่งคืออิสยาห์มีของประทานสำหรับอธิบายพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าด้วยภาษาที่ชัดเจนและน่าจดจำ แต่มากกว่านั้นคือ อิสยาห์สร้างแรงบันดาลใจให้ศาสดาพยากรณ์มาหลายยุคหลายสมัยเพราะความจริงที่ท่านสอนก้าวพ้นยุคสมัยของท่านเอง—คนอิสราเอลซึ่งมีชีวิตอยู่ระหว่าง 740 ถึง 701 ปีก่อนคริสตกาล บทบาทของอิสยาห์คือเปิดตาเราให้เห็นงานอันสำคัญยิ่งแห่งการไถ่ของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งใหญ่กว่าประชาชาติหนึ่งหรือช่วงเวลาหนึ่งมาก นีไฟเรียนรู้จากอิสยาห์ว่าเขากับผู้คนของเขายังคงเป็นส่วนหนึ่งของผู้คนแห่งพันธสัญญาของพระผู้เป็นเจ้าแม้จะแยกจากอิสราเอลที่เหลือก็ตาม ในอิสยาห์ ผู้เขียนพันธสัญญาใหม่พบคำพยากรณ์เกี่ยวกับพระเมสสิยาห์ที่กำลังเกิดสัมฤทธิผลต่อหน้าต่อตาพวกเขา และในอิสยาห์ โจเซฟ สมิธพบแรงบันดาลใจให้ทำงานยุคสุดท้ายของการรวบรวมอิสราเอลและการสร้างไซอัน เมื่อท่านอ่านอิสยาห์ ท่านจะพบอะไร?

ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับอิสยาห์และงานเขียนของเขาใน “อิสยาห์” ในคู่มือพระคัมภีร์ ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับเวลาที่อิสยาห์มีชีวิตอยู่ใน 2 พงศ์กษัตริย์ 15–20 และ 2 พงศาวดาร 26–32

ภาพ
Learn More image
ภาพ
ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

อิสยาห์ 1–12

ฉันจะเข้าใจคำสอนของอิสยาห์ดีขึ้นได้อย่างไร?

พระผู้ช่วยให้รอดตรัสถึงงานเขียนของอิสยาห์ว่า “ค้นหาสิ่งเหล่านี้อย่างขยันหมั่นเพียร; เพราะถ้อยคำของอิสยาห์ยิ่งใหญ่” (ดู 3 นีไฟ 23:1–3) แต่หลายคนเข้าใจอิสยาห์ได้ยาก เกร็ดความรู้บางประการต่อไปนี้จะช่วยให้ท่านพบความหมายมากขึ้นในถ้อยคำของอิสยาห์:

  • ไตร่ตรองสัญลักษณ์และอุปลักษณ์ที่อิสยาห์ใช้ ตัวอย่างเช่น ไตร่ตรองสิ่งที่ท่านคิดว่าอิสยาห์ต้องการสื่อเมื่อเขาเขียนเกี่ยวกับสวนองุ่น (ดู อิสยาห์ 5:1–7) น้ำแห่งชิโลอาห์ (ดู อิสยาห์ 8:5–10) สัญญาณ (ดู อิสยาห์ 5:26) และธง (ดู อิสยาห์ 11:10, 12)

  • ทุกบทที่ท่านอ่านให้ถามตัวท่านเองว่า “ฉันกำลังเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์?” (ดู 1 นีไฟ 19:23)

  • มองหาหัวข้อที่รู้สึกเกี่ยวข้องกับสมัยของเรา เช่น พระชนม์ชีพและพระพันธกิจของพระเยซูคริสต์ การกระจัดกระจายและการรวบรวมอิสราเอล วันเวลาสุดท้าย และมิลเลเนียม ท่านอาจจะจดข้ออ้างอิงจากอิสยาห์ที่สอนเกี่ยวกับหัวข้อเหล่านี้ด้วยก็ได้

  • ใช้สิ่งช่วยศึกษาที่มี เช่นพจนานุกรม เชิงอรรถพระคัมภีร์ไบเบิล หัวบท และ คู่มือพระคัมภีร์

ดู 2 นีไฟ 25:1–8 ด้วย

อิสยาห์ 1; 3;5

“จงเลิกทำชั่ว”

อิสยาห์เตือนอาณาจักรยูดาห์อยู่เนืองๆ เกี่ยวกับสภาพทางวิญญาณของพวกเขา หลังจากอ่าน อิสยาห์ 1, 3 และ5 ท่านจะอธิบายสภาพทางวิญญาณของผู้คนว่าอย่างไร? ท่านพบคำเตือนอะไรบ้างที่รู้สึกว่าประยุกต์ใช้กับสมัยของเราได้?

นอกจากคำเตือนแล้ว ท่านอาจจะจดข่าวสารเรื่องความหวังสำหรับอิสราเอลที่ทำบาปด้วย (ดูตัวอย่างใน อิสยาห์ 1:16–20, 25–27; 3:10) ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระเจ้าจากข่าวสารเหล่านี้?

อิสยาห์ 2; 4; 11–12

พระผู้เป็นเจ้าจะทรงทำงานอันสำคัญยิ่งในยุคสุดท้าย

งานเขียนมากมายของอิสยาห์เป็นคำพยากรณ์ที่มีความหมายเฉพาะยุคสมัยของเรา คำอธิบายใดของอิสยาห์เกี่ยวกับยุคสุดท้ายใน บทที่ 2; 4; 11–12 สร้างแรงบันดาลใจให้ท่านเป็นพิเศษ? (หลักคำสอนและพันธสัญญา 113:1–6 ให้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับ อิสยาห์11) ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการรวบรวมอิสราเอลและการไถ่ไซอัน? ท่านรู้สึกได้รับการดลใจให้ทำอะไรหลังจากอ่านบทเหล่านี้?

