จงตามเรามา
2–8 ธันวาคม 1–3 ยอห์น; ยูดา: ‘พระ‍เจ้า​ทรง​เป็น​ความ​รัก’


“2–8 ธันวาคม 1–3 ยอห์น; ยูดา: ‘พระ‍เจ้า​ทรง​เป็น​ความ​รัก’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: พันธสัญญาใหม่ 2019 (2019)

“2–8 ธันวาคม 1–3 ยอห์น; ยูดา,” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2019

พระเยซูคริสต์ทรงแย้มพระสรวลขณะประทับกับเด็กที่ยิ้มแย้มแจ่มใส

ความรักที่สมบูรณ์แบบ, โดย เดล พาร์สัน

2–8 ธันวาคม

1–3 ยอห์น; ยูดา

“พระ‍เจ้า​ทรง​เป็น​ความ​รัก”

สาส์นของยอห์นและยูดาสอนเกี่ยวกับความรักและแสวงสว่างของพระบิดาบนสวรรค์ ขณะที่ท่านศึกษาสัปดาห์นี้ ไตร่ตรองว่าเหตุใดเด็กที่ท่านสอนจึงต้องการแสงสว่างและความรักของพระองค์ในชีวิตพวกเขา พึงจดจำว่าให้พิจารณากิจกรรมทั้งหมดที่แนะนำไว้ในโครงร่างนี้ ไม่ใช่แค่กิจกรรมที่ระบุไว้สำหรับเด็กกลุ่มอายุที่ท่านสอน

บันทึกความประทับใจของท่าน

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันว่าพวกเขารู้สึกถึงความรักของพระบิดาบนสวรรค์อย่างไรหรือทำไมพวกเขาจึงคิดว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงเป็นเหมือนแสงสว่าง

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

เด็กเล็ก

1 ยอห์น 1:5–7; 2:8–11

การทำตามพระเยซูนำแสงสว่างมาสู่ชีวิตฉัน

การเปรียบเทียบกับแสงสว่างและความมืดทางกายภาพสามารถช่วยท่านสอนเด็กเกี่ยวกับแสงสว่างที่พระบิดาบนสวรรค์ทรงนำมาสู่ชีวิตพวกเขาอย่างไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • ขอให้เด็กบอกสิ่งที่สร้างแสงสว่าง ช่วยพวกเขาเข้าใจประโยชน์ของแสงสว่าง เช่นช่วยต้นไม้เติบโต ทำให้เรามองเห็นได้ และให้ความอบอุ่น เชื้อเชิญให้เด็กผลัดกันส่องไฟฉายไปที่ภาพของพระเยซูคริสต์ขณะที่พวกเขาพูดว่า “พระ‍เจ้า​ทรง​เป็น​ความ​สว่าง” (1 ยอห์น 1:5) เป็นพยานว่าพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์สามารถนำแสงสว่างมาสู่ชีวิตเราได้เมื่อเราเชื่อฟังพระบัญญัติ

  • ทำให้ห้องมืด และเชื้อเชิญให้เด็กแนะนำวิธีนำแสงสว่างมาสู่ห้อง ช่วยพวกเขาคิดวิธีที่เราสามารถนำแสงสว่างของพระเยซูคริสต์มาสู่ชีวิตเรา ขณะที่พวกเขาแบ่งปันคำตอบ เปิดไฟฉายหรือเปิดผ้าม่านเพื่อค่อยๆ ให้แสงเข้ามาในห้อง

1 ยอห์น 4:10–11, 20–21

ฉันแสดงความรักของฉันต่อพระผู้เป็นเจ้าเมื่อฉันแสดงความรักต่อผู้อื่น

ช่วยให้เด็กเห็นการเชื่อมโยงระหว่างความรักที่พวกเขามีให้พระบิดาบนสวรรค์กับความรักที่พวกเขาแสดงต่อบุตรธิดาของพระองค์

กิจกรรมที่ทำได้

  • อ่าน 1 ยอห์น 4:11 ให้เด็กฟัง และร้องเพลงเกี่ยวกับความรักของพระผู้เป็นเจ้า เช่น “พระบิดาบนสวรรค์ทรงรักฉัน” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 16) ขอให้เด็กสองสามคนแบ่งปันว่าพวกเขารู้ได้อย่างไรว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงรักพวกเขา หลังแต่ละคำตอบ เชื้อเชิญให้เด็กกอดตัวเองและกล่าวว่า “พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นความรัก และพระผู้เป็นเจ้าทรงรักฉัน”

