คลังค้นคว้า
18–24 ตุลาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 121–123: “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า, พระองค์ประทับอยู่ที่ใดเล่า?”


“18–24 ตุลาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 121–123: ‘ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า, พระองค์ประทับอยู่ที่ใดเล่า?’” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: หลักคำสอนและพันธสัญญา 2021 (2020)

“18–24 ตุลาคม หลักคำสอนและพันธสัญญา 121–123” จงตามเรามา—สำหรับโรงเรียนวันอาทิตย์: 2021

คุกลิเบอร์ตี้

ฤดูใบไม้ผลิที่คุกลิเบอร์ตี้ โดย อัล ราวด์ส

18–24 ตุลาคม

หลักคำสอนและพันธสัญญา 121–123

“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า, พระองค์ประทับอยู่ที่ใดเล่า?”

วิธีที่ดีที่สุดในการเตรียมสอนคืออ่านพระคัมภีร์ นึกถึงคนที่ท่านสอน และทำตามพระวิญญาณ กิจกรรมในโครงร่างนี้จะเสริมการดลใจที่ท่านได้รับ

บันทึกความประทับใจของท่าน

ไอคอนการแบ่งปัน

เชื้อเชิญให้แบ่งปัน

เชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนเลือกข่าวสารหนึ่งจาก หลักคำสอนและพันธสัญญา 121–123 ที่พวกเขาต้องการแบ่งปันกับคนที่เป็นทุกข์ ให้พวกเขาอธิบายข่าวสารที่พวกเขาเลือก

ไอคอนการสอน

สอนหลักคำสอน

หลักคำสอนและพันธสัญญา 121:1–33122

หากเราอดทนกับการทดลองของเราด้วยดี พระผู้เป็นเจ้าจะทรงยกเราให้สูงส่งสู่เบื้องบน

  • ท่านอาจมีสมาชิกชั้นเรียนที่มีความรู้สึกคล้ายกับสิ่งที่โจเซฟ สมิธพูดไว้ใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 121:1–6 เนื่องจากการทดลองที่ยากลำบาก หลังจากอ่านข้อเหล่านี้ด้วยกัน ท่านอาจเชื้อเชิญให้สมาชิกชั้นเรียนระบุและแบ่งปันข่าวสารใน ข้อ 7–33 ที่ให้ความหวังและการปลอบโยนระหว่างการทดลองของพวกเขา การ “อดทน … ด้วยดี” หมายความว่าอย่างไร? (ข้อ 8) พระผู้ช่วยให้รอดทรงช่วยให้เราอดทนด้วยดีอย่างไร? เราจะช่วยกันอดทนด้วยดีได้อย่างไร?

  • เพื่อช่วยสมาชิกชั้นเรียนพิจารณาว่าการทดลองจะ “เป็นประสบการณ์แก่ [เรา] ” และ “เกิดขึ้นเพื่อความดี [ของเรา] ” อย่างไร (หลักคำสอนและพันธสัญญา 122:7) ท่านอาจแจกกระดาษให้สมาชิกชั้นเรียนคนละแผ่นและขอให้พวกเขาเขียนการทดลองที่พวกเขาประสบมา อีกด้านหนึ่งของกระดาษ สมาชิกชั้นเรียนจะเขียนคำว่า “ประสบการณ์” และ “ความดี” ขณะที่ท่านสนทนา หลักคำสอนและพันธสัญญา 122 ด้วยกัน กระตุ้นให้สมาชิกชั้นเรียนเขียนสิ่งที่พวกเขาคิดเกี่ยวกับ “อีกด้าน” ของการทดลอง: “ประสบการณ์” หรือ “ความดี” ที่พวกเขาได้รับ สมาชิกชั้นเรียนบางคนอาจรู้สึกสะดวกใจที่จะแบ่งปันว่าการทดลองของพวกเขาในที่สุดกลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อความดีของพวกเขาอย่างไร หรือพวกเขาอาจจะอ่านประสบการณ์ของเอ็ลเดอร์โคอิชิ อาโอยากิใน “จงยึดมั่นวิถีทางของเจ้า,” (  เลียโฮนา, พ.ย. 2015, 126–128)

หลักคำสอนและพันธสัญญา 121:34–46

เราต้องชอบธรรมเพื่อได้ “อำนาจแห่งสวรรค์”

  • อาจเป็นเรื่องน่าสนใจที่จะเปรียบเทียบว่า “อำนาจหรืออิทธิพล” จะธำรงไว้ในโลกอย่างไรกับพระเจ้าทรงสอนว่าอำนาจหรืออิทธิพลควรธำรงไว้อย่างไร (ดู ภาค 121) เพื่อช่วยในการสนทนานี้ ท่านอาจทำตารางสองช่องบนกระดานโดยเขียนกำกับว่า อำนาจทางโลก และ อำนาจแห่งสวรรค์ สมาชิกชั้นเรียนอาจเติมคำหรือวลีที่พบใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 121:34–46 ลงในตาราง ข้อเหล่านี้อาจเปลี่ยนวิธีที่เรามองความรับผิดชอบของเราในครอบครัวเรา ในฐานะบราเดอร์และซิสเตอร์ผู้ปฏิบัติศาสนกิจ หรือในสถานการณ์อื่นๆ ที่เราหวังว่าจะมีอิทธิพลด้านดีต่อคนอื่นอย่างไร?

