“8–14 มีนาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 23–26: ‘เสริมสร้างความมั่นคงแก่ศาสนจักร’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021 (2020)
“8–14 มีนาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 23–26” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2021
8–14 มีนาคม
หลักคำสอนและพันธสัญญา 23–26
“เสริมสร้างความมั่นคงแก่ศาสนจักร”
ขณะที่ท่านเตรียมสอน พึงพิจารณาแนวคิดกิจกรรมทั้งในหมวด “เด็กเล็ก” และ “เด็กโต”
บันทึกความประทับใจของท่าน
เชื้อเชิญให้แบ่งปัน
ให้ดูภาพเอ็มมา สมิธ (ดู โครงร่างของสัปดาห์นี้ ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว) เชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่พวกเขารู้เกี่ยวกับเธอ รวมทั้งสิ่งที่พวกเขาอาจจะเคยเรียนรู้มาแล้วขณะศึกษา หลักคำสอนและพันธสัญญา 25 ในสัปดาห์ที่ผ่านมา “บทที่ 13: โจเซฟและเอมมา” (เรื่องราวในหลักคำสอนและพันธสัญญา หน้า 51–55) จะช่วยได้
สอนหลักคำสอน: เด็กเล็ก
หลักคำสอนและพันธสัญญา 23:6; 26:1
พระผู้เป็นเจ้าทรงต้องการให้ฉันสวดอ้อนวอนและเรียนรู้จากพระคัมภีร์ทุกวัน
พระเจ้าทรงแนะนำผู้นำยุคแรกและมิตรสหายของศาสนจักรให้สวดอ้อนวอน (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 23:6) และศึกษาพระคัมภีร์ (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 26:1) ท่านจะช่วยเด็กทำให้การสวดอ้อนวอนและพระคัมภีร์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตพวกเขาได้อย่างไร?
กิจกรรมที่ทำได้
-
อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 23:6 ให้เด็กฟังเริ่มตั้งแต่ “เจ้าต้องสวดอ้อนวอน” ช่วยพวกเขาระบุวิธีและสถานที่ต่างๆ ที่พระเจ้าตรัสว่าเราควรสวดอ้อนวอน เชื้อเชิญให้พวกเขาวาดภาพตนเองกำลังสวดอ้อนวอนด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือที่ใดที่หนึ่งเหล่านั้น
-
หากจำเป็น อธิบายวิธีสวดอ้อนวอนให้เด็กฟัง เพลงเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอน เช่น“I Pray in Faith” (Children’s Songbook, 14) จะช่วยได้
-
อ่านให้เด็กฟังว่า “เจ้าจงอุทิศเวลาของเจ้าแก่การศึกษาพระคัมภีร์” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 26:1) บอกพวกเขาว่าเหตุใดท่านจึงศึกษาพระคัมภีร์ ช่วยให้พวกเขาคิดถึงวิธีที่พวกเขาสามารถเรียนรู้จากพระคัมภีร์ แม้จะยังอ่านไม่ออก
-
ร้องเพลง “ค้นหาไตร่ตรองและสวด” ด้วยกัน (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก หน้า 66) หรืออีกเพลงหนึ่งเกี่ยวกับการสวดอ้อนวอนและการศึกษาพระคัมภีร์ ช่วยเด็กค้นหาพรที่สัญญาไว้ในเพลง บอกพวกเขาเกี่ยวกับความรู้สึกทางวิญญาณที่ท่านเคยมีเมื่อสวดอ้อนวอนและอ่านพระคัมภีร์
หลักคำสอนและพันธสัญญา 25:11–12
พระเยซูทรงรัก “เพลงจากใจ”
พระเจ้าตรัสว่าเพลงศักดิ์สิทธิ์ “เป็นที่พอใจแก่เรา” ช่วยให้เด็กเห็นว่าการร้องเพลงไม่เพียงเป็นกิจกรรมสนุกเท่านั้นแต่เป็นวิธีนมัสการพระองค์ด้วย
กิจกรรมที่ทำได้
-
เชื้อเชิญให้เด็กแต่ละคนบอกชื่อเพลงสวดหรือเพลงศาสนจักรที่เขาชื่นชอบเป็นพิเศษ และร้องบางเพลงด้วยกัน อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 25:12 ให้เด็กฟัง และเชื้อเชิญให้พวกเขาจินตนาการว่าพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูทรงรู้สึกอย่างไรเมื่อพระองค์ทรงได้ยินเราร้องเพลงเหล่านี้
-
สอนเพลงหนึ่งเกี่ยวกับการร้องเพลง เช่น “Lift Up Your Voice and Sing” (Children’s Songbook, 252) หรือเพลงเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ เช่น “พระองค์ทรงส่งพระบุตร” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก หน้า 20–21) เชื้อเชิญให้พวกเขาร้องเพลงกับครอบครัวในสัปดาห์นี้
หลักคำสอนและพันธสัญญา 25:13, 15
ฉันสามารถเตรียมทำพันธสัญญาศักดิ์สิทธิ์
เด็กที่ท่านสอนกำลังเตรียมทำพันธสัญญาแรกกับพระบิดาบนสวรรค์เมื่อพวกเขารับบัพติศมา ท่านจะช่วยให้พวกเขาเห็นได้อย่างไรว่าพันธสัญญาของเรามีค่ามาก?