  • อ่าน 1 ยอห์น 4:21 ให้เด็กฟัง เชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันหรือแสดงท่าทางประกอบวิธีต่างๆ ที่พวกเขาจะแสดงความรักให้เพื่อนได้ เช่นการกอดหรือทำการ์ดอวยพรให้ สิ่งเหล่านี้ทำให้เพื่อนของเรารู้สึกอย่างไร พระบิดาบนสวรรค์ทรงรู้สึกอย่างไรเมื่อเราทำสิ่งดีๆ ให้ผู้อื่น

1 ยอห์น 2:3–5; 5:3

ฉันแสดงความรักต่อพระผู้เป็นเจ้าเมื่อฉันรักษาพระบัญญัติของพระองค์

เด็กเรียนรู้ได้ตั้งแต่ยังเล็กว่า “พระ‍บัญญัติ​ของ​พระ‍องค์​นั้น​ไม่​เป็น​ภาระ​หนัก​เกิน‍ไป” และการรักษาพระบัญญัติคือวิธีหนึ่งในการแสดงความรักต่อพระองค์

กิจกรรมที่ทำได้

  • อ่าน 1 ยอห์น 5:3 และขอให้เด็กฟังว่าข้อนี้กล่าวอะไรเกี่ยวกับวิธีที่เราสามารถแสดงความรักต่อพระผู้เป็นเจ้า เชื้อเชิญให้เด็กบอกพระบัญญัติให้มากที่สุดเท่าที่พวกเขาทำได้ พระบิดาบนสวรรค์ทรงรู้สึกอย่างไรเมื่อเราเชื่อฟังพระบัญญัติของพระองค์

  • เชื้อเชิญให้เด็กวาดรูปที่แสดงถึงวิธีหนึ่งที่พวกเขาสามารถแสดงความรักต่อพระบิดาบนสวรรค์ ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจวาดรูปตนเองรักษาพระบัญญัติข้อหนึ่ง ร้องเพลงเกี่ยวกับการเชื่อฟังด้วยกัน เช่น “เลือกทางที่ถูก” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 82) เรารู้สึกอย่างไรเมื่อเราเชื่อฟัง

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

เด็กโต

1 ยอห์น 2:8–11; 4:7–8, 20–21

ฉันแสดงความรักของฉันต่อพระผู้เป็นเจ้าเมื่อฉันแสดงความรักต่อผู้อื่น

ท่านจะช่วยให้เด็กเข้าใจได้อย่างไรว่าการรักพระผู้เป็นเจ้าเกี่ยวข้องกับการรักคนรอบข้างเรา—แม้คนที่อาจแตกต่างจากเราหรือรักได้ยาก

กิจกรรมที่ทำได้

  • ขอให้เด็กจินตนาการว่ามีคนใหม่เพิ่งเข้าเรียนที่โรงเรียนหรือวอร์ดของพวกเขาและยังไม่รู้จักใครที่นั่น บุคคลนี้อาจรู้สึกอย่างไร เชิญเด็กคนหนึ่งอ่าน 1 ยอห์น 4:7–8 ข้อนี้แนะนำอะไรเกี่ยวกับวิธีที่เราควรปฏิบัติต่อบุคคลนี้ แบ่งปันสถานการณ์ที่คล้ายกัน หรือขอให้เด็กนึกถึงสถานการณ์ซึ่งพวกเขาอาจมีโอกาสแสดงความรัก

  • ขอให้เด็กอ่าน 1 ยอห์น 4:7–8, 20–21 และเชื้อเชิญให้พวกเขาแต่ละคนเขียนหนึ่งประโยคที่สรุปสิ่งที่พวกเขาคิดว่าเป็นบทเรียนที่สำคัญที่สุดในข้อเหล่านี้ หลังจากพวกเขาแบ่งปันประโยคของตนเองแล้ว ท่านอาจเล่าเรื่องราวของไชย์ จอห์นสัน จากคำพูดของบราเดอร์เดวิด แอล. เบค เรื่อง “หน้าที่ศักดิ์สิทธิ์ของท่านในการปฏิบัติศาสนกิจ” (เลียโฮนา, พ.ค. 2013, 55) เด็กสามารถทำตามแบบอย่างของเยาวชนชายในเรื่องผู้แสดงความรักต่อไชย์ได้อย่างไร เชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันวิธีอื่นๆ ที่พวกเขาสามารถแสดงความรักต่อคนรอบข้างได้

