พันธสัญญาเดิม 2022
19–25 ธันวาคม คริสต์มาส: “เรารอคอยพระองค์ เพื่อพระองค์จะทรงช่วยเราให้รอด”


“19–25 ธันวาคม คริสต์มาส: ‘เรารอคอยพระองค์ เพื่อพระองค์จะทรงช่วยเราให้รอด’” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“19–25 ธันวาคม คริสต์มาส” จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว: 2022

ภาพ
พระกุมารเยซูพันผ้าอ้อมสีขาวบรรทมอยู่ในรางหญ้า

ด้วยมีเด็กคนหนึ่งเกิดมาเพื่อเรา โดย ไซมอน ดิวอีย์

19–25 ธันวาคม

คริสต์มาส

“เรารอคอยพระองค์ เพื่อพระองค์จะทรงช่วยเราให้รอด”

ในช่วงเทศกาลคริสต์มาสนี้ พึงพิจารณาว่าพันธสัญญาเดิมเสริมสร้างประจักษ์พยานของท่านในพระเยซูคริสต์ตลอดปีอย่างไร

บันทึกความประทับใจของท่าน

พันธสัญญาเดิมมีวิญญาณของความคาดหวังด้วยใจร้อนรน วิญญาณนั้นคล้ายกับเทศกาลคริสต์มาสอยู่บ้าง เริ่มตั้งแต่อาดัมกับเอวา ปิตุ ศาสดาพยากรณ์ กวี และผู้คนในพันธสัญญาเดิมต่างตั้งตารอวันที่ดีกว่า เปี่ยมด้วยความหวังสำหรับการเริ่มใหม่และการปลดปล่อยโดยพระเมสสิยาห์ และคนอิสราเอลต้องการความหวังนั้นบ่อยๆ—ไม่ว่าพวกเขาตกเป็นเชลยในอียิปต์หรือบาบิโลนหรือเป็นเชลยเพราะบาปหรือการกบฏของพวกเขาเองก็ตาม ศาสดาพยากรณ์เตือนสติพวกเขาตลอดมาว่าพระเมสสิยาห์ พระผู้ปลดปล่อยจะเสด็จมา “ประกาศอิสรภาพแก่บรรดาเชลย” (อิสยาห์ 61:1)

ความหวังนั้นเริ่มเป็นจริงเมื่อพระเยซูคริสต์ประสูติในเบธเลเฮม พระผู้ปลดปล่อยผู้ทรงฤทธานุภาพของอิสราเอลประสูติในคอกสัตว์และบรรทมในรางหญ้า (ดู ลูกา 2:7) แต่พระองค์ไม่ได้เป็นพระผู้ปลดปล่อยคนอิสราเอลสมัยโบราณเท่านั้น พระองค์เสด็จมาปลดปล่อยท่านด้วย—แบกความเจ็บไข้ของท่าน หอบความเจ็บปวดของท่าน บอบช้ำเพราะความบาปผิดของท่าน ทั้งนี้เพราะการเฆี่ยนตีพระองค์ทำให้ท่านได้รับการรักษา (ดู อิสยาห์ 53:4–5) นี่คือสาเหตุที่คริสต์มาสเต็มไปด้วยความคาดหวังอันเปี่ยมปีติแม้จนถึงทุกวันนี้ พระเมสสิยาห์เสด็จมาเมื่อ 2,000 กว่าปีที่แล้ว และยังคงเสด็จเข้ามาในชีวิตเราเมื่อเราแสวงหาพระองค์

ภาพ
ไอคอนการศึกษาส่วนตัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัว

ฉันชื่นชมยินดีในพระผู้ไถ่ของฉัน

คริสต์มาสได้ชื่อว่าเป็นเทศกาลที่เปี่ยมด้วยปีติเพราะปีติที่พระเยซูคริสต์ทรงนำมาให้ชาวโลก แม้แต่คนที่ไม่นมัสการพระเยซูเป็นพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้าก็สามารถรู้สึกถึงความสุขของคริสต์มาสได้บ่อยๆ ไตร่ตรองปีติที่ท่านรู้สึกเพราะพระบิดาบนสวรรค์ทรงส่งพระบุตรของพระองค์มา

