หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021
22–28 มีนาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 29: “พระเยซูคริสต์จะทรงรวมผู้คนของพระองค์”


“22–28 มีนาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 29: ‘พระเยซูคริสต์จะทรงรวมผู้คนของพระองค์’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021 (2020)

“22–28 มีนาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 29” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย

พระเยซูทรงยืนตรงหน้าคนที่กำลังคุกเข่า

ทุกเข่าจะย่อลง โดย เจ. เคิร์ค ริชาร์ดส์

22–28 มีนาคม

หลักคำสอนและพันธสัญญา 29

พระเยซูคริสต์จะทรงรวมผู้คนของพระองค์

ท่านรู้จักเด็กที่ท่านสอนและมีความจริงมากมายใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 29 ที่สามารถเป็นพรแก่พวกเขา จงทำตามการดลใจของพระวิญญาณขณะท่านศึกษา ภาค 29 และบันทึกความประทับใจของท่านเกี่ยวกับวิธีที่ท่านจะสอนความจริงเหล่านี้

บันทึกความประทับใจของท่าน

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ท่านอาจจะเชิญเด็กสองสามคนบอกบางวิธีที่พวกเขาเรียนพระกิตติคุณที่บ้าน—ด้วยตนเองหรือกับครอบครัว เชิญเด็กหนึ่งคนหรือมากกว่านั้นแบ่งปันประจักษ์พยานเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ที่บ้านสัปดาห์นี้

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กเล็ก

หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:1–2

พระเยซูคริสต์จะทรงรวมผู้คนของพระองค์ก่อนพระองค์เสด็จมาอีกครั้ง

พระผู้ช่วยให้รอดทรงรวมเราเมื่อเรายอมรับและทำตามคำสอนของพระองค์

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้เด็กระบายสีหน้ากิจกรรมของสัปดาห์นี้ขณะท่านฉายวีดิทัศน์เรื่อง “Chicks and Hens” (ChurchofJesusChrist.org) ขอให้เด็กฟังว่าแม่ไก่คุ้มครองลูกเจี๊ยบอย่างไร

    1:30
  • หลังจากอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:1–2 ให้แสดงการเปรียบเทียบที่พระคริสต์ทรงรวมผู้คนของพระองค์ “ดังแม่ไก่รวมลูกเจี๊ยบ” เด็กคนหนึ่งจะแสดงเป็นแม่ไก่และเลือกยืนตรงมุมหนึ่งของห้อง เมื่อเด็กคนนั้น “ร้องกุ๊กๆ” ให้เด็กทุกคนไปรวมกันรอบตัวเขาหรือเธอ เด็กจะผลัดกันเป็นแม่ไก่ ชูภาพพระผู้ช่วยให้รอดและให้เด็กรวมกันมาหาพระองค์ แบ่งปันกับเด็กว่าพระเยซูทรงช่วยเราอย่างไรเมื่อเรารวมกันมาหาพระองค์

    แม่ไก่กับลูกเจี๊ยบ

    กี่ครั้ง โดย ลิซ เลมอน สวินเดิล

หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:2–11

ฉันสามารถเตรียมพบพระผู้ช่วยให้รอด

สักวันหนึ่ง เราแต่ละคนจะอยู่เบื้องพระพักตร์พระเยซูคริสต์ แม้วันนั้นจะอยู่ไกลในอนาคต แต่เด็กยังคงสามารถตรึกตรองว่าวันนั้นจะเป็นอย่างไรและพวกเขาจะเตรียมตัวอย่างไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้ดูภาพการเสด็จมาครั้งที่สอง (ดู หนังสือภาพพระกิตติคุณ ภาพที่ 66) และช่วยให้เด็กคนหนึ่งอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:11 ช่วยเด็กสังเกตวลีในพระคัมภีร์บอกสิ่งที่พวกเขาเห็นในภาพ บอกเด็กๆ ว่าท่านรู้สึกอย่างไรที่พระเยซูคริสต์จะเสด็จมาแผ่นดินโลกอีกครั้ง

