พันธสัญญาเดิม 2022
5–11 ธันวาคม ฮักกัย; เศคาริยาห์ 1–3; 7–14: “บริ‌สุทธิ์​แด่​พระ‍ยาห์‌เวห์”


“5–11 ธันวาคม ฮักกัย; เศคาริยาห์ 1–3; 7–14: ‘บริ‌สุทธิ์​แด่​พระ‍ยาห์‌เวห์’” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: พันธสัญญาเดิม 2022 (2021)

“5–11 ธันวาคม ฮักกัย; เศคาริยาห์ 1–3; 7–14” จงตามเรามา—สำหรับปฐมวัย: 2022

ภาพ
พระวิหารลาอีเอ ฮาวาย

5–11 ธันวาคม

ฮักกัย; เศคาริยาห์ 1–3; 7–14

“บริสุทธิ์​แด่​พระ‍ยาห์‌เวห์”

อ่านฮักกัยและเศคาริยาห์ร่วมกับการสวดอ้อนวอนโดยไตร่ตรองความประทับใจที่ท่านได้รับ ความจริงในหนังสือเหล่านี้จะช่วยตอบรับความต้องการของเด็กได้อย่างไร?

บันทึกความประทับใจของท่าน

ภาพ
ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

วาดใบหน้ามีความสุขบนแผ่นกระดาษ และให้เด็กผลัดกันถือ ระหว่างผลัดกัน เชื้อเชิญให้พวกเขาแบ่งปันบางสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ที่ทำให้พวกเขามีความสุข

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กเล็ก

ฮักกัย 1:6–8

ฉันสามารถให้พระผู้เป็นเจ้ามาเป็นอันดับแรกในชีวิตของฉันได้

การเรียนรู้เกี่ยวกับคำแนะนำของพระเจ้าที่ให้ “พิจาร‌ณา​ความ​เป็น​อยู่​ของ​พวก‍เจ้า” เป็นโอกาสให้เด็กแน่ใจว่าพวกเขาทำสิ่งสำคัญที่พระผู้เป็นเจ้าทรงขอให้เราทำ

กิจกรรมที่ทำได้

  • อธิบายให้เด็กฟังว่าพระเจ้าทรงต้องการให้ชาวอิสราเอลสร้างพระวิหาร แต่พวกเขากลับทำสิ่งอื่นแทน อ่านออกเสียง ฮักกัย 1:7 และอธิบายว่า “พิจาร‌ณา​ความ​เป็น​อยู่​ของ​พวก‍เจ้า” หมายความว่าพระเจ้าทรงต้องการให้ชาวอิสราเอลคิดว่าพวกเขาทำสิ่งที่สำคัญที่สุดอยู่หรือไม่ อ่าน ข้อ 8 ให้เด็กฟัง และเชื้อเชิญให้พวกเขาแสร้งทำเป็น “ขึ้นไปบนเนินเขา” “นำไม้ลงมา” และ “สร้างพระนิเวศ [ของพระเจ้า]” สิ่งสำคัญที่พระผู้เป็นเจ้าทรงต้องการให้เราทำคืออะไร?

  • คว่ำหน้าภาพที่เป็นตัวแทนบางสิ่งที่สำคัญต่อพระผู้เป็นเจ้า เช่น พระคัมภีร์ คำสวดอ้อนวอน และพระวิหารลงบนโต๊ะ ให้เด็กผลัดกันเลือกภาพและแสดงให้ชั้นเรียนดู ช่วยให้พวกเขาเข้าใจว่าเหตุใดจึงสำคัญที่จะให้แน่ใจว่าเรามีเวลาสำหรับแต่ละสิ่งในภาพ

เศคาริยาห์ 3:1–7

พระเยซูคริสต์ทรงทำให้วิญญาณของฉันสะอาดได้

เสื้อผ้าสกปรกของมหาปุโรหิตโยชูวาตามที่อธิบายไว้ใน เศคาริยาห์ 3:1–7 เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเราทำบาป โดยผ่านการชดใช้ของพระเยซูคริสต์ เราได้รับการชำระให้สะอาดได้ เช่นเดียวกับที่โยชูวาได้รับการชำระให้สะอาดเมื่อเขาได้รับเสื้อผ้าใหม่

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้เด็กส่งต่อเสื้อสกปรกและอ่าน เศคาริยาห์ 3:3 จากนั้นส่งต่อเสื้อสะอาดและอ่าน ข้อ 4 พูดคุยกับเด็กว่าการเลือกผิดเป็นเหมือนความสกปรกทางวิญญาณ แต่พระผู้ช่วยให้รอดทรงทำให้เรากลับมาสะอาดได้อีกครั้ง เรารู้สึกอย่างไรเมื่อเราสะอาด? แบ่งปันประจักษ์พยานของท่านว่าเพราะพระเยซูคริสต์ทรงทนทุกข์และสิ้นพระชนม์เพื่อเรา เราจึงสะอาดจากบาปของเราเมื่อเรากลับใจ