หลายศตวรรษก่อนพระผู้ช่วยให้รอดประสูติ ศาสดาพยากรณ์สมัยพันธสัญญาเดิมรู้สึกถึงปีติเช่นกันเมื่อพวกเขาพูดถึงพระเมสสิยาห์ที่จะเสด็จมา อ่านบางข้อต่อไปนี้และคิดว่าเหตุใดข้อเหล่านี้จึงมีค่าต่อคนที่ตั้งตารอพระพันธกิจของพระผู้ช่วยให้รอด: สดุดี 35:9; อิสยาห์ 25:8–9; 44:21–24; 51:11; เศฟันยาห์ 3:14–20; โมเสส 5:5–11 เหตุใดข้อเหล่านี้จึงมีค่าต่อท่าน?

ดู รัสเซลล์ เอ็ม. เนลสัน, “ปีติและการอยู่รอดทางวิญญาณ,” เลียโฮนา, พ.ย. 2016, 81–84 ด้วย

สัญลักษณ์จะช่วยให้ฉันระลึกถึงพระเยซูคริสต์

ประเพณีมากมายเกี่ยวกับคริสต์มาสจะมีความหมายเชิงสัญลักษณ์ที่ชี้นำเราไปหาพระคริสต์ ของตกแต่งรูปดาวเป็นสัญลักษณ์แทนดาวจรัสแสงที่ส่องสว่างในคืนประสูติของพระเยซู (ดู มัทธิว 2:2) คนร้องเพลงสรรเสริญสามารถเตือนเราให้นึกถึงเหล่าเทพที่ปรากฏต่อคนเลี้ยงแกะ (ดู ลูกา 2:13–14) เมื่อท่านศึกษาพันธสัญญาเดิมปีนี้ ท่านอาจสังเกตเห็นสัญลักษณ์มากมายของพระผู้ช่วยให้รอด สัญลักษณ์บางอย่างระบุไว้ด้านล่าง ท่านอาจจะศึกษาสัญลักษณ์เหล่านี้และบันทึกสิ่งที่สัญลักษณ์สอนท่านเกี่ยวกับพระองค์

ท่านพบสัญลักษณ์ ข้อความ และเรื่องราวใดอีกบ้างในพระคัมภีร์ที่เป็นพยานถึงพระเยซูคริสต์?

ดู 2 นีไฟ 11:4; โมไซยาห์ 3:14–15; โมเสส 6:63; “รูปแบบหรือสัญลักษณ์ของพระคริสต์,” ในคู่มือพระคัมภีร์, “พระเยซูคริสต์,” scriptures.ChurchofJesusChrist.org ด้วย

“เขาจะขนานนามของท่านว่ามหัศจรรย์”

พระเยซูคริสต์ทรงมีพระนามและชื่อเรียกต่างๆ มากมาย ท่านพบชื่อเรียกอะไรบ้างในข้อต่อไปนี้? สดุดี 23:1; 83:18; อิสยาห์ 7:14; 9:6; 12:2; 63:16; อาโมส 4:13; เศคาริยาห์ 14:16; โมเสส 7:53 ท่านนึกชื่อเรียกอะไรออกบ้าง? ท่านอาจจะชอบฟังชื่อเรียกของพระเยซูคริสต์ที่ท่านพบในเพลงสวดคริสต์มาส แต่ละชื่อส่งผลต่อวิธีที่ท่านคิดเกี่ยวกับพระองค์อย่างไร?

