จงตามเรามา
18–24 พฤษภาคม โมไซยาห์ 25–28: “จึงเรียกคนเหล่านั้นว่าผู้คนของพระผู้เป็นเจ้า”


“18–24 พฤษภาคม โมไซยาห์ 25–28: ‘จึงเรียกคนเหล่านั้นว่าผู้คนของพระผู้เป็นเจ้า’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: พระคัมภีร์มอรมอน 2020 (2020)

“18–24 พฤษภาคม โมไซยาห์ 25–28” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2020

ภาพ
เทพปรากฏต่อแอลมาและพวกบุตรของโมไซยาห์

การเปลี่ยนใจเลื่อมใสของแอลมาผู้บุตร โดย แกรีย์ แอล. แคพพ์

18–24 พฤษภาคม

โมไซยาห์ 25–28

“จึงเรียกคนเหล่านั้นว่าผู้คนของพระผู้เป็นเจ้า”

พระบิดาบนสวรรค์ทรงทราบว่าเด็กในชั้นเรียนของท่านจำเป็นต้องเรียนรู้อะไรและจะเข้าถึงพวกเขาอย่างไร แสวงหาการนำทางจากพระองค์ขณะที่ท่านอ่าน โมไซยาห์ 25–28 และทบทวนโครงร่างนี้

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ให้ดูภาพใน โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว และขอให้เด็กอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในภาพ ถ้าเด็กคุ้นเคยกับเรื่องราวของแอลมาผู้บุตรและพวกบุตรของโมไซยาห์ ให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่รู้

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กเล็ก

โมไซยาห์ 26:30–31

พระเจ้าทรงต้องการให้ฉันให้อภัย

พระเจ้าทรงสอนแอลมาว่าพระองค์ทรงให้อภัยคนที่กลับใจ เราควรทำตามแบบอย่างของพระองค์โดยให้อภัยคนที่ทำบาปต่อเรา

กิจกรรมที่ทำได้

  • อ่านวลีนี้จาก โมไซยาห์ 26:31 ให้เด็กฟัง: “เจ้าจงให้อภัยกัน” ให้เด็กฝึกพูดว่า “ฉันให้อภัยคุณ” สองสามครั้ง และดูว่าพวกเขารู้ความหมายของการให้อภัยหรือไม่ แบ่งปันประสบการณ์จากชีวิตท่านเมื่อท่านให้อภัยคนบางคนหรือคนนั้นให้อภัยท่าน

  • ช่วยเด็กแสดงบทบาทสมมุติของการให้อภัยกัน ขอให้เด็กคนหนึ่งแสร้งทำเป็นว่าเขาทำร้ายเด็กอีกคนหรือทำให้เด็กคนนั้นไม่พอใจ เด็กคนนั้นจะพูดหรือทำอะไรได้บ้างเพื่อแสดงว่าให้อภัย

  • เชื้อเชิญให้เด็กวาดภาพหน้าเศร้าบนกระดาษด้านหนึ่งและหน้ามีความสุขบนกระดาษอีกด้านหนึ่ง ขอให้พวกเขาชูหน้าเศร้าขณะเล่าประสบการณ์เมื่อพี่น้องหรือเพื่อนทำให้พวกเขาอารมณ์เสีย ขอให้พวกเขาชูหน้ามีความสุขขณะเล่าว่าพวกเขาได้ให้อภัยหรือจะให้อภัยบุคคลนั้นอย่างไร

โมไซยาห์ 27:8–37

พระกิตติคุณช่วยให้ผู้คนเปลี่ยนแปลงและเป็นเหมือนพระเยซูมากขึ้น

การเปลี่ยนใจเลื่อมใสของแอลมาผู้บุตรและพวกบุตรของโมไซยาห์แสดงให้เห็นว่าเพราะพระเยซูคริสต์และพระกิตติคุณของพระองค์ ใครๆ ก็เปลี่ยนแปลงและเป็นเหมือนพระเยซูมากขึ้นได้

กิจกรรมที่ทำได้

  • เล่าเรื่องการเปลี่ยนใจเลื่อมใสของแอลมาผู้บุตรและพวกบุตรของโมไซยาห์พอสังเขป ดังอธิบายไว้ใน โมไซยาห์ 27:8–37 ดูความช่วยเหลือใน “บทที่ 18: แอลมาผู้บุตรกลับใจ” (เรื่องราวจากพระคัมภีร์มอรมอน, 49–52 หรือวีดิทัศน์ที่เกี่ยวข้องบน ChurchofJesusChrist.org) จากนั้นให้เล่าเรื่องนี้อีกครั้ง โดยให้เด็กบอกรายละเอียดที่พวกเขาจำได้ ให้พวกเขาทำท่าประกอบเรื่อง และช่วยให้พวกเขาเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่แอลมากับพวกบุตรของโมไซยาห์เป็นก่อนพวกเขากลับใจและหลังจากนั้น