  • หากอยู่ในวิสัยที่ทำได้ ให้เด็กดูภาพคนที่พวกเขารู้จักแต่งกายด้วยชุดขาวเมื่อรับบัพติศมา (หรือดู หนังสือภาพพระกิตติคุณ ภาพที่ 103, 104) เหตุใดเราจึงสวมชุดสีขาวที่บัพติศมาของเรา? ร้องเพลงหนึ่งเพลงเกี่ยวกับบัพติศมา เช่น “เมื่อฉันรับบัพติศมา” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 53) เชื้อเชิญให้เด็กวาดภาพตนเองรับบัพติศมาและแบ่งปันว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการรับบัพติศมาในสักวันหนึ่ง

เศคาริยาห์ 2:10; 9:9; 14:3–9

ศาสดาพยากรณ์สอนเราเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์

เช่นเดียวกับศาสดาพยากรณ์ท่านอื่นๆ ในพันธสัญญาเดิม เศคาริยาห์พยากรณ์ถึงพระเยซูคริสต์ คำพยากรณ์ใน เศคาริยาห์ 2:10; 9:9; 14:3–9 สามารถสอนอะไรให้เด็กเกี่ยวกับพระองค์?

กิจกรรมที่ทำได้

  • ให้ดูภาพพระเยซูคริสต์ทรงลาเสด็จเข้าเยรูซาเล็ม (ดู หนังสือภาพพระกิตติคุณ ภาพที่ 50) บอกเด็กว่าหลายปีก่อนที่พระเยซูจะเสด็จมาแผ่นดินโลก เศคาริยาห์พยากรณ์ว่าพระเยซูคริสต์จะทรงลาไปยังเยรูซาเล็มก่อนที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์เพื่อเรา ขณะที่ท่านอ่าน เศคาริยาห์ 9:9 ขอให้เด็กชี้ไปที่คนในภาพที่ “ร่าเริงอย่างยิ่ง” และชี้ไปที่ “กษัตริย์” ด้วย ใครคือกษัตริย์? ขอให้เด็กแบ่งปันว่าเหตุใดพวกเขาจึงขอบพระทัยพระเยซู

  • อ่านคำพยากรณ์บางส่วนของเศคาริยาห์ให้เด็กฟังเกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งที่สองของพระผู้ช่วยให้รอด เช่นใน เศคาริยาห์ 2:10; 14:9 ขอให้เด็กวาดภาพสิ่งที่พวกเขาคิดว่าจะเกิดเมื่อพระเยซูเสด็จมาอีกครั้ง หรือร้องเพลงด้วยกันหนึ่งเพลงเกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งที่สอง เช่น “ คราพระเสด็จมา” (หนังสือเพลงสำหรับเด็ก, 46)

ภาพ
ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน: เด็กโต

ฮักกัย 1:2–8

“จง​พิจาร‌ณา​ความ​เป็น​อยู่​ของ​พวก‍เจ้า”

เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเราทุกคนที่ต้องตระหนักถึงลำดับความสำคัญของเราและใช้เวลาที่จะ “พิจารณาความเป็นอยู่ [ของเรา]” ท่านจะสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กจัดเวลาในชีวิตเพื่อสิ่งต่างๆ ของพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างไร?

กิจกรรมที่ทำได้

  • เชื้อเชิญให้เด็กอ่าน ฮักกัย 1:2–5 เพื่อดูว่าเหตุใดพระเจ้าจึงไม่พอพระทัยชาวอิสราเอล ขอให้เด็กเลือกวลีจาก ข้อ 6 แล้ววาดภาพตาม ให้ชั้นเรียนเดาว่าภาพวาดแต่ละภาพหมายถึงวลีใด พูดคุยเกี่ยวกับการใช้เวลากับสิ่งอื่นนอกเหนือจากสิ่งที่พระเจ้าทรงต้องการก็เหมือนกับการรับประทานแต่ไม่อิ่ม การแต่งตัวแต่ไม่อบอุ่น และอื่นๆ เหตุใดการให้เวลากับสิ่งที่สำคัญต่อพระเจ้าจึงสำคัญ?

  • เขียน “จง​พิจาร‌ณา​ความ​เป็น​อยู่​ของ​พวก‍เจ้า” บนกระดาน (ข้อ 7) เชื้อเชิญให้เด็กแต่ละคนเขียนสิ่งที่เขาอาจทำในวันปกติรวมทั้งสิ่งที่พระเจ้าทรงขอให้เราทำ ขอให้เด็ก “พิจาร‌ณา​ความ​เป็น​อยู่​ของ​ [พวก‍เขา]” โดยวงกลมสิ่งที่พระเจ้าอาจตรัสว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในรายการของพวกเขา เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเราใช้เวลาในแต่ละวันสำหรับสิ่งที่พระเจ้าทรงต้องการให้เราทำ?