ภาพ
ไอคอนการศึกษากับครอบครัว

แนวคิดสำหรับการศึกษาพระคัมภีร์กับครอบครัวและยามค่ำที่บ้าน

ประเพณีคริสต์มาสสามารถชี้นำไปหาพระเยซูคริสต์ครอบครัวคนอิสราเอลมีประเพณีเช่นปัสกาและงานเทศกาลอื่นที่มุ่งหมายจะชี้นำใจและความคิดของพวกเขาไปหาพระเจ้า (ดู อพยพ 12) ครอบครัวท่านมีประเพณีคริสต์มาสอะไรบ้างที่ช่วยให้ท่านจดจ่ออยู่กับพระเยซูคริสต์? ท่านรู้เกี่ยวกับประเพณีอะไรบ้างจากประวัติครอบครัวของท่าน? ท่านอาจจะสนทนากับครอบครัวเรื่องประเพณีบางอย่างที่ท่านต้องการเริ่ม แนวคิดบางอย่างอาจได้แก่การรับใช้คนขัดสน (ดูแนวคิดได้จาก ComeuntoChrist.org/light-the-world) โดยชวนเพื่อนดูการให้ข้อคิดทางวิญญาณจากฝ่ายประธานสูงสุดเนื่องในเทศกาลคริสต์มาสกับท่าน (broadcasts.ChurchofJesusChrist.org) เขียนเพลงคริสต์มาสของท่านเอง หรือหาวิธีแบ่งปันข่าวสารการประสูติของพระคริสต์อย่างสร้างสรรค์

“พระกุมารพระคริสต์: เรื่องราวการประสูติ”ท่านจะช่วยให้สมาชิกครอบครัวรู้สึกถึงความคารวะและปีติของการประสูติของพระคริสต์ได้อย่างไร? ท่านอาจจะดูวีดิทัศน์เรื่อง “The Christ Child: A Nativity Story” (ChurchofJesusChrist.org) หรืออ่าน มัทธิว 1:18–25; 2:1–12; ลูกา 1:26–38; 2:1–20 ด้วยกัน สมาชิกครอบครัวแต่ละคนอาจเลือกคนหนึ่งจากวีดิทัศน์หรือเรื่องราวพระคัมภีร์แล้วแบ่งปันว่าคนนั้นรู้สึกอย่างไรกับพระผู้ช่วยให้รอด สมาชิกครอบครัวจะแบ่งปันความรู้สึกที่พวกเขามีต่อพระองค์เช่นกัน

การค้นหาพระผู้ช่วยให้รอดในพันธสัญญาเดิมขณะที่ท่านเตรียมศึกษาพระชนม์ชีพของพระเยซูคริสต์ในพันธสัญญาใหม่ปีหน้า ท่านอาจจะทบทวนกับครอบครัวว่าปีนี้พวกเขาเรียนรู้อะไรไปแล้วบ้างเกี่ยวกับพระองค์ในพันธสัญญาเดิม ท่านอาจจะทบทวนโครงร่างในหนังสืออ่านประกอบเล่มนี้และบันทึกการศึกษาส่วนตัวเพื่อช่วยให้ท่านนึกออกว่าได้เรียนรู้อะไรมาบ้าง เด็กเล็กอาจได้ประโยชน์จากการดู เรื่องราวในพันธสัญญาเดิม หรือรูปภาพในหนังสืออ่านประกอบเล่มนี้ คำพยากรณ์หรือเรื่องใดสะดุดใจเรา? เราได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอด?

ดูแนวคิดเพิ่มเติมสำหรับสอนเด็กได้จาก โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

เพลงที่แนะนำ: “โอ้ หมู่บ้านน้อยชื่อเบ็ธเลเฮ็มเพลงสวด, บทเพลงที่ 100

ปรับปรุงการสอนของเรา

ฟังสมาชิกครอบครัวของท่าน “การฟังเป็นการแสดงออกของความรัก “การฟังเรียกร้องให้เราสนใจสิ่งที่อยู่ในใจของคนอื่นมากกว่าสิ่งที่อยู่ในกำหนดการหรือโครงร่างของเรา … เมื่อท่านตั้งใจฟังข่าวสารที่ [สมาชิกครอบครัว] พูดออกมาและไม่ได้พูดออกมา ท่านจะเข้าใจความต้องการ ข้อกังวล และความปรารถนาของพวกเขามากยิ่งขึ้น พระวิญญาณจะทรงช่วยให้ท่านรู้ว่าจะสอนพวกเขาอย่างไร” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 34)

ภาพ
มารีย์และพระกุมารเยซูในคอกสัตว์กับคนเลี้ยงแกะ

การประสูติ โดย เอ็น. ซี. วายเอธ

พิมพ์