พันธสัญญาเดิม 2022
29 สิงหาคม–4 กันยายน สุภาษิต 1–4; 15–16; 22; 31; ปัญญาจารย์ 1–3; 11–12: “ความยำเกรงพระยาห์เวห์เป็นจุดเริ่มต้นของความรู้”


“29 สิงหาคม–4 กันยายน สุภาษิต 1–4; 15–16; 22; 31; ปัญญาจารย์ 1–3; 11–12: ‘ความยำเกรงพระยาห์เวห์เป็นจุดเริ่มต้นของความรู้’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“29 สิงหาคม–4 กันยายน สุภาษิต 1–4; 15–16; 22; 31; ปัญญาจารย์ 1–3; 11–12” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2022

ภาพ
ผู้ชายศึกษาพระคัมภีร์

29 สิงหาคม–4 กันยายน

สุภาษิต 1–4; 15–16; 22; 31; ปัญญาจารย์ 1–3; 11–12

“ความยำ‌เกรงพระ‍ยาห์‌เวห์เป็นจุดเริ่มต้นของ [ปัญญา]”

พิจารณาว่าการศึกษาสุภาษิตและปัญญาจารย์ของท่านจะช่วยให้ท่าน “เงี่ยหู [ของท่าน] ฟังปัญญา [และ] เอียงใจ [ของท่าน] เข้าหาความเข้าใจ” (สุภาษิต 2:2) ได้อย่างไร

บันทึกความประทับใจของท่าน

ในบทที่หนึ่งของหนังสือสุภาษิต เราพบถ้อยคำเหล่านี้ “ลูกเอ๋ย จงฟังคำ‍สั่ง‍สอนของพ่อเจ้า และอย่าทิ้งคำ‍สอนของแม่เจ้า” (สุภาษิต 1:8) จะเห็นได้ว่าสุภาษิตเป็นการรวบรวมคำพูดที่หลักแหลมจากบิดามารดาที่เปี่ยมด้วยความรักซึ่งข่าวสารหลักๆ ของพวกเขาคือพรแห่งสันติและความรุ่งเรืองมาถึงคนที่แสวงหาปัญญา—โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญญาแบบที่พระผู้เป็นเจ้าทรงมอบให้ แต่สุภาษิตตามด้วยหนังสือปัญญาจารย์ซึ่งดูเหมือนจะพูดว่า “ไม่ง่ายอย่างนั้น” ปัญญา‌จารย์ที่อ้างในหนังสือปัญญาจารย์ตั้งข้อสังเกตว่า เขา “ตั้งใจเข้าใจสติปัญญา” แต่ยังพบว่า “กินลมกินแล้ง” และมี “ความทุกข์ระทมมาก” (ปัญญาจารย์ 1:17–18) หนังสือถามหลายๆ แบบว่า “จะมีความหมายแท้จริงในโลกที่ทุกอย่างดูเหมือนอนิจจัง ชั่วคราว และไม่แน่นอนได้หรือ?”

แต่ถึงแม้หนังสือทั้งสองมองชีวิตต่างมุมกัน แต่ก็สอนความจริงคล้ายๆ กัน ปัญญาจารย์ประกาศว่า “จบเรื่องแล้ว ได้ฟังกันทั้ง‍สิ้นแล้ว จงยำ‌เกรงพระ‍เจ้า และรักษาพระ‍บัญญัติของพระ‍องค์ เพราะสิ่ง‍นี้เป็นหน้า‍ที่ของมนุษย์ทั้ง‍ปวง” (ปัญญาจารย์ 12:13) นี่เป็นหลักธรรมเดียวกันกับที่พบทั่วสุภาษิต “จงวางใจในพระยาห์เวห์ด้วยสุดใจของเจ้า … อย่าคิดว่าตนมีปัญญา จงยำ‌เกรงพระ‍ยาห์‌เวห์” (สุภาษิต 3:5,7) ไม่ว่าเกิดอะไรในชีวิต แม้เมื่อดูเหมือนชีวิตสับสนและไร้แบบแผน แต่ดีกว่าเสมอเมื่อเราวางใจในพระเจ้าพระเยซูคริสต์

ดูคำอธิบายพอสังเขปของหนังสือเหล่านี้ได้จาก “สุภาษิต” และ “ปัญญาจารย์” ในคู่มือพระคัมภีร์

ภาพ
ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

สุภาษิต 1–4; 15–16

“จงเงี่ยหูของเจ้าฟังปัญญา”

