“13–19 กันยายน หลักคำสอนและพันธสัญญา 102–105: ‘หลังจากความยากลำบากยิ่ง … จึงบังเกิดพร’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021 (2020)
“13–19 กันยายน หลักคำสอนและพันธสัญญา 102–105” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2021
ซี. ซี. เอ. คริสเต็นเซ็น (1831–1912), ค่ายไซอัน, ประมาณปี 1878 จิตรกรรมสีฝุ่นบนผ้าฝ้าย, 78 × 114 นิ้ว พิพิธภัณฑ์ศิลปะ มหาวิทยาลัยบริคัมยังก์, ของขวัญจากลูกหลานของซี. ซี. เอ. คริสเต็นเซ็น ปี 1970
13–19 กันยายน
หลักคำสอนและพันธสัญญา 102–105
“หลังจากความยากลำบากยิ่ง … จึงบังเกิดพร”
ขณะที่ท่านเตรียมสอน หลักคำสอนและพันธสัญญา 102–105 ให้ฟังการกระตุ้นเตือนจากพระวิญญาณ พระองค์จะทรงนำท่านไปสู่หลักธรรมที่ไม่ได้กล่าวไว้ในโครงร่างนี้ที่จะเป็นพรแก่ผู้คนที่ท่านสอน
บันทึกความประทับใจของท่าน
เชื้อเชิญให้แบ่งปัน
สมาชิกชั้นเรียนจดหนึ่งข้อหรือสองข้อจาก หลักคำสอนและพันธสัญญา 102–105 ที่พวกเขาพบว่ามีความหมายเป็นส่วนตัว จากนั้นพวกเขาอาจแลกเปลี่ยนข้อกับสมาชิกชั้นเรียนอีกคนหนึ่งและสนทนากันว่าพวกเขาเรียนรู้อะไรจากข้อเหล่านี้
สอนหลักคำสอน
หลักคำสอนและพันธสัญญา 103; 105
การทดลองของเราสอนบทเรียนที่มีค่าแก่เราและให้ประสบการณ์เรา
-
ขณะที่สมาชิกชั้นเรียนศึกษา ภาค 103 และ 105 สัปดาห์นี้ พวกเขาอาจพบหลักธรรมที่จะช่วยเราในช่วงการทดลองหรือการต่อต้าน ให้พวกเขาแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาพบ หรือท่านอาจเชื้อเชิญให้พวกเขามองหาหลักธรรมเช่นนั้นใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 103:5–7, 12, 36; 105:5–6, 9–12, 18–19 (ดู “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” ด้วย) หลักธรรมเหล่านี้บอกอะไรเกี่ยวกับวิธีที่เราสามารถตอบสนองเมื่อเผชิญกับความยากลำบากหรือความผิดหวัง? สมาชิกชั้นเรียนอาจเต็มใจแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งพรเกิดขึ้น “หลังจากความยากลำบากยิ่ง” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 103:12)
-
หากท่านรู้สึกว่าภูมิหลังทางประวัติศาสตร์หรือเรื่องราวส่วนตัวบางเรื่องเกี่ยวกับค่ายไซอันอาจเป็นประโยชน์ ท่านอาจเชื้อเชิญให้บางคนทบทวน “Voices of the Restoration: Zion’s Camp” (ในโครงร่างของสัปดาห์นี้ใน จงตามเรามา—สำหรับบุคคลและครอบครัว) และแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้พอสังเขป หากเราสามารถเดินทางย้อนเวลากลับไปและพูดกับค่ายไซอัน เราอาจพูดอะไรเพื่อให้กำลังใจพวกเขา? พวกเขาอาจพูดอะไรเพื่อให้กำลังใจเรา?
ค่ายไซอันอยู่เลียบฝั่งแม่น้ำลิทเทิลฟิชิงตามภาพนี้
หลักคำสอนและพันธสัญญา 104:11–18
เราแต่ละคนเป็น “ผู้พิทักษ์ดูแลพรฝ่ายแผ่นดินโลก”
-
เพื่อช่วยให้สมาชิกชั้นเรียนปรับคำสอนใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 104:11–18 ให้เข้ากับตนเอง ท่านอาจเชื้อเชิญให้พวกเขาจินตนาการว่าพวกเขากำลังจะฝากบางสิ่งที่มีค่าให้ผู้อื่นดูแล พวกเขาจะพูดกับคนนั้นว่าอย่างไร? พวกเขาคาดหวังอะไรจากคนนั้น? จากนั้นสมาชิกชั้นเรียนจะอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 104:11–18 เพื่อค้นหาสิ่งที่พระเจ้าทรงฝากฝังให้เราดูแลและสิ่งที่พระองค์ทรงคาดหวังจากเรา ข้อเหล่านี้ส่งผลอย่างไรต่อวิธีที่เราคิดเกี่ยวกับโลก พรของเรา หรือคนรอบข้างเรา?
