พันธสัญญาใหม่ 2023
29 พฤษภาคม–4 มิถุนายน มัทธิว 26; มาระโก 14; ยอห์น 13: “ในความระลึกถึง”


“29 พฤษภาคม–4 มิถุนายน มัทธิว 26; มาระโก 14; ยอห์น 13: ‘ในความระลึกถึง,’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: พันธสัญญาใหม่ 2023 (2022)

“29 พฤษภาคม–4 มิถุนายน มัทธิว 26; มาระโก 14; ยอห์น 13,” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2023

ภาพ
พระกระยาหารมื้อสุดท้าย

ในความระลึกถึงเรา โดย วอลเตอร์ เรน

29 พฤษภาคม–4 มิถุนายน

มัทธิว 26; มาระโก 14; ยอห์น 13

“ในความระลึกถึง”

ขณะท่านอ่าน มัทธิว 26; มาระโก 14; และ ยอห์น 13 ให้มองหาหลักธรรมที่ท่านรู้สึกว่าจะเป็นพรแก่เด็กที่ท่านสอน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

ให้ดูภาพเหตุการณ์ต่างๆ ในบทเหล่านี้ เช่น หนังสือภาพพระกิตติคุณ ภาพที่ 54–55 และขอให้เด็กบอกท่านว่าเกิดเหตุการณ์อะไรในภาพเหล่านั้น

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กเล็ก

มัทธิว 26:26–29; มาระโก 14:22–24

ศีลระลึกช่วยให้ฉันคิดถึงพระเยซู

ช่วยให้เด็กเข้าใจว่าการรับศีลระลึกเป็นโอกาสที่จะระลึกถึงสิ่งที่พระเยซูทรงทำเพื่อเรา

กิจกรรมที่ทำได้

  • สรุปเรื่องราวของพระเยซูทรงแนะนำศีลระลึก ท่านอาจใช้ บทที่ 49: “ศีลระลึกครั้งแรก” (ใน เรื่องราวในพันธสัญญาใหม่, 124–126 หรือวีดิทัศน์เกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ ChurchofJesusChrist.org) เหตุใดเราจึงรับศีลระลึก? ช่วยให้เด็กเข้าใจว่าเราระลึกถึงพระเยซูระหว่างศีลระลึก

  • ให้เด็กดูขนมปังหนึ่งชิ้นและน้ำหนึ่งถ้วย ถามเด็กว่าพวกเขารู้หรือไม่ว่าขนมปังและน้ำศีลระลึกหมายถึงอะไร อธิบายว่าเครื่องหมายเหล่านี้ช่วยให้เราจดจำว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์เพื่อเราและทรงลุกขึ้นจากความตาย

  • ขอให้เด็กหลับตาและนึกถึงคนที่พวกเขารัก จากนั้นให้พวกเขาบอกท่านเกี่ยวกับบุคคลนั้น ขอให้พวกเขาหลับตาอีกครั้ง นึกถึงพระผู้ช่วยให้รอด จากนั้นให้แบ่งปันสิ่งที่พวกเขารู้เกี่ยวกับพระองค์ กระตุ้นให้พวกเขานึกถึงพระเยซูในช่วงศีลระลึกแต่ละสัปดาห์

  • เชื้อเชิญให้เด็กสาธิตสิ่งที่พวกเขาทำได้เพื่อระลึกถึงพระเยซูและแสดงความคารวะระหว่างศีลระลึก ช่วยเด็กทำจุลสารที่อธิบายไว้ในหน้ากิจกรรมของสัปดาห์นี้และใช้จุลสารนี้ช่วยให้พวกเขานึกถึงพระเยซูระหว่างศีลระลึก หรือให้พวกเขาค้นหาภาพพระเยซูใน นิตยสารศาสนจักร และทำภาพปะติดไว้ดูระหว่างการประชุมศีลระลึก

ยอห์น 13:34–35

ฉันสามารถรักผู้อื่นเหมือนกับพระเยซู

พระเยซูทรงแสดงความรักด้วยการดูแลคนรอบข้างพระองค์ เด็กที่ท่านสอนมีโอกาสใดบ้างที่จะแสดงความรักที่มีต่อผู้อื่น?