กิจกรรมที่ทำได้
-
อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 25:13 ให้เด็กฟัง อธิบายว่าคำว่า “แนบสนิท” ในข้อนี้หมายถึงยึดมั่นบางสิ่งบางอย่าง เพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าใจ ให้ส่งสิ่งของแข็งๆ บางอย่างเช่นก้อนหิน (หรือแท่งเหล็ก) เวียนไปรอบๆ ห้องและให้เด็กกำให้แน่นเท่าที่จะแน่นได้ อธิบายว่าการแนบสนิทกับพันธสัญญาของเราหมายถึงการยึดมั่น (หรือรักษา) สัญญาที่เราทำกับพระบิดาบนสวรรค์และไม่ปล่อยเด็ดขาด (หรือไม่ยอมทิ้ง)
-
ใช้หน้ากิจกรรมของสัปดาห์นี้สอนเด็กเกี่ยวกับเวลาที่เราทำพันธสัญญากับพระบิดาบนสวรรค์ อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 25:15 และอธิบายว่า “มงกุฎแห่งความชอบธรรม” หมายถึงพรของการกลับไปอยู่กับพระผู้เป็นเจ้ากษัตริย์แห่งสวรรค์ของเรา
สอนหลักคำสอน: เด็กโต
หลักคำสอนและพันธสัญญา 23:3–7; 25:7
พระเยซูทรงต้องการให้ฉันเสริมสร้างความมั่นคงแก่คนรอบตัว
เมื่อจัดตั้งศาสนจักรครั้งแรก มีสมาชิกไม่มาก พระเจ้าทรงขอให้วิสุทธิชนเสริมสร้างความมั่นคงแก่ศาสนจักรโดยแบ่งปันพระกิตติคุณและเสริมสร้างความมั่นคงแก่กัน เราสามารถทำแบบเดียวกันได้ในปัจจุบัน
กิจกรรมที่ทำได้
-
ขอให้เด็กหาทุกตัวอย่างของคำว่า “ตักเตือน” และ “แนะนำ” ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 23:3–7; 25:7 ช่วยพวกเขานิยามคำเหล่านี้ การตักเตือนคนบางคนจะเสริมสร้างความมั่นคงแก่พวกเขาอย่างไร? เชิญเด็กแสดงบทบาทสมมุติของการ “ตักเตือน” คนบางคนแต่ทำด้วยความรัก
-
เราจะทำให้ดีขึ้นได้อย่างไรในงานเสริมสร้างความมั่นคงแก่สมาชิกคนอื่นๆ ของศาสนจักร เพื่ออธิบายหลักธรรมนี้ ให้เด็กคนหนึ่งทำงานหนึ่งที่ต้องมีผู้ช่วยหลายคน จากนั้นขอให้เด็กคนอื่นๆ ช่วย และสนทนาว่างานง่ายขึ้นเพียงใด แบ่งปันประสบการณ์ซึ่งการรับใช้ของเพื่อนสมาชิกศาสนจักรเสริมสร้างความมั่นคงแก่ท่าน
พระผู้ช่วยให้รอดทรงสามารถ “ยก [ฉัน] ขึ้นมาจากความทุกข์ [ของฉัน]”
โจเซฟ สมิธทนทุกข์กับการทดลองมากมาย แต่ท่านสามารถ “อดทนในความทุกข์” เพราะพระเจ้าทรงสัญญาว่าพระองค์จะทรงอยู่กับท่านเสมอ
กิจกรรมที่ทำได้
-
ช่วยเด็กเขียนความทุกข์หรือความท้าทายบางอย่างที่โจเซฟ สมิธกับวิสุทธิชนยุคแรกคนอื่นๆ ประสบไว้บนกระดาน (ดู “บทที่ 11: ผู้คนเข้าร่วมกับศาสนจักรมากขึ้น” เรื่องราวในหลักคำสอนและพันธสัญญา หน้า 46–47 หรือวีดิทัศน์เกี่ยวกับเรื่องนี้บน ChurchofJesusChrist.org) จากนั้นให้พวกเขาค้นหาสิ่งที่พระเจ้าตรัสกับโจเซฟเกี่ยวกับความทุกข์ของท่านใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 24:1, 8 เราจะแสวงหาความช่วยเหลือจากพระผู้ช่วยให้รอดได้อย่างไรเมื่อเรากำลังประสบความยากลำบาก?