  • ช่วยให้เด็กใช้หน้ากิจกรรมของสัปดาห์นี้เล่าเรื่องราวของแอลมาและพวกบุตรของโมไซยาห์ อ่าน โมไซยาห์ 27:24 และช่วยให้เด็กเข้าใจว่าแอลมากับพวกบุตรของโมไซยาห์เปลี่ยนแปลงเพราะพวกเขากลับใจจากบาปและยอมรับพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์

    ภาพ
    แอลมาผู้บุตรถูกหามไปบ้านของบิดา

    บิดาของเขาชื่นชมยินดี โดยวอลเตอร์ เรน

โมไซยาห์ 28:1–8

ฉันสามารถแบ่งปันพระกิตติคุณ

หลังจากเปลี่ยนใจเลื่อมใส พวกบุตรของโมไซยาห์ปรารถนาจะแบ่งปันพระกิตติคุณกับทุกคน รวมทั้งชาวเลมันศัตรูของพวกเขา

กิจกรรมที่ทำได้

  • ใช้ โมไซยาห์ 28:1–8 บอกเด็กว่าพวกบุตรของโมไซยาห์ตัดสินใจสั่งสอนพระกิตติคุณให้ชาวเลมัน ดูความช่วยเหลือใน “บทที่ 19: พวกบุตรของโมไซยาห์เป็นผู้สอนศาสนา” (เรื่องราวจากพระคัมภีร์มอรมอน, 53 หรือวีดิทัศน์ที่เกี่ยวข้องบน ChurchofJesusChrist.org) เหตุใดพวกเขาจึงต้องการแบ่งปันพระกิตติคุณ (ดู ข้อ 3)

  • ช่วยให้เด็กแต่ละคนนึกถึงคนที่จำเป็นต้องรู้พระกิตติคุณมากขึ้น ช่วยเด็กวางแผนว่าจะพูดอะไรกับคนที่พวกเขาคิดถึง

  • ร้องเพลงๆ หนึ่งด้วยกันเกี่ยวกับการแบ่งปันพระกิตติคุณ เช่น “ฉันอยากเป็นผู้สอนศาสนาเดี๋ยวนี้” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 90) ชี้ให้เห็นวลีต่างๆ ในเพลงที่บอกว่าเราจะแบ่งปันพระกิตติคุณกับผู้อื่นได้อย่างไร

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กโต

โมไซยาห์ 26:22–23, 29–30; 27:8–37

พระผู้เป็นเจ้าทรงให้อภัยคนที่กลับใจ

ถ้ามีคนในชั้นเรียนสงสัยว่าเขาได้รับการให้อภัยจริงหรือไม่ พระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้าต่อแอลมาผู้บิดาและประสบการณ์ของแอลมาผู้บุตรสามารถช่วยได้

กิจกรรมที่ทำได้

  • ขอให้เด็กแสร้งทำเป็นว่ากำลังพูดคุยกับคนที่ไม่คิดว่าพระผู้เป็นเจ้าจะให้อภัยเขา เชื้อเชิญให้พวกเขาทบทวนพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้าต่อแอลมาผู้บิดาใน โมไซยาห์ 26:22–23, 29–30 พวกเขาพบอะไรที่จะช่วยบุคคลนั้น

  • ก่อนชั้นเรียน ขอให้เด็กคนหนึ่งอ่านเรื่องการเปลี่ยนใจเลื่อมใสของแอลมาผู้บุตรใน โมไซยาห์ 27:8–37 และเตรียมมาเล่าเรื่องนี้ให้ชั้นเรียนฟังประหนึ่งเขาเป็นแอลมาผู้บุตร (หากจำเป็น ให้เขาขอพ่อแม่ช่วย) ขณะเด็กเล่าเรื่อง ให้ถามคำถามเช่น “หนูรู้สึกอย่างไรเมื่อ … ” หรือ “ต่อจากนั้นเกิดอะไรขึ้น”