ดู อิสยาห์ 5:26; 10:20 ด้วย

อิสยาห์ 6

ศาสดาพยากรณ์ได้รับเรียกจากพระผู้เป็นเจ้า

ใน บทที่ 6 อิสยาห์เล่าเรื่องการเรียกเขาเป็นศาสดาพยากรณ์ ขณะที่ท่านอ่านบทนี้ ท่านประทับใจอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่อิสยาห์ประสบ? บทนี้ส่งผลต่อวิธีที่ท่านคิดเกี่ยวกับพระเจ้า ศาสดาพยากรณ์ของพระองค์ และงานที่ทรงเรียกศาสดาพยากรณ์ทำอย่างไร?

ภาพ
หญิงคนหนึ่งอุ้มเด็กทารก

“ด้วยมีเด็กคนหนึ่งเกิดมาเพื่อเรา มีบุตรชายคนหนึ่งประทานมาให้เรา” (อิสยาห์ 9:6)

อิสยาห์ 7–9

อิสยาห์พยากรณ์ถึงพระเยซูคริสต์

ในการปฏิบัติศาสนกิจช่วงแรกของอิสยาห์ อาณาจักรแห่งอิสราเอล (อีกชื่อหนึ่งคือเอฟราอิม) สร้างพันธมิตรกับซีเรียเพื่อปกป้องตนเองจากอัสซีเรีย อิสราเอลกับซีเรียต้องการบังคับให้อาหัสกษัตริย์ของยูดาห์เข้าร่วมเป็นพันธมิตรด้วย แต่อิสยาห์พยากรณ์ว่าพันธมิตรจะล้มเหลวและแนะนำอาหัสให้วางใจพระเจ้า (ดู อิสยาห์ 7–9 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อิสยาห์ 7:7–9; 8:12–13)

ขณะที่อิสยาห์แนะนำอาหัส เขาพยากรณ์หลายประการที่รู้จักกันดี อาทิ คำพยากรณ์ใน อิสยาห์ 7:14; 8:13–14; 9:2, 6–7 แม้ไม่แจ่มแจ้งชัดเจนว่าคำพยากรณ์เหล่านี้หมายถึงอะไรในสมัยของอาหัส แต่ชัดเจนว่าประยุกต์ใช้กับพระเยซูคริสต์ (ดู มัทธิว 1:21–23; 4:16; 21:44; ลูกา 1:31–33 ด้วย) ท่านเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอดจากข้อเหล่านี้?

ภาพ
ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและยามค่ำที่บ้าน

อิสยาห์ 1:16–18เพื่อช่วยให้สมาชิกครอบครัวเข้าใจข้อเหล่านี้ ท่านอาจจะอ่านหัวข้อ “พวกเราบางคนรู้สึกว่าเราไม่มีวันดีพอ” จากข่าวสารของซิสเตอร์แชรอน ยูแบงค์เรื่อง “พระคริสต์: แสงสว่างที่ส่องในความมืด” (เลียโฮนา, พ.ค. 2019, 75) หรือท่านอาจจะสาธิตวิธีขจัดคราบเปื้อนจากเสื้อผ้า ข่าวสารของพระเจ้าในข้อเหล่านี้ต่างจากข่าวสารที่ซาตานต้องการให้เราเชื่ออย่างไร?

อิสยาห์ 2:1–5สมาชิกครอบครัวอาจจะเลือกข้อหนึ่งในข้อเหล่านี้แล้ววาดภาพตามที่ข้อนี้พูดถึง พระวิหารสอนอะไรเราเกี่ยวกับวิถีของพระเจ้า? เราได้รับพรอย่างไรเมื่อเรา “ดำเนินในความสว่างของพระยาห์เวห์”? (อิสยาห์ 2:5)

อิสยาห์ 4:5–6พระเจ้าทรงสัญญาอะไรกับเราในข้อเหล่านี้? สัญญาเหล่านี้อาจจะหมายถึงอะไร? พระองค์ทรงทำให้สัญญาเหล่านี้เกิดสัมฤทธิผลอย่างไร? (ดู อพยพ 13:21–22 ด้วย)

อิสยาห์ 7:14; 9:1–7ท่านอาจจะใช้ภาพวาดหรือรูปภาพจากนิตยสารศาสนจักรทำโปสเตอร์อธิบายบางอย่างที่เราเรียนรู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์จากข้อเหล่านี้

ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

เพลงที่แนะนำ: “สูงขึ้นไป ณ ยอดเขาเพลงสวด, บทเพลงที่ 4

ปรับปรุงการศึกษาส่วนตัว

ทูลขอให้พระเจ้าช่วย เพื่อเข้าใจพระคัมภีร์ เราจำเป็นต้องมีการเปิดเผยส่วนตัว พระเจ้าทรงสัญญาไว้ว่า “จงขอแล้วจะได้ จงหาแล้วจะพบ จงเคาะแล้วจะเปิดให้แก่พวกท่าน” (มัทธิว 7:7)

ภาพ
พระวิหารไอดาโฮฟอลส์ ไอดาโฮในพายุ

อิสยาห์สอนว่าพลับพลาจะเป็น “ที่ลี้ภัย” และ “ที่กำบังจากพายุและห่าฝน” (อิสยาห์ 4:6)พระวิหารไอดาโฮฟอลส์ ไอดาโฮ

พิมพ์