1 ยอห์น 2:3–6; 4:17–18; 5:2–5

ฉันแสดงความรักต่อพระผู้เป็นเจ้าเมื่อฉันรักษาพระบัญญัติของพระองค์

การเชื่อฟังพระบัญญัติสามารถทำได้ง่ายขึ้นเมื่อเราเข้าใจความจริงที่สอนใน 1 ยอห์น 5:3 ท่านสามารถช่วยให้เด็กเห็นว่าพระบัญญัติไม่ใช่ภาระแต่เป็นโอกาสแสดงความรักต่อพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กเขียนบนกระดานถึงวิธีที่พวกเขาสามารถแสดงให้พระผู้เป็นเจ้าเห็นว่าพวกเขารักพระองค์ จากนั้นร่วมกันอ่าน 1 ยอห์น 2:5–6; 5:2–5 สำหรับแนวคิดเพิ่มเติม การเชื่อฟังพระบัญญัติแสดงให้เห็นว่าเรารักพระบิดาบนสวรรค์อย่างไร

    ครอบครัวคุกเข่าสวดอ้อนวอนด้วยกัน

    แม้ว่าเป็นเรื่องยาก แต่เราสามารถเลือกที่จะรักษาพระบัญญัติ

  • อ่าน 1 ยอห์น 4:17 และอธิบายให้เด็กฟังว่าการ “มี​ความ​มั่น‍ใจ​ใน​วัน​พิพาก‌ษา” หมายถึงการมีความมั่นใจและสันติสุขเมื่อพวกเขายืนอยู่เบื้องพระพักตร์พระผู้เป็นเจ้าเพื่อรับการพิพากษา ข้อนี้สอนอะไรถึงสิ่งที่เราต้องทำเพื่อจะมีความมั่นใจนี้ เราจะทำสิ่งใดได้บ้างในเวลานี้เพื่อจะมีความมั่นใจต่อพระพักตร์พระผู้เป็นเจ้า

ยูดา 1:18–22

ฉันสามารถซื่อสัตย์ได้แม้เมื่อคนอื่นล้อเลียนฉัน

เด็กอาจถูกเยาะเย้ยเพราะความเชื่อของพวกเขาหรือวิธีที่พวกเขาดำเนินชีวิตในฐานะสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์ ข้อเหล่านี้มีคำแนะนำของยูดาถึงวิธีคงความซื่อสัตย์ในสถานการณ์เช่นนั้น

กิจกรรมที่ทำได้

  • ขอให้เด็กแบ่งปันช่วงเวลาที่พวกเขาเคยถูกล้อเลียนเพราะทำสิ่งที่ถูกต้อง เชื้อเชิญให้เด็กอ่าน ยูดา 1:18–22 และมองหาวิธีที่เราจะสามารถรักษาความซื่อสัตย์ไว้ได้เมื่อเราถูกเยาะเย้ยหรือถูกล้อเลียน เขียนสิ่งที่พวกเขาพบบนกระดาน และสนทนาวิธีที่พวกเขาสามารถทำตามคำแนะนำนี้ได้

  • สรุปความฝันของลีไฮ (ดู 1 นีไฟ 8:1–35) ขอให้เด็กสองสามคนอ่าน 1 นีไฟ 8:26–28, 33 สนทนาว่าผู้คนในอาคารใหญ่และกว้างเหมือนกับคนชอบเยาะเย้ยที่ยูดาพูดถึงอย่างไร เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อไม่ให้เรารับอิทธิพลจากคนเหล่านั้นที่ล้อเลียนเราหรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เราเชื่อ (ดู 1 นีไฟ 8:30, 33)

ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

กระตุ้นให้เด็กวางแผนทำบางสิ่งเพื่อแบ่งปันแสงสว่างของพวกเขากับครอบครัว

ปรับปรุงการสอนของเรา

เด็กกระตือรือร้น บางครั้งท่านอาจรู้สึกว่าความซุกซนของเด็กทำให้พวกเขาไม่มีจิตใจจะเรียนรู้ แต่ท่านสามารถต่อยอดจากธรรมชาติวิสัยที่แข็งขันของพวกเขาโดยเชื้อเชิญให้พวกเขาทำท่าทางประกอบ วาดรูป หรือร้องเพลงเกี่ยวกับหลักธรรมพระกิตติคุณ (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 25–26)