พันธสัญญาเดิม 2022
7–13 พฤศจิกายน โฮเชยา 1–6; 10–14; โยเอล: “เราจะรักเขาด้วยความเต็มใจ”


“7–13 พฤศจิกายน โฮเชยา 1–6; 10–14; โยเอล: ‘เราจะรักเขาด้วยความเต็มใจ’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“7–13 พฤศจิกายน โฮเชยา 1–6; 10–14; โยเอล” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2022

เจ้าบ่าวและเจ้าสาวบริเวณด้านนอกพระวิหาร

7–13 พฤศจิกายน

โฮเชยา 1–6; 10–14; โยเอล

“เราจะรักเขาด้วยความเต็มใจ”

อัญเชิญพระวิญญาณให้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาโฮเชยาและโยเอลของท่าน จดบันทึกข่าวสารที่พระวิญญาณประทับในความคิดและในใจท่าน

บันทึกความประทับใจของท่าน

พันธสัญญาของอิสราเอลกับพระเจ้าลึกซึ้งและมีความหมายมากถึงขนาดพระเจ้าทรงเปรียบเทียบกับการแต่งงาน พันธสัญญาเหมือนการแต่งงาน ครอบคลุมคำมั่นสัญญานิรันดร์ ประสบการณ์ที่มีร่วมกัน การสร้างชีวิตด้วยกัน ความจงรักภักดีต่อคู่ครองคนเดียว และเหนือสิ่งอื่นใดคือความรักหมดใจ การอุทิศตนเช่นนี้มาพร้อมความคาดหวังสูง–และผลอันน่าเศร้าของความไม่ซื่อสัตย์ต่อคู่ครอง โดยผ่านศาสดาพยากรณ์โฮเชยา พระผู้เป็นเจ้าทรงอธิบายผลบางอย่างที่คนอิสราเอลประสบเพราะฝ่าฝืนพันธสัญญาของพวกเขา ทว่าข่าวสารของพระองค์ไม่ใช่ “เราจะปฏิเสธเจ้าตลอดไปเพราะเจ้าไม่ซื่อสัตย์” แต่ข่าวสารคือ “เราจะชวนเจ้ากลับมา” (ดู โฮเชยา 2:14–15) “เราจะหมั้นเจ้าไว้สำหรับเราด้วยความสัตย์‍ซื่อ” พระเจ้าทรงประกาศ (โฮเชยา 2:19) “เราจะรักษาเขาให้หายจากการกลับ‍สัตย์ เราจะรักเขาด้วยความเต็มใจ” (โฮเชยา 14:4) นี่เป็นข่าวสารเดียวกันกับที่พระองค์ประทานแก่เราในปัจจุบันเมื่อเราหมายมั่นดำเนินชีวิตตามพันธสัญญาของเราด้วยความรักและความภักดี

โยเอลแบ่งปันข่าวสารคล้ายกัน “จงกลับ‍มา‍หาพระ‍ยาห์‌เวห์พระ‍เจ้าของพวก‍ท่าน เพราะว่าพระ‍องค์ทรงเปี่ยมด้วยพระ‍คุณและพระ‍กรุณา พระ‍องค์กริ้วช้าและบริ‌บูรณ์ด้วยความรัก‍มั่น‍คง” (โยเอล 2:13) “พระยาห์เวห์ทรงเป็นที่ลี้ภัยแก่ประชากรของพระองค์ เป็นที่กำบังแข็งแกร่งแก่คนอิสราเอล” (โยเอล 3:16) ขณะที่ท่านอ่านโฮเชยาและโยเอล ให้ไตร่ตรองความสัมพันธ์ของท่านเองกับพระเจ้า คิดดูว่าความซื่อสัตย์ของพระองค์สร้างแรงบันดาลใจให้ท่านซื่อสัตย์ต่อพระองค์อย่างไร

ดูคำอธิบายพอสังเขปของหนังสือโฮเชยาและโยเอลได้จาก “โฮเชยา” และ “โยเอล” ในคู่มือพระคัมภีร์

ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

โฮเชยา 1–3; 14

พระเจ้าทรงเชื้อเชิญให้ฉันกลับมาหาพระองค์เสมอ

โกเมอร์ภรรยาของโฮเชยาไม่ซื่อสัตย์ต่อเขา และพระผู้เป็นเจ้าทรงชี้ไปที่เหตุการณ์อันน่าเศร้านี้เพื่อสอนคนอิสราเอลว่าพระองค์ทรงรู้สึกต่อพวกเขาและพันธสัญญาของพวกเขากับพระองค์อย่างไร ขณะที่ท่านอ่าน โฮเชยา 1–3 ให้ไตร่ตรองว่าพระเจ้าทรงมองความสัมพันธ์ของพระองค์กับผู้คนแห่งพันธสัญญาของพระองค์อย่างไร ท่านอาจจะไตร่ตรองด้านต่างๆ ที่ท่านอาจไม่ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าเหมือนคนอิสราเอลและพระองค์ทรงเอื้อมพระหัตถ์มาให้ท่านอย่างไร ตัวอย่างเช่น โฮเชยา 2:14–23 และ โฮเชยา 14 สอนอะไรท่านเกี่ยวกับความรักและพระเมตตาของพระเจ้า? ท่านแสดงให้พระองค์เห็นความรักและความภักดีของท่านอย่างไร?

ดู ดีเทอร์ เอฟ. อุคท์ดอร์ฟ “จุดกลับที่ปลอดภัย,” เลียโฮนา, พ.ค. 2007, 123–126 ด้วย

ผู้หญิงนั่งบนพื้นโดยมีชายคนหนึ่งวางมือบนศีรษะ

พระเจ้าทรงเสนอการไถ่ให้โกเมอร์ผู้ทำบาปผู้เป็นตัวแทนของอิสราเอล ภาพประกอบโดย เด็บ มินนาร์ด ได้รับอนุญาตจาก goodsalt.com

โฮเชยา 6:4–7; โยเอล 2:12–13

เราต้องรู้สึกถึงการอุทิศตนต่อพระผู้เป็นเจ้าจากข้างใน ไม่ใช่แค่แสดงออกภายนอก

พระเจ้าทรงบัญชาผู้คนของพระองค์ให้ถวายสัตวบูชา แต่ถึงแม้ผู้คนในสมัยของโฮเชยาเชื่อฟังกฎนั้น แต่พวกเขากำลังฝ่าฝืนพระบัญญัติที่สำคัญกว่า (ดู โฮเชยา 6:4–7) ท่านคิดว่าพระเจ้า “ประ‌สงค์ความเมตตา ไม่ประ‌สงค์เครื่อง‍สัตว‌บูชา เราประ‌สงค์ให้รู้‍จักพระ‍เจ้ายิ่ง‍กว่าประ‌สงค์เครื่อง‍บูชา‍เผา‍ทั้ง‍ตัว” หมายความว่าอย่างไร? (โฮเชยา 6:6) ท่านคิดว่าความชอบธรรมเป็นเหมือนเมฆ​หรือน้ำค้างอย่างไร? ความชอบธรรมของเราควรเป็นเหมือนอะไร? (ดู อิสยาห์ 48:18; 1 นีไฟ 2:9–10)

ท่านอาจจะอ่าน มัทธิว 9:10–13; 12:1–8 ด้วยเพื่อดูว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงใช้ โฮเชยา 6:6 ระหว่างการปฏิบัติศาสนกิจของพระองค์อย่างไร ข้อเหล่านี้ช่วยให้ท่านเข้าใจถ้อยคำของโฮเชยาอย่างไร?

เมื่ออ่าน โยเอล 2:12–13 อาจเป็นประโยชน์ที่จะรู้ว่าการที่คนๆ หนึ่งฉีกเสื้อผ้าของตนนั้นเดิมทีเป็นเครื่องหมายภายนอกของการไว้ทุกข์หรือความสำนึกผิด (ดูตัวอย่างใน 2 พงศาวดาร 34:14–21, 27) การฉีกใจแตกต่างจากการฉีกเสื้อผ้าของเราอย่างไร?

ดู อิสยาห์ 1:11–17; มัทธิว 23:23; 1 ยอห์น 3:17–18 ด้วย

โยเอล 2

“เราจะเทวิญญาณของเรามาเหนือมนุษย์ทุกคน”

เมื่อโยเอลพยากรณ์เรื่อง “วันแห่งพระยาห์เวห์” เขาอธิบายว่าวันนั้นจะเป็น “วันที่มืดและมัวซัว” “ยิ่ง‍ใหญ่และ​น่า‍กลัว​อย่าง‍ยิ่ง” (โยเอล 2:1–2, 11) อิสราเอลเผชิญวันที่ยิ่ง‍ใหญ่และ​น่า‍กลัว​อย่าง‍ยิ่งตลอดประวัติศาสตร์ของอิสราเอล และผู้คนแห่งพันธสัญญาของพระผู้เป็นเจ้าจะเผชิญมากขึ้นในอนาคต ท่านประทับใจอะไรเกี่ยวกับคำแนะนำที่พระเจ้าประทานใน โยเอล 2:12–17? สังเกตพรที่พระองค์ทรงสัญญาใน โยเอล 2:18–32 ด้วย เหตุใดพรที่สัญญาไว้ใน ข้อ 27–32 จึงมีค่าเป็นพิเศษในยุคสมัยเช่นที่บรรยายไว้ใน โยเอล 2 รวมทั้งยุคสมัยของเรา?