  • วิธีหนึ่งที่จะสนทนาคำแนะนำและพรที่ยอดเยี่ยมใน หลักคำสอนและพันธสัญญา 121:45–46 คือการแบ่งชั้นเรียนเป็นกลุ่มและขอให้แต่ละกลุ่มศึกษาและสนทนาวลีจากข้อเหล่านี้เช่น “ให้คุณธรรมประดับความนึกคิดของท่านไม่เสื่อมคลาย” หรือ “ดังหยาดน้ำค้างจากฟ้าสวรรค์” พวกเขาอาจหานิยามของคำ อ่านพระคัมภีร์ที่เกี่ยวข้องในเชิงอรรถ และสนทนาว่าวลีเหล่านี้มีความหมายอย่างไรต่อพวกเขา บางกลุ่มอาจต้องการวาดรูปประกอบวลีของพวกเขา เชิญแต่ละกลุ่มแบ่งปันสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้กับชั้นเรียน

หลักคำสอนและพันธสัญญา 122:8–9

พระเยซูคริสต์ทรงลดพระฐานะลงต่ำกว่าสิ่งทั้งปวงและทรงเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เราในการทดลองของเรา

  • การเข้าใจว่าพระเยซูคริสต์ทรง “ลดพระฐานะลงต่ำกว่า… [สิ่ง] ทั้งปวง” จะให้ความมั่นใจแก่สมาชิกชั้นเรียนที่จะหันไปหาพระองค์ พระคัมภีร์เพิ่มเติมเหล่านี้จะช่วยอธิบายว่าวลีนี้หมายความว่าอย่างไร: อิสยาห์ 53:3–4; ฮีบรู 2:17–18; 1 นีไฟ 11:16–33; แอลมา 7:11–13. สมาชิกชั้นเรียนอาจจะอ่านข้อเหล่านี้ รวมทั้ง หลักคำสอนและพันธสัญญา 122:8 โดยมองหาบางสิ่งที่สร้างศรัทธาของพวกเขาว่าพระเยซูคริสต์จะทรงช่วยพวกเขาได้ในการทดลองของพวกเขา พวกเขาอาจได้รับแรงบันดาลใจในเพลงสวดเกี่ยวกับพระผู้ช่วยให้รอด เช่น “หาสันติได้ที่ใด?” (เพลงสวด, บทเพลงที่ 54)

  • ข้อความใน “แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม” ให้ข้อคิดมากขึ้นว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงลดพระฐานะลงต่ำกว่าสิ่งทั้งปวงอย่างไร ท่านอาจนึกถึงวิธีที่ท่านอาจแสดงตัวอย่างว่าการ “อยู่ใต้” ของหนักทำให้เรา “อยู่ในตำแหน่งที่สมบูรณ์ที่สุดที่จะยก [มัน] ” อย่างไร การรู้ว่าพระผู้ช่วยให้รอดทรงลดพระฐานะลงต่ำกว่าสิ่งทั้งปวงช่วยเราในการทดลองของเราอย่างไร?

    พระเยซูประทับบนพื้นในสวนเกทเสมนี

    พระเยซูเข้าพระทัยการทนทุกข์ของเรา อย่าให้เป็นไปตามใจปรารถนาของข้าพระองค์ แต่ให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์ โดย วอลเตอร์ เรน

ไอคอนแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

พระคริสต์เสด็จลงต่ำกว่าสิ่งทั้งปวง

ประธานดัลลิน เอช. โอ๊คส์สอนว่า “มีผู้คนหลายล้านคนยำเกรงพระผู้เป็นเจ้า ผู้สวดอ้อนวอนถึงพระองค์ให้ยกพวกเขาออกจากความทุกข์ยาก พระผู้ช่วยให้รอดทรงเปิดเผยว่าพระองค์ ‘เสด็จลงต่ำกว่าสิ่งทั้งปวง’ (คพ. 88:6) … ดังที่เอ็ลเดอร์นีล เอ. แม็กซ์เวลล์สอน “โดยการ ‘เสด็จลงต่ำกว่าสิ่งทั้งปวง’ พระองค์ทรงเข้าพระทัยสิ่งทั้งปวงอย่างสมบูรณ์ด้วยพระองค์เองถึงความทุกข์ทรมานทั้งปวงของมนุษยชาติ’ [Ensign, Nov. 1997, 23]. เราอาจบอกได้ว่าการเสด็จลงต่ำกว่าสิ่งทั้งปวงทำให้พระองค์ทรงอยู่ในตำแหน่งสมบูรณ์ที่สุดที่จะยกเราและประทานพละกำลังที่เราต้องมีเพื่ออดทนต่อความทุกข์ของเรา” (“จงเสริมสร้างความเข้มแข็งด้วยการชดใช้ของพระเยซูคริสต์,” เลียโฮนา, พ.ย. 2015, 64)

ปรับปรุงการสอนของเรา

การเรียกของท่านได้รับการดลใจ ในฐานะครู พระเจ้าทรงเรียกท่านเพื่อเป็นพรแก่บุตรธิดาของพระองค์ พระองค์ทรงต้องการให้ท่านประสบความสำเร็จ ดังนั้นเมื่อท่านดำเนินชีวิตคู่ควรแก่ความช่วยเหลือจากพระองค์ พระองค์จะประทานการเปิดเผยที่ท่านแสวงหา (ดู การสอนในวิธีของพระผู้ช่วยให้รอด, 5)