-
เพื่อช่วยสมาชิกชั้นเรียนเข้าใจ “วิธีที่ … พระเจ้าประกาศิตให้จัดหาไว้ให้วิสุทธิชน [ของพระองค์] ” (หลักคำสอนและพันธสัญญา 104:16) ได้ดีขึ้น ท่านอาจเชื้อเชิญให้พวกเขาอ่าน หลักคำสอนและพันธสัญญา 104:11–18 โดยมองหาสิ่งที่เราเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีของพระเจ้าให้การจัดหาให้วิสุทธิชนของพระองค์ ส่วนหนึ่งในการสนทนาของท่าน ท่านอาจแบ่งปันคำกล่าวของประธานแมเรียน จี. รอมนีย์ด้วย: “พระเจ้า … ทรงสามารถดูแล [คนจน] โดยไม่ต้องมีความช่วยเหลือจากเราหากเป็นพระประสงค์ของพระองค์ที่จะทำเช่นนั้น … แต่ เรา ต้องมีประสบการณ์นี้ เพราะโดยผ่านการเรียนรู้วิธีดูแลกันเท่านั้นที่เราจะพัฒนาความรักเหมือนพระคริสต์ในตัวเราและนิสัยที่จำเป็นต่อการทำให้เรามีคุณสมบัติคู่ควรกลับไปที่ประทับของพระองค์” (“Living Welfare Principles,” Ensign, Nov. 1981, 92) ให้เวลาสมาชิกชั้นเรียนสองสามนาทีเพื่อบันทึกความประทับใจของพวกเขาเกี่ยวกับวิธีที่พวกเขาสามารถจัดหาให้ผู้อื่นในวิธีของพระเจ้า
3:48
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
พลังทำให้บริสุทธิ์ของการทดลอง
เอ็ลเดอร์ออร์สัน เอฟ. วิทนีย์สอนว่า “ไม่มีความเจ็บปวดใดที่เราทนทุกข์ การทดลองใดที่เราประสบจะสูญเปล่า ทั้งหมดล้วนเอื้อต่อการได้ความรู้ ต่อการพัฒนาคุณสมบัติต่างๆ เช่น ความอดทน ศรัทธา ความทรหด และความอ่อนน้อมถ่อมตน ทั้งหมดที่เราทนทุกข์และทั้งหมดที่เราอดทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรายืนหยัดอดทน ล้วนเสริมสร้างอุปนิสัย ทำให้ใจเราบริสุทธิ์ ขยายจิตวิญญาณ ทำให้เราอ่อนโยนและมีจิตกุศลมากขึ้น มีค่าควรแก่การเรียกว่าเป็นบุตรธิดาของพระผู้เป็นเจ้ามากขึ้น … โดยผ่านโทมนัสและความทุกขเวทนา ความตรากตรำลำบาก เราจะได้ความรู้ซึ่งเรามาที่นี่เพื่อจะรับความรู้นั้นและจะทำให้เราเป็นเหมือนพระบิดาและพระมารดาในสวรรค์ของเรามากขึ้น” (ใน สเป็นเซอร์ ดับเบิลยู. คิมบัลล์, Faith Precedes the Miracle [1972], 98)
เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์กล่าวว่า “ณ จุดหนึ่งของชีวิตเราแต่ละคน เราจะได้รับการเชื้อเชิญให้เดินทัพในค่ายไซอันของเราเอง จังหวะเวลาของการเชื้อเชิญจะหลากหลาย และอุปสรรคที่เราพบเจอบนการเดินทางจะต่างกัน แต่การขานรับอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอต่อคำขอที่เลี่ยงไม่ได้นี้สุดท้ายแล้วจะให้คำตอบแก่คำถามที่ว่า ‘ใครอยู่ฝ่ายพระเจ้า?’” (“อยู่ฝ่ายพระเจ้า: บทเรียนจากค่ายไซอัน,” เลียโฮนา, ก.ค 2017, 35)
ปรับปรุงการสอนของเรา
ทำงานร่วมกับสมาชิกครอบครัว “เพราะบ้านคือศูนย์กลางของการเรียนรู้และดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณ ความพยายามของท่านในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้สมาชิกชั้นเรียนจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อท่านทำงานร่วมกับ … สมาชิกครอบครัว [ของเขา] ” (การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 8–9)