ท่านคิดว่าพระเจ้าจะทรง​ “เทวิญญาณ [ของพระองค์] มาเหนือมนุษย์ทุกคน” หมายความว่าอย่างไร? (โยเอล 2:28) คำพยากรณ์ต่างๆ ใน โยเอล 2:28–29 กำลังเกิดสัมฤทธิผลอย่างไร? (ดู กิจการ 2:1–21; โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:41)

ท่านอาจจะไตร่ตรองถ้อยคำเหล่านี้จากประธานรัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน “ในวันข้างหน้า เราจะรอดทางวิญญาณไม่ได้หากปราศจากอิทธิพลของพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่มีให้ตลอดเวลา ทั้งนำทาง ชี้ทาง และปลอบโยน” (“การเปิดเผยสำหรับศาสนจักร การเปิดเผยสำหรับชีวิตเรา,” เลียโฮนา, พ.ค. 2018, 96) เหตุใดการเปิดเผยจึงจำเป็นต่อความอยู่รอดทางวิญญาณของเรา? ท่านจะเพิ่มความสามารถของท่านในการรับการเปิดเผยส่วนตัวได้อย่างไร?

ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและยามค่ำที่บ้าน

โฮเชยา 2:19–20พระเจ้าทรงใช้อุปลักษณ์เรื่องการแต่งงานเพื่ออธิบายความสัมพันธ์แบบพันธสัญญาของพระองค์กับอิสราเอล (ดูคู่มือพระคัมภีร์ “เจ้าบ่าวscriptures.ChurchofJesusChrist.org ด้วย) ครอบครัวท่านอาจสนทนาว่าเหตุใดการแต่งงานจึงเป็นอุปลักษณ์ที่ดีสำหรับพันธสัญญาของเรากับพระผู้เป็นเจ้า โฮเชยา 2:19–20 ช่วยให้เราเข้าใจอย่างไรว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงรู้สึกต่อเราอย่างไร? เราจะซื่อสัตย์ต่อพันธสัญญาของเรากับพระองค์ได้อย่างไร?

โฮเชยา 10:12เด็กอาจจะชอบวาดรูปนาฬิกาและวางแผนวิธีที่พวกเขาจะสามารถแสวงหาพระเจ้าในเวลาต่างๆ ได้ตลอดวัน

โยเอล 2:12–13เพื่อช่วยครอบครัวท่านพูดคุยเกี่ยวกับ โยเอล 2:12–13 ท่านอาจวางภาพพระผู้ช่วยให้รอดไว้ด้านหนึ่งของห้องและวางคำว่า บาป ไว้ด้านตรงข้าม ให้สมาชิกครอบครัวผลัดกันหันไปมองป้ายแล้วหันมาหาพระผู้ช่วยให้รอดขณะพวกเขาแบ่งปันสิ่งที่สามารถช่วยให้เราหันมาหาพระองค์ “ด้วยสุดใจ [ของเรา]” กระตุ้นให้สมาชิกครอบครัวนึกถึงชีวิตทุกด้านของพวกเขา รวมทั้งกิจกรรม การทำงาน การเรียน และความสัมพันธ์

โยเอล 2:28–29“เท” พระวิญญาณมาเหนือเราอาจหมายความว่าอย่างไร? ท่านอาจจะสาธิตสิ่งนี้โดยเทของเหลวแล้วเทียบกับหยดน้ำหรือการไหลเป็นหยด

ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

เพลงที่แนะนำ: “มาหาพระเยซูเพลงสวด, บทเพลงที่ 49

ปรับปรุงการสอนของเรา

สอนหลักคำสอน “อย่าพลาดโอกาสในการนำลูกๆ มารวมกันเพื่อเรียนรู้หลักคำสอนของพระเยซูคริสต์ ช่วงเวลาเช่นนั้นมีค่ายิ่งเมื่อเทียบกับความพยายามของศัตรู ” (เฮนรีย์ บี. อายริงก์, “พลังแห่งการสอนหลักคำสอน,” เลียโฮนา, ก.ค. 1999, 104)

พระเยซูทรงยืนตรงประตู

มาหาเรา โดย เคลลีย์ พิวจ์