  • ชั้นเรียนจะร้องเพลงหนึ่งเพลงเกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งที่สอง เช่น “คราพระเสด็จมา” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก หน้า 46–47) ให้เด็กดูภาพสิ่งที่พวกเขาจะทำได้เพื่อเตรียมพบพระผู้ช่วยให้รอดและอยู่กับพระองค์ตลอดไป (ดูแนวคิดบางอย่างจาก หนังสือภาพพระกิตติคุณ) ช่วยพวกเขาหาวิธีเตรียมวิธีอื่นใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:2–10

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กโต

หลักคำสอนและพันธสัญญา 29

พระบิดาบนสวรรค์ทรงเตรียมแผนแห่งความรอดให้ฉัน

ยิ่งเด็กรู้เรื่องแผนแห่งความรอดของพระผู้เป็นเจ้ามากเพียงใด เขาหรือเธอจะยิ่งใช้ศรัทธาในพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ทำตามแผนได้มากเพียงนั้น ท่านรู้สึกได้รับการกระตุ้นเตือนให้เน้นส่วนใดของแผน?

กิจกรรมที่ทำได้

  • ขอให้เด็กหลายๆ คนยกตัวอย่างเวลาที่พวกเขามีแผน เช่น แผนการเดินทางหรือแผนทำงานอย่างหนึ่งให้สำเร็จ ท่านอาจจะยกตัวอย่างแผนต่างๆ ด้วย เช่น ปฏิทินที่เขียนกิจกรรมต่างๆ ไว้บนนั้นหรือคำแนะนำให้ทำบางอย่าง เหตุใดแผนจึงมีประโยชน์? แบ่งปันกับเด็กว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงมีแผนที่จะช่วยให้เราเป็นเหมือนพระองค์

  • เพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจแผนของพระผู้เป็นเจ้า ให้ทำป้ายคำต่อไปนี้: ชีวิตก่อนเกิด การสร้าง การตก ชีวิตบนแผ่นดินโลก และ การเสด็จมาครั้งที่สอง หลังจากอธิบายแต่ละคำแล้ว (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:9–45) แจกป้ายเด็กคนละแผ่น และขอให้พวกเขายืนเข้าแถวเรียงตามลำดับเหตุการณ์ในแผนของพระบิดาบนสวรรค์ เด็กแต่ละคนอาจจะแบ่งปันว่าเขารู้อะไรเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่บนป้ายของพวกเขา ช่วยให้เด็กเห็นว่าการรู้เรื่องแผนของพระบิดาบนสวรรค์ช่วยให้เราเป็นเหมือนพระองค์และพระผู้ช่วยให้รอดมากขึ้นอย่างไร

  • ใช้กิจกรรมด้านล่างหนึ่งกิจกรรมหรือมากกว่านั้นสอนความจริงเกี่ยวกับแผนและวิธีประยุกต์ใช้กับเรา ท่านอาจจะให้เด็กสองสามคนเตรียมมาช่วยท่านสอน

    • สิทธิ์เสรี ช่วยให้เด็กเข้าใจว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงมอบของประทานแห่งสิทธิ์เสรีให้เรา—เสรีภาพในการเลือก—และถือว่าเราต้องรับผิดชอบการเลือกของเรา (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:39–40) ทำป้ายสองป้ายให้เด็กแต่ละคน: ป้ายหนึ่งแทนการเลือกที่ดี (ตัวอย่างเช่น หน้ายิ้ม) และอีกป้ายแทนการเลือกที่ไม่ดี (ตัวอย่างเช่น หน้าบึ้ง) ยกตัวอย่างการเลือกที่ดีและไม่ดี และขอให้เด็กยกป้ายที่ถูกต้อง ขอให้เด็กแบ่งปันพรที่เกิดขึ้นเมื่อเราทำตามพระเยซูคริสต์ เหตุใดพระบิดาบนสวรรค์ทรงปล่อยให้เราเลือก?