หนังสือสุภาษิตเต็มไปด้วยข้อคิดเกี่ยวกับปัญญา พิจารณาการทำเครื่องหมายคำว่า “ปัญญา” และคำที่เกี่ยวข้องเช่น “ความรู้” และ “ความเข้าใจ” ขณะที่ท่านพบคำเหล่านี้ใน บทที่ 1–4 และ 15–16 บทเหล่านี้มีผลต่อวิธีที่ท่านคิดเกี่ยวกับปัญญาอย่างไร? ตามที่ท่านพบ ท่านจะอธิบายปัญญาที่ “พระยาห์เวห์ประทาน” ว่าอย่างไร? (สุภาษิต 2:6) พิจารณาว่าท่านกำลังแสวงหาความช่วยเหลือของพระเจ้าอย่างไรเพื่อเป็น “คนมีปัญญา” (สุภาษิต 16:21) พรใดมาจากพระปรีชาญาณของพระผู้เป็นเจ้า?

ดู สุภาษิต 8–9; มัทธิว 7:24–27; 25:1–13 ด้วย

สุภาษิต 1:7; 2:5; 16:6; 31:30; ปัญญาจารย์ 12:13

“ความยำเกรงพระยาห์เวห์” คืออะไร?

เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์อธิบายว่า “ไม่เหมือนกับความกลัวทางโลกที่สร้างความหวาดผวาและความวิตกกังวล ความยำเกรงพระเจ้าคือบ่อเกิดของสันติสุข ความวางใจ และความเชื่อมั่น … [ความยำเกรงพระเจ้า] หมายรวมถึงความคารวะ ความเคารพ และความเกรงขามพระเจ้าพระเยซูคริสต์ การเชื่อฟังพระบัญญัติของพระองค์ และการมุ่งหวังรอคอยการพิพากษาครั้งสุดท้ายและความยุติธรรมที่พระหัตถ์ของพระองค์ … ความยำเกรงพระเจ้าคือรักและวางใจพระองค์” (“ฉะนั้นพวกเขาจึงข่มความกลัว,” เลียโฮนา, พ.ค. 2015, 48–49)

ดู สุภาษิต 8:13 ด้วย

สุภาษิต 4

“จงทำหนทางแห่งเท้าของเจ้าให้ราบ”

สุภาษิต 4 อธิบายว่าปัญญาและความชอบธรรมเป็น “หนทาง” หรือ “ทาง” (ดู สุภาษิต 3:5–6 ด้วย) ขณะที่อ่านบทนี้ ท่านอาจจะพบข้อที่ช่วยให้ท่านไตร่ตรอง “หนทางแห่งเท้าของเจ้า” (ข้อ 26) และท่านกำลังก้าวเข้าใกล้พระเจ้ามากขึ้นอย่างไร ตัวอย่างเช่น ข้อ 11–12 และ 18–19 สอนอะไรเกี่ยวกับพรของการเดินตามหนทางที่ถูกต้อง? ข้อ 26 และ 27 มีความหมายอะไรต่อท่าน?

ดู 2 นีไฟ 31:18–21 ด้วย

สุภาษิต 15:1–2, 4, 18, 28; 16:24–32

“คำตอบนุ่มนวลช่วยละลายความโกรธเกรี้ยวให้หายไป”

สุภาษิตบางส่วนใน บทที่ 15 และ16 อาจเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านปรับปรุงวิธีสื่อสารกับผู้อื่น โดยเฉพาะคนที่ท่านรัก ตัวอย่างเช่น ให้นึกถึงเวลาที่ท่านอาจจะเคยใช้ “คำตอบนุ่มนวล” แทนที่จะใช้ “คำกักขฬะ” (สุภาษิต 15:1) คำแนะนำใน สุภาษิต 16:24–32 ช่วยให้ท่านนึกถึงคำที่ท่านใช้อย่างไร?

พิจารณาข้อคิดนี้จากเอ็ลเดอร์ดับเบิลยู. เครก ซวิค “‘คำตอบนุ่มนวล’ ประกอบด้วยการตอบสนองที่มีเหตุผล—คำที่กลั่นกรองจากใจที่นอบน้อม นี่ไม่ได้หมายความว่าเราพูดตรงๆ ไม่ได้เลยหรือเราย่อหย่อนในความจริงแห่งหลักคำสอน ถ้อยคำที่หนักแน่นในข่าวสารอาจเอ่ยในวิญญาณที่นุ่มนวลได้” (“คุณกำลังคิดอะไรอยู่เลียโฮนา, พ.ค. 2014, 42)