  • เชื้อเชิญให้เด็กเขียนคำต่างๆ จาก โมไซยาห์ 27:8–10 ซึ่งอธิบายว่าแอลมากับพวกบุตรของโมไซยาห์เป็นอย่างไรก่อนเปลี่ยนใจเลื่อมใส จากนั้นขอให้พวกเขาเขียนคำอีกรายการหนึ่งจาก โมไซยาห์ 27:32–37 ซึ่งอธิบายว่าแอลมากับพวกบุตรของโมไซยาห์เป็นอย่างไรหลังจากนั้น ตามที่กล่าวไว้ใน ข้อ 24–29 อะไรทำให้แอลมาเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้

โมไซยาห์ 26:29–31

เพื่อได้รับการให้อภัย ฉันต้องให้อภัย

ช่วยให้เด็กเห็นความเชื่อมโยงระหว่างการให้อภัยที่พวกเขาให้ผู้อื่นกับการให้อภัยที่พวกเขาหวังว่าตนจะได้รับ

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กอ่าน โมไซยาห์ 26:29–31 และนับจำนวนครั้งที่คำว่า “ให้อภัย” ปรากฏ ข้อเหล่านี้สอนอะไรเราเกี่ยวกับการให้อภัยผู้อื่น การให้อภัยช่วยทั้งคนทำผิดและคนที่ให้อภัยอย่างไร

  • ขอให้เด็กคนหนึ่งวาดรูปสะพานบนกระดาน และแบ่งปันคำกล่าวของประธานโธมัส เอส. มอนสัน “ผู้ที่ไม่สามารถให้อภัยผู้อื่นก็ได้ทำลายสะพานที่นำไปสู่สวรรค์เสียแล้ว เพราะทุกคนต้องได้รับการให้อภัย” (จอร์จ เฮอร์เบิร์ต อ้างอิงใน “ลิ่มที่ซ่อนอยู่,” เลียโฮนา, ก.ค. 2002, 23) ลบส่วนประกอบของสะพาน และขอให้เด็กช่วยท่านสร้างขึ้นใหม่ทีละชิ้นขณะพวกเขาบอกวิธีที่พวกเขาจะให้อภัยผู้อื่น เชื้อเชิญให้พวกเขานึกถึงคนที่พวกเขาต้องให้อภัย

โมไซยาห์ 27:8–24

ฉันสามารถสวดอ้อนวอนและอดอาหารให้พระผู้เป็นเจ้าประทานพรคนที่ฉันรัก

พิจารณาว่าท่านจะช่วยให้เด็กเข้าใจได้อย่างไรว่าการอดอาหารสามารถเสริมสร้างศรัทธาของพวกเขาเมื่อพวกเขาสวดอ้อนวอให้คนที่พวกเขารัก

กิจกรรมที่ทำได้

  • อ่าน โมไซยาห์ 27:8–24 ด้วยกัน และขอให้เด็กบอกสิ่งที่แอลมากับผู้คนของเขาทำเพื่อช่วยแอลมาผู้บุตร แบ่งปันประสบการณ์ซึ่งท่านอดอาหารและสวดอ้อนวอนให้คนๆ หนึ่ง และกระตุ้นให้เด็กแบ่งปันประสบการณ์ของพวกเขา

  • เชื้อเชิญให้เด็กนึกถึงคนรู้จักที่ต้องได้รับความช่วยเหลือจากพระผู้เป็นเจ้าในชีวิตเขา แสดงประจักษ์พยานว่าเด็กสามารถสวดอ้อนวอนและอดอาหารด้วยศรัทธาให้พระผู้เป็นเจ้าประทานพรบุคคลนี้ เชื้อเชิญให้เด็กสวดอ้อนวอนให้คนที่พวกเขานึกถึงและถ้าพวกเขาสามารถทำได้ให้อดอาหารด้วย

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

ขอให้เด็กเลือกอย่างหนึ่งที่พวกเขาเรียนรู้จากประสบการณ์ของแอลมาผู้บุตรกับพวกบุตรของโมไซยาห์ที่พวกเขาต้องการแบ่งปันกับครอบครัว

ปรับปรุงการสอนของเรา

สนับสนุนบิดามารดา “บิดามารดาเป็นครูสอนพระกิตติคุณที่สำคัญที่สุดสำหรับลูกๆ—พวกเขามีหน้าที่รับผิดชอบหลักและพลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการมีอิทธิพลต่อลูกๆ ของพวกเขา (ดู เฉลยธรรมบัญญัติ 6:6–7) เมื่อท่านสอนเด็กที่โบสถ์ ให้แสวงหาร่วมกับการสวดอ้อนวอนถึงวิธีสนับสนุนบิดามารดาของพวกเขาในบทบาทสำคัญ” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 25)

พิมพ์