กิจกรรมที่ทำได้

  • แสดงภาพเรื่องราวที่เด็กเรียนรู้ในปีนี้เมื่อพระเยซูทรงแสดงความรักต่อผู้อื่น (ดูโครงร่างในอดีตที่ จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว) อ่าน ยอห์น 13:34–35 และช่วยให้เด็กพูดซ้ำวลี “เรารักพวกท่านมาแล้วอย่างไร … จงรักกันและกัน” เราจะแสดงความรักที่มีต่อครอบครัวและเพื่อนของเราได้อย่างไร?

  • เชิญเด็กให้ถือภาพของพระผู้ช่วยให้รอดขณะชั้นเรียนร้องเพลงเกี่ยวกับความรักของพระผู้ช่วยให้รอด เช่น “จงรักกันและกัน” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 74) ให้หัวใจกระดาษแก่เด็กและเชิญชวนให้พวกเขาวาดภาพตนเองกำลังทำบางอย่างเพื่อแสดงความรักที่มีต่อบุคคลอีกคนหนึ่ง

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กโต

มัทธิว 26:26–29; มาระโก 14:22–24

ศีลระลึกช่วยให้ฉันระลึกถึงพระเยซูคริสต์และการพลีพระชนม์ชีพของพระองค์เพื่อฉัน

ท่านจะช่วยให้เด็กมีประสบการณ์ที่มีความหมายมากขึ้นกับศีลระลึกได้อย่างไร?

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กผลัดกันอ่านข้อต่างๆ ใน มัทธิว 26:26–29 หรือ มาระโก 14:22–24 (ดู งานแปลของโจเซฟ สมิธ, มาระโก 14:20–24 [ในคู่มือพระคัมภีร์]) และ หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:75–79 คำและแนวคิดใดในพระคัมภีร์สองตอนนี้คล้ายกัน?

  • ถามเด็กว่าพวกเขาทำอะไรเพื่อช่วยให้พวกเขานึกถึงพระเยซูระหว่างศีลระลึก ช่วยพวกเขาหาข้อพระคัมภีร์หรือคำจากเพลงสวดศีลระลึกที่พวกเขาจะอ่านระหว่างศีลระลึกได้ จากนั้นให้เขียนไว้บนบัตรที่เด็กดูได้เมื่อพวกเขารับศีลระลึกครั้งต่อไป ร้องเพลงเหล่านี้กับเด็กสองสามเพลง (ดู เพลงสวด, บทเพลงที่ 78–91)

    ภาพ
    เด็กรับศีลระลึก

    ศีลระลึกช่วยให้เราระลึกถึงพระเยซูคริสต์และการพลีพระชนม์ชีพของพระองค์เพื่อเรา

  • เขียนวลีหลักๆ จากคำสวดอ้อนวอนศีลระลึกไว้บนกระดาน และช่วยเด็กท่องจำ วลีเหล่านี้หมายความว่าอย่างไร? เหตุใดการต่อพันธสัญญาบัพติศมาของเราทุกสัปดาห์จึงสำคัญ?

  • เชื้อเชิญให้ผู้ดำรงฐานะปุโรหิตแห่งอาโรนคนหนึ่งมาบอกเด็กเกี่ยวกับประสบการณ์ในการเตรียม ให้พร หรือส่งผ่านศีลระลึกของเขา อะไรช่วยเขาเตรียมทำสิ่งนี้? เขารู้สึกอย่างไรขณะทำสิ่งนี้? ขนมปังและน้ำเตือนให้เขานึกถึงพระผู้ช่วยให้รอดอย่างไร?