ภาพ
ชายคนหนึ่งบัพติศมาให้เด็กสาว

เราสวมชุดขาวที่บัพติศมาของเราเพื่อแสดงให้เห็นว่าพระเยซูคริสต์ทรงทำให้เราสะอาดได้เมื่อเรากลับใจจากบาปของเรา (ดู เศคาริยาห์ 3:3–4)

เศคาริยาห์ 3:1–7

การทำและรักษาพันธสัญญาสามารถช่วยให้ฉันเป็นเหมือนพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์ได้มากขึ้น

ในนิมิต เศคาริยาห์เห็นมหาปุโรหิตชื่อโยชูวาผู้ “สวม​เสื้อ‍ตำ‌แหน่ง​สก‌ปรก” (เศคาริยาห์ 3:3) ทูตสวรรค์องค์หนึ่งให้เสื้อผ้าสะอาดแก่เขาและอธิบายว่าสิ่งนี้เป็นสัญลักษณ์ว่าได้รับการชำระให้สะอาดจากบาปของเขา ท่านสามารถใช้นิมิตนี้เพื่อช่วยให้เด็กเข้าใจพันธสัญญาและพรที่เกี่ยวข้องกับบัพติศมา

กิจกรรมที่ทำได้

  • อ่าน เศคาริยาห์ 3:1–7 ด้วยกันและสนทนาคำถามทำนองนี้: “เสื้อ‍ตำ‌แหน่ง​สก‌ปรก” ของโยชูวาแทนสิ่งใด? เราจะสะอาดจากบาปของเราได้อย่างไร? พันธสัญญาบัพติศมาของเราช่วยให้เรา “ดำ‌เนิน​ตาม​มรรคา [​ของ​พระเจ้า]” ได้อย่างไร?

  • สองสามวันก่อนเริ่มชั้นเรียน เชื้อเชิญให้เด็กเตรียมตัวมาพูดคุยเกี่ยวกับบัพติศมาของเขา ทบทวนพันธสัญญาที่เราทำที่บัพติศมาด้วยกัน (ดู หลักคำสอนและพันธสัญญา 20:37) การรักษาสัญญาจะช่วยให้เราเป็นเหมือนพระบิดาบนสวรรค์และพระเยซูคริสต์มากขึ้นได้อย่างไร? การรับศีลระลึกในแต่ละสัปดาห์ช่วยให้เรารักษาพันธสัญญาบัพติศมาได้อย่างไร?

เศคาริยาห์ 9:9–11; 11:12; 13:6–7

พระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระเมสสิยาห์ที่สัญญาไว้

เด็กสามารถเรียนรู้อะไรจากคำพยากรณ์ของเศคาริยาห์เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์?

กิจกรรมที่ทำได้

  • แบ่งเด็กเป็นคู่ๆ ให้คำพยากรณ์ต่อไปนี้จากเศคาริยาห์กับแต่ละคู่ พร้อมกับข้อพระคัมภีร์ในพันธสัญญาใหม่ที่อธิบายถึงสัมฤทธิผลของคำพยากรณ์: เศคาริยาห์ 9:9 และ มัทธิว 21:5–9; เศคาริยาห์ 9:11 และ 1 เปโตร 3:18–19; เศคาริยาห์ 11:12 และ มัทธิว 26:14–16; เศคาริยาห์ 13:7 และ มัทธิว 26:31 ขอให้แต่ละคู่แบ่งปันกับชั้นเรียนว่าพวกเขาเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์จากข้อพระคัมภีร์ของพวกเขาและเหตุใดพวกเขาจึงสำนึกคุณต่อพระองค์

  • ให้ดู ภาพที่ 50, 60 และ 64 จาก หนังสือภาพพระกิตติคุณ เขียนข้ออ้างอิงพระคัมภีร์ต่อไปนี้ไว้บนกระดาน และเชิญให้เด็กจับคู่ข้ออ้างอิงกับรูปภาพ: เศคาริยาห์ 9:9; 13:6; 13:7 เชื้อเชิญให้เด็กแบ่งปันความรู้สึกของพวกเขาเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์

ภาพ
ไอคอนการเรียนรู้

กระตุ้นให้เรียนรู้ที่บ้าน

เชื้อเชิญให้เด็กจดความจริงอย่างหนึ่งที่พวกเขาเรียนรู้ในชั้นเรียน เชื้อเชิญให้พวกเขาสนทนากับครอบครัวว่าพวกเขาได้รับประจักษ์พยานที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับความจริงนั้นได้อย่างไร

ปรับปรุงการสอนของเรา

ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของท่าน จงให้แนวคิดในโครงร่างนี้จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ของท่านเอง นึกถึงสิ่งที่เด็กในชั้นเรียนของท่านจะชอบและสิ่งที่จะช่วยให้พวกเขาพบความเชื่อมโยงระหว่างพระคัมภีร์กับชีวิต

พิมพ์