-
เพื่อสอนเด็กว่าบางครั้งเราต้อง “อดทนในความทุกข์ [ของเรา]” ท่านอาจฉายวีดิทัศน์เรื่อง “Continue in Patience” (ChurchofJesusChrist.org) ขอให้เด็กคิดถึงสิ่งที่พวกเขาต้องการจริงๆ แต่ต้องรอ เหตุใดบางครั้งพระเจ้าทรงเรียกร้องให้เรามีความอดทนระหว่างเวลาท้าทายในชีวิตเรา? พระองค์ทรงให้เรารู้อย่างไรว่าพระองค์ทรงอยู่ “กับ [เรา]” ระหว่างความทุกข์ของเรา?
1:1
ฉันสามารถ “แนบสนิทกับพันธสัญญา” ที่ฉันทำไว้
ไม่นานหลังจากเอ็มมา สมิธรับบัพติศมา พระเจ้ารับสั่งให้เธอ “แนบสนิทกับพันธสัญญาซึ่งเจ้าทำไว้” พิจารณาว่าคำแนะนำนี้จะเป็นพรแก่เด็กที่ท่านสอนได้อย่างไร
กิจกรรมที่ทำได้
-
อ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 25:13 ด้วยกันและถามเด็กว่าในข้อนี้ “แนบสนิทกับพันธสัญญา” ที่เราทำหมายความว่าอย่างไร เพื่อแสดงตัวอย่าง ให้ส่งของที่รัดไว้ด้วยกันจนแน่นเวียนไปรอบๆ และให้เด็กพยายามดึงออกจากกัน เหตุใดคำว่า “แนบสนิท” จึงเป็นคำที่ใช้อธิบายได้ดีว่าเราควรรู้สึกอย่างไรกับพันธสัญญาของเรา?
-
หากจำเป็น ให้ทบทวนพันธสัญญาที่เราทำเมื่อเรารับบัพติศมา (ดู โมไซยาห์ 18:8–10; หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:37) “แนบสนิท” กับพันธสัญญาเหล่านี้หมายความว่าอย่างไร?
-
ทบทวนบางอย่างที่ท่านรู้เกี่ยวกับชีวิตของเอ็มมา สมิธ (ดู “บทที่ 13: โจเซฟและเอ็มมา” [เรื่องราวในหลักคำสอนและพันธสัญญา หน้า 51–55] หรือวีดิทัศน์เกี่ยวกับเรื่องนี้บน ChurchofJesusChrist.org) แจก ภาค 25 ให้เด็กคนละหนึ่งหรือสองข้อ และเชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันว่าคำแนะนำและงานมอบหมายจากพระเจ้าได้ช่วยให้เอ็มมา “แนบสนิทกับพันธสัญญา” ที่เธอทำไว้อย่างไร เราจะทำตามแบบอย่างของเธอได้อย่างไร?
กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน
เชื้อเชิญให้เด็กเลือกข้อโปรดที่ท่านสนทนาด้วยกัน จดอ้างอิง และแบ่งปันกับสมาชิกครอบครัวหรือเพื่อนคนหนึ่ง