ภาพ
สตรีให้อาหารนกนางนวล

ภรรยาที่เลิศประเสริฐใครเล่าจะหาพบ?ll โดย หลุยส์ พาร์คเกอร์

สุภาษิต 31:10–31

“สตรีที่ยำ‌เกรงพระ‍ยาห์‌เวห์สม‍ควรได้รับคำสรร‌เสริญ”

สุภาษิต 31:10–31 พูดถึง “[สตรี] ที่เลิศประเสริฐ” หรือสตรีที่มีความเข้มแข็ง ความสามารถ และอิทธิพลทางวิญญาณ ท่านอาจจะลองสรุปด้วยคำพูดของท่านเองว่าแต่ละข้อเหล่านี้พูดอะไรเกี่ยวกับสตรีดังกล่าว คุณลักษณะอะไรบ้างที่ท่านเลียนแบบได้?

ปัญญาจารย์ 1–3;12

ชีวิตมรรตัยดำรงอยู่ชั่วคราว

เหตุใดการจดจำว่าสิ่งต่างๆ มากมายในโลกเป็น “อนิจจัง” (หรือชั่วคราวและมักไม่สำคัญ) ตามที่ ปัญญาจารย์ 1–2 ยืนยันจึงมีค่าต่อท่าน? ท่านพบอะไรใน บทที่ 12 ที่ให้ค่านิรันดร์แก่ชีวิต?

ภาพ
ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและยามค่ำที่บ้าน

สุภาษิตครอบครัวท่านอาจจะชอบประดิษฐ์ “หนังสือสุภาษิต” ของท่านเอง—หนังสือชุดคำแนะนำที่หลักแหลมจากพระคัมภีร์และศาสดาพยากรณ์ยุคสุดท้าย

สุภาษิต 1:7; 2:5; 16:6; ปัญญาจารย์ 12:13–14เพื่อช่วยให้สมาชิกครอบครัวเข้าใจ สุภาษิต 1:7; 2:5; 16:6; ปัญญาจารย์ 12:13, การแทนคำว่า ความยำเกรง ด้วยคำว่า ความเคารพ ความรัก หรือ การเชื่อฟัง อาจจะช่วยได้ (ดู ฮีบรู 12:28 ด้วย) นี่ส่งผลต่อวิธีที่เราคิดเกี่ยวกับข้อเหล่านี้อย่างไร? เราแสดงให้เห็นได้อย่างไรว่าเรายำเกรงพระเจ้า?

สุภาษิต 3:5–7เพื่อช่วยให้สมาชิกครอบครัวเห็นภาพว่าข้อเหล่านี้สอนอะไร ท่านอาจให้พวกเขาพิงบางอย่างที่มั่นคงแข็งแรงเช่น ผนัง จากนั้นพวกเขาจะลองพิงบางอย่างที่ไม่มั่นคงเช่น ไม้กวาด เหตุใดเราไม่ควร “พึ่งพาความรอบรู้ของ [เราเอง]”? เราจะแสดงให้เห็นได้อย่างไรว่าเราวางใจพระเยซูคริสต์สุดใจของเรา?

สุภาษิต 15:1–2,18; 16:24, 32คำพูดของเราส่งผลต่อวิญญาณในบ้านเราอย่างไร? บางทีสมาชิกครอบครัวอาจจะฝึกให้ “คำตอบนุ่มนวล” ต่อ “คำกักขฬะ” และพยายามใช้สิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ในการปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เพลงเช่น “ความเมตตาเริ่มที่เรา” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 83) อาจช่วยเสริมหลักธรรมนี้

ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

เพลงที่แนะนำ: “เมื่อมีรักหนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 76–77

ปรับปรุงการศึกษาส่วนตัว

ถ้อยคำในพระคัมภีร์ประยุกต์ใช้กับทุกคน พระคัมภีร์บางข้อกล่าวถึงชายเท่านั้นหรือหญิงเท่านั้น (เช่น สุภาษิต 3:13; 31:10) แต่ในกรณีส่วนใหญ่ หลักธรรมในข้อเหล่านี้ประยุกต์ใช้กับทุกคน

ภาพ
พระเยซูทรงเดินนำแกะสองตัวในป่า

“จงยอมรับรู้พระองค์ในทุกทางของเจ้า แล้วพระองค์เองจะทรงทำให้วิถีของเจ้าราบรื่น” (สุภาษิต 3:6) พระองค์ทรงนำฉัน โดย ยองซุง คิม havenlight.com

พิมพ์