    • พระบัญญัติ ให้เด็กเขียนพระบัญญัติบางข้อไว้บนกระดาน (ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจจะค้นคว้า อพยพ 20:3–17 และ หนังสือภาพพระกิตติคุณ ภาพที่ 103–105) เหตุใดพระบิดาบนสวรรค์จึงประทานพระบัญญัติแก่เรา? เราเรียนรู้อะไรจาก หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:35 เกี่ยวกับพระบัญญัติของพระบิดาบนสวรรค์?

    • การชดใช้ของพระเยซูคริสต์ ช่วยให้เด็กเห็นว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงเตรียมทางให้เราได้รับการอภัยเมื่อเราเลือกผิด ขอให้เด็กอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:1, 42–43 คนละข้อและแบ่งปันว่าข้อนั้นสอนอะไรเกี่ยวกับการชดใช้ของพระผู้ช่วยให้รอด หาวิธีเชื้อเชิญอย่างสร้างสรรค์ให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาพบ เช่น แบ่งปันเรียงตามลำดับวันเกิดของพวกเขา หรือคนตัวเตี้ยสุดไปจนถึงคนตัวสูงสุด เป็นต้น

หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:1–2

พระเยซูคริสต์จะทรงรวมผู้คนของพระองค์ก่อนพระองค์เสด็จมาอีกครั้ง

ท่านจะช่วยให้เด็กที่ท่านสอนตื่นเต้นกับการช่วยรวมอิสราเอลได้อย่างไร?

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 29:1–2 และมองหาสิ่งที่พระเจ้าทรงเปรียบเทียบกับพระองค์เอง เด็กเห็นภาพอะไรเมื่อพวกเขาอ่านการเปรียบเทียบนี้? พระเจ้าตรัสว่าเราต้องทำอะไรพระองค์จึงจะทรงรวมเรา?

  • วิธีหนึ่งที่จะให้เด็กตื่นเต้นกับการรวมคือเล่าเรื่องของคนที่เข้าร่วมศาสนจักร ตัวอย่างเช่น ใครแนะนำครอบครัวท่านให้รู้จักศาสนจักร? ท่านอาจจะขอล่วงหน้าให้เด็กหาเกี่ยวกับสมาชิกคนแรกของศาสนจักรในครอบครัวของพวกเขาและเล่าเรื่องของคนนั้นให้ชั้นเรียนฟัง

  • เชื้อเชิญให้เด็กเขียนวิธีที่พวกเขาจะช่วยให้ผู้คนรวมกันมาหาพระผู้ช่วยให้รอด ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจจะชวนเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวมาร่วมกิจกรรมปฐมวัยหรือมาสังสรรค์ที่บ้านกับครอบครัวของพวกเขา

  • หลักแห่งความเชื่อข้อสิบพูดถึงการรวมอิสราเอล เด็กคนใดจำหลักแห่งความเชื่อข้อนี้ได้? ถ้ามีคนจำได้ เชิญคนนั้นท่องให้ชั้นเรียนฟัง ถ้าไม่มี ให้ช่วยพวกเขาตั้งเป้าหมายท่องจำให้ได้

ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เชื้อเชิญให้เด็กจดความจริงอย่างหนึ่งที่พวกเขาเรียนรู้ในชั้น ขอสักสองสามแนวคิดเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาจะทำเพื่อแบ่งปันความจริงนี้ให้กับครอบครัวของตน

ปรับปรุงการสอนของเรา

ใส่ใจ ใส่ใจเด็กในชั้นของท่านว่าพวกเขาตอบสนองกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร ถ้าเด็กซุกซนไม่อยู่นิ่ง อาจได้เวลาเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่นหรือพาไปเดินเล่น ถ้าท่านสังเกตเห็นเด็กมีส่วนร่วมและเรียนรู้ อย่ารู้สึกกดดันว่าต้องเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่น