  • ขอให้เด็กที่รับบัพติศมาแล้วแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาจำได้เกี่ยวกับบัพติศมาของพวกเขา พวกเขารู้สึกอย่างไร? พวกเขาทำพันธสัญญาอะไร? (ดู โมไซยาห์ 18:8–10) บอกพวกเขาว่าทุกสัปดาห์เมื่อเรารับส่วนศีลระลึก จะเหมือนเรารับบัพติศมาอีกครั้ง—เราสามารถได้รับการอภัยบาปของเรา และเราต่อพันธสัญญาของเรา

ยอห์น 13:1–17

พระเยซูคริสต์แสดงให้ฉันเห็นถึงวิธีรับใช้ผู้อื่น

เรื่องราวที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงล้างเท้าสานุศิษย์ของพระองค์สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กที่ท่านสอนเพื่อให้พวกเขารับใช้ผู้คนรอบข้างด้วยความรัก

กิจกรรมที่ทำได้

  • สองสามวันล่วงหน้าขอให้เด็กคนหนึ่งอ่าน ยอห์น 13:4–9 และแบ่งปันเรื่องราวกับชั้นเรียนจากมุมมองของเปโตร พระผู้ช่วยให้รอดทรงพยายามสอนอะไรแก่เปโตรและอัครสาวกคนอื่นๆ? เด็กอาจพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้จากเรื่องราวนี้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ เราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการรับใช้ผู้อื่น?

  • อ่าน ยอห์น 13:12–17 ด้วยกัน ขอให้เด็กแต่ละคนเขียนถึงเวลาที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงรับใช้ผู้อื่น กระตุ้นให้พวกเขาเขียนสิ่งที่เรียนรู้จากแบบอย่างของพระองค์ด้วย เชิญพวกเขาแบ่งปันสิ่งที่เขียนกับชั้นเรียน

ยอห์น 13:34–35

สานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์รักคนอื่นอย่างที่พระองค์ทรงรัก

เมื่อเรารับบัพติศมา เราทำพันธสัญญาที่จะเป็นสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์ ใน ยอห์น 13:34–35 พระผู้ช่วยให้รอดทรงอธิบายว่าเราจะสามารถแสดงให้เห็นว่าเราเป็นสานุศิษย์ของพระองค์ได้อย่างไร

กิจกรรมที่ทำได้

  • เขียนบนกระดาน เรา พวกท่านมาแล้วอย่างไร ท่านก็จง กันและกันด้วยอย่างนั้น (ยอห์น 13:34) ขอให้เด็กค้นพระคัมภีร์และเติมคำในช่องว่าง มีสิ่งใดอีกบ้างที่เราสามารถทำได้เพื่อแสดงว่าเราเป็นสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์? เด็กอาจนึกถึงคำอื่นๆ ที่จะเติมประโยคบนกระดานให้สมบูรณ์ เช่น รับใช้ และ ได้รับใช้ หรือ สอน และ ได้สอน

  • เชิญให้เด็กอ่าน ยอห์น 13:35 และนึกถึงคนที่พวกเขารู้จักซึ่งเป็นแบบอย่างของสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์ ขอให้พวกเขาแบ่งปันว่าผู้คนเหล่านี้แสดงความรักต่อผู้อื่นอย่างไรเหมือนที่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทำ

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันกับครอบครัวพวกเขาถึงสิ่งที่พวกเขาจะทำเพราะสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ในชั้นเรียน ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจแบ่งปันวิธีที่จะระลึกถึงพระเยซูคริสต์ในระหว่างพิธีศีลระลึก

ปรับปรุงการสอนของเรา

แสดงประจักษ์พยานให้ชั้นเรียนฟัง ประจักษ์พยานสามารถเรียบง่ายได้เท่าๆ กับ “ครูรู้ว่าพระบิดาบนสวรรค์ทรงรักเด็กทุกคน” หรือ “ครูรู้สึกดีในใจขณะที่ครูเรียนรู้เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